การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย 2564

สยามรัฐออนไลน์ 7 ตุลาคม 2564 14:54 น. เศรษฐกิจ

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย 2564

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย มกราคม - สิงหาคม 2564 เริ่มกระเตื้องขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 27.69 หรือมีมูลค่า 3,747.47 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 5 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.63 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย และ ขยายตัวบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ หรือ GIT เปิดเผยว่า อัญมณีและเครื่องประดับไทยถือได้ว่าเป็นสินค้าสำคัญที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศ และประเทศไทยก็ถือได้ว่าเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับอันดับที่ 16 ของโลก และเป็นผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินอันดับ 3 ของโลก อีกทั้งเป็นผู้ส่งออกพลอยสีอันดับ 3 ของโลก จากผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ไปกว่า 200 ประเทศทั่วโลกในปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ หยุดชะงัก ผู้บริโภคก็ใช้จ่ายซื้อสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพเท่านั้น ทำให้ไทยส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไปยังตลาดโลกได้ลดลง แต่หลังจากประเทศคู่ค้าหลายประเทศได้ผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ และสามารถกลับมาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้แล้ว ทำให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากปีก่อน รวมทั้งการปรับตัวของภาคธุรกิจ ทำให้การส่งออกของไทยกระเตื้องสูงขึ้น ซึ่งมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 8 เดือนแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องมาจากการส่งออกไปยังหลายตลาดสำคัญได้สูงขึ้น ทั้งสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง อินเดีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.15, ร้อยละ 5.10 และร้อยละ 54.20 ตามลำดับ ส่วนตลาดดาวเด่น คือสหราชอาณาจักร พุ่งแรง เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 148.39 ส่วนมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม หากรวมทองคำจะมีมูลค่า 6427.33 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม เพื่อกระตุ้นการค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยอย่างต่อเนื่อง สถาบันเดินหน้าเตรียมจัดงานเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2021 โดยความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จังหวัดจันทบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทุบรี หอการค้าจังหวัดจันทบุรี สมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี ภายใต้แนวคิด Thailand: Land of Gems and Jewelry มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 7 กุมภาพันธ์ 2565 ความพิเศษของงานครั้งนี้คือ ระยะเวลาของการจัดงาน เป็นช่วงเวลาที่ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลตรุษจีน และเทศกาลขึ้นเขาคิชฌกูฏ ซึ่งงานนี้ผู้ชมงานจะได้เลือกซื้อสินค้าคุณภาพดี ในราคาผู้ผลิต คาดว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัด ทั้งการท่องเที่ยว อัญมณีและเครื่องประดับให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง และเพื่อตอกย้ำการเป็นศูนย์กลางการค้าและการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับโลก นายสุเมธ กล่าวปิดท้าย

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย 2564

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย 2564

GIT เผยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ 11 เดือน ปี 64 มีมูลค่า 5,571.51 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 26.69% เหตุตลาดสำคัญฟื้นตัวดีขึ้น สินค้าสำคัญส่งออกได้มากขึ้น ส่วนการส่งออกในระยะต่อไป ต้องจับตาโอมิครอน จะรุนแรงแค่ไหน แต่ละประเทศจะคุมเข็มกิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือไม่ ย้ำเดินหน้าสร้างความเชื่อมั่น เตรียมพร้อมจัดงานพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 3-7 ก.พ.65  

30 ธ.ค. 2564 นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ เดือนพ.ย.2564 มีมูลค่า 636.97 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.77% หากรวมทองคำมีมูลค่า 1,034.29 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 54.05% และส่งออกรวม 11 เดือนของปี 2564 (ม.ค.-พ.ย.) ที่ไม่รวมทองคำ มีมูลค่า 5,571.51 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 26.69% หากรวมทองคำมีมูลค่า 9,215.67 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 47.49%

สำหรับปัจจัยที่ทำให้การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้น มาจากการฟื้นตัวของตลาดสำคัญ ๆ ของไทย โดยสหรัฐฯ ที่เป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่ง เพิ่มขึ้น 53.26% อินเดีย เพิ่ม 59.91% สหราชอาณาจักร เพิ่ม 137.02% ญี่ปุ่น เพิ่ม 7.77% เบลเยียม เพิ่ม 19.71% ออสเตรเลีย เพิ่ม 14.61% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพิ่ม 36.44% สวิตเซอร์แลนด์ เพิ่ม 75.99% ส่วนฮ่องกง และเยอรมนี ลด 0.68% และ 2.49%

ส่วนสินค้าสำคัญที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น เช่น เครื่องประดับเงิน เพิ่ม 20.42% เครื่องประดับทอง เพิ่ม 34.81% เครื่องประดับแพลทินัม เพิ่ม 58.03% เครื่องประดับเทียม เพิ่ม 8.10% เพชรเจียระไน เพิ่ม 34.84% พลอยเนื้อแข็งเจียระไน เพิ่ม 36.88% ส่วนพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ลดลง 3.12% ขณะที่ทองคำ ซึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกเพื่อเก็งกำไรช่วงที่ราคาทองคำสูงขึ้น ลดลง 72.29%

นายสุเมธกล่าวว่า GIT ประเมินว่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในเดือนธ.ค.2564 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปี น่าจะยังดีขึ้นต่อเนื่อง เพราะเป็นช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ทำให้ภาพรวมการส่งออกทั้งปี 2564 ที่ไม่รวมทองคำจะขยายตัวเป็นบวกได้แน่นอน แต่การส่งออกในช่วงปี 2565 ต้องจับตาการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องดูว่าแต่ละประเทศจะมีมาตรการเข้มงวดอะไรออกมา หากมีการล็อกดาวน์ หรือจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ก็อาจจะมีผลกระทบต่อการบริโภคสินค้าในกลุ่มนี้ได้

ทั้งนี้ GIT มีแผนที่จะสร้างความเชื่อมั่นในการเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก เพื่อกระตุ้นความต้องการสินค้าของไทย โดยมีกำหนดจัดงาน “เทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี” ในวันที่ 3-7 ก.พ.2564 ที่ จ.จันทบุรี ซึ่งจะมีการเชิญผู้ซื้อ ผู้นำเข้า และนักท่องเที่ยวไปเลือกซื้อสินค้า มีการจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์ เพื่อกระตุ้นการส่งออก โดยภายในงานจะมีสินค้ามากมายมาจัดแสดง ได้แก่ พลอยดิบ พลอยเจียระไน อัญมณี วัตถุดิบประกอบอัญมณี เครื่องจักร อุปกรณ์ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ และมีจุดจัดแสดง 3 จุด ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี , เคพี จิวเวลรี่เซ็นเตอร์ และตลาดพลอย ถนนศรีจันทร์  

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย 2564

Tags11 เดือนGITยอดส่งออกส่งออกอัญมณีเครื่องประดับโอมิครอน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BF.7 ระบาดหนักหน่วงในจีน

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า

WHO อัปเดตข้อมูลโควิด 5 สายพันธุ์ย่อย

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 204,102 คน ตายเพิ่ม 343 คน รวมแล้วติดไป 640,312,572 คน เสียชีวิตรวม 6,615,340 คน