ข้อสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ข้อสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ข้อสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

คอร์สเรียน

เกี่ยวกับเรา

OPENDURIAN

หน้าแรก

คอร์สเรียน

คลังข้อสอบ

คลังความรู้

เกี่ยวกับเรา

ล็อคอิน / สมัครสมาชิก

  • ม. ปลาย
  • /
  • คณิตศาสตร์
  • /
  • ONET คณิตศาสตร์ ม.6 กุมภาพันธ์ 2552

ข้อ 19

19 of 40

ฝึกทำโจทย์แบบชิลๆ

น้องๆ สามารถเลือกทำโจทย์ได้ตามต้องการ ไม่มีการจับเวลา ไม่มีการนับคะแนน ตอบผิดแล้ว สามารถตอบใหม่ได้ สิ่งสำคัญ ก็คือ ควรทำความเข้าใจกับวิธีทำในเฉลยละเอียด การเรียนคณิตศาสตร์ให้ได้คะแนนดี ต้องเรียนด้วยการลองทำโจทย์เยอะๆ

เคล็ดลับจากติวเตอร์

ระหว่างอ่านเฉลย อย่าลืมมองหา "เคล็ดลับจากติวเตอร์" กรอบสีเขียว เพื่อเรียนวิธีลัด ตีโจทย์แตก เร็ว แวร๊ง!

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ

หัวข้อที่ 1 การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่

1.1 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

1.2 การเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่

หัวข้อที่ 2 การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแผนภาพ

เข้าสู่บทเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เข้าสู่บทเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

หน้าแรก

กิจกรรมและข่าวประชาสัมพันธ์

ติดต่อสอบถามข้อมูล

ข้อสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

  1. การรวบรวมข้อมูล (Data Compilation)  หมายถึง
  • การเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่
  • การเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่ โดยการศึกษาจากข้อมูลที่มีอยู่เดิมแล้ว
  • การนำเอาข้อมูลต่างๆที่ผู้อื่นได้เก็บไว้แล้ว หรือรายงานไว้ในเอกสารต่างๆมาทำการศึกษาวิเคราะห์ต่อ
  • การนำเอาข้อมูลต่างๆที่ผู้อื่นได้เก็บไว้แล้ว หรือรายงานไว้ในเอกสารต่างๆมาทำการศึกษาให้ใกล้เคียงกับข้อมูลเดิม

ตอบ   ค. การนำเอาข้อมูลต่างๆที่ผู้อื่นได้เก็บไว้แล้ว หรือรายงานไว้ในเอกสารต่างๆ มาทำการศึกษาวิเคราะห์ต่อ

  1. ข้อมูลแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
  • 2 ประเภท                                                            ค. 4  ประเภท
  • 3 ประเภท                                                            ง. ประเภทเดียว

ตอบ   ก. 2  ประเภท   ได้แก่  1) ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือนำมาให้รหัสเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ทางสถิติได้ 2) ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data)  คือ ข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข ไม่ได้มีการให้รหัสตัวเลขที่จะนำไปวิเคราะห์ทางสถิติ แต่เป็นข้อความหรือข้อสนเทศ

  1. ข้อใดคือข้อมูลที่จำแนกตามแหล่งที่มา
  • ข้อมูลเชิงคุณภาพ ค. ข้อมูลปฐมภูมิ
  • ข้อมูลทุติยภูมิ ง. ถูกทั้ง  ข  และ ค

ตอบ   ง. ถูกทั้ง  ข  และ ค

  1. ข้อมูลทุติยภูมิ คืออะไร
  • ข้อมูลต่างๆ ที่มีผู้เก็บหรือรวบรวมไว้ก่อนแล้วเพียงแต่นักวิจัยนำข้อมูลเหล่านั้นมาศึกษาใหม่
  • ข้อมูลที่ผู้วิจัยเก็บขึ้นมาใหม่เพื่อ ตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัยในเรื่องนั้นๆ
  • ข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข ไม่ได้มีการให้รหัสตัวเลขที่จะนำไปวิเคราะห์ทางสถิติแต่เป็นข้อความหรือข้อสนเทศ
  • ข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือนำมาให้รหัสเป็นตัวเลขซึ่งสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ทางสถิติได้

ตอบ  ก. ข้อมูลต่างๆ ที่มีผู้เก็บหรือรวบรวมไว้ก่อนแล้ว เพียงแต่นักวิจัยนำข้อมูลเหล่านั้นมาศึกษาใหม่

  1. ข้อมูลประเภทใดที่สามารถนำไปใช้วิเคราะห์ทางสถิติได้
  • ข้อมูลเชิงปริมาณ                                               ค. ข้อมูลปฐมภูมิ
  • ข้อมูลเชิงคุณภาพ ง. ข้อมูลทุติยภูมิ

ตอบ   ก. ข้อมูลเชิงปริมาณ 

  1. ข้อใดคือข้อมูลเชิงคุณภาพ
  • จำนวนสมาชิกโดยเฉลี่ยของครอบครัวไทย
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์
  • เพศของสมาชิกในครอบครัว
  • ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกในแต่ละปี

ตอบ   ค. เพศของสมาชิกในครอบครัว

  1. ข้อใด ไม่ใช่ ข้อมูลทุติยภูมิ
  • ข้อมูลสำมะโนประชากร                 ค. สถิติจากหน่วยงาน
  • ข้อมูลภาคสนาม                 ง. เอกสารทุกประเภทจากหน่วยงาน

ตอบ   ข. ข้อมูลภาคสนาม

  1. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมีกี่วิธี
  • 2 วิธี                                                                      ค. 4  วิธี
  • 3 วิธี                                                                      ง. 5  วิธี

ตอบ   ข. 3  วิธี   ได้แก่  1) การสังเกตการณ์ (Observation)  2) การสัมภาษณ์ (Interview)  3) การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร

ข้อสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

  1. ข้อใด ไม่ใช่ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
  • การสัมภาษณ์                                                      ค. การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร
  • การสังเกตการณ์                                                 ง.การกำหนดแหล่งข้อมูล

ตอบ   ง.การกำหนดแหล่งข้อมูล

  1. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ มีวิธีการอย่างไร
  • พิจารณาตัวบุคคลผู้เขียนรายงาน บทความ หรือเอกสารเหล่านั้นเสียก่อนว่าเป็นผู้มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เขียนถึงขั้นพอที่จะเชื่อถือได้หรือไม่
  • ถ้าข้อมูลที่ต้องการเก็บรวบรวมสามารถหาได้จากหลาย ๆ แหล่ง ควรเก็บรวบรวมมาจากหลาย ๆ แหล่งเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบว่าข้อมูลที่ต้องการมีความผิดพลาดเนื่องจากการลอกผิด พิมพ์ผิด หรือเข้าใจผิดบ้างหรือไม่
  • ถ้าข้อมูลทีเก็บรวบรวมได้มาจากการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง หรือต้องผ่านขั้นตอนการวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติมาก่อน ควรจะต้องตรวจสอบวิธีการที่ใช้ในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ขนาดกลุ่มตัวอย่าง และวิธีการวิเคราะห์ว่าเหมาะสมที่จะใช้หรือไม่
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

  1. ข้อใด ไม่ใช่ วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ
  • การสอบถามทางโทรศัพท์ ค. การสอบถามทางไปรษณีย์
  • การทดลอง                                                          ง. การศึกษาจากบทความหรือเอกสารต่างๆ

ตอบ   ง. การศึกษาจากบทความหรือเอกสารต่างๆ

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ  ได้แก่   (1) การสัมภาษณ์     (2) การสอบถามทางไปรษณีย์     (3) การสอบถามทางโทรศัพท์     (4) การสังเกต   (5) การทดลอง

  1. การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยวิธีใดนิยมใช้มากที่สุด
  • การสัมภาษณ์                                                   ค. การทดลอง
  • การสังเกต                                                           ง. การสอบถามทางโทรศัพท์

ตอบ   ก. การสัมภาษณ์     

  1. ข้อใดเรียงลำดับขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ถูกต้อง
  • เลือกกลุ่มตัวอย่าง กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด  เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล นำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้  ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล
  • เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด  กำหนดแหล่งข้อมูล   เลือกกลุ่มตัวอย่าง    นำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้  ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล
  • กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด กำหนดแหล่งข้อมูล   เลือกกลุ่มตัวอย่าง  เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  นำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้  ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล
  • กำหนดแหล่งข้อมูล เลือกกลุ่มตัวอย่าง  เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด  กำหนดแหล่งข้อมูล  ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล  นำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้

ตอบ   ค. กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด  กำหนดแหล่งข้อมูล   เลือกกลุ่มตัวอย่าง  เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  นำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้  ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล

  1. การใช้ข้อมูลทุติยภูมิมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องใด
  • ความทันสมัยของข้อมูล
  • ไม่ทราบว่าจะใช้วิธีเลือกตัวอย่างหรือวิธีการวางแผนการทดลองแบบใดจึงจะเหมาะสม
  • ไม่ทราบว่าจะประเมินความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้อย่างไร
  • ไม่ทราบว่าจะวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรในกรณีข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ไม่ครบถ้วนหรือขาดหายไปมากเนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ให้ข้อมูล

ตอบ  ก. ความทันสมัยของข้อมูล

การใช้ข้อมูลทุติยภูมิมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้   1) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล    2)  ความทันสมัยของข้อมูล   3) การขาดหายใปของข้อมูลบางรายการ

  1. ข้อใดเป็นปัญหาในการใช้ข้อมูลปฐมภูมิ
  • ความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
  • การขาดหายใปของข้อมูลบางรายการ
  • ไม่ทราบว่าจะประเมินความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้อย่างไร
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ค. ไม่ทราบว่าจะประเมินความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้อย่างไร

ปัญหาในการใช้ข้อมูลปฐมภูมิ  มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1)   ไม่ทราบว่าจะใช้วิธีเลือกตัวอย่างหรือวิธีการวางแผนการทดลองแบบใดจึงจะเหมาะสม

2)    ไม่ทราบว่าจะประเมินความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้อย่างไร

3)    ไม่ทราบว่าจะวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรในกรณีข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ไม่ครบถ้วนหรือขาดหายไปมากเนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ให้ข้อมูล

ข้อสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ