ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด ตัวอย่าง

การใช้ภาษากับความคิดเกี่ยวข้องกันอย่างไร

การใช้ภาษากับความคิดเกี่ยวข้องกันอย่างไร

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด
    ภาษากับมีอิทธิพลต่อความคิดหรือความคิดควบคุมการใช้ภาษายังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างไม่มีข้อยุติว่า
แท้จริงแล้วภาษาเป็นตัวกำหนดความคิดของมนุษย์หรือความคิดเป็นตัวกำหนดการใช้ภาษาของมนุษย์
อย่างไรก็ตามนักภาษาต่างเห็นตรงกันว่า
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกจากกันมิได้
ในระหว่างที่มนุษย์คิดก็ต้องอาศัยภาษาและในขณะที่ใช้ภาษาก็ต้องอาศัยการคิดควบคู่ไปด้วย
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันดังนี้คือ อ่านต่อ

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด
    ภาษากับมีอิทธิพลต่อความคิดหรือความคิดควบคุมการใช้ภาษายังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างไม่มีข้อยุติว่า
แท้จริงแล้วภาษาเป็นตัวกำหนดความคิดของมนุษย์หรือความคิดเป็นตัวกำหนดการใช้ภาษาของมนุษย์
อย่างไรก็ตามนักภาษาต่างเห็นตรงกันว่า
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกจากกันมิได้
ในระหว่างที่มนุษย์คิดก็ต้องอาศัยภาษาและในขณะที่ใช้ภาษาก็ต้องอาศัยการคิดควบคู่ไปด้วย
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันดังนี้คือ

1. ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความคิด
มนุษย์ติดต่อกันโดยอาศัยภาษาซึ่งเป็นระบบสัญลักษณ์อาจเป็นการพูด การเขียน
การแสดงท่าทาง และอื่นๆ ถ้ามนุษย์ไม่มีภาษาแล้วก็คงติดต่อกันด้วยความลำบากเพราะ
“การที่มนุษย์คิดประดิษฐ์ภาษาขึ้นใช้ทำให้มนุษย์สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบความคิดให้มนุษย์คิดเป็นภาษา
และใช้ภาษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความคิดให้เป็นระบบระเบียบ” เช่น
การบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ ทำให้คนรุ่นใหม่รู้เรื่องราวของคนรุ่นเก่าได้

2. ภาษาเป็นสิ่งสะท้อนความคิดให้ปราก
ไม่ว่ามนุษย์จะใช้ภาษาลักษณะใดก็ตามในขณะที่ใช้ภาษาถ่ายทอดความต้องการของตนนั้น
จะทำให้ผู้รับสารรับรู้ว่า ผู้ส่งสารคิดอะไรอย่างไร
“ภาษาย่อมเป็นเครื่องสะท้อนความคิดอ่านของคนเรา ไม่ว่าจะพูดหรือจะเขียนเราย่อม

ต้องใช้ภาษาเป็นสื่อเพื่อบอกสิ่งที่ต้องการให้ผู้อื่นได้เข้าใจหรือได้รับทราบสิ่งที่ต้องการนี้”
แต่ใน

บางครั้งการใช้ภาษาของมนุษย์ก็อาจไม่ได้สะท้อนความคิดที่แท้จริงออกมาก็ได้
ทั้งนี้เพราะมนุษย์รู้จักปกปิดบิดเบือนความคิดที่แท้จริงของตนเอง

3. ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดและความคิดก็มีอิทธิพลต่อภาษ
แม้ว่าภาษาจะเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่มนุษย์กำหนดขึ้นใช้
แต่ส่วนหนึ่งมนุษย์ก็เข้าใจว่าภาษาคือสิ่งที่แทนนั้น
ทำให้การใช้ภาษามีส่วนช่วยกำหนดความคิดของมนุษย์ได้ด้วย
ด้วยเหตุนี้ภาษาจึงมีอิทธิพลต่อความคิด เช่น
การตั้งชื่อของคนไทยจะต้องเลือกชื่อที่มีความหมายดีเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในทางตรงข้ามความคิดก็เป็นตัวกำหนดการใช้ภาษาของมนุษย์
เมื่อมนุษย์ต้องการถ่ายทอดความต้องการของตนให้ผู้อื่นรับรู้
ก็จะต้องเลือกเฟ้นถ้อยคำที่มีความหมายสื่อความให้ตรงกับความคิดของตน

4. ภาษาช่วยพัฒนาความคิดและความคิดก็ช่วยพัฒนาภาษา
สมรรถภาพในการคิดและสมรรถภาพในการใช้ภาษาของบุคคลจะมีผลต่อเนื่องกันเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่
ขณะที่มนุษย์คิดนั้นจะต้องอาศัยภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดและจะต้องเลือกถ้อยคำนำมาเรียบเรียงถ่ายทอด
ซึ่งการทำเช่นนี้ความคิดจะถูกขัดเกลาให้ชัดเจนเหมาะสม
ความคิดก็จะพัฒนายิ่งขึ้นด้วยและขณะที่มีความคิดกว้างไกลก็จะรู้จักใช้ภาษาได้กว้างขวางขึ้น
ความคิดจึงช่วยพัฒนาภาษาเช่นกันเราจะเห็นอย่างชัดเจนว่าภาษาสัมพันธ์กับความคิด

แนวทางปฏิบัติโดยทั่วไปเพื่อช่วยสร้างเสริมความคิด อาจทำได้ดังนี้

1. ใฝ่ใจค้นคว้า ในเวลาที่คิดนั้นปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้น คือ คิดไม่ออก
ไม่รู้จะคิดว่าอย่างไร สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นดีพอ
ผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความคิดจะต้องเป็นผู้ใฝ่ใจศึกษา ค้นคว้าหาความรู้
เก็บข้อมูลต่างๆ สะสมไว้ในสมอง ความรู้จะช่วยให้เข้าใจเรื่องราว
เกิดความคิดเชื่อมโยงสัมพันธ์กับเรื่องอื่นๆ ได้
ซึ่งการค้นคว้าหาความรู้อาจทำได้โดยการฟังหรือการอ่าน

2. หมั่นหาประสบการณ์ ประสบการณ์เป็นวัตถุดิบเบื้องต้นที่จะช่วยทำให้เกิดความ
คิดการได้สัมผัสกับสภาพความจริงจะช่วยก่อกำเนิดความคิดได้ดี
การมีความรู้คู่ประสบการณ์จะทำให้คิดได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ดังนั้นจึงควรสนใจหมั่นหาประสบการณ์อยู่เสมอเพื่อจะได้รู้จริง
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการคิดอย่างมาก

3. มีความสามารถทางภาษา การรู้จักจัดลำดับความคิดให้เป็นระเบียบ
เลือกเฟ้นถ้อยคำที่เหมาะสมถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
ก็จะช่วยพัฒนาความคิดขึ้นโดยลำดับและขณะเดียวกันก็พัฒนาความคิดของผู้รับสารด้วย

4. ใช้ปัญญาสร้างภาพ วิธีที่จะช่วยสร้างความคิดอีกวิธีหนึ่ง คือ
การนึกเห็นภาพในใจก่อนภาพนี้ไม่ใช่ภาพประเภทเพ้อฝันไร้สาระ
แต่เป็นภาพที่ใช้ข้อมูลมาประกอบการสร้างความคิดจะทำให้สายตากว้างไกล
การสร้างภาพจะช่วยทำให้ความคิดแจ่มแจ้งชัดเจน เช่น
ในการแก้ไขปัญหาถ้าสร้างภาพนึกเห็นไว้ก่อนว่าสถานการณ์อย่างนี้จะแก้ไขอย่างไร
วิธีใด ความคิดก็จะบังเกิดควบคู่ไปกับการเห็นภาพ

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด ตัวอย่าง

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด

. บทบาทของภาษาในการพัฒนาการคิด

มนุษย์แสดงความคิดออกมาได้โดยการกระทำและโดยการใช้ภาษา การกระทำบางอย่างคนอื่นอาจไม่เข้าใจ ถ้าจะให้เข้าใจได้ผู้กระทำก็คงต้องอธิบายให้เข้าใจด้วย     การใช้ภาษาเพื่อแสดงความคิดหรืออธิบายความคิดของคนเราจะช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจ และยังเป็นการขัดเกลาความคิดของตนให้แจ่มชัดและแหลมคมยิ่งขึ้นด้วย     ในขณะที่มนุษย์ใช้ความคิดย่อมใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดไปด้วยอัตโนมัติ ภาษาจึงเปรียบประดุจเงาของความคิดตลอดเวลา ถ้าผู้ใดมีความสามารถในการคิดอย่างจำกัด ความสามารถในการใช้ภาษาก็จะถูกจำกัดไปด้วย แต่ถ้าผู้ใดมีความสามารถสูงในการคิด ความสามารถในการใช้ภาษาก็จะสูงตามไปด้วย

๒. วิธีคิด

 ๑.  วิธีคิดวิเคราะห์

การวิเคราะห์  คือ  การพิจารณาแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง แล้วทำความเข้าใจต่อไปว่า  แต่ละส่วนสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร

           ตัวอย่าง

                       เภสัชกรวิเคราะห์สมุนไพรเพื่อหาฤทธิ์ของตัวยาต่างๆ ที่อยู่ในสมุนไพร

                       นักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

                       นักวรรณคดีวิเคราะห์บทกวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย

ขั้นตอนของวิธีคิดเชิงวิเคราะห์  มีดังนี้

๑. กำหนดขอบเขตหรือนิยามให้ชัดเจนว่าจะวิเคราะห์อะไร

                       ๒. กำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนว่าจะวิเคราะห์เพื่ออะไร

                       ๓. พิจารณาหลักความรู้หรือทฤษฎีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์

                       ๔. ใช้หลักความรู้ให้ตรงกับเรื่องที่จะวิเคราะห์เป็นกรณีๆ ไป

                       ๕. สรุปและรายงานผลการวิเคราะห์ให้เป็นระเบียบชัดเจน

๒.  วิธีคิดสังเคราะห์

การสังเคราะห์ คือ  การรวมส่วนต่างๆ ให้ประกอบกันเข้าด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสมจนเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นสำหรับจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

          ตัวอย่าง

                      การสังเคราะห์ประโยค  ต้องมีความรู้เรื่อง ถ้อยคำ ความหมายและน้ำหนักกของคำ โครงสร้างของประโยค

                      การเรียบเรียง  เช่น  เรียงความ จดหมาย บทความ แถลงการณ์ ต้องมีความรู้ด้านภาษา  พื้นฐานของผู้อ่านและผู้ฟัง  ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในเรื่องนั้นๆ ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์แวดล้อมอื่นๆ

                      เภสัชกรสังเคราะห์ยา หรือวิตามิน ต้องมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติและปฏิกิริยาของสารต่างๆ และต้องมีความรู้ในการใช้เครื่องมือสำหรับสังเคราะห์ด้วย

ขั้นตอนของวิธีคิดเชิงสังเคราะห์มีดังนี้

๑. ตั้งจุดมุ่งหมายในการสังเคราะห์ให้ชัดเจน

                      ๒. หาความรู้เกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี หรือแนวทางที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้เป็นหลักในการสังเคราะห์

                      ๓. ทำความเข้าใจส่วนต่างๆ ที่จะนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการสังเคราะห์ให้ถ่องแท้

                      ๔. ใช้หลักความรู้ในข้อที่ ๒ ให้เหมาะแก่กรณีที่จะสังเคราะห์

                      ๕. ทบทวนว่าผลของการสังเคราะห์สอดคล้องกับความมุ่งหมายหรือไม่เพียงใด

๓.  วิธีคิดประเมินค่า

   การประเมินค่า  คือ  การใช้ดุลยพินิจพิจารณาแล้วตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นอาจเป็น วัตถุ ผลงาน การกระทำ หรือกิจกรรม    ก็ได้ ในการตัดสินคุณค่าอาจบ่งชี้ว่าสิ่งนั้นดีหรือเลว เป็นคุณหรือโทษ มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ คุ้มหรือไม่คุ้ม

           โดยทั่วไป ก่อนจะประเมินค่าจำเป็นต้องมีเกณฑ์มาเป็นเครื่องตัดสินสิ่งที่เราประเมิน บางทีในการประเมินค่า เราอาจประเมินโดยการพิจารณาเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่นตามความเหมาะสมก็ได้

ขั้นตอนของวิธีคิดประเมินค่า  มีดังนี้

๑. ทำความเข้าใจสิ่งที่เราจะประเมินให้ชัดเจน กล่าวคือวิเคราะห์สิ่งที่จะประเมิน นั่นเอง

                      ๒. พิจารณาว่าจะใช้เกณฑ์อะไรเป็นเครื่องตัดสินคุณค่าของสิ่งที่จะประเมิน

                      ๓. ถ้าจะประเมินค่าโดยไม่ใช้เกณฑ์ อาจเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่นซึ่งมีความสมเหตุสมผลพอที่จะนำมาเปรียบเทียบกันก็ได้

๔. วิธีคิดแก้ปัญหา

   ปัญหา คือ สภาพการณ์ที่ทำความยุ่งยากให้แก่มนุษย์  บุคคลที่รู้จักแก้ปัญหาย่อมเป็นผู้ที่สามารถทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคมได้

หลักในการคิดแก้ปัญหา

๑. ประเภทของปัญหา จำแนกเป็น ๓ ประเภทกว้างๆ คือ

        ปัญหาเฉพาะบุคคล

        ปัญหาเฉพาะกลุ่ม

        ปัญหาสาธารณะ  หรือปัญหาสังคม

    ๒. สาเหตุและสภาพแวดล้อมของปัญหา สาเหตุของปัญหาอาจมีเพียงประการเดียวหรือหลายประการ  ก็ได้ นอกจากนี้ปัญหาทุกปัญหาจะเกิดขึ้นภายในสภาพแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอไป หลักสำคัญในการแก้ปัญหาข้อหนึ่งคือ ต้องจับสาเหตุสำคัญให้ได้และรู้สภาพแวดล้อมของปัญหานั้นด้วย

    ๓. เป้าหมายในการแก้ปัญหา คือ กรปลอดพ้นอย่างถาวรจากสภาพที่ไม่พึงประสงค์

    ๔. การเลือกวิถีทางแก้ปัญหา

        วิถึทางแก้ปัญหา หมายถึง วิธีการใดๆ ก็ตามที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ โดยปกติแล้วเราจะเลือกวิถีทางที่มีอุปสรรคน้อยที่สุดหรือไม่มีอุปสรรคเลย อยู่ในวิสัยที่จะปฏิบัติได้ ไม่ก่อให้เกิดความยุ่งยากตามมา และให้ความมั่นใจได้มากที่สุดว่าจะนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

สรุป

หลักการสำคัญในการคิดเพื่อแก้ปัญหามีดังนี้

    ๑. ทำความเข้าใจลักษณะของปัญหาและวางขอบเขตของปัญหา

    ๒. พิจารณาสาเหตุของปัญหา

    ๓. วางเป้าหมายในการแก้ปัญหา

    ๔. คิดวิถีทางต่างๆในการแก้ปัญหา

    ๕. เลือกวิถีทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดที่จะทำให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ได้วางไว้

(เนื้อหาจาก http://thaigoodview.com/node/122550)

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด ตัวอย่าง