รายงาน ระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน ส พ ฐ 2562

นายวรัญญู อติศักดิ์กุล ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดราษฎร์โพธิ์ทอง ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองนักเรียน ปีการศึกษา 2564 จัดโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ณ โรงเรียนพร้านิลวัชระ วันที่ 8 เมษายน 2564 จึงนำมาสู่การศึกษา และพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดราษฎร์โพธิ์ทองอย่างเป็นรูปธรรม โดยการนำหลักเกณฑ์การคัดเลือกสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2564 มาเป็นแนวทางในการดำเนินการเหมือนกับที่วิทยากรได้แนะนำ

รายงาน ระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน ส พ ฐ 2562

1. ความเป็นมาของระบบการดูแลช่วยเหลือ

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นกระบวนการหนึ่งในการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่จะดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีขั้นตอน วิธีการและเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจน มีครูประจำชั้นหรือครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา อาทิ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหาร ครูทุกคน ฯลฯ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงกำหนดนโยบายสำคัญให้สถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งจัดให้มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และดำเนินการอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนนักเรียนทุกคนจะต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือ พิทักษ์ ปกป้อง คุ้มครองอย่างรอบด้านด้วยกระบวนการที่ถูกต้อง เหมาะสมและทันการณ์ ได้รับการพัฒนาในทุกมิติ เพื่อให้เป็นคนดี มีความสุข และปลอดภัยในสภาพสังคมปัจจุบัน

2. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
หมวด 1 มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
หมวด 4 มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า นักเรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่านักเรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
มาตรา 26 ให้โรงเรียนจัดการประเมินนักเรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของนักเรียน ความประพฤติ การสังเกต พฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
พระราชบัญญัติฉบับนี้มีเป้าหมายในการดูแลช่วยเหลือเด็กและครอบครัวให้อยู่ในสภาพที่มีมาตรฐานในการดำรงชีวิตที่ดี ได้รับการดูแลให้มีพัฒนาการตามวัย และเด็กทุกคนต้องมีหลักประกันความปลอดภัย ได้รับความคุ้มครองจากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งเด็กที่ประสบปัญหาและเด็กที่ไม่ประสบปัญหาซึ่งระบุไว้ ดังนี้
หมวด 2 มาตรา 22 การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใดให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ และไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
มาตรา 42 กำหนดให้ ก.ค.ศ. กำหนดมาตรฐานตำแหน่งครู สายงานการสอน การปฏิบัติหน้าที่หลักเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนานักเรียน ปฏิบัติงานทางวิชาการของโรงเรียน พัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพ โดยกำหนดให้ลักษณะงานเกี่ยวกับการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นภาระงานหนึ่งในมาตรฐานตำแหน่งครู
พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของบุคคล ครอบครัว สังคมและเศรษฐกิจในภาพรวม ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของประเทศมีความซับซ้อนและไม่อาจแก้ไขได้ด้วยอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ดังนั้น สมควรสร้างกลไกในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดำเนินการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานของรัฐหน่วยงานของเอกชนและประชาสังคม เพื่อบูรณาการให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นรูปธรรมมีความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีมาตราที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาระบุไว้ ดังนี้
มาตรา 6 ให้โรงเรียนดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษาให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียนหรือนักศึกษา
(2) จัดหาและพัฒนาผู้สอนให้สามารถสอนเพศวิถีศึกษาและให้คำปรึกษาในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่นักเรียนหรือนักศึกษา
(3) จัดให้มีระบบการดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์ให้ได้รับการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมและต่อเนื่อง รวมทั้งจัดให้มีระบบการส่งต่อให้ได้รับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์และการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเหมาะสม
การกำหนดประเภทของโรงเรียนและการดำเนินการของโรงเรียนแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

3. แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการและจุดเน้นในการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยมอบหมายให้ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน (ฉก.ชน.สพฐ.) ดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยคำนึงถึงสิทธิของนักเรียนให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสม พัฒนาบุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นกระบวนการหนึ่งในเชิงการบริหารที่สำคัญ สถานศึกษาทุกแห่งต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยมีขั้นตอนสำคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้
(1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
(2) การคัดกรอง
(3) การส่งเสริมและพัฒนา
(4) การป้องกันและแก้ไขปัญหา
(5) การส่งต่อ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและกำหนดจุดเน้นเพื่อการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแนวทางสู่การปฏิบัติ ดังนี้
ปี พ.ศ. 2550 – 2552 เป็นปีแห่งการช่วยเหลือนักเรียน
ปี พ.ศ. 2553 – 2554 เป็นปีแห่งการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างรอบด้าน
ปี พ.ศ. 2555 – 2556 เป็นปีแห่งการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้พ้นภัยยาเสพติด
ปี พ.ศ. 2557 – 2558 เป็นปีแห่งการดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองนักเรียน
ปี พ.ศ. 2559 – 2561 เป็นปีแห่งการรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
ปี พ.ศ. 2562 เป็นปีแห่งการรู้จัก รัก เข้าใจ ห่วงใย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ปี พ.ศ. 2563 เป็นปีแห่งการห่วงใย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2564 เป็นปีแห่งการรัก เข้าใจ ห่วงใย ปลอดภัย และให้โอกาส

รายงาน ระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน ส พ ฐ 2562

รายงาน ระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน ส พ ฐ 2562

แนวทางการพัฒนาของโรงเรียนวัดราษฎร์โพธิ์ทอง 5 ประเด็น

ประเด็นที่ 1 การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่สะท้อนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 3 ปีการศึกษา ให้เห็นถึงแนวคิดและวิธีการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทของโรงเรียน พิจารณาจากประเด็นต่อไปนี้

1.1 นโยบายการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษา

1.1.1 วิสัยทัศน์ของโรงเรียน/สถานศึกษาสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยมีการกำหนดแนวทางตามนโยบายที่เกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียนอย่างชัดเจน

1.1.2 มีแผนกลยุทธ์ที่ระบุการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียน

1.1.3 มีแผนปฏิบัติการที่ระบุโครงการ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียน

1.1.4 มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียนที่ชัดเจน

1.1.5 มีระเบียบ แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียนมาใช้ได้อย่างเหมาะสม

1.2 ข้อมูลสารสนเทศระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษา

1.2.1 มีการวิเคราะห์สภาพปัญหา นำผลการดำเนินงานมาปรับปรุงและพัฒนาในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียน

1.2.2 มีการบริหารและดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1.2.3 มีแนวทาง/รูปแบบการดำเนินงานที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทของโรงเรียน/สถานศึกษา

1.3 ข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน/สถานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

1.3.1 มีข้อมูลนักเรียนรายบุคคลที่เป็นปัจจุบันและพร้อมนำไปใช้

1.3.2 มีสารสนเทศเกี่ยวกับผลการคัดกรองนักเรียน 3 ปีการศึกษาย้อนหลังต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ

1.3.3 มีสารสนเทศผลการดำเนินงานที่แสดงให้เห็นว่านักเรียนทุกคนได้รับการดูแล

1.3.4 มีการสรุปข้อมูลพร้อมทัี้งรายงานผลการพัฒนา ป้องกัน แก้ไขปัญหาและส่งต่อตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

1.3.5 มีการนำสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

1.4 ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษา เช่น ข้อมูลอุบัติเหตุ-ความเสี่ยง

1.4.1 มีข้อมูลกิจกรรม/โครงการพัฒนาให้นักเรียนรู้เท่าทันอันตรายหรือความไม่ปลอดภัยจากบุคคล อุบัติเหตุ และความเสี่ยงต่อชีวิต

1.4.2 มีสารสนเทศผลการดำเนินงานที่แสดงให้เห็นว่านักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาให้รู้เท่าทันและป้องกันความไม่ปลอดภัย

1.4.3 มีข้อมูลสารสนเทศผู้เกี่ยวข้องที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดความไม่ปลอดภัยต่อนักเรียนในโรงเรียน/สถานศึกษา

ประเด็นที่ 2 การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพพิจารณาจากประเด็นต่อไปนี้

2.1 วิธีการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน/สถานศึกษาครบทั้ง 5 ขั้นตอน โดยดำเนินงานสอดคล้องอย่างเป็นระบบ

2.1.1 มีวิธีการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน

2.1.2 มีวิธีการคัดกรอง

2.1.3 มีวิธีส่งเสริม พัฒนานักเรียนทุกกลุ่ม

2.1.4 มีวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหา

2.1.5 มีวิธีการส่งต่อ

2.1.6 มีการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างร้อยรัดทั้ง 5 ขั้นตอน

2.1.7 มีการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นระบบ

2.1.8 มีการใช้นวัตกรรมในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

2.2 การดำเนินการเสริมสร้างทักษะชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม

2.2.1 มีการบูรณาการทักษะชีวิตการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้

2.2.2 จัดกิจกรรม/โครงการที่เสริมสร้างทักษะชีวิต

2.2.3 นักเรียนทุกกลุ่มไ้ดรับการเสริมสร้างทักษะชีวิตและนักเรียนมีปัญหาด้านพฤติกรรมลดลง

2.2.4 การใช้พฤติกรรมเชิงบวกในการจัดการชั้นเรียนและพฤติกรรมนักเรียน

2.3 การดำเนินงานความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม

2.3.1 มีการวิเคราะห์สถานการณ์ที่อาจเกิดความไม่ปลอดภัยต่อนักเรียน

2.3.2 มีวิธีการที่เสริมสร้างความปลอดภัยให้แก่นักเรียน

2.3.3 มีวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษา

2.3.4 มีวิธีการรู้จักนักเรียนที่มีแนวโน้มอาจเผชิญต่อความไม่ปลอดภัย

2.4 การดำเนินการคุ้มครองนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรม

2.4.1 มีการติดตาม เฝ้าระวัง และคุ้มครองนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

2.4.2 มีกิจกรรม/โครงการที่คุ้มครองนักเรียนในโรงเรียน/สถานศึกษา

2.4.3 นักเรียนทุกคนได้รับการคุ้มครองด้วยรูปแบบ/วิธีการที่เหมาะสม

ประเด็นที่ 3 การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและส่งเสริมความปลอดภัยของโรงเรียน/สถานศึกษา พิจารณาจากประเด็นต่อไปนี้

3.1 ข้อมูลภาคีเครือข่าย และวิธีการสร้างเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

3.1.1 มีภาคีเครือข่าย ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (แล้วแต่กรณี)

3.1.2 มีสารสนเทศเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

3.1.3 มีวิธีการสร้างและการทำงานร่วมกับเครือข่ายที่สนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

3.1.4 ภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

3.2 การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริม สนับสนุน ป้องกัน ช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนร่วมกับโรงเรียน/สถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

3.2.1 ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลและวางแผนการส่งเสริม สนับสนุน ป้องกัน ช่วยเหลือและคุ้มครองนักเรียน

3.2.2 ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิต และคุ้มครองนักเรียน

3.2.3 ภาคีเครือข่ายมีการดำเนินงานในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิต และคุ้มครองนักเรียน

3.2.4 ภาคีเครือข่ายร่วมประเมิน/ชื่นชม ให้ขวัญกำลังใจการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

3.3 การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษา

3.3.1 ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลและวางแผนการส่งเสริม สนับสนุน ป้องกัน ความปลอดภัยในสถานศึกษา

3.3.2 ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษา

3.3.3 ภาคีเครือข่ายมีการดำเนินงานความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษา

3.3.4 ภาคีเครือข่ายร่วมประเมิน/ชื่นชม ให้ขวัญกำลังใจการดำเนินงานความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษา

ประเด็นที่ 4 การส่งเสริม สนับสนุน นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานส่งผลต่อประสิทธิภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษาพิจารณาจากประเด็นต่อไปนี้

4.1 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิต การเสริมสร้างความปลอดภัยและการคุ้มครองนักเรียน

4.1.1 ครูทุกคนได้รับการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเรื่องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง

4.1.2 ครูทุกคนมีความเข้าใจในวิธีการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและทำหน้าที่เป็นครูที่ปรึกษา

4.1.3 ครูมีความเข้าใจในกระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิตแบบบูรณาการและทักษะชีวิตเฉพาะปัญหา

4.1.4 ครูสามารถจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.1.5 ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจัดกิจกรรม/โครงการการคุ้มครองนักเรียนและการดูแลความปลอดภัยในสถานศึกษา

4.2 การนิเทศ ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนและให้ขวัญกำลังใจแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิต การเสริมสร้างความปลอดภัย และการคุ้มครองนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

4.2.1 มีการนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เสริมสร้างทักษะชีวิต ความปลอดภัย และการคุ้มครองนักเรียนภายในโรงเรียน/สถานศึกษา

4.2.2 มีการนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิต ความปลอดภัย และการคุ้มครองนักเรียนจากภายนอก

4.2.3 มีรูปแบบ และกระบวนการนิเทศที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน/สถานศึกษา

4.2.4 ผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจ และนำผลการนิเทศไปพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

4.2.5 ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้รับการส่งเสริมสนับสนุน และได้รับขวัญกำลังใจจากการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

4.3 การประเมินผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิต การเสริมสร้าง ความปลอดภัย และการคุ้มครองนักเรียน เพื่อปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

4.3.1 มีวิธีการและเครื่องมือประเมินผลอย่างเหมาะสม

4.3.2 ใช้วิธีการและเครื่องมือประเมินผลเป็นระยะ ๆ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงาน

4.3.3 นำผลการประเมินไปพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิต ความปลอดภัย และการคุ้มครองนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

4.3.4 มีการปรับปรุง พัฒนา วิธีการและเครื่องมืออย่างเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของงาน

ประเด็นที่ 5 ความสำเร็จของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษาพิจารณาจากประเด็นต่อไปนี้

5.1 ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิต และการคุ้มครองนักเรียน มีผลต่อคุณภาพของนักเรียน

5.1.1 นักเรียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มปัญหามีจำนวนลดลง สอดคล้องกับเป้าหมายของโรงเรียน/สถานศึกษา

5.1.2 อัตราการไม่จบตามหลักสูตรตามเวลาที่กำหนดของนักเรียนลดลงอย่างต่อเนื่อง

5.1.3 อัตราการออกกลางคันของนักเรียนลดลงกว่าปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง

5.1.4 นักเรียนมีทักษะชีวิตตามเป้าหมายที่โรงเรียน/สถานศึกษากำหนด

5.1.5 นักเรียนทุกกลุ่มได้รับการดูแล ช่วยเหลือ ปกป้อง คุ้มครอง ความปลอดภัย แก้ไขและพัฒนาตามศักยภาพ

5.1.6 นักเรียนประสบความสำเร็จได้รับการยอมรับในระดับต่าง ๆ

5.2 นักเรียนสามารถดูแล ช่วยเหลือตนเองได้ตามวัย

5.2.1 โรงเรียน/สถานศึกษาได้รับการยอมรับ ยกย่อง เชิดชูเกียรติ ในด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิต ความปลอดภัยและการคุ้มครองนักเรียน

5.2.2 มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลศในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิต ความปลอดภัยและการคุ้มครองนักเรียอย่างยั่งยืน

5.3 นักเรียนมีความปลอดภัยครอบคลุมทุกด้าน

5.3.1 นักเรียนมีทักษะชีวิต รู้เท่าทันภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองได้

5.3.2 นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร

5.3.3 นักเรียนอยู่รอดปลอดภัยและเรียนจนจบหลักสูตร

5.4 ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียนส่งผลต่อประสิทธิภาพของโรงเรียน/สถานศึกษา และชุมชนท้องถิ่น

5.4.1 นักเรียนมีความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

5.4.2 นักเรียนมีความปลอดภัยในการเดินทาง

5.4.3 นักเรียนมีความปลอดภัยจากบุคคล

5.4.4 นักเรียนได้รับการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจ