เบิกค่าฝากครรภ์ ไม่มีใบเสร็จ

เบิกค่าฝากครรภ์ ไม่มีใบเสร็จ
เบิกค่าฝากครรภ์ ไม่มีใบเสร็จ

• การเบิกและการรับเงินประกันสังคมสำหรับคนท้อง
ก่อนอื่นต้องเตรียมเอกสารให้พร้อมกังนี้ก่อนครับ
• เอกสารสำหรับเบิกค่าฝากครรภ์ มีดังนี้
1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน  ดาวโหลดได้ที่นี่ >> https://bit.ly/2Kxpgv8
2. ใบเสร็จรับเงินค่าฝากครรภ์
3. ใบรับรองแพทย์หรือสมุดบันทึ
*ส่วนในกรณีให้คุณพ่อติดต่อแทนให้นำสำเนาทะเบียนสมรสหรือหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส ดาวน์โหลดได้ที่นี่ >> https://bit.ly/2zs5IpT
• เอกสารเตรียมเบิกค่าคลอดบุตร มีดังนี้
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน  ดาวโหลดได้ที่นี่ >> https://bit.ly/2Kxpgv8
2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (ถ้าคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
3. สำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีธนาคาร (ออมทรัพย์) เห็นชื่อและเลขบัญชีชัดเจน
(11 ธนาคารที่สามารถทำรายการได้คือ กรุงเทพ, กสิกร, ไทยพาณิชย์, กรุงไทย, กรุงศรีฯ, ธนชาต, ธ.อิสลามฯ, CIMB, ออมสิน และ ธ.ก.ส.)
*ส่วนในกรณีให้คุณพ่อติดต่อแทนให้นำสำเนาทะเบียนสมรสหรือหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
ดาวน์โหลดได้ที่นี่ >> https://bit.ly/2zs5IpT
• การยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม/ไปรษณีย์
สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ ตามสาขาที่สะดวกหรือใกล้บ้านในเวลาราชการได้เลยครับ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่กระทรวงสาธารณสุข)
หรือหากไม่สะดวกมาด้วยตนเอง สามารถใช้หนังสือมอบอำนาจ เพื่อให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนได้
หรือสามารถส่งเอกสารทางไปรษณีย์..“ฝ่ายสิทธิประโยชน์” สำนักงานประกันสังคมตามที่อยู่ใกล้บ้านได้เลยครับ
• การรับเงิน
1 รับเงินด้วยตนเอง  ต้องนำบัตรประชาชนตัวจริงไปแสดง
2 รับเงินแบบธนาณัติ  ต้องระบุชื่อสาขาที่จะไปติดต่อรับเงินให้ชัดเจน
3 กรณีชำระเงินโอน ประกันสังคมจะโอนเข้าบัญชีของผู้ประกันตนภายใน 5-7 วันทำการ จากวันที่เอกสารได้รับอนุมัติครับ

คุณแม่ คุณพ่อ คนไหนที่เป็นผู้ประกันตนอยูก็อย่าลืมที่จะรักษาสิทธิประกันสังคมกันนะครับ

คุณแม่หลาย ๆ คนอาจยังไม่รู้  ที่ส่งประกันสังคมไปทุก ๆ เดือนนั้น  มีสิทธิสำหรับคนท้องด้วยนะ  เช็กสิทธิประกันสังคมของตนเองได้ที่นี่

1. ค่าตรวจครรภ์และฝากครรภ์

ประกันสังคมจะจ่ายค่าฝากครรภ์ให้คุณแม่โดยปรับเพิ่มค่าฝากครรภ์ 5 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,500 บาท (จากเดิม 3 ครั้ง 1,000 บาท) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  1. อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาท
  2. อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
  3. อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
  4. อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท
  5. อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท

ในส่วนนี้สามารถขอเบิกค่าฝากครรภ์จากประกันสังคมได้ โดยไม่ต้องให้คลอดบุตรก่อน หรือจะยื่นขอรับสิทธืหลังคลอดทีเดียวก็ได้ครับ

2. ค่าคลอดบุตร
ต่อมาสามารถเบิกค่าคลอดบุตรในอัตราแบบเหมาจ่าย 15,000.- /ครั้ง  สามารถเลือกเข้าโรงพยาบาลไหนก็ได้ที่เลือกลงทะเบียนไว้  ซึ่งหากเป็นโรงพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในสังกัด  คุณแม่ก็สามารถสำรองจ่ายไปก่อน  และทำเรื่องเบิกที่ประกันสังคมได้เลยครับ  โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

– จ่ายงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร

– จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วันสำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

– กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง 

เราเบิกมาแล้วค่ะ 1 ใบรับรองแพทย์ ทุกครั้งที่ฝาก 2 ใบเสร็จรับเงิน 3 สำเนาสมุดฝาก หน้าที่ระบุอายุครรภ์ ปล.ใช้สมุดชมพูแทนใบเสร็จได้ แต่วันที่ต้องตรงกับใบเสร็จรับเงินนะคะ เขาจะดูอายุครรภ์ประกอบ

อ่านเพิ่มเติม