หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง 2521 ราคา

รหัสสินค้า PN01696

750.00 บาท

จำนวนชิ้น ราคาต่อชิ้น ส่วนลดต่อชิ้น
{{(typeof focus_pdata.price_list[idx+1] == 'undefined')?('≥ '+price_row.min_quantity):((price_row.min_quantity < (focus_pdata.price_list[idx+1].min_quantity - 1))?(price_row.min_quantity+' - '+(focus_pdata.price_list[idx+1].min_quantity - 1)):price_row.min_quantity)}} {{number_format(price_row.price,2)}} บาท {{number_format(((focus_pdata.price_old === null)?focus_pdata.price:focus_pdata.price_old) - price_row.price,2)}}  บาท

คงเหลือ 1 ชิ้น
จำนวน (ชิ้น)

-

+

ซื้อเลย

หยิบลงตะกร้า

ซื้อเลย

หยิบลงตะกร้า

คุณมีสินค้าชิ้นนี้ในตะกร้า 0 ชิ้น

บัตรประชาชน

บุ๊คแบงก์

คุ้มครองโดย LnwPay

หมวดหมู่ เหรียญเกจิอาจารย์
สภาพ สินค้าใหม่
เพิ่มเติม
สภาพ สินค้ามือสอง
เกรด
สถานะสินค้า Pre-Order
สถานะสินค้า พร้อมส่ง
เข้าร่วมโปรโมชั่น
ความพึงพอใจ ยังไม่มีความคิดเห็น

เหรียญหลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง ปี 2521

ที่ระลึกฉลองอายุ 80 ปี

เหรียญ สวยมากครับ ผิวเดิม ๆ

ท่านที่ชอบ เหรียญสวย ผิวเดิม ๆ เก็บไว้ให้ลูกหลาน...ไม่ผิดหวังครับ

หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง เกจิดังเมืองกรุง

พระเครื่องเข้มขลังดีทาง "อยู่ยงคงกะพัน" "เมตตามหานิยม" อย่างโดดเด่น
“หลวงปู่ธูป” หรือ “พระราชธรรมวิจารณ์” เป็นพระยุคเก่าที่สมถะ มีความเป็นอยู่แบบเรียบง่ายให้การอนุเคราะห์สาธุชนโดยเลือกชั้นวรรณะ เปี่ยมล้นด้วยพรหมวิหาร ให้การต้อนรับขับสู้แขกผู้มาเยือนอย่างมีไมตรีจิต เป็นที่เคารพนับถือของบรรพชิต และคฤหัสถ์โดยทั่วไป

นับตั้งแต่สงครามอินโดจีนเรื่อยมา วัดสุนทรธรรมทาน หรือ วัดแคนางเลิ้ง หรือ วัดสนามกระบือ ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ถือเป็นสถานที่ต้อนรับพระเกจิอาจารย์ที่อยู่ต่างจังหวัดมากมาย หลวงปู่ธูปจึงมีความสนิทคุ้นเคยและมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนวิชาความรู้ทางพุทธาคมคาถา กับพระผู้ทรงวิทยาคมในสมัยนั้นหลายรูปหลายนามยิ่งกว่านั้น ยังได้รับตำรับตำราจากพระคณาจารย์บางองค์เป็นการเพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะวิชา “อยู่ยง” นั้นเป็นที่เล่าลือมาก

ต่อมาในระยะหลังๆ พระเกจิอาจารย์มาเยือนวัดแคนางเลิ้งเพียงไม่กี่รูป เพราะชราภาพไม่สะดวกในการเดินทาง คงมีแต่หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง นครปฐม หลวงพ่อนอ วัดกลางและหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันคงเหลือแต่เพียงเรื่องราวของท่าน ที่ถูกนำมาถ่ายทอดเล่าขานสืบต่อกันมา

หลวงปู่ธูป เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 9 ของวัดแคนางเลิ้งที่มีความเข้มขลังทางพุทธาอาคม เป็นเกจิร่วมยุคกับหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงปู่เส่ง วัดกัลยาณมิตร หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม โดยเฉพาะหลวงปู่โต๊ะจะสนิทสนมกันมาก เมื่อวัดแคมีการปลุกเสกพระจะต้องนิมนต์หลวงปู่โต๊ะไปร่วมนั่งปรกทุกครั้ง สมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ ท่านไม่ยอมเปิดเผยวิทยาคุณด้านนี้ให้เป็นที่แพร่หลายมากนัก ผู้คนทั่วไปจึงไม่ค่อยมีโอกาสรับรู้ นอกจากผู้อยู่ใกล้ชิดและติดตาม

ท่านเกิดในสกุล “วิชาเดช” เกิดวันจันทร์ที่ 11 เม.ย. 2441 ณ บ้าน ต.บางหลวงเอียง อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ “เดช” มารดาชื่อ “ผ่อง” มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน ท่านเป็นคนสุดท้อง อายุได้ 8 ปี ญาติผู้ใหญ่นำไปฝากให้เรียนอักษรสมัยที่วัดตะกู โดยมีพระอาจารย์เอม เจ้าอาวาสขณะนั้น เป็นครูสอนเรียนหนังสือไทยเบื้องต้น มีประถม ก.กา มูลบทบรรพกิจ หนังสือพระมาลัยและขอม เป็นพื้นฐานเบื้องต้น จากนั้นได้ย้ายมาศึกษาวิชามูลกัจจายน์ และเรียนหนังสือบาลีที่วัดศาลาปูน จ.พระนครศรีอยุธยา

หลังจากเล่าเรียนจนแตกฉานแล้ว พี่ชายของท่านซึ่งอยู่กับญาติผู้ใหญ่ที่กรุงเทพฯ คือ พล.ต.อ.เจ้าพระยาราชศุภนิมิตร และท่านผู้หญิงแปลก ได้มารับท่านไปอยู่ที่กรุงเทพฯ ด้วย และได้ให้ความเมตตาและอุปการะเป็นอย่างดี โดยให้เข้าเรียนหนังสือต่อที่ ร.ร.วัดส้มเกลี้ยง (วัดราชผาติการาม) จนจบชั้นประถม 4 ในขณะที่เล่าเรียนได้มีโอกาสติดตาม พล.ต.อ.เจ้าพระยาราชศุภนิมิตรเข้าเฝ้า และติดตามเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชพิธีต่างๆ และการเสด็จแปรพระราชฐานในต่างจังหวัดอยู่บ่อยครั้ง

เมื่ออายุครบเกณฑ์ทหารได้สมัครเข้ารับราชการเป็นทหารรักษาวังอยู่ 2 ปี หลังปลดประจำการท่านเจ้าพระยาและท่านผู้หญิง ได้อุปถัมภ์ให้เข้ารับการอุปสมบท ณ วัดสุนทรธรรมทาน เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2463 สมเด็จพระวันรัต (จ่าย) เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอริยมุนี (หว่าง) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูพุทธบาล (เนตร) เจ้าอาวาสวัดสุนทรธรรมทาน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “เขมสิริ”

ได้อยู่จำพรรษาที่วัดแคนางเลิ้ง ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระครูพุทธบาลมาโดยลำดับ และยังได้ศึกษานักธรรมชั้นตรีในสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตร เมื่อถึงกำหนดสอบธรรมสนามหลวง เกิดอาพาธกะทันหันจึงล้มเลิกการศึกษาทางด้านคันถธุระตั้งแต่นับนั้นและหันมาเอาดีทางสมถกรรมฐานและพุทธาคมคาถา

ประมาณพรรษาที่ 3 ได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชากรรมฐานชั้นสูงกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จนบรรลุฌานชั้นสูง สามารถแสดงอิทธิคุณต่างๆ ได้ ยิ่งกว่านั้น ยังได้ศึกษาเวทมนต์คาถา ซึ่งเป็นวิชาการแขนงหนึ่งที่พระเถระยุคเก่าต้องใฝ่หาเรียนรู้ไว้เพื่อประโยชน์ในงานพระศาสนาต่างๆ อาทิ การปลุกเสกวัตถุมงคลในรูปแบบต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยพระผู้ทรงวิทยาคุณเป็นผู้ภาวนาปลุกเสก โดยได้รับการประสิทธิ์ประสาทจากหลวงพ่อปานมาเต็มเปี่ยม จากนั้นจึงไปเรียนวิชากับหลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ ได้วิชาทำเชือกคาดเอวที่มีประสบการณ์ดัง "ไม่ไหม้ไฟ"
หลวงปู่ธูปใช้เวลาศึกษาอยู่กับหลวงพ่อปานประมาณหนึ่งพรรษา จึงกลับคืนวัดสุนทรธรรมทาน และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทนพระครูพุทธบาล ที่ขอลาสิกขาบทในปี พ.ศ. 2470 และผ่านการลงคะแนนเลือกตั้งจนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2471 ขณะมีอายุได้ 30 ปี พรรษา 8 นับเป็นพระหนุ่มที่มีพรรษาน้อยสุดที่ได้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดในเขต จ.พระนครสมัยนั้น

หลังจากรับตำแหน่งท่านก็ริเริ่มปฏิสังขรณ์และพัฒนาก่อสร้างอาคาร เสนาสนะต่างๆ เรื่อยมา โดยเริ่มลงมือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472-2500 ซึ่งเป็นปีที่ก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ กระทั่งวันอาทิตย์ที่ 29 ก.ค. 2533 เวลา 02.26 น. ท่านก็มรณภาพลงที่โรงพยาบาลพญาไท รวมสิริอายุ 92 ปี 3 เดือน 28 วัน พรรษา 70

ด้านวัตถุมงคล ตลอดเวลาที่ท่านครองเพศพรหมจรรย์ ได้สร้างวัตถุมงคลในรูปแบบต่างๆมากมายหลายรุ่น จากการบันทึกของหนังสือวัดทราบว่าสร้างครั้งแรกในปีพ.ศ.2482 และจัดสร้างติดต่อกันมาจนถึงพ.ศ.2529 วัตถุมงคลที่ท่านสร้างเมื่อปีพ.ศ.2482 ได้สร้างร่วมกับหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เป็นพระสมเด็จฐานสามชั้น พระรอด พระนางพญา และพิมพ์นางกวัก พระที่สร้างครั้งนี้เป็นพระเนื้อผง ผสมกับดินปูชนียสถาน และผงใบลาน ลงรักฉาบเนื้อ เนื้อในสีดอกเทา ด้านหลังจะเป็นรอยจารลึกลงไปในเนื้อทุกองค์

เมื่อสร้างเสร็จท่านก็แจกจ่ายแก่ลูกศิษย์และผู้มาแสดงมุทิตาจิต ที่เหลือนอกนั้นนำไปบรรจุที่ใต้ฐานพระประธาน พระชุดนี้ปัจจุบันหาดูได้ยากสักหน่อย นอกจากนี้ท่านได้สร้างตะกรุด เชือกคาดเอว พระเนื้อผงรุ่นปี พ.ศ. 2504 เหรียญปี พ.ศ. 2513 และอื่นๆ อีกพอสมควร
วัตถุมงคลวงปู่ธูปทุกชนิดมีพุทธคุณในด้าน “เมตตามหานิยมและความรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน” เป็นหลัก เรื่องคุ้มครองแคล้วคลาดก็ยอดเยี่ยมเช่นกัน