ใครเป็นผู้แต่งไตรภูมิพระร่วงและแต่งเพื่ออะไร

ไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงลักษณะการเกิดหรือปฏิสนธิของมนุษย์ สัตว์ และเทวดา และบรรยายลักษณะของแต่ละภูมิอย่างละเอียด   เริ่มด้วยนรกภูมิ บรรยายภาพที่น่ากลัวของนรกแต่ละขุม กล่าวถึงเหตุของการตกนรกแต่ละขุมและความทุกข์ทรมานที่สัตว์นรกต้องได้รับ  ในติรัจฉานภูมิ  กล่าวถึงการเกิดและลักษณะของสัตว์ชนิดต่าง ๆ  สัตว์ที่กล่าวถึงอย่างละเอียดได้แก่   ราชสีห์ 4 ชนิด  ช้างแก้ว 10 จำพวก  ปลาใหญ่ 7 ตัว   ครุฑ  นาค  และหงส์  ในเรื่องเปรตภูมิ  บรรยายรายละเอียดของลักษณะเปรตแต่ละจำพวก และในส่วนที่ว่าด้วยอสุรกายภูมิ  บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับเมืองของอสูรใหญ่ 4 เมือง  ส่วนในเรื่องของมนุสสภูมิ  บรรยายการปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์จนถึงเวลาคลอด   บรรยายลักษณะของทวีปทั้ง 4 คือ อุตตรกุรุทวีป  อมรโคยานทวีป  บุพวิเทหทวีป  และชมพูทวีปโดยละเอียด  กล่าวถึงจักรพรรดิราช   และบุคคลสำคัญบางคนได้แก่ โชติกเศรษฐี  พญาพิมพิสารและพญาอชาตศัตรู  ในส่วนที่ว่าด้วยฉกามาพจรภูมิ  ได้แก่  สวรรค์ 6 ชั้น  บรรยายลักษณะของสวรรค์แต่ละชั้นให้เห็นความยิ่งใหญ่ งดงามและน่ารื่นรมย์ ในส่วนที่กล่าวถึงรูปภูมิ  ซึ่งเป็นที่อยู่ของพรหมที่มีรูป 16 ชั้น และอรูปภูมิ ที่อยู่ของพรหมที่ไม่มีรูป 4 ชั้น ก็บรรยายลักษณะของพรหมอย่างละเอียด  ในตอนท้ายของหนังสือผู้นิพนธ์ทรงชี้ให้เห็นว่า มนุษย์ สัตว์และเทวดาทั้งหลายตลอดจนสรรพสิ่งในภูมิทั้ง 3   แม้กระทั่งภูเขา  แม่น้ำ  พระอาทิตย์  พระจันทร์  ดวงดาว  ตลอดจนป่าหิมพานต์  ในที่สุดก็ต้องเสื่อมสลายไปทั้งสิ้น  ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้เลย  กล่าวถึงการเกิดไฟประลัยกัลป์  และกำเนิดโลกและสรรพสิ่งขึ้นใหม่หลังจากเกิดไฟประลัยกัลป์  นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์  

กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. วรรณกรรมสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร,2539. 

สำนักพิมพ์บรรณาคารได้มาแจ้งกองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ว่า มีความประสงค์จะขออนุญาตจัดพิมพ์หนังสือเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง หรือ ไตรภูมิกถา พระราชนิพนธ์ในพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์สุโขทัย เพื่อจำหน่ายเผยแพร่ กรมศิลปากรพิจารณาแล้ว ยินดีอนุญาตให้จัดพิมพ์ได้ตามประสงค์

ไตรภูมิพระร่วง หรือไตรภูมิกถา เป็นวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญมากเล่มหนึ่งของไทย ที่แสดงข้อคิดเห็นเต็มไปด้วยสารัตถประโยชน์เกี่ยวกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ตลอดจนชี้ให้เห็นถึงผลบาปและผลบุญที่คนทั้งหลายได้กระทำไว้ในชีวิต

หนังสือเรื่องไตรภูมิพระร่วง หรือไตรภูมิกถานี้ เป็นผลงานที่แสดงพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) บูรพกษัตริย์ไทย ในการพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ และผู้ที่ได้ศึกษางานพระราชนิพนธ์นี้จะได้เข้าใจสภาพสังคมสมัยเมื่อเริ่มตั้งอาณาจักรเป็นปึกแผ่นในแผ่นดินไทยว่า พระมหากษัตริย์ไทยในครั้งนั้นต้องทรงมีจิตวิทยาสูงเพียงใด เพราะการก่อตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ จะต้องรวบรวมพลังไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน หากประชาชนตั้งอยู่ในศีลธรรม มีระเบียบวินัย รู้บาปบุญคุณโทษ และมีจิตยึดมั่นในหลักคำสอนทางศาสนา ก็จะสามารถดำรงความมั่นคงและสามารถต่อสู้ศัตรูที่คอยคุกคามความดำรงอยู่ของชาติได้

ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณคดีที่น้อมนำจิตใจประชาชนให้ยึดมั่นอยู่ในคุณธรรมความดีตามหลักธรรม ทั้งยังแสดงความรู้สึกสอดคล้องกับหลักธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ เช่น ตอนพรรณนาถึงกำเนิดของมนุษย์ ทั้ง ๆ ที่ในสมัยสุโขทัย วิทยศาสตร์ยังไม่ก้าวหน้าหรือเป็นที่รู้จักกว้างขวางอย่างในปัจจุบัน แต่หนังสือไตรภูมิพระร่วงเกิดขึ้นและกล่าวถึงเรื่องที่ใกล้เคียงกับหลักการทางวิทยาศาสตร์มานับร้อยปีแล้ว คุณค่าสาระของหนังสือเรื่องนี้จึงน่าศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง โดยเฉพาะความรู้ทางศาสนา ทางอักษรศาสตร์ ภาษาศาสตร์ จารีตประเพณี และวัฒนธรรม ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดของคนไทยโดยทั่วไป

หนังสือไตรภูมิพระร่วงนี้ ได้มีผู้คัดลอกกันต่อ ๆ มา และได้ตีพิมพ์มาแล้วหลายครั้ง มีที่วิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่มาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายไว้ว่า “หนังสือไตรภูมิฉบับนี้...เมื่ออ่านตรวจดู เห็นได้ว่า หนังสือเรื่องนี้เป็นหนังสือเก่ามาก มีศัพท์เก่า ๆ ที่ไม่เข้าใจ และเป็นศัพท์อันเคยพบแต่ในศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัยหลายศัพท์ น่าเชื่อว่า หนังสือไตรภูมินี้ฉบับเดิมจะได้แต่งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยจริง แต่คัดลอกสืบกันมาหลายชั้นหลายต่อจนวิปลาสคลาดเคลื่อน หรือบางทีจะได้มีผู้ดัดแปลงสำนวนและแทรกเติมข้อความเข้าเมื่อครั้งกรุงเก่าบ้าง ก็อาจจะเป็นได้ ถึงกระนั้น โวหารหนังสือเรื่องนี้ยังเห็นได้ว่าเก่ากว่าหนังสือเรื่องใด ๆ ในภาษาไทย นอกจากศิลาจารึกที่ได้เคยพบมา จึงนับว่าเป็นหนังสือเรื่องดีด้วยอายุประการหนึ่ง”

กรมศิลปากรเห็นความสำคัญและคุณค่าของหนังสือ จึงได้มอบให้นายพิทูร มลิวัลย์ เปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประจำแผนกกองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ภายหลังโอนไปรับราชการตำแหน่งอนุศาสนาจารย์ หัวหน้าฝ่ายปริยัติปกรณ์ กรมการศาสนา เป็นผู้ตรวจสอบชำระ โดยพยายามรักษาส่วนที่เป็นของเดิมไว้ให้มากที่สุด ส่วนที่ชำรุดหรือวิปลาสไป ก็หาต้นฉบับใส่ไว้ให้สมบูรณ์ ทั้งนี้ ได้นำคำชี้แจงของผู้ตรวจสอบชำระ และพระราชประวัติพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ผู้พระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องนี้มาพิมพ์ไว้ต่อจากคำนำนี้ และได้จัดทำเชิงอรรถเพิ่มเติม พร้อมทั้งได้รวบรวมคำโบราณ สำนวนโวหารในไตรภูมิพระร่วง จัดทำคำแปล อีกทั้งได้บอกชื่อคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ไว้เป็นภาคผนวกอีกด้วย[1]

กรมศิลปากรหวังว่า หนังสือเรื่องไตรภูมิพระร่วง หรือไตรภูมิกถานี้ คงจะอำนวยประโยชน์ในด้านการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจศึกษาค้นคว้าตามสมควร

นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่นอธิบดีกรมศิลปากรกองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๓สารบัญ_______________บานแพนกเตภูมิกถาคาถานมัสการบานแพนกเดิม(อารัมภบท)กามภพนรกภูมิติรัจภูมิอสุรกายภูมิมนุสสภูมิฉกามาพจรภูมิรูปภพอรูปภพเถิงอวินิพโภครูป(ปัจฉิมบท)

  1. ↑ หนังสือซึ่งวิกิซอร์ซคัดลอกมานี้ ไม่ปรากฏว่ามีภาคผนวกที่ว่าแต่อย่างใด — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].



ใครเป็นผู้แต่งไตรภูมิพระร่วงและแต่งเพื่ออะไร

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ไตรภูมิพระร่วงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร

เป็นวรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ คติความเชื่อของชาวไทย เป็นจำนวนมาก เช่น นรก สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด ทวีปทั้งสี่ (ระยะเวลากัปป์กัลป์ กลียุค การล้างโลก พระศรีอาริย์ มหาจักรพรรดิราช แก้วเจ็ดประการ เป็นต้นค่ะ

เนื้อหาของไตรภูมิกล่าวถึงเรื่องใด

ไตรภูมิ หรือ ไตรโลก (หมายถึง สามโลก) ซึ่งเป็นคติเกี่ยวกับโลกสัณฐานตามความเชื่อในศาสนาพุทธ ไตรภูมิประกอบด้วย กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ สัตวโลกทั้งหลายก็จะต้องเวียนว่ายตายเกิดในไตรภูมินี้จนกว่าจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์

เพราะเหตุใด จึงเปลี่ยนชื่อ เตภูมิกถา เป็นไตรภูมิพระร่วง

(นิยะดา เหล่าสุนทร, 2543. หน้า 11-12) จากเอกสารดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า ไตรภูมิพระร่วง ชื่อเดิมคือ “เตภูมิกถา" หรือ"ไตรภูมิ กถา" สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อเป็นไตรภูมิพระร่วง” เพื่อเป็นเกียรติแก่ พระยาลิไท กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงผู้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ ไตรภูมิพระร่วงพระมหาธรรมราชา

ไตรภูมิพระร่วง แต่งตอนไหน

ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่แต่งในสมัย สุโขทัยประมาณ พ.ศ. ๑๘๘๘ โดยพระราชด าริในพระยาลิไท รวบรวมจากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา