ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล processing

        ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อน การประมวลผลข้อมูล เป็นกระบวนการที่มีกระบวนการย่อยหลายอย่าง ประกอบกันคือ
    1. การรวบรวมข้อมูล
    2. การแยกแยะ
    3. การตรวจสอบความถูกต้อง
    4. การคำนวณ
    5. การจัดลำดับหรือการเรียงลำดับ
    6. การรายงานผล
    7. การสื่อสารข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูลนั้น

วิธีการประมวลผล  มี 2 ลักษณะ คือ
         (1) การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing)
          หมายถึงการทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่งไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อ
จากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการ ประมวลผล
          การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบินการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงิน
เอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง

         (2) การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)
        
หมายถึงการประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการ
ทราบข้อมูลผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้ง สมาชิกสภา
ผู้แทน หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลเพื่อ เก็บรวบรวม
ข้อมูลเมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงาน
หรือสรุปผลหาคำตอบกรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะ
เป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน

การประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
          การประมวลผลข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการเรียกว่าข้อสนเทศหรือสารสนเทศ (Information)

วิธีการประมวลผลข้อมูล      อาจจำแนกได้ 3 วิธีโดยจำแนกตามอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผล ได้แก่
1.การประมวลผลด้วยมือ
 (Manual Data Processing) เป็นวิธีการที่ใช้มาตั้งแต่อดีตโดยใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ สามารถจำแนกตามอุปกรณ์ที่ใช้ได้เป็น 3 ประการ คือ
– อุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการเก็บรักษา และค้นหาข้อมูล ได้แก่ บัตรแข็ง แฟ้ม ตู้เก็บเอกสาร
– อุปกรณ์ที่ช่วยในการนับและคิดคำนวณเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการใช้ ได้แก่ ลูกคิด เครื่องคิดเลข เป็นต้น
– อุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดลอกข้อมูล ได้แก่ กระดาษ ปากกา ดินสอ เครื่องอัดสำเนา เป็นต้น
การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีข้อมูลปริมาณไม่มากนัก และการคำนวณไม่ยุ่งยากซับซ้อน
2. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องจักรกล (Mechanical Data Processing) เป็นวิวัฒนาการมาจากการประมวลผลด้วยมือ แต่ยังต้องอาศัยแรงคนบ้าง เพื่อทำงานร่วมกับเครื่องจักรกล ในการประมวลผลทางธุรกิจ เครื่องที่ใช้กันมากที่สุด คือ เครื่องทำบัญชี (Accounting Machine) และเครื่องที่ใช้ในการประมวลผลทั่วไปเป็นเครื่องกึ่งอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า เครื่อง Unit Record
3. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (EDP : Electronic Data Processing) หมายถึงการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ นั้นเอง  ลักษณะงานที่เหมาะสมต่อการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  คือ
– งานที่มีปริมาณมาก ๆ
– ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว
– มีขั้นตอนในการทำงานซ้ำ ๆ กัน เช่น งานบัญชี งานการเงิน งานทะเบียนประวัติและงานสถิติ เป็นต้น
– มีการคำนวณที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน เช่น งานวิจัยและวางแผน งานด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น

ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล processing

SOLUTIONS CORNER
การประมวลผลข้อมูลคืออะไร
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล processing

การประมวลผลข้อมูลคืออะไร?


ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล processing

  การค้นหาหรือการประมวลผลข้อมูลที่คุณต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการจำแนกหรือลบออก มันคงไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป ในโลกที่ข้อมูลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

  โดยส่วนใหญ่สถานประกอบการหรือองค์กรธุรกิจ จะมีการประมวลผลข้อมูล โดยผ่านกระบวนการต่างๆ ในบางช่วงเวลา แต่ว่าอะไรคือคำจำกัดความของ "การประมวลผลข้อมูล" (Data Processing) ซึ่งตามหลักการแล้ว มันเป็นการรวบรวมและจัดการปรับเปลี่ยนข้อมูล เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการ (Relevant information)

  นอกจากนี้ ยังอาจครอบคลุมในส่วนของ การเก็บรวบรวม (Collection) , การบันทึก (Recording), การจัดระเบียบ (Organisation), การวางโครงสร้าง (Structuring), การปรับเปลี่ยนหรือแก้ไข (Adaptation or alteration), การดึงข้อมูลมาใช้ (Retrieving), การให้คำปรึกษา (Consultation), การนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ (Use), การเปิดเผยโดยการส่งผ่านข้อมูล (Disclosure by transmission), การเผยแพร่ (Dissemination) หรือวิธีอื่น ๆ ที่ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้, การจัดวางหรือการจัดกลุ่มข้อมูล (Alignment or Combination), การจำกัดสิทธิ (Restriction), ตลอดจนการลบ (Erasure) หรือทำลายข้อมูล (Destruction) ส่วนบุคคล

  การเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ นั้น ถือได้ว่าเป็นการประมวลผลข้อมูล แต่เนื่องจากข้อมูลดิบไม่ได้จัดว่าอยู่ในสถานะที่เหมาะสมสำหรับการรายงาน (Reporting), การวิเคราะห์ (Analytics), การเรียนรู้ด้วยเครื่อง (Machine Learning) รวมถึง Business Intelligence ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการสรุปภาพรวมของข้อมูลทางธุรกิจในหลายมิติ ดังนั้น จึงต้องทำการรวบรวมหรือหาข้อสรุป (Aggregate), ตกแต่ง (Enriched), แปลงข้อมูล (Transformation), กรอง (Filter) ตออดจน ทำความสะอาดข้อมูล (Cleaned)

คำจำกัดความของ GDPR ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูล


"GDPR" (General Data Protection Regulation) เป็นเป็นกฎหมายของสหภาพยุโรปที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นความสำคัญไปที่พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผล

  ตามมาตราข้อ 4.2  ของกฎระเบียบว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (EU GDPR) ซึ่งว่าด้วยวิธีการประมวลผล "ข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวกับบุคคลธรรมดาที่ระบุตัวหรือสามารถระบุตัวตนได้ ('เรื่องข้อมูล'); ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลตามนิยามของ GDPR คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม รวมถึงข้อมูลที่สามารถนำมารวมกันแล้วใช้เพื่อระบุอัตลักษณ์ของบุคคลได้ เช่น หมายเลขประจำตัวประชาชน, ข้อมูลสถานที่อยู่อาศัย รวมถึงสิ่งที่สามารถใช้ระบุตัวตนของบุคคลในโลกออนไลน์ (Online identifier) หรือการใช้เพียงหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งปัจจัยที่เฉพาะเจาะจงทางด้าน กายภาพ (Physical), สรีรวิทยา (Physiological), พันธุกรรม (Genetic), สภาพทางจิต (Mental), เศรษฐกิจ (Economic) ตลอดจนวัฒนธรรมหรือสังคมของบุคคลนั้นๆ"


 

ขั้นตอนของการประมวลผลข้อมูล


การประมวลผลข้อมูลมักจะประกอบไปด้วยหลายขั้นตอนที่คล้ายๆกัน แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลที่คุณต้องการที่จะทำการประมวลผล หรือสิ่งที่คุณต้องการจะทำ
 

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection)


ขั้นแรกที่จะต้องทำก็คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะเกิดขึ้นโดยเป็นการรวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้ว หรือมันอาจจะเป็นการรวบรวมข้อมูลด้วยมือมากกว่า
อย่างไรก็ตามข้อมูลก็จะถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน มันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับรูปแบบและลำดับที่เหมาะสม และมันก็สามารถที่จะนำมาใช้ในส่วนที่เหลือของกระบวนการประมวลผลข้อมูลของคุณได้อีก ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถประมวลผลข้อมูลที่ไม่มีการจัดเรียงลำดับได้หรือไม่? และถ้าคำตอบของคุณคือ "ไม่" คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลถูกเก็บรวบรวมในรูปแบบที่มีการจัดเรียงตามลำดับเรียบร้อยแล้ว

 

การจัดเตรียมข้อมูล (Preparation) 


ในลำดับถัดไป นั่นก็คือการจัดเตรียมข้อมูล ซึ่งเป็นกระบวนการที่จำเป็นต้องทำกับข้อมูลดิบที่ได้ทำการรวบรวมมา เพื่อปรับเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม ที่จะนำไปโหลดเพื่อเก็บเข้าฐานข้อมูล หรือนำไปวิเคราะห์ เนื่องจาก การทิ้งข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่เกี่ยวข้อง จะเป็นการช่วยลดระยะเวลาในการประมวลผลข้อมูล และยังเป็นการช่วยลดโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดหรือข้อมูลที่ชักนำให้เข้าใจผิด ได้เช่นกัน
 

อินพุต (Input)


ในระหว่างขั้นตอนนี้ ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้ จะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องสามารถอ่านได้ (Machine-readable) เพื่อที่จะสามารถผลักดันให้เหมาะสมกับเครื่องมือและวิธีการที่จะทำการวิเคราะห์ โดยในขั้นตอนนี้ของข้อมูลหรือการหยุดทำงานนี้ อาจจะต้องใช้เวลาที่นานมาก เท่ากับว่าข้อมูลต้องได้รับการตรวจสอบจากการป้อนข้อมูลของมัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีข้อผิดพลาดและมันอยู่ในรูปแบบที่แอพพลิเคชั่นสามารถประมวลผลได้ สำหรับข้อมูลใดๆ ที่ขาดหายไปและผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้อง
 

การประมวลผลข้อมูล (Processing)


การประมวลผลข้อมูลคือ ข้อมูลจะถูกจัดการโดยใช้อัลกอริทึม เพื่อสร้างข้อมูลที่ใช้งานได้และจำเป็นต่อการใช้งาน (Meaningful Information) มากยิ่งขึ้น
 

ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (Output)


ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ คือผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว จากนั้นจะสามารถแสดงต่อผู้ใช้ในรูปแบบที่พวกเขาสามารถเข้าใจได้ ยกตัวอย่างเช่น การนำเสนอในรูปแบบของรายงาน (Report), การแสดงผลด้วยกราฟ (Graph), วิดีโอ (Video), เสียง (Audio) หรือ เอกสาร (Document) ข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้งานนี้ สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยผู้ใช้ในการตัดสินใจ เกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าว

 

ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล processing

การจัดเก็บข้อมูล (Storage)


การจัดเก็บข้อมูลถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย ที่มีการจัดเก็บข้อมูล (Data) และ เมทาดาทา (Metadata) ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับรายละเอียดที่อธิบายถึงความเป็นมาของข้อมูล ทั้งนี้ก็เพื่อการนำมาใช้งาน ต่อไป ในส่วนของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลนั้น ควรจะช่วยให้สามารถเข้าถึงและเรียกค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและเป็นประโยชน์เมื่อผู้ใช้ต้องการ

  ในขณะที่แต่ละขั้นตอนต่างก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งยังกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของวัฏจักรการประมวลผล ซึ่งก็หมายความว่าขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (Output) และขั้นตอนอื่นๆ สามารถนำไปสู่การทำซ้ำของขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล โดยเป็นการเริ่มรอบใหม่ของการประมวลผลข้อมูล

ที่มา:www.itpro.co.uk

ควิกเซิร์ฟ
  • •  ติดต่อเรา
  • •  เกี่ยวกับเรา
  • •  ลูกค้าที่ไว้วางใจ
  • •  สิทธิส่วนบุคคล
  • •  แผนผังเว็บไซต์
สินค้า
  • •  เซิร์ฟเวอร์
  • •  ไฮเปอร์คอนเวิร์จ
  • •  สตอเรจ
  • •  เบรคเซิร์ฟเวอร์
  • •  เครื่องสำรองไฟ
  • •  อุปกรณ์เครือข่าย
  • •  เวิร์คสเตชั่น
  • •  อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
  • •  โปรแกรมสำเร็จรูป
งานระบบ
  • •  Domain Controller
  • •  File & Print Sharing
  • •  E-mail
  • •  Virtualization
  • •  Backup & Recovery
  • •  Business Security
  • •  Internet Data Center
  • •  Internet Logging
  • •  Internet Security
บริการ
  • •  ขอรับใบเสนอราคา
  • •  การชำระเงิน
  • •  การจัดส่งสินค้า
  • •  ระบบสมาชิก
  • •  Technology Update
  • •  Solution Conner
กิจกรรม
  • •  กิจกรรมเพื่อสังคม
  • •  กิจกรรมของบริษัทฯ
ออนไลน์
  • •  Facebook
  • •  YouTube
  • •  Commercial
  • •  Cloud Quickserv