สิทธิผู้บริโภคสากล 8 ประการประกอบด้วยอะไรบ้าง

รู้จักความเป็นมา วันสิทธิผู้บริโภคสากล (World Consumer Rights Day) ถูกพูดถึงครั้งแรกในปี 2505 โดยอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ จอห์น เอฟ. เคนเนดี เปิดสิทธิผู้บริโภคตามกฎหมายไทย 5 ประการที่ควรรู้

วันสิทธิผู้บริโภคสากล (World Consumer Rights Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 15 มีนาคมของทุกปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเคารพและปกป้องสิทธิของผู้บริโภคทุกคนอย่างทั่วถึงทั้งโลก

  • คนแห่ถอนเงิน Binance วันเดียว เฉียดพันล้านเหรียญ
  • ฟุตบอลโลก 2022 เมสซี พาอาร์เจนตินาถล่มโครเอเชีย 3-0 เข้าชิงทีมแรก
  • ราคาน้ำมันวันนี้ (14 ธ.ค. 65) เช็กราคาดีเซล-แก๊สโซฮอล์ล่าสุด

ประวัติวันสิทธิผู้บริโภคสากล

ข้อมูลจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคระบุว่า สิทธิผู้บริโภค ถูกพูดถึงครั้งแรกโดย จอห์น เอฟ. เคนเนดี อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2505 โดยได้กล่าวถึงสิทธิผู้บริโภคที่สำคัญอย่างน้อย 4 ประการ คือ

  • สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ
  • สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย
  • สิทธิที่จะเลือก
  • สิทธิที่จะได้รับการเยียวยาความเสียหาย

นอกจากนี้ยังได้พูดถึงผู้บริโภคที่หมายถึงทุกคน ผู้บริโภคเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบเศรษฐกิจที่ทั้งส่งผลบวกและได้รับผลกระทบจากเกือบทุกการตัดสินใจของภาครัฐและเอกชน แม้ว่า 2 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจมาจากผู้บริโภค แต่ผู้บริโภคก็เป็นเพียงกลุ่มเดียวที่ไม่มีการจัดตั้งตัวแทน ดังนั้นความเห็นของพวกเขาจึงไม่ถูกรับฟัง

สิทธิผู้บริโภค ได้ถูกรณรงค์และเคลื่อนไหวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2525 โดยสหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumer International, CI) การรณรงค์ในการสร้างความตื่นตัวของผู้บริโภค ส่งผลต่อการพัฒนาสิทธิผู้บริโภคสำคัญไว้ 8 ประการ รวมทั้งประสบความสำเร็จในการผลักดันให้สหประชาชาติ กำหนดแนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภคและได้รับการรับรองโดยที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2528

การเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่การปรับปรุงแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคของสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2558 และเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลก (สามารถเข้าถึงได้ข้อมูล คู่มือแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคของสหประชาชาติ)

สหพันธ์ผู้บริโภคสากล ทำงานรณรงค์ร่วมกับสมาชิกทั่วโลก เพื่อเป็นเพียงปากเสียงเดียวที่เป็นอิสระ และสะท้อนถึงอำนาจเพื่อผู้บริโภคในระดับโลก “เรากำลังสร้างการเคลื่อนไหวของผู้บริโภคระหว่างประเทศให้มีพลังเพื่อช่วยปกป้องและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้บริโภคทั่วทุกหนทุกแห่ง” ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 200 องค์กรจาก 115 ประเทศทั่วโลก ในประเทศไทย มีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เป็นสมาชิกสามัญ

ในขณะที่ผู้บริโภคไทยยังเผชิญกับปัญหาผู้บริโภคที่ซับซ้อนทั้งปัญหาพื้นฐานเรื่องความปลอดภัย ปัญหาการเข้าถึงบริการที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต อากาศที่สะอาด ทางเลือกในการบริโภคมีจำกัด ปัญหาการผูกขาด ปัญหามีความรุนแรงและกว้างขวางรวดเร็วขึ้น ตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม สื่อออนไลน์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน

การกระตุ้นให้มีการบริโภคเกินความจำเป็นอย่างไร้ขีดจำกัด ผู้บริโภคมีช่องทางในการใช้สิทธิเรียกร้องมากขึ้นเมื่อถูกละเมิดสิทธิ กระบวนการเยียวยาความเสียหายยังไม่มีประสิทธิภาพ ระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคโดยภาพรวมยังไม่สามารถตอบสนองต่อปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไปหรือเท่าทันกับปัญหาที่เกิดขึ้น

สิทธิผู้บริโภคสากล 8 ประการ

  1. สิทธิที่จะได้รับสินค้าและบริการที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อันได้แก่ อาหารปลอดภัย ที่อยู่อาศัย การเข้าถึงบริการการศึกษาและสาธารณสุข
  2. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากผลิตภัณฑ์ กรรมวิธีผลิต และบริการที่เป็นอันตรายต่อคุณภาพชีวิต
  3. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการหลอกลวงของโฆษณา หรือการแจ้งประกาศที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือสิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ
  4. สิทธิที่จะได้เลือกซื้อสินค้าและบริการในราคายุติธรรม ในราคาที่เกิดการแข่งขันกัน และในกรณีที่มีการผูกขาดสินค้าก็จะวางใจได้ว่า จะได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพเป็นที่พอใจ และในราคายุติธรรม
  5. สิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นในฐานะตัวแทนผู้บริโภคเพื่อให้ได้รับประโยชน์ที่พึงได้ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ร่วมกับรัฐบาลในการบริหารจัดการ
  6. สิทธิที่จะได้รับค่าชดเชย ในกรณีที่ถูกละเมิด หลอกลวงให้ได้รับสินค้าและบริการที่ไม่มีคุณภาพ กล่าวคือสิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการตัดสินเรื่องราวที่ร้องเรียนอย่างถูกต้อง ซึ่งหมายรวมถึงสิทธิที่จะได้รับการชดใช้เมื่อได้รับสินค้าและบริการที่บกพร่องหรือเสียหายหรือการช่วยเหลือหรือการชดใช้อื่น ๆ
  7. สิทธิที่จะได้รับความรู้และไหวพริบอันจำเป็นต่อการบริโภคอย่างเท่าทัน เป็นสิทธิที่จะได้รับความรู้ที่ควรรู้ ควรมี ในการที่จะใช้ในการต่อสู้สิ่งต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค
  8. สิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี และยังชีพได้อย่างปลอดภัย เป็นสิทธิที่จะได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งหมายรวมถึงสิทธิที่จะได้รับการป้องกันจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริโภคแต่ละคนไม่สามารถควบคุมได้เอง สิทธินี้ต้องยอมรับถึงความต้องการที่จะได้รับการคุ้มครองและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ตลอดชั่วอายุเราไปจนชั่วอายุลูกหลานอีกด้วย

สิทธิผู้บริโภคตามกฏหมายไทย 5 ประการ

ในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2559 ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 46 ว่า “สิทธิของผู้บริโภค ย่อมได้รับความคุ้มครอง บุคคลย่อมมีสิทธิรวมกันจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค”

Advertisement

องค์กรของผู้บริโภคตามวรรคสองมีสิทธิรวมกันจัดตั้งเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้ง อำนาจในการเป็นตัวแทนของผู้บริโภค และการสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐ

ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติและในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 และ 2556 ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไว้ 5 ประการ

1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้อง และเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริง และปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้อง และเพียงพอที่จะไม่หลงผิดในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม

2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความสมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม

3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว

4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ

5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว

สิทธิของผู้บริโภค 7 ข้อมีอะไรบ้าง

ใน ปี ค.ศ.1962 สหรัฐอเมริกาได้มีประกาศสิทธิและมาตรการเพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของผู้บริโภค 7 ประการ ดังนี้.
1. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย.
2. สิทธิที่จะได้รับความรู้.
3. สิทธิที่จะได้เลือกซื้อสิ่งที่จะใช้อุปโภคและบริโภคในราคายุติธรรม.
4. สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม.
5. สิทธิที่จะได้รับค่าชดใช้ความเสียหาย.

ใครคือผู้กําหนดสิทธิผู้บริโภคสากล และกําหนดให้มีกี่ประการ (ความรู้ – ความจํา) *

ประวัติความเป็นมา วันสิทธิผู้บริโภคสากลเกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962 โดยอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จอห์น เอฟ. เคนเนดี เป็นผู้บัญญัติวันสำคัญสากลนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่อว่า Consumer Right Day โดยได้รับการรับรองจากสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล (Consumers International)

สิทธิผู้บริโภคทั้ง 5 ประการมีอะไรบ้าง

5 สิทธิผู้บริโภคที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย.
สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้อง และเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ.
สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ.
สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ.
สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา.
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย.

สิทธิผู้บริโภคมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

สิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภค.
1. สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง (Right to be informed) ผลิตภัณฑ์ ... .
2. สิทธิที่จะเลือกใช้บริการได้อย่างอิสระ (Right to choose) บุคลากรหรือกระบวนการ ... .
3. สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม (Right to be heard) ... .
4. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาค่าชดเชยหากเกิดความเสียหาย (Right to redress).