การนําความร้อนของวัสดุ ป.4 ppt

การนำไฟฟ้า

จำแนกได้เป็น

  • ตัวนำไฟฟ้า วัสดุที่ยอมให้ไฟฟ้าไหลผ่านซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งของโลหะ เงินเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุด
  • ฉนวนไฟฟ้าคือ วัสดุที่ไม่ยอมให้ไฟฟ้าไหลผ่าน ซึ่งเป็นสมบัติหนึ่งของอโลหะ ยกเว้น แกรไฟต์

ความรู้เพิ่มเติม สายไฟนิยมใช้ทองแดง แม้ว่าเงินจะเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุด แต่เนื่องจากราคาแพงจึงนิยมใช้ทองแดงแทน ปลอกหุ้มสายไฟทำด้วยวัสดุประเภทฉนวนไฟฟ้าเช่น พลาสติก เพราะเป็นส่วนที่ต้องจับต้องได้

การนำความร้อน

จำแนกได้เป็น

  • ตัวนำความร้อน คือ วัสดุที่ยอมให้พลังงานความร้อนไหลผ่านไปได้ดี ตัวอย่างเช่น เงิน, ทองแดง
  • ฉนวนความร้อนคือ วัสดุที่ไม่ยอมให้พลังงานความร้อนไหลผ่านได้น้อย ตัวอย่างเช่น แก้ว, ไม้, กระเบื้อง, ผ้า

การนําความร้อนของวัสดุ ป.4 ppt

คำถาม จากภาพนักเรียนคิดว่าส่วนใดเป็นฉนวนความร้อนและส่วนใดเป็นตัวนำความร้อน (ขอบคุณภาพ: designedby freepik)
Kitchen vector created by Freepik

การถ่ายโอนความร้อน

จำแนกได้เป็น

  • การนำความร้อน (Conduction)
    คือการถ่ายโอนความร้อนจากโมเลกุลหนึ่งไปยังโมเลกุลที่ติดกันไป จากอุณหภูมิสูงไปสู่อุณหภูมิต่ำ เช่น เวลาจับหูกระทะจะรู้สึกร้อนเพราะตัวกระทุะจะส่งผ่านความร้อนต่อมาเรื่อยๆจนถึงหูกระทะและมือเรา
  • การพาความร้อน (Convection)
    คือการถ่ายโอนความร้อนโดยอาศัยตัวพาที่จัดเป็นของไหล เช่น ของเหลวและแก๊ส เช่น การต้มลูกชิ้น ลูกชิ้นจะได้ความร้อนโดยน้ำเป็นตัวพาความร้อน
  • การแผ่รังสี (Radiation)
    คือการถ่ายโอนความร้อนโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง การแผ่รังสีจึงสามารถถ่ายเทความร้อนผ่านอวกาศได้
    วัตถุทุกชนิดที่มีอุณหภูมิสูงกว่า -273°C หรือ 0 K (เคลวิน) จะมีการแผ่รังสี วัตถุที่มีอุณหภูมิสูงแผ่รังสีคลื่นสั้น วัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำแผ่รังสีคลื่นยาวตามกฎของวีน

การนําความร้อนของวัสดุ ป.4 ppt

ความเหนียว

หมายถึง ความสามารถในการรับแรงโดยไม่เกิดการแตกหัก สามารถพิจารณาความเหนียวจาก

  1. ความสามารถในการดึงเป็นเส้น
  2. ความสามารถในการตีเป็นแผ่นบางได้

ตัวอย่างเช่น โลหะต่างๆ เช่น ทองคำ, เงิน, เหล็ก สามารถตีให้เป็นแผ่นเป็นเส้นสามารถทำเป็นเครื่อง ประดับชนิดต่างๆ เช่น สร้อย, แหวน

คำถาม นักเรียนคิดว่า เชือกใดมีความเหนียวมากกว่ากัน เชือกไนลอน เชือกฟาง

ความยืดหยุ่น

จำแนกได้เป็น

  • วัสดุที่มีสภาพยืดหยุ่นคือ วัสดุที่เมื่อถูกแรงกระทำจะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง แต่เมื่อแรงกระทำหยุดวัสดุจะกลับสู่สภาพเดิมหรือใกล้เคียงเดิม ตัวอย่างเช่น ยางยืด, ฟองน้ำ, ลวดสปริง, เส้นเอ็น
  • วัสดุที่ไม่มีสภาพยืดหยุ่นคือ วัสดุที่เมื่อถูกแรงกระทำจะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง แต่เมื่อแรงกระทำหยุดลง วัสดุนั้นจะยังคงรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไป

ทั้งนี้วัสดุที่มีสภาพยืดหยุ่นสามารถเสียสภาพความยืดหยุ่นได้หากได้รับแรงกระทำมากเกินพิกัดยืดหยุ่น

การนําความร้อนของวัสดุ ป.4 ppt

ความแข็ง

คือ ความต้านทานต่อแรงกด การขัดสี สามารถทดสอบได้หลายวิธี วิธีง่ายๆคือดูจากความทนทานต่อการขูดขีด เช่น เล็บขูดทัลค์เป็นรอย แสดงว่าเล็บแข็งแรงกว่าทัลค์ เล็บมือไม่สามารถขูดแคลไซต์เป็นรอย แสดงว่าแคลไซต์แข็งแรงกว่าเล็บ และแข็งแรงกว่าทัลค์
ประโยชน์จากสมบัติด้านความแข็ง เช่น เพชรใช้ทำเครื่องตัดกระจก

ความแข็งของโมสแร่
1 ทัลก์
2 ยิปซัม
3 แคลไซต์
4 ฟลูออไรด์
5 อะพาไทต์
6 ออร์โทเคลสเฟลด์สปาร์
7 ควอตซ์
8 โทแพซ
9 คอรันดัม
10 เพชร

ความหนาแน่น

คือ ปริมาณมวลสารในหน่วยปริมาตร

การนําความร้อนของวัสดุ ป.4 ppt

ความหมายหน่วย
ความหนาแน่นปริมาณมวลสารในหน่วยปริมาตร กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร, กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
มวลปริมาณที่บอกความสามารถที่วัตถุสามารถต้านทานการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ กิโลกรัม, กรัม
น้ำหนักแรงที่โลกหรือดาวเคราะห์กระทำต่อวัตถุ นิวตัน
ปริมาตรบริเวณที่อนุภาคต่างๆครอบครองในปริภูมิสามมิติ ลูกบาศก์เมตร, ลูกบาศก์เซนติเมตร

ความหนาแน่นเป็นคุณสมบัติเฉพาะของสารบริสุทธิ์

ชนิดของสารความหนาแน่น (กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
ทองคำ 19,300
ปรอท 13,580
เหล็ก 7,870
น้ำทะเล 1,025
น้ำ 1,000
น้ำแข็ง 917
เอทิลแอลกอฮอล์ 790

ความเป็นกรด-ด่าง (pH)

สารต่างๆในชีวิตประจำวันสามารถจำแนกได้ตามความเป็นกรด-ด่าง (pH)

การนําความร้อนของวัสดุ ป.4 ppt

คุณสมบัติของกรด (pH < 7)คุณสมบัติของเบส (pH >7)
นำไฟฟ้าได้ นำไฟฟ้าได้
มีรสเปรี้ยว มีรสฝาด
เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง ปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน
ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีแดง ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีน้ำเงิน
ทำปฏิกิริยากับโลหะได้แก๊สไฮโดรเจน ไม่ทำปฏิกิริยากับโลหะยกเว้นอลูมิเนียมที่ทำ ปฏิกิริยาได้แก๊สไฮโดรเจน
ทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือและน้ำ ทำปฏิกิริยากับกรดได้เกลือและน้ำ
ตัวอย่างสารที่เป็นกรด: น้ำส้มสายชู, น้ำยาล้างห้องน้ำ, น้ำโซดา ตัวอย่างสารที่เป็นด่าง: น้ำปูนใส, น้ำขี้เถ้า, ผงฟู, ผงซักฟอก, โซดาไฟ

การทดสอบความเป็นกรด-ด่าง

สามารถทำได้ง่ายๆโดยกระดาษลิตมัสสีแดง-น้ำเงิน

การนําความร้อนของวัสดุ ป.4 ppt

สารที่มีฤทธิ์เป็นกรด

  • ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสแดง
  • เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสน้ำเงินเป็นแดง

การนําความร้อนของวัสดุ ป.4 ppt

สารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

  • ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสน้ำเงิน
  • เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสแดงเป็นน้ำเงิน

การนําความร้อนของวัสดุ ป.4 ppt

สารที่มีฤทธิ์เป็นกลาง

  • ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสน้ำเงิน
  • ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสแดง
  • ตัวอย่างเช่น น้ำเกลือ น้ำเชื่อม น้ำกลั่น

การนําความร้อนของวัสดุ ป.4 ppt