ขั้นตอนการทําโครงงานวิทยาศาสตร์ ppt

ขั้นตอนการทําโครงงานวิทยาศาสตร์ ppt
Download

ขั้นตอนการทําโครงงานวิทยาศาสตร์ ppt

Skip this Video

Loading SlideShow in 5 Seconds..

มารูจักการทำโครงงานวิทยาศาสตร์กันเถอะ PowerPoint Presentation

ขั้นตอนการทําโครงงานวิทยาศาสตร์ ppt
ขั้นตอนการทําโครงงานวิทยาศาสตร์ ppt

มารูจักการทำโครงงานวิทยาศาสตร์กันเถอะ

มารูจักการทำโครงงานวิทยาศาสตร์กันเถอะ. ความหมาย.

Uploaded on Oct 03, 2014

ขั้นตอนการทําโครงงานวิทยาศาสตร์ ppt

Download Presentation

ขั้นตอนการทําโครงงานวิทยาศาสตร์ ppt

มารูจักการทำโครงงานวิทยาศาสตร์กันเถอะ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - E N D - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Presentation Transcript

  1. มารูจักการทำโครงงานวิทยาศาสตร์กันเถอะมารูจักการทำโครงงานวิทยาศาสตร์กันเถอะ

  2. ความหมาย โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมสำหรับนักเรียนในการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งนักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติและค้นคว้าด้วยตนเองโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้การแนะนำและการดูแลของครูหรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นและอาจใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆช่วยในการศึกษาค้นคว้า เพื่อให้การศึกษาค้นคว้านั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์

  3. จุดมุ่งหมายของกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์จุดมุ่งหมายของกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ 1.เพื่อให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรงในการศึกษาค้นคว้าหรือวิจัยเบื้องต้น ทางวิทยาศาสตร์ภายในขอบเขตของความรู้และประสบการณ์ระดับชั้น ของตน 2.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความรักและสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ 3.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ และมีโอกาสแสดงออก 4.เพื่อให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

  4. หลักการของโครงงานวิทยาศาสตร์หลักการของโครงงานวิทยาศาสตร์ 1.เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้นักเรียน ริเริ่ม วางแผน และดำเนินการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์เป็นผู้ชี้แนะ 2.เน้นกระบวนการในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3.เน้นการคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาด้วยตนเอง 4.มุ่งฝึกให้นักเรียนเรียนรู้วิธีการศึกษาค้นคว้าและแก้ปัญหาด้วยตนเอง มิใช่การส่งเข้าประกวด

  5. ประเภทต่างๆของโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทต่างๆของโครงงานวิทยาศาสตร์ • โครงงานประเภทการสำรวจ • โครงงานประเภทการทดลอง • โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ • โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย

  6. โครงงานประเภทการสำรวจโครงงานประเภทการสำรวจ เป็นกิจกรรมการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้ที่มีอยู่ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยวิธีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลต่างๆแล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาจัดกระทำ

  7. ตัวอย่างโครงงานประเภทนี้ ได้แก่ -การศึกษามลพิษของอากาศ น้ำและดิน -การศึกษาพฤติกรรมของสัตว์บางชนิดโยการนำมาเลี้ยงไว้ -การศึกษาโครงกระดูกของสัตว์บางประเภท -การศึกษาลักษณะของอากาศในท้องถิ่น

  8. โครงงานประเภทการทดลองโครงงานประเภทการทดลอง เป็นการศึกษาหาคำตอบของปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยการออกแบบการทดลองและดำเนินการทดลอง เพื่อหาคำตอบที่ต้องการทราบหรือเพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ลักษณะสำคัญ จะต้องมีการออกแบบการทดลองเพื่อหาคำตอบที่ต้องการศึกษา มีการจัดกระทำกับตัวแปรต้นเพื่อดูผลที่เกิดขึ้นกับตัวแปรตาม และมีการควบคุมตัวแปรอื่นๆที่ไม่ต้องการศึกษาด้วย

  9. ตัวอย่างโครงงานประเภทการทดลองตัวอย่างโครงงานประเภทการทดลอง -การศึกษาอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายในไก่ตัวเมีย -การเจริญเติบโตของพืชในสนามแม่เหล็ก -ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดสีม่วงในพืชบางชนิด -การใช้ผักตบชวาในการกำจัดน้ำเสีย

  10. โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ เป็นการประดิษฐ์เครื่องใช้อุปกรณ์ต่างให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ โดยอาศัยความรู้หรือหลักการทาง วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ อาจเป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน หรือการปรับปรุงอุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่แล้วให้ใช้งานได้ดีกว่าเดิม หรืออาจเป็นการเสนอสร้างแบบจำลองทางความคิดเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง

  11. ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทนี้ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทนี้ -เตาอบพลังแสงอาทิตย์ -บ้านยุคนิวเคลียร์ -เครื่องกันขโมย -แนวคิดในการจัดการระบบจราจรบริเวณทางแยก

  12. โครงงานประเภททฤษฎีหรือการอธิบายโครงงานประเภททฤษฎีหรือการอธิบาย เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎีหรือคำอธิบายสิ่งต่างๆหรือปรากฏการณ์ต่างซึ่งเป็นแนวคิดต่างๆโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ทฤษฎีอื่นหรือแนวคิดต่างๆสนับสนุน ทฤษฎีหรือคำอธิบายดังกล่าวอาจใหม่หรือขัดแย้งหรือขยายแนวคิดหรืออธิบายความคิดเดิมที่มีผู้คิดไว้ก่อน แต่ต้องมีข้อมูลหรือทฤษฏีอื่นมาสนับสนุนอ้างอิง ตัวอย่างโครงงานประเภทนี้เช่นโครงงานเรื่องกำเนิดทวีปและมหาสมุทร

  13. ทฤษฎีแบบพอเพียง

  14. ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ 1.การเลือกปัญหาที่ต้องการศึกษา นักเรียนต้องฝึกตั้งคำถาม ฝึกหาหัวข้อ แล้วเลือกปัญหาที่เหมาะสมเพื่อศึกษา 2.การวางแผนในการทำโครงงาน โดยการเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ การออกแบบการทดลอง การควบคุมตัวแปร วิธีการรวบรวมข้อมูล วางแผนปฏิบัติงานเป็นขั้นตอน

  15. 3.การลงมือทำโครงงาน เป็นการลงมือปฏิบัติตามแผนงาน โดยการเก็บรวบรวม ข้อมูล การสร้างหรือประดิษฐ์ การค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูล ตีความหมายข้อมูล และสรุปผลการค้นคว้าสรุปผลการค้นคว้า 4.การเขียนรายงาน เป็นการเสนอผลงานเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้อื่นทราบผลการทำโครงงาน ซึ่งควรจะมีหัวข้อต่อไปนี้

  16. ชื่อโครงงาน ชื่อผู้จัดทำ ชื่อที่ปรึกษา บทคัดย่อ(วัตถุประสงค์/วิธีการศึกษาและสรุปผล) กิตติกรรมประกาศ ที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ สมมติฐาน วิธีดำเนินการ ผลการทดลอง สรุปผลการทดลอง และข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง 5.การแสดงผลงาน เป็นการเสนอผลงานที่ได้ทำการค้นคว้าแล้วให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยการจัดนิทรรศการ อาจทำในห้องเรียน ภายในโรงเรียน ระดับกลุ่มโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับเขตการศึกษาหรือระดับชาติ

  17. สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้จาการทำโครงงานสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้จาการทำโครงงาน 1.ความรู้ในเนื้อหาวิชา นักเรียนจะได้รับความรู้ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารต่างๆและผู้รู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ที่เป็นข้อค้นพบของการทำโครงงาน 2.ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ นักเรียนจะได้มีโอกาสใช้ทักษะต่างๆ เช่น การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลองและควบคุมตัวแปร การวัด การรวบรวมข้อมูล ซึ่งจะทำให้ นักเรียนพัฒนาความสามารถในทักษะต่างๆเหล่านั้น

  18. 3.ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหา3.ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหา จากการที่นักเรียนได้ลงมือศึกษาค้นคว้าทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยตนเองตลอด นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จนทำให้สามรถนำความรู้และ ประสบการณ์ที่ได้รับมาปรับใช้ในการแก้ปัญหาอื่นๆได้ 4.เจตคติ นักเรียนได้มีโอกาสเลือกเรื่องที่ตนสนใจจะศึกษาเอง ลงมือค้นคว้าด้วยตนเองและค้นพบคำตอบด้วยตนเองจะทำให้เกิดความชอบ และสนใจในวิชานั้นและจะค่อยๆพัฒนาเจตคติ และค่านิยมทางวิทยาศาสตร์ ให้เกิดขึ้น

  19. 5.เพื่อพัฒนาความสามารถของนักเรียนในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหา5.เพื่อพัฒนาความสามารถของนักเรียนในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหา 6.เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 7.เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  20. 8.คุณสมบัติอื่นๆ เช่นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความเชื่อมั่นในตนเอง มีวินัยในการทำงาน มีความรับผิดชอบ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

  21. ข้อดีและข้อจำกัด ข้อดี 1.ผู้เรียนมีโอกาสเลือกประเด็นที่จะปรึกษา วิธีการและแหล่งความรู้ด้วยตนเอง 2.ผู้เรียนเป็นผู้ศึกษาหรือลงมือปฏิบัติด้วยตนเองทุกขั้นตอน 3.การศึกษาค้นคว้านั้นมีการเชื่อมโยงหรือบูรณาการระหว่างความรู้/ทักษะ/ประสบการณ์เดิมกับสิ่งใหม่ 4.ผู้เรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น 5.ผู้เรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาในการทำงาน

  22. ข้อจำกัด 1.ใช้เวลาในการเรียนรู้มาก เสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง 2.ผู้สอนอาจให้คำปรึกษาและดูแลไม่ทั่วถึง 3.ถ้าผู้เรียนวางแผนการทำงานไม่ดีอาจทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ 4.ถ้าผู้สอนขาดความเอาใจใส่หรือขาดความอดทน อาจทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ

  23. เอกสารอ้างอิง http://www.jstp.org/methodology6.htm http://members.tripod.com/thaivit/page1.htm http://www.geocities.com/sakont2000/http://www.thaipr.cjb.net http://www.rimhk.ac.th/~udomsin/elearning/content/lesson1/103.html