การระดมทรัพยากรเพื่อการบริหาร จัดการ ศึกษาใน โรงเรียน ประถม ศึกษา

  • DSpace Home
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • วิทยานิพนธ์ (Thesis)
  • View Item

JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

อรวรรณ, อินสะคู

Date: 2561-08-22

Abstract:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 และเปรียบเทียบการระดมทรัพยากรเพื่อบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 335 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 27 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง และครูจำนวน 308 คน ได้มาโดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างแล้วสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว กำหนดค่าสถิติที่มีระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) การระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปลานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปลานกลางทุกด้าน ด้านที่มีการดำเนินงานโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทรัพยากรวัสดุอุปกรณ์ และด้านการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านทรัพยากรการจัดการ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่เกี่ยวกับการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 จำแนกตามสถานภาพตำแหน่งและขนาดของสถานศึกษาโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Show full item record

Files in this item

การระดมทรัพยากรเพื่อการบริหาร จัดการ ศึกษาใน โรงเรียน ประถม ศึกษา

Name: Orawan Insaku.pdf

Size: 3.698Mb

Format: PDF

This item appears in the following Collection(s)

  • วิทยานิพนธ์ (Thesis) [1726]

Search DSpace

Browse

  • All of DSpace

    • Communities & Collections
    • By Issue Date
    • Authors
    • Titles
    • Subjects
  • This Collection

    • By Issue Date
    • Authors
    • Titles
    • Subjects

My Account

  • Login
  • Register

Statistics

  • View Usage Statistics

การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา

บทความวิชาการ


การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา

โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะด้านวัตถุมีการพัฒนาสร้างสรรเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมามากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่การจัดการศึกษาในโรงเรียนจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน 
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครู  เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ
.ศ.2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยปรับประยุกต์ให้เข้ากับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9
(พ.ศ.2545-2549) ที่ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยพัฒนาสู่สากลบนพื้นฐานของความเป็นไทย เพื่อให้คนมีชีวิตที่ดีงาม เก่งและมีความสุข ให้สังคมไทยเป็นสังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญา สังคมแห่งการเรียนรู้สังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทร ภายใต้การบริหารจัดการที่ดี มุ่งเน้นให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการให้มากที่สุดในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย

ความหมายของทรัพยากรทางการศึกษา 

ทรัพยากรหมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลาง ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของคน วัสดุ เงินหรืออื่นๆที่จะเป็นเครื่องช่วยในการดำเนินงานขององค์การสำเร็จได้

  ทรัพยากรในการบริหาร ที่สำคัญคือ4 Msได้แก่ คน (Man) เงิน (Money)วัสดุสิ่งของ (Materials) และ การจัดการ (Management)

  ทรัพยากรการศึกษา ก็คือ คน (Man) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ (Materials) และ การจัดการ (Management) ที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา

  การบริหารทรัพยากรการศึกษาคือการพยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดแก่สถานศึกษา


ขอบข่ายของการบริหารทรัพยากรการศึกษา

  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2544: 16) ได้กล่าวถึง การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2547-2553 โดยเน้นการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาด้วยการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง

  รุ่ง แก้วแดง (2546: 51) กล่าวถึงการระดมสรรพกำลังทุกส่วนในสังคมเพื่อ การจัดการศึกษา ทุกส่วนของสังคมทั้งครอบครัวชุมชน รัฐ เอกชน องค์กรชุมชน สื่อมวลชนจะต้องตระหนักสำนึกรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการศึกษาทุกขั้นตอนแทนการผลักภาระให้เป็นความรับผิดชอบของรัฐเพียงอย่างเดียว แต่รัฐต้องมีเจตจำนงที่แน่วแน่และจริงจัง
เพราะการศึกษาเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางสติปัญญาที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคล
และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติโดยส่วนรวม

  ในขณะที่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 (กระทรวงศึกษาธิการ.2542 : 1- 21) ได้ระบุว่าการระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินี้ หมวด 1 มาตรา 9(5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆมาใช้ในการจัดการศึกษา หมวด 7 มาตรา 57 ให้หน่วยงานทางการศึกษาระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยนำประสบการณ์ ความรอบรู้ความชำนาญและภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคลดังกล่าว มาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาและยกย่องเชิดชูผู้ที่ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา หมวด 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการจัดการศึกษา มาตรา 58 ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงินและทรัพย์สินจากทั้งของรัฐ



ความสำคัญของทรัพยากรการศึกษา

  1.ทำให้สถานศึกษาดำเนินการเรียนการสอนหรือพัฒนาคนให้มีคุณภาพ และได้ผลตามความ มุ่งหมายของการจัดการศึกษา
  2.  เป็นการช่วยส่งเสริมงานวิชาการให้มีคุณภาพ

  3. เป็นการช่วยส่งเสริมการดำเนินงานด้านอื่นๆในสถานศึกษา

  4. เป็นตัวกลางหรือตัวกระตุ้นที่ทำให้กิจกรรมของสถานศึกษาดำเนินไปได้
  5. มีบทบาทต่อกิจกรรมหรือการดำเนินภารกิจของสถานศึกษาทั้งด้านของปริมาณและคุณภาพ


จะเห็นได้ว่าการจัดการศึกษาในปัจจุบัน  ยังมีความเหลื่อมล้ำในด้านต่าง ๆอยู่มากโดยเฉพาะด้านคุณภาพผู้เรียน
ซึ่งเป็นผลผลิตหลักของสถานศึกษาอันมีที่มาจากสาเหตุต่าง ๆเช่นความขาดแคลนปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นวัสดุ  ครุภัณฑ์ สื่อการเรียนการสอน และแหล่งเรียนรู้ทำให้ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนแต่ละสถานศึกษามีความแตกต่างกันตามปัจจัยข้างต้นจึงทำให้คุณภาพของผู้เรียนไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช 2540  ที่ต้องการจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม  สร้างเสริมความรู้และปลูกฝัง จิตสำนึกที่ดีงามโดยมีแนวทางการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาดังนี้

แนวทางการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา 

  สำหรับแนวทางการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาพอสรุปได้ดังต่อไปนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (กระทรวงศึกษาธิการ. 2542: 15- 16) ได้ให้แนวทางในการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาไว้ในหมวด 8 ตั้งแต่มาตราที่ 58 – 62 ไว้ดังนี้ มาตรา 58 ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สินทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนองค์กรเอกชน องค์กร วิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่นและต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษา ดังนี้ ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาโดยอาจจัดเก็บภาษีเพื่อ การศึกษาได้ตามความเหมาะสมทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา บริจาคทรัพย์สิน และทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา
และมีส่วนร่วม รับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็นทั้งนี้ให้รัฐและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากรดังกล่าว โดยการสนับสนุนการอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี

ในปัจจุบันการปฏิรูปการศึกษาของไทยยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการที่นักเรียนยังต้องเรียนพิเศษครูยังต้องได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถอีกมากผู้บริหารสถานศึกษาไม่สามารถบริหารจัดการศึกษาในส่วนที่ตนต้องรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ภาคประชาชนไม่มีความเข้มแข็ง ไม่รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนทำให้ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในความรับผิดชอบต่อการบริหารจัดการศึกษาในชุมชนของตนเอง

ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาจะสำเร็จได้ต้องมุ่งเน้นปฏิรูปใน 4 ด้าน คือ 1) ปฏิรูปด้านสถานศึกษา2) ปฏิรูปครู 3) ปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอนและ 4) ปฏิรูประบบการบริหารการจัดการศึกษาซึ่งการที่จะปฏิรูปทั้ง 4 ด้าน ดังกล่าวนั้น
ต้องอาศัยการบริหารจัดการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมีอิสระในการบริหารจัดการตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SchoolBased Management : SBM)
ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานและความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐานและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ได้มุ่งเน้นให้มีการบริหารจัดการศึกษาโดยสถานศึกษากระจายอำนาจการตัดสินใจไปให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็ก ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้ปกครอง และชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการจัดการศึกษา
ทำให้สถานศึกษามีอิสระและมีความคล่องตัวในการบริหารงานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณด้านการบริหารบุคคล และบริหารทั่วไปพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในรูปคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งประกอบไปด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ตัวแทนครู และผู้แทนชุมชน


  การบริหารการศึกษาเพื่อให้ได้คุณภาพนั้นต้องอาศัยทรัพยากรทางการศึกษา  โดยผู้บริหารจะต้องมีความรู้
ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษาและสามารถบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายได้ ทรัพยากรทางการศึกษาไม่ว่า จะเป็น คน เงินวัสดุและการบริหารจัดการ
ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนทั้งสิ้น

โดยสรุปแล้วในการบริหารทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรการเงินทรัพยากรกายภาพหรือทรัพยากรข้อสนเทศก็ตามสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องยึดถือเป็นหลักหรือเป็นแนวทางสำคัญ คือความเสมอภาคด้านคุณภาพของทรัพยากร ความมีประสิทธิภาพและความมีประสิทธิผลขององค์การโดยจะต้องถือหลักสำคัญว่า องค์การหรือหน่วยงานที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องมีการลงทุนและการลงทุนนั้นจะต้องได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าและความคุ้มค่านั้นอาจจะมีผลในรูปแบบของผลตอบแทนที่วัดได้หรือที่วัดไม่ได้ก็ได้เช่น ความมีเกียรติ ความมีชื่อเสียงและการยอมรับ


  ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าถ้าจะให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงต้องให้ความสนใจในการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาและระบบบริหารทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษามากขึ้นเพราะเป็นแนวทางสำคัญอันจะนำองค์กรทางการศึกษาไปสู่จุดมุ่งหมายอย่างแท้จริง


บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว, 2542.

ปรีชา คัมภีรปกรณ์.การบริหารทรัพยากรการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 3.นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.2547.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพุทธศักราช 2545 – 2549 ฉบับสรุป. พิมพ์ครั้งที่ 2.

กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟิก,2545.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. บัณฑิตศึกษาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์
แนวการศึกษาชุดวิชาการบริหารทรัพยากรการศึกษาหน่วยที่1-15 = Educationalresourcedministration / นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2541, 464หน้า.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, 2542.

รุ่ง แก้วแดง. โรงเรียนนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2546.

ศุภร บุญราช. การปฏิบัติและความคาดหวังเกี่ยวกับการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช
2542 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุดรราชธานี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา) ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2544.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : สำนักงาน,2544.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. รายงานปฏิรูปการศึกษาต่อประชาชน.กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2544

สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.)”ใน http://www.nidtep.go.th/index1.html

สมชาย หิรัญกิตติ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ฉบับมาตรฐานกรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย,2542.

สังวาลย์ วุฒิเสลา. การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี,2548.

เขียนโดย ทักษะชีวิต ที่ 4:29


ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แบ่งปันไปที่ Twitterแบ่งปันไปที่ Facebook

อ้างอิงจากเวป  http://wanchat58.blogspot.com/