วิจัย ใน ชั้น เรียน คณิตศาสตร์ ป 2 การบวก

วิจัย ใน ชั้น เรียน คณิตศาสตร์ ป 2 การบวก

Advertisement

ชื่อเรื่อง การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง โจทย์ปัญหา
การบวก การลบจำนวนนับสองจำนวนที่มีผลบวกและตัวตั้งไม่เกิน9 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางวรางรัตน์ สลักคำ

ปีที่ศึกษาค้นคว้า 2555
ปีที่พิมพ์ 2556

ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่

ชื่อเรื่อง                 การพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง “ การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และ ตัวตั้งไม่เกิน 100 ”   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/ 2   โรงเรียนบ้านปรือคัน  จังหวัดศรีสะเกษ   ปีการศึกษา       2552    โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ผู้วิจัย                     นางบรรจง  เสถียรสิริวิวัฒน์

 บทคัดย่อ

                 การวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1 ) เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง “ การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ”   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนบ้านปรือคัน  จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2552  โดยใช้แบบฝึกทักษะ  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง “ การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ”   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนบ้านปรือคัน  จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2552  โดยใช้แบบฝึกทักษะ3 )เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อการเรียนเรื่อง “ การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ”   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนบ้านปรือคัน  จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2552  โดยใช้แบบฝึกทักษะ   4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์    

                กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 22  คน  แบบเจาะจง  โดยใช้กับนักเรียนกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนและหลังปฏิบัติการ ผู้วิจัยใช้เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ  เรื่อง  “  การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100  ”  ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2544  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  1  ดังนี้      1)   การบวกที่มีผลบวกไม่เกิน  100   2) โจทย์ปัญหาการบวกที่มีผลบวกไม่เกิน  100  3)   การลบที่มีตัวตั้งไม่เกิน  100   4 ) โจทย์ปัญหาการลบที่มีตัวตั้งไม่เกิน  100  โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการของนักวิชาการแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ    ขั้นการวางแผน  ขั้นปฏิบัติการ  ขั้นสังเกตและบันทึกผล    และการสะท้อนผล  โดย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  แบ่งเป็น  3  ประเภท  คือ แผนการจัดการเรียนรู้  จำนวน  18   แผน แบบฝึกทักษะ จำนวน 18   ชุด   และแบบวัดผลและประเมินผลผู้เรียน  แบ่งเป็น  3  ชุด  คือ  1) แบบทดสอบก่อน- หลังเรียน    2)  แบบบันทึกสังเกตความรับผิดชอบ   3)  แบบประเมินความพึงพอใจ   เครื่องมือเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญจำนวน   5  ท่าน  มีความสอดคล้อง  ( IOC ) มีค่าตั้งแต่  .50   ขึ้นไปทุกรายการ  ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลตามแผนการวิจัยด้วยตนเองตั้งแต่เดือน  ธันวาคม  2552 – มกราคม  2553    ถ้าเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพได้ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อความ ส่วนข้อมูลในเชิงปริมาณได้ใช้วิธีวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาค่าความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การคำนวณผู้วิจัยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป  SPSS for Window

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 

                1. ภายหลังการพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง “ การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ”   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนบ้านปรือคัน  จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2552  โดยใช้แบบฝึกทักษะนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โดยใช้แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพ(E1/E2) เท่ากับ 86.28 / 84.77 สูงกว่าเกณฑ์ 80 / 80  ซึ่งผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ

               2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายหลังการพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง “ การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ”   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนบ้านปรือคัน  จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2552  โดยใช้แบบฝึกทักษะ ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 84.77  สูงกว่าก่อนการวิจัย  ซึ่งมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 49.55 โดยเพิ่มขึ้น  คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 35.23

                3. ความรับผิดชอบต่อการพัฒนาการเรียนรู้  เรื่อง “ การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ”   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนบ้านปรือคัน  จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2552  โดยใช้แบบฝึกทักษะ ระหว่างการพัฒนาตลอดการวิจัย  อยู่ในระดับสูง   คิดเป็นคะแนนร้อยละ 98.24

           4.    ความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังการพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง  “ การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ”ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านปรือคัน  จังหวัดศรีสะเกษ  อยู่ในระดับมาก    คิดเป็นคะแนนร้อยละ  82.22  ความคิดเห็นใกล้เคียงกัน (X รวม = 4.11  ,  S.D.  = 0.57)