ขั้นตอนการสืบพันธุ์ของพืชดอก

สวัสดีค่าา พี่มุกกลับมาเเล้วมาพร้อมกับหน้าฝนเลย T^T ช่วงฝนตกเเบบนี้จะออกเดินทางไปไหนน้องๆ อย่าลืมพกร่มด้วน้าเพราะถึงเเม้ว่าน้องๆ ส่วนใหญ่อาจสอบปลายภาคเสร็จเเล้วเเต่ก็ยังมีน้องๆ บางโรงเรียนที่เพิ่งเริ่มสอบปลายภาคกันอาทิตย์นี้ ใครที่กำลังรู้สึกว่าฝนตกออกไปเรียนพิเศษก็ลำบากเเต่ก็จะสอบปลายภาคเเล้วอ่านหนังสือไม่ทัน ทำไงดี ไม่ต้องกังวลไปค่ะ วันนี้พี่มุกมีเทคนิคการเรียนชีวะจากอ.อุ้ย ผู้เเต่งหนังสือปลาหมึกเล่มดังที่น้องๆ หลายคนซื้อไว้อ่านสอบมาฝากกัน รับรองว่าได้ความรู้เน้นๆ เหมือนได้นั่งเรียนกับอาจารย์อุ้ยเเบบตัวต่อตัวเลย ซึ่งเรื่องที่พี่มุกนำมาวันนี้คือ เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก จากคอร์ส เก่งชีวะม.5 เทอม 1 ค่ะเป็นการติดโค้งสุดท้ายให้น้องๆ ม.5 ที่สอบปลายภาคอาทิตย์นี้เเต่น้องๆ ม.4 ก็สามารถเรียนล่วงหน้าได้นะคะ ^^ 

ก่อนจะเข้าเรื่องพี่มุกทบทวนให้น้องๆ ก่อนคือการสืบพันธุ์ของพืชดอกนั้นมี 2 เเบบคือ

1. เเบบไม่อาศัยเพศ เกิดได้โดยการเเตกหน่อ, ทาบกิ่ง, ติดตา, ปักชำเเละเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
2.เเบบอาศัยเพศ เกิดจาก Sperm + Egg

ซึ่งวันนี้ที่พี่มุกจะสรุปจากที่อ.อุ้ยสอนในน้องๆ คือเรื่อง การสืบพันธุ์พืชดอกเเบบอาศัยเพศ ภายใต้ Concept : จำน้อยเเต่คะเเนนมาก !!!! เทคนิคการเรียนชีวะให้เข้าใจกับอ.อุ้ย Dek-D School อย่ารอช้าไปดูกันเลยค่า ^^ 

ขั้นตอนการสืบพันธุ์ของพืชดอก

ก่อนจะเข้ารายละเอียดเรื่องการสืบพันธุ์พืชดอกนั้นสิ่งที่น้องๆ ต้องรู้คือวัฏจักรชีวิตของพืชซึ่งมีจุดเด่นคือเป็นวัฏจักรชีวิตแบบสลับ (Alternnation generation ) โดยมีรูปเเบบดังในรูปเลยค่า 

เมื่อพืชดอกเจริญเติบโตเต็มที่ จะเริ่มผลิตดอกไม้เพื่อเป็นเซลล์สืบพันธุ์ในการขยายพันธุ์ต่อไป ภายในดอกจะมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยเกสรตัวผู้สร้างเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้หรือละอองเรณูเก็บไว้ในอับละอองเรณู (Pollen) ส่วนเกสรตัวเมียจะมีรังไข่ ซึ่งภายในมีไข่ (Ovule) ทำหน้าที่เก็บเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมียไว้ (เพิ่มเติม: โครงสร้างของดอกไม้) การปฏิสนธิของพืชดอก มีลำดับขั้นตอน ดังนี้

1. การถ่ายละอองเรณู (Pollination) คือ กระบวนการที่ละอองเรณูไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ละอองเรณูปลิวไปตามแรงลมแล้วไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย หรืออาจเกิดการที่ตัวกลางในการผสมเกสร เช่น แมลงผสมเกสรชนิดต่างๆ สัตว์ปีก หรือเกิดจากความตั้งใจของมนุษย์ การถ่ายละอองเรณูเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน (Self Pollination) และการถ่ายละอองเรณูข้ามดอก (Cross Pollination)

ขั้นตอนการสืบพันธุ์ของพืชดอก
ขั้นตอนการสืบพันธุ์ของพืชดอก
แมลงผสมเกสรมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยถ่ายละอองเรณูของดอกไม้

การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน: การถ่ายละอองเรณูภายในต้นเดียวกัน เช่น การถ่าย ละอองเรณุในดอกกล้วยไม้ชนิดหนึ่งมีกลิ่นคล้ายผึ้งตัวเมีย ทำให้ผึ้งตัวผู้ มาดูดกินน้ำหวานและได้ถ่ายละอองเรณูให้ดอกอื่นๆ แต่ถ้าไม่มีผึ้งมา เกสรตัวผู้ก็อาจจะโค้งลงมา และมีการถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกันได้

การถ่ายละอองเรณูข้ามดอก: การถ่ายละอองเรณูข้ามต้นเป็นการถ่ายละออง เรณูจากพืชต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งที่ชนิดเดียวกัน ถ้าเป็นพืชต่างชนิดกันจะไม่ สร้างหลอดละอองเรณู ละอองเรณูถูกพาไปโดยลม หรือแมลงที่ไปกินน้ำหวาน ในดอกไม้

(อ่านเพิ่มเติม: 9 วิธีที่คุณจะช่วยรักษาแมลงผสมเกสรไว้ในสวนของคุณ)

2. การปฏิสนธิ (Fertilization) คือกระบวนการที่เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (ละอองเรณู) ผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (ไข่อ่อน) เมื่อเกิดการถ่ายละอองเรณู ละอองเรณูจะตกอยู่ที่บริเวณ stigma ซึ่งจะมีสารกึ่งเหลวคอยดักจับเรณูไว้ เมื่อมีสภาพที่เหมาะสม ละอองเรณูจะงอกและมีการเจริญของท่อเรณูเพื่อเข้าไปผสมกับเซลไข่ (egg cell) โดยภายในท่อเรณูจะมีสเปิร์มอยู่ 2 ชนิด ทำ ให้เกิดการผสม 2 ครั้ง (double fertilization) คือสเปิร์ม 1 อันจะผสมกับไข่ได้เป็น zygote ซึ่งจะพัฒนาต่อไปเป็นต้นอ่อน (embryo) ส่วนสเปิร์มอีกหนึ่งชนิดจะผสมกับ polar nuclei ได้เป็น endosperm ทำหน้าที่เป็นอาหารสะสมให้กับต้นอ่อน แต่ในพืชบางชนิดอาหารสะสมให้ต้นอ่อนเกิดจากเนื้อเยื่อที่อยู่ในรังไข่ (nucellus) หรือ perisperm

ขั้นตอนการสืบพันธุ์ของพืชดอก
ขั้นตอนการสืบพันธุ์ของพืชดอก

การผสมซึ่งเกิดจากการผสม 2 ครั้งนี้เรียกว่า การปฏิสนธิซ้อน (Double Fertilization) ซึ่งพบเฉพาะในพืชดอกเท่านั้น หลังจากปฏิสนธิแล้วนิวเคลียสที่ได้รับผสมจะเกิดส่วนประกอบต่างๆ ของพืชดังนี้

รังไข่ (ovary) เจริญเป็น ผล
ผนังรังไข่ (ovary wall ) เจริญเป็น เปลือกและเนื้อของผลไม้
ออวุล (ovule) เจริญเป็น เมล็ด
ไข่ (egg ) เจริญเป็น ต้นอ่อนอยู่ภายในเมล็ด
โพลาร์นิวเคลียส (polar nucleus ) เจริญเป็น เอนโดสเปิร์ม
เยื่อหุ้มออวุล (integument ) เจริญเป็น เปลือกหุ้มเมล็ด

สำหรับส่วนประกอบอื่นๆ ของดอกจะเหี่ยวแห้งและสลายตัวไป การปฏิสนธิซ้อนของพืชดอกมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสร้างอาหารให้แก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น ผลไม้ที่เราใช้รับประทานก็เกิดมาจากการปฏิสนธิ อาหารพวกข้าว ข้าวโพด ก็เป็นส่วนของเอนโดสเปิร์ม อาหารในเมล็ดถั่วหลายชนิดก็เป็นอาหารที่สะสมอยู่ในใบเลี้ยงของเอมบริโอของถั่ว