ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

สวัสดีค่ะ วันนี้ CoC ขอนำเสนอโปรแกรมสุดฮิตที่นักศึกษาแทบจะทุกคนจะต้องเจอในการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยค่ะ

การเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นต้องมีการใช้โปรแกรมต่าง ๆ ในการเรียนเยอะมากค่ะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคณะและสาขาวิชา แต่โดยรวม 3 โปรแกรมพื้นฐานต่อไปนี้ CoC ขอแนะนำให้น้อง ๆ ทำความรู้จักและฝึกทดลองใช้ไว้เลยค่ะ ได้ใช้ชัวร์ (^ ^)


  1. Microsoft Word
  2. Microsoft PowerPoint
  3. Microsoft Excel

มาลองดูรายละเอียดและความสามารถคร่าว ๆ ของแต่ละโปรแกรมกันเลยค่ะ

1.Microsoft Word

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

MS Word

เป็นโปรแกรมที่ใช้พิมพ์งาน ทำรายงานเพื่อส่งอาจารย์  Word เป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้ค่อนข้างง่าย มีกลุ่มเมนูและฟังก์ชันที่หลากหลายที่เราสามารถใช้ทำงานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น Word ถือเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่ต้องมีเลยค่ะ

ตัวอย่างการใช้งานโปรแกรม Word ที่เราเห็นบ่อย ๆ ได้แก่

การทำรายงาน การจัดหน้ากระดาษ การใช้ Word ทำสารบัญเลขหน้า การออกแบบปกรายงานที่สวยงาม

การใช้ Word แบบพิเศษขึ้นมาหน่อยก็เช่น การใช้ออกแบบนามบัตร การ์ด แผ่นพับขนาดต่าง ๆ

นอกจากนี้ น้อง ๆ รู้หรือไม่ ว่า โปรแกรม Word สามารถช่วยงานเขียนวิจัยได้ด้วยนะ ไม่ว่าจะเป็นการจัดหน้าเป็นคอลัมภ์ การทำอ้างอิง Citation ไปจนถึงการทำบรรณานุกรม Bibliography หรือการแทรก Footnote Endnote ค่ะ

2.Microsoft PowerPoint

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

MS PowerPoint

หนึ่งในโปรแกรมที่เหมาะกับงานนำเสนอและฮิตตลอดกาลทั่วโลกค่ะ โปรแกรมนี้สามารถนำไปประยุกต์กับงานได้หลายประเภท

โปรแกรม PowerPoint จะช่วยเนรมิตงานนำเสนอ พรีเซนเตชันของน้อง ๆ ให้สวยงามและมีมิติมากเลยค่ะ

ด้วยรูปแบบ Template ที่สวยงาม ตัวเลือกที่หลากหลาย น้อง ๆ สามารถกำหนดธีมในการออกแบบการนำเสนองานได้ไม่มีที่สิ้นสุดจริงๆ โปรแกรม Powerpoint ยังใช้ออกแบบ E-Book แผ่นพับ หรือทำไฟล์วิดิโอได้ด้วยค่ะ

การใช้งานของโปรแกรมถือว่าง่าย ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานแบบเริ่มต้น การใส่ Effect ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ ไปจนถึงการใส่เสียง การทำ Animation ค่ะ

อาจารย์หลาย ๆ ท่าน ยังนำโปรแกรมนี้มาใช้ทำสื่อการเรียนการสอนด้วยนะคะ

ว่าแล้วการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนครั้งต่อไป อย่าลืมใช้โปรแกรมนำเสนอตัวนี้ให้เพื่อน ๆ ร้อง “ว้าว” เลยนะคะ

3.Microsoft Excel

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

MS Excel

โปรแกรมยืนหนึ่งด้านการคำนวณและประมวลผลต้องยกให้โปรแกรม Excel ค่ะ

Excel เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถรอบด้านและเก่งมากในด้านการวิเคราะห์คำนวณ การจัดการข้อมูลในแบบตาราง และแสดงผลข้อมูลในเชิงลึกในรูปแบบกราฟแบบต่าง ๆ หลาย ๆ

องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญกับผู้ที่สามารถใช้โปรแกรม Excel ได้คล่อง

บริษัทต่าง ๆ ถึงกับประกาศรับสมัครคนที่สามารถใช้โปรแกรมนี้ได้เพื่อมาร่วมทำงานเลยเชียวค่ะ

ตัวอย่างการใช้โปรแกรม Excel มีหลากหลายมาก เช่น การใช้คำนวณผลลัพธ์ต่าง ๆ การทำบัญชีรายรับรายจ่าย การทำกราฟนำเสนอแบบ Visualization

ความเผ็ดของโปรแกรม Excel คือ ณ ปัจจุบัน เราสามารถ Link การทำงานไปยังระบบงาน Business Intelligence ได้ด้วยค่ะ แอบกระซิบลองกดใช้กลุ่มเมนู Power Pivot ดูค่ะ


เป็นไงคะ 3 โปรแกรมสุดฮิตที่ไม่ธรรมดาจริง ๆ

และยังไม่จบค่ะ

น้อง ๆ รู้หรือไม่ว่า

CoC College of Computing, PSU Phuket เราเป็น Partner กับ ทาง Microsoft

ดังนั้นน้อง ๆ นักศึกษาสามารถใช้โปรแกรม Word, PowerPoint, Excel ได้อย่างถูกกฏหมายและที่สำคัญฟรีตลอดการเรียน 4 ปีเลยค่ะ คุ้มกว่านี้ไม่มีแล้วค่ะ

น้อง ๆ สนใจเรียนที่ CoC สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์คณะนะคะ

Website: www.computing.psu.ac.th

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

         ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “ โปรแกรม ” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น

ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ซอฟต์แวร์ระบบ

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)

หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ

ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้

1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X

1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)

1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้

โดยปกติโปรแกรม windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดเวอร์เอง เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์

1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร

ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
          2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์

 

·         ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )

เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำงานใกล้ชิดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยซอฟต์แวร์ระบบยังแบ่งออกเป็น

1.       ระบบปฏิบัติการ (Operating System ) 

เป็นโปรแกรมที่สำคัญมาก ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดรวมถึงประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์และทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบให้สามารถดำเนินการเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายที่ต้องการ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส ( DOS ),ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ( Windows ) และระบบปฏิบัติการลินุกซ์(Linux ) เป็นต้น

2.      ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator Program )

เป็นโปรแกรมแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อคอมพิวเตอร์เข้าใจโดยตัวแปลภาษายังแบ่งออกเป็นคอมไพเลอร์ (Compiler ) ซึ่งจะแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรมหากมีที่ผิดพลาดต้องแก้ไขจนถูกต้องและทำการคอมไพเลอร์ใหม่ ส่วนตัวแปลภาษาอีกตังหนึ่งคืออินเตอร์พรินเตอร์ (Interpreter ) ซึ่งจะแปลทีละบรรทัดหากบรรทัดใดมีข้อผิดพลาดก็จะแสดงข้อผิดพลาดออกมา

3.      โปรแกรมอรรถประโยชน์ ( Utility program )

เป็นโปรแกรมทีสร้างความสะดวกต่อการใช้งานเฉพาะอย่าง ซึ่งมักเรียกว่าโปรแกรมยูทิลิตี้ จัดเป็นชนิดหนึ่งของโปรแกรมระบบ ซึ่งในปัจจุบันระบบปฏิบัติการหลายชนิดได้มีการผนวกโปรแกรมยูทิลิตี้โปรแกรมด้วยกันมาพร้อมกับชุดระบบปฏิบัติการ เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ จะมีโปรแกรมยูทิลิตี้ เช่น โปรแกรมScan Disk, โปรแกรม Disk Defragmenter และรวมถึงโปรแกรมป้องกันไวรัสอย่าง Norton Utility หรือ McAfee Anti Virusเป็นต้น

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

รูปที่ 1.15 โปรแกรม ( Defragmentation )

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

รูปที่ 1.16  โปรแกรมป้องกันไวรัส

ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)

            คือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อปฏิบัติการกับฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และเพื่อจัดเตรียมและบำรุงรักษาแพลตฟอร์มจากการทำงานของโปรแกรมประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่สุดมีดังนี้
    ***ไบออสของคอมพิวเตอร์และเฟิร์มแวร์ของอุปกรณ์ ซึ่งมีเครื่องมือพื้นฐานสำหรับปฏิบัติการและควบคุมฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อหรือติดตั้งในคอมพิวเตอร์
    ***ระบบปฏิบัติการ (ตัวอย่างที่เด่น ๆ เช่น ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น และลินุกซ์) ซึ่งแบ่งสรรให้ส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันโดยรับภาระงานอาทิ การส่งผ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำกับจานบันทึก หรือการส่งข้อมูลออกทางอุปกรณ์แสดงผล และยังมีแพลตฟอร์มเพื่อทำงานซอฟต์แวร์ระบบระดับสูงและโปรแกรมประยุกต์ด้วย
    ***ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ ซึ่งช่วยวิเคราะห์ ปรับแต่ง ทำให้เหมาะสม และบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์
ในตำราบางเล่ม คำว่า ซอฟต์แวร์ระบบ หมายรวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วย (เช่น คอมไพเลอร์ ลิงเกอร์ หรือดีบักเกอร์ เป็นต้น)
    โดยทั่วไปมิได้หมายความว่า ผู้ใช้จะต้องซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานซอฟต์แวร์ระบบ แทนที่จะเป็นอย่างนั้น อาจมองว่าซอฟต์แวร์ระบบเป็นสิ่งพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ที่มีมากับเครื่องหรือติดตั้งไว้ก่อนแล้ว ในทางตรงข้ามกับซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้สามารถกระทำการต่าง ๆ อาทิสร้างเอกสารข้อความ เล่นเกม ฟังเพลง หรือท่องเว็บ เช่นนี้เรียกว่าโปรแกรมประยุกต์

โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities Program)

                

เรียกสั้นๆ ว่า ยูทิลิตี้ เป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ ส่วนมากใช้เพื่อบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติการใช้งานนั้นค่อนข้างหลากหลาย ยูทิลิตี้แบ่งออกเป็นสองชนิดคือ ยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการ (OS utility program) และ ยูทิลิตี้อื่นๆ (stand-alone utility program)
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/โปรแกรมอรรถประโยชน์

ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software)

           ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน  เป็นซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และไม่สามารถ ทำงานอื่นได้  เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมเพื่องานออกแบบ โปรแกรมช่วยงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
1. โปรแกรมระบบบัญชี (Accounting) เช่น ระบบบัญชีเงินเดือน ลูกหนี้ ระบบเช่าซื้อบัญชี แยกประเภท
2. โปรแกรมช่วยงานอุตสาหกรรม CAM (Computer-Aided Manufactory and Composition And Make-up) ซอฟต์แวร์ชนิดนี้ใช้สำหรับงานด้านอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ดูแลและควบคุมเครื่องจักรกลแทนคน หรืองานประเภทที่ต้องทำซ้ำๆ กัน ครั้งละมากๆ (Mass-production)
3. โปรแกรมช่วยในการเรียนการสอน CAI (Computer-Assisted Instruction)โดยการใช้คอมพิวเตอร์ หรือจำลองตัวเองเป็นสื่อในการเรียนการสอนประกอบกับรูปภาพ(เคลื่อนไหว) ในลักษณะต่างๆ ซึ่งทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ
4. เกม (Game) สำหรับผ่อนคลายหลังจากการใช้เครื่องแต่ส่วนใหญ่นิยมเล่นเพื่อความเพลิดเพลินกว่า   ตัวอย่างของเกมเหล่านี้ได้แก่ โปรแกรมเกมต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้า(Arcade game)  เกมบนกระดาน  (Board game) เช่น หมากรุก โมโนโปลีฯลฯ เกมส์ไพ่(Card) เกมเสมือนหรือจำลอง

5. โปรแกรมเพื่องานออกแบบหรือ CAD (Computer-Aidea Design) เช่น AutoCadAutoLISP และ  DisgnCAD เป็นต้น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ใช้สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ และงานออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรม
6. โปรแกรมตรวจสอบ/ป้องกันไวรัส (Anti-Virus) มีไว้เพื่อป้องกันการโจมตีของไวรัสคอมพิวเตอร์ และมักจะมีคำสั่งให้ทำลายล้างไวรัสออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น McAfeevirus scan, AVI-scan, Norton Anti-virus เป็นต้น
7. โปรแกรมมัลติมีเดีย   (Multimedia)  เป็นซอฟต์แวร์ใช้สำหรับสร้างโปรแกรม CAIหรือทำ Presentation หรือใช้สำหรับดูหนัง  ฟังเพลง  เช่น  Multimedia Toolbook, XingMPEG, Authorware, PowerDVDชนิดอื่นๆ เช่น ระบบธุรกิจต่างๆ งานทำดนตรีงานตัดต่อภาพยนตร์ การวางแผนงาน งานศิลปะ  งานวาดรูป การประมาณการ วิเคราะห์  งานพัฒนา การบริหารโครงงาน
ที่มา : http://www.learners.in.th/blogs/posts/283614

ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General purpose Software)

 

        จะเป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาสำหรับงานทั่ว ๆ ไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานส่วนตัวได้อย่างหลากหลาย ทำให้เป็นซอฟต์แวร์ประเภทที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ซึ่งส่วนมากจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่ในเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์
        ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป สามารถแบ่งตามประเภทของงานได้ดังนี้
            ***ซอฟต์แวร์ตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Spreadsheet)
            ธุรกิจในสมัยก่อนนั้นการทำงบประมาณ หรือการวางแผนต่าง ๆ ต้องใช้กระดาษบัญชีและเครื่องคิดเลขเท่านั้น สำหรับสมัยนี้ด้วยซอฟต์แวร์ตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้สามารถพิมพ์หัวข้อหรือชื่อของข้อมูล และตัวเลขข้อมูลต่าง ๆ เข้าในคอมพิวเตอร์ โดยที่ในคอมพิวเตอร์จะมีตารางที่เปรียบเสมือนกระดาษบัญชีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถคำนวณได้ตามสูตรที่ผู้ใช้ทำการกำหนด โดยที่สูตรเหล่านั้นจะไม่ปรากฏในช่องของข้อมูลเลย ยิ่งไปกว่านั้นหากผู้ใช้เปลี่ยนตัวเลขหรือข้อมูลใด ๆ ก็ตาม จะเห็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกันในทันที ปัจจุบันมีผู้ใช้ประโยชน์ของตารางวิเคราะห์แบบอิเล็กทรอนิกส์มากมาย ไม่เฉพาะแต่ในทางบัญชีเท่านั้น แต่ยังนิยมใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ บริหารการเงิน และอื่น ๆ อีกมาก
            ***ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word processing)
            ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับงานพิมพ์เอกสารรวมอยู่ด้วย ซึ่งโปรแกรมนี้ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำหรับสร้าง แก้ไข ตรวจสอบ พิมพ์ และจัดเก็บข้อความต่าง ๆ หนังสือที่จำหน่ายในท้องตลาดในปัจจุบันนี้ ส่วนมากก็เริ่มต้นจากการพิมพ์ข้อความลงในคอมพิวเตอร์ด้วยซอฟต์แวร์ที่ประมวลคำ
            ***ซอฟต์แวร์การพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing)
            ในสมัยก่อนการจัดทำหนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่าง ๆ นั้นต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ มากมายหลายขั้นตอนซึ่งรวมเรียกว่าการเรียงพิมพ์ โดยที่จะต้องมีผู้ตัดต่อรูปภาพที่ต้องการ วาดกรอบของภาพหรือกรอบหัวเรื่อง และเขียนข้อความ และนำข้อความ ภาพ และกรอบมาประกอบกันตามแบบที่ออกแบบไว้ การทำงานที่ยุ่งยากเหล่านี้นี่เองที่ทำให้เอกสารเหล่านั้นมีราคาแพง แต่ในปัจจุบันนี้ขอเพียงมีคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมการจัดพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ เท่านั้น ก็สามารถที่จะออกแบบงานหรือเอกสารให้เป็นที่น่าสนใจได้ โดยซอฟต์แวร์การพิมพ์แบบตั้งโต๊ะจะมีความสามารถด้านการจัดการเอกสาร ความสามารถด้านการเรียงพิมพ์ รวมทั้งการจัดสีที่สูงกว่าซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ
            ***ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation Software)
            เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยอาจประกอบด้วยตัวอักษร รูปภาพ แผนผัง รายงาน ตลอดจนภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น นิยมใช้ในการเรียนการสอน หรือการประชุม เพื่อนำเสนอข้อมูลให้การบรรยายนั้นน่าสนใจยิ่งขึ้น
            ***ซอฟต์แวร์กราฟิก (Graphic Software)
            เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสร้างภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ การใช้งานในระดับเบื้องต้นอาจนำไปใช้ประกอบการสร้างเอกสาร หรือการนำเสนอข้อมูล ส่วนการใช้ในระดับสูงอาจใช้สำหรับการตกแต่งภาพหรือรูปถ่าย หรือใช้สำหรับงานด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม วิศวกรรม เป็นต้น
            ***ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล (Database)
            โปรแกรมฐานข้อมูลเป็นโปรแกรมสำหรับสร้างแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ เก็บไว้ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยโปรแกรมจะมีเครื่องมือต่าง ๆ ในการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการจัดการแฟ้มข้อมูล เช่น มีเครื่องมือสำหรับการเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ หรือสามารถเรียกแฟ้มข้อมูลนั้นขึ้นมาแสดงบนจอภาพโดยกำหนดเงื่อนไขให้เลือกข้อมูลมาแสดงเพียงบางส่วน เป็นต้น
            ***ซอฟต์แวร์สื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Software)
            ถ้าผู้ใช้ต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลออกไป สามารถทำได้โดยใช้ซอฟต์แวร์สำหรับติดต่อสื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นเทอร์มินัล (terminal) ที่สามารถติดต่อไปยังระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้หลายคนได้โดยใช้สายโทรศัพท์ในการโทรติดต่อ และเมื่อติดต่อได้แล้วก็จะสามารถใช้งานระบบต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องนั้นได้ เสมือนกับนั่งใช้เครื่องอยู่ข้าง ๆ เครื่องที่เราติดต่อเข้าไป การใช้งานที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เช่น ร่วมคุยกับกลุ่มที่สนใจเรื่องเดียวกัน แลกเปลี่ยนจดหมายกับผู้อื่นในระบบหรือแม้กระทั่งจองตั๋วเครื่องบินและจองโรงแรมผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
            ***ซอฟต์แวร์ค้นหาข้อมูล (Resource Discovery Software)
            หมายถึงซอฟต์แวร์ที่เป็นเครื่องมือสำหรับค้นหาข้อมูลที่ต้องการ จากแหล่งข้อมูลในที่ต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบันนี้ความนิยมในการใช้การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเตอร์เนต หรือเครือข่ายเชิงพาณิชย์อื่น ๆ ช่วยให้สามารถเรียกค้นข้อมูลที่ต้องการทราบได้จากทั่วโลก ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ เช่น Archie , Gopher และ World Wide Web เป็นต้น
 ที่มา : http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20soft2.htm

ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator)

        ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นั้น โปรแกรมเมอร์จะเขียนโปรแกรมในภาษาคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ ตามแต่ความชำนาญของแต่ละคน โปรแกรมที่ได้จะเรียกว่า โปรแกรมต้นฉบับ หรือ ซอร์สโคด (source code)ซึ่งมนุษย์จะอ่านโปรแกรมต้นฉบับนี้ได้แต่คอมพิวเตอร์จะไม่เข้าใจคำสั่งเหล่านั้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์เข้าใจแต่ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งประกอบขึ้นจากรหัสฐานสองเท่านั้น จึงต้องมีการใช้โปรแกรม ตัวแปรภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator) ในการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาต่าง ๆ ไปเป็นภาษาเครื่องโปรแกรมที่แปลจากโปรแกรมต้นฉบับแล้วเรียกว่า ออบเจคโคด (object code) ซึ่งจะประกอบด้วยรหัสคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ต่อไป
ตัวแปลภาษาที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบัน จะต่างกันที่ขั้นตอนที่ใช้ในการแปลภาษาให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ สามารถแบ่งได้เป็น
          แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาแอสแซมบลีซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง
          อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ไปเป็นภาษาเครื่อง โดยใช้หลักการแปลพร้อมกับงานตามคำสั่งทีละบรรทัดตลอดทั้งโปรแกรม ทำให้การแก้ไขโปรแกรมทำได้ง่ายและรวดเร็วแต่ออบเจคโคดที่ได้จากการแปลโดยการใช้อินเตอร์พรีเตอร์นั้นไม่สามารถเก็บไว้ใช้ใหม่ได้จะต้องแปลโปรแกรมใหม่ทุกครั้งที่ต้องการใช้งาน           คอมไพเลอร์ (Compiler) จะเป็นตัวแปลภาษาระดับสูงเช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์แต่จะใช้วิธีแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรมให้เป็นออบเจคโคด ก่อนที่จะสามารถนำไปทำงานเช่นเดียวกับแอสแซมเบลอ ออบเจคโคดที่ได้จากการแปลนั้นสามารถจัดเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้นำไปใช้ในการทำงานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ ซึ่งเป็นข้อดีของคอมไพเลอร์ที่จะนำผลที่ได้จากการแปลนั้นไปใช้งานกี่ครั้งก็ได้ไม่จำกัด ไม่ต้องเสียเวลาในการแปลใหม่ทุกครั้ง ทำให้เป็นรูปแบบการแปลที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
        ในปัจจุบัน มีหลักการแปลภาษาคอมพิวเตอร์แบบใหม่เกิดขึ้น คือแปลจากซอร์สโคดไปเป็นรหัสชั่วคราวหรืออินเทอมีเดียตโคด (Intermediate code) ซึ่งสามารถนำไปทำงานได้ด้วยการใช้โปรแกรมในการอ่านและทำงานตามรหัสชั่วคราวนั้น โดยโปรแกรมนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับอินเทอพรีเตอร์ แต่จะทำงานได้เร็วกว่าเนื่องจากรหัสชั่วคราวจะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก มีข้อดีคือสามารถนำรหัสชั่วคราวนั้นไปใช้ได้กับทุก ๆ เครื่องที่มีโปรแกรมตีความได้ทันที

·  ซอฟต์แวร์ประยุกต์( Application Software )

คือโปรแกรมที่เขียนขึ้นดัวยภาษาระดับสูงเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมระบบควบคุมสินคงคลัง นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ยังหมายถึงโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้งานด้านต่าง ๆ เช่นโปรแกรมชุดไมโครซอฟต์ออฟฟิศ โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับงานด้านโรงงานอุตสาหกรรม หรือทางการแพทย์ เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้

1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X

1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)

1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้

โดยปกติโปรแกรม windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดเวอร์เอง เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์

         

1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น

ซอฟต์แวร์ประยุกต์( Application Software )

คือโปรแกรมที่เขียนขึ้นดัวยภาษาระดับสูงเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมระบบควบคุมสินคงคลัง นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ยังหมายถึงโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้งานด้านต่าง ๆ เช่นโปรแกรมชุดไมโครซอฟต์ออฟฟิศ โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับงานด้านโรงงานอุตสาหกรรม หรือทางการแพทย์ เป็นต้น

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร

ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ

2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ 

    2.1.2 ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป คือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) ซึ่งซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นแล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 6 กลุ่มใหญ ได้แก่

 ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ และสามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์รูปแบบตัวอักษรมีให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ช่วยสร้างเอกสารในรูปแบบที่ต้องการได้ง่าย เช่น สามารถแบ่งเป็นสดมภ์ได้หลายแบบในเอกสารชุดเดียวกัน สามารถนำรูปภาพ หรือกราฟมาเป็นส่วนประกอบของเอกสารได้ สามารถสร้างตาราง จัดเรียงตัวอักษร สามารถใช้งานร่วมกับฐานข้อมูลในการแสดงหรือการพิมพ์งาน เช่น นำฐานข้อมูลรายชื่อผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรที่สร้างจากซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลมาพิมพ์ร่วมกับแบบฟอร์มที่พิมพ์และจัดเตรียมไว้ในซอฟต์แวร์ประมวลคำ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันสามารถช่วยสร้างดัชนี และสารบัญได้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ประมวลคำทำให้ความสำคัญของการใช้งานเครื่องพิมพ์ดีดลดน้อยลง เช่น ไมโครซอฟต์เวิร์ด ซียูไรด์เตอร์ โลตัสเวิร์ดโปร และซอฟต์แวร์ประมวลคำของชุดซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น
          คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันคือสามารถช่วยตรวจสอบตัวสะกดในเอกสารที่พิมพ์ว่าถูกต้องหรือไม่ ทั้งในรูปแบบของคำหรือไวยากรณ์ หากพิมพ์ผิดโปรแกรมจะแสดงสัญลักษณ์ให้ผู้ใช้สังเกตได้ง่าย เช่น มีการขีดเส้นใต้สีแดงใต้คำที่พิมพ์ผิด และจะมีคำที่ถูกต้องให้เลือกว่าต้องการคำไหน ความสามารถนี้สืบเนื่องมาจากมีการผนวกซอฟต์แวร์ทางด้านภาษาเช่น พจนานุกรม เข้ากับซอฟต์แวร์ด้วย แต่หากเป็นชื่อเฉพาะผู้ใช้ก็สามารถเพิ่มชื่อเฉพาะเข้าไปได้เพื่อป้องกันไม่ให้ซอฟต์แวร์รายงานความผิดพลาด ซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันสามารถสรุปหรือย่อเนื้อหาในสัดส่วนที่ต้องการได้ เช่นสรุปเนื้อหาจากเอกสาร 10 หน้าให้เหลือ 2 หน้า และปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

หน้าต่างการใช้งานซอฟต์แวร์ประมวลคำของซอฟต์แวร์ชุดปลาดาว

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

หน้าต่างการใช้งานของซอฟต์แวร์ประมวลคำไมโครซอฟต์เวิร์ด

   2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spreadsheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด หากผู้ใช้ต้องการสร้างคำสั่งหรือสูตรเองก็สามารถดำเนินการได้ และสามารถสร้างคำสั่งพิเศษที่เรียกว่า มาโคร ในการใช้งานเฉพาะได้ นอกจากนี้โปรแกรมตารางทำงานยังสามารถสร้างกราฟ แผนภูมิสำหรับนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น แผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม กราฟเส้น และอื่นๆ
          ผู้ใช้สามารถใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่นๆ ได้อย่างกว้างขวาง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เช่น ไมโครซอฟต์เอกเซล โลตัส123 และซอฟต์แวร์ตารางทำงานของชุดซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น
          การใช้งานโปรแกรมตารางทำงานจะอ้างถึงสดมภ์และแถว กล่าวคือข้อมูลหรือการคำนวณต่างๆ จะใส่ไว้ในเซลซึ่งเกิดจากสดมภ์และแถว โดยตำแหน่งของแต่ละเซลจะถูกกำหนดด้วย หมายเลขของสดมภ์และแถว เช่น จากรูปด้านล่าง ข้อความ สสวท อยู่ในเซล แสดงว่า ตำแหน่งเซลนี้อยู่สดมภ์ที่ B และแถวที่ 5 

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

ตัวอย่างของการอ้างตำแหน่งจากเซลสดมภ์และแถว 

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

หน้าต่างใช้งานของซอฟต์แวร์ตารางทำงานของซอฟต์แวร์ชุดปลาดาว

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

หน้าต่างซอฟต์แวร์ตารางทำงานของไมโครซอฟต์เอกเซล

          การคำนวณของซอฟต์แวร์ตารางทำงานนั้นสามารถคำนวณได้ทั้งในแนวของแถว สดมภ์ หรือแบบเฉพาะเจาะจงก็ได้ จากตารางข้างล่าง แสดงตัวอย่างฟังก์ชันการคำนวณที่ซอฟต์แวร์สนับสนุน ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการใช้งานโดยทั่วไปสามารถเรียกใช้ฟังก์ชันที่มีอยู่หลายหมวดหมู่ เช่น ฟังก์ชันทางสถิติ ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ฐานข้อมูล และอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องเขียนมาโครเพิ่มเติม ตัวอย่างของฟังก์ชันที่มีการใช้เป็นจำนวนมาก เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และผลรวม


             ตาราง ตัวอย่างสูตรและฟังก์ชันการคำนวณในซอฟต์แวร์ตารางทำงาน

ตัวอย่างที่

ข้อมูลในเซล

ความหมาย

1

=B2+B3+B4+B5 หาผลรวมที่เรียงกันในแนวสดมภ์

2

=A2+B2+C2+D2 หาผลรวมที่เรียงกันในแนวแถว

3

=Sum(B2,B5) หาผลรวมที่เรียงกันในแนวสดมภ์โดยใช้สูตร

4

=Sum(A2,D2) หาผลรวมที่เรียงกันในแนวแถวโดยใช้สูตร

5

=A2+B3*C4-D5 หาค่าจากสูตรที่คำนวณจากค่าในเซลต่างๆ แบบเจาะจง


          การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน จากตัวอย่างที่ 5 ในตารางที่ 5.1 จะทำการนำค่า B3 มาคูณกับ C4 แล้วบวกกับ A2 ต่อจากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ลบออกด้วยค่า D5 การเป็นเช่นนี้ เป็นหลักการทางคณิตศาสตร์ที่ให้ตัวดำเนินการคูณและหารดำเนินการก่อนตัวดำเนินการบวกและลบ ดังนั้นการกำหนดสูตรจึงต้องมีความชัดเจน การใส่เครื่องหมายวงเล็บจะป้องกันความสับสน ดังนั้น =A2+B3*C4-D5 สามารถเขียนใหม่ได้เป็น =A2+(B3*C4)-D5 ซึ่งจะทำให้ชัดเจนมากขึ้น
          ค่าต่างๆ ที่อยู่ในเซลของตารางทำงานนั้นสามารถกำหนดชนิดของข้อมูลได้เช่นตัวอักษร จำนวนเต็ม จำนวนจริง วันเดือนปี เวลา เปอร์เซ็นต์ และอัตราค่าเงินของประเทศต่างๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ตารางทำงานช่วยคำนวณรายการต่างๆ เช่น คำนวณภาษี รายรับรายจ่าย และประเมินผลการเรียนการสอนของนักเรียน เป็นต้น

 3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (database management software) การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลายๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูลพื้นฐาน การสร้างรายงานผล หรือสรุปผลของข้อมูลที่ผ่านการประมวลแล้ว ซอฟต์แวร์นี้จะมีการจัดเก็บทั้งค่าข้อมูลพร้อมโครงสร้างข้อมูล เพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อนและความขัดแย้งของข้อมูลตลอดจนช่วยให้ผู้ใช้งานทั้งหลายได้รับความสะดวกและใช้ข้อมูลร่วมกันได้
          ในซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจะมีการจัดเก็บเป็นตารางความสัมพันธ์ (relation) ซึ่งในฐานข้อมูลหนึ่งๆ จะมีตารางความสัมพันธ์ได้หลายตาราง และในแต่ละตารางความสัมพันธ์ก็จะมีได้หลายลักษณะประจำ ( attribute ) ในการสร้างลักษณะประจำนั้นจะมีการกำหนดชนิดของลักษณะประจำ และกำหนดคุณสมบัติอื่นๆ เช่น รูปแบบ และความยาวของเขตข้อมูล เป็นต้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือต้องกำหนดลักษณะประจำ 1 ตัวให้เป็นเขตกุญแจหลัก (primary key) ของตารางความสัมพันธ์ด้วย เมื่อกำหนดลักษณะประจำในตารางความสัมพันธ์แล้ว ก็จะสามารถเติมข้อมูลได้ ซึ่งข้อมูลในแต่ละแถวของตารางความสัมพันธ์ เราเรียกว่า เอนทิตี้ (entity)
          นอกจากนั้นซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลยังมีในส่วนของพจนานุกรมข้อมูล ซึ่งจะบอกรายละเอียดของตารางความสัมพันธ์ เช่นบอกชื่อตารางความสัมพันธ์ จำนวน รายชื่อคุณลักษณะประจำ และเขตกุญแจหลัก เราสามารถสร้างดัชนีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูล โดยประกอบด้วยข้อมูลที่แสดงตำแหน่งของข้อมูลจากค่าที่กำหนด และยังสามารถกำหนดความสัมพันธ์ของตารางข้อมูล สร้างรายงาน และส่วนประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ โครงสร้างและรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้สะดวก ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลบางซอฟต์แวร์ก็สามารถเรียกใช้งานฐานข้อมูลที่สร้างจากซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลอื่นได้ 

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

หน้าต่างการใช้ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลของไมโครซอฟต์แอกเซส

          ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดก็มีความเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน ตัวอย่างของซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เช่น ไมโครซอฟต์แอกเซส ดีเบส และ ฟอกซ์เบส นอกจากนี้ยังมีระบบจัดการฐานข้อมูลบนระบบปฏิบัติการอื่น เช่น บนระบบลีนุกซ์มีซอฟต์แวร์ระบบฐานข้อมูลเป็นจำนวนมากทั้งที่เป็นโปรแกรมที่ใช้ฟรี เช่น มายเอสคิวแอล, โพสเกรส เอสคิวแอล, พีคิวแอล หรือซอฟต์แวร์ที่เป็นซอฟต์แวร์การค้า เช่น ดีบีทู, อินฟอร์มิก, อินเกรส, ออราเคิล และไซเบส เป็นต้น

          4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นอีกซอฟต์แวร์หนึ่งที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ซอฟต์แวร์นำเสนอช่วยให้การนำเสนอทำได้ง่ายสะดวกรวดเร็ว และทำให้การนำเสนอมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น สามารถแสดงข้อความในลักษณะที่สื่อความได้ง่าย ด้วยเครื่องมือสำเร็จที่ซอฟต์แวร์มีให้ใช้งาน ซอฟต์แวร์นำเสนอสามารถสร้างสไลด์โดยประกอบด้วย ตัวอักษร รูปภาพ กราฟ แผนภูมิ ตาราง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและอื่นๆ ซอฟต์แวร์นำเสนอ ทั้งซอฟต์แวร์ชุดปลาดาวหรือซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์นั้นมีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย ซอฟต์แวร์นำเสนอของชุดปลาดาวสามารถเปิดแฟ้มที่สร้างจากไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์มาแก้ไขได้ ซอฟต์แวร์นำเสนอสามารถตกแต่งและนำเสนอสไลด์ด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น การใส่และตกแต่งพื้นหลังของสไลด์ วาดภาพโดยใช้เครื่องมือสำเร็จที่ซอฟต์แวร์มีให้ ตกแต่งตัวอักษรและเลือกรูปแบบการแสดงตัวอักษรและสไลด์ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ และ ซอฟต์แวร์นำเสนอของชุดซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

หน้าต่างการใช้งานของซอฟต์แวร์นำเสนอของซอฟต์แวร์ชุดปลาดาว

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

หน้าต่างการใช้งานของซอฟต์แวร์นำเสนอของไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์

 5) ซอฟต์แวร์สื่อสารและค้นหาข้อมูล ( data communication and discovery software) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก ซึ่งให้ทั้งความสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลข่าวสาร การซื้อขายสินค้า การศึกษา โดยใช้ซอฟต์แวร์สื่อสารเชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่นๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหาระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้

          ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ electronic mail) เป็นโปรแกรมที่ใช้เชื่อมโยงเอกสารระหว่างกันโดยสามารถส่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้อย่างรวดเร็วทั้งที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันหรือต่างกัน ตัวอย่างโปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาจากทั้งองค์กรและบริษัทเพิ่มเติม มีทั้งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นการค้าและแจกฟรี เช่น เนสเคป และเอาท์ลุก เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เอาท์ลุก

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เนสเคป

          ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารมีเป็นจำนวนมาก ซอฟต์แวร์ค้นหาข้อมูลจะช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ เราสามารถค้นหาข้อมูลโดยผ่านโปรแกรมบราวเซอร์ เช่น ไมโครซอฟต์เอ็กพลอเลอร์ เนสเคป และโอเปร่า เป็นต้น

          โปรแกรมบราวเซอร์เป็นโปรแกรมที่อ่านเอกสารจากเว็บเพจมาแสดงบนจอภาพ โปรแกรมบราวเซอร์ทำงานโดยใช้โปรโตคอลพิเศษที่เรียกว่า เอชทีทีพี (HyperText Transfer Protocol : HTTP) ในการติดต่อขอข้อมูลจากตัวบริการเว็บ (web server) และแสดงข้อมูลตามรูปแบบของรหัสของภาษาเอชทีเอ็มแอล (HyperText Markup Language : HTML)

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

โปรแกรมบราวเซอร์ไมโครซอฟต์เอ็กพลอเลอร์ 

 6) ซอฟต์แวร์กราฟิก (graphic software) ซอฟต์แวร์กราฟิกเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้าง ออกแบบ วาดหรือจัดแต่ง เอกสารหรือรูปภาพ ซึ่งซอฟต์แวร์นี้สามารถสร้างงานได้รวดเร็ว มีคุณภาพ และมีปริมาณมาก ง่ายต่อการนำไปใช้ ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์กราฟิกจำนวนมากเช่น เพนต์ โฟโทชอป เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

โปรแกรมเพนต์

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

โปรแกรมโฟโทชอป

2.2.2    ซอฟแวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (application software for specific surpose) เป็นซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ  ออกแบบและสร้างขึ้นโดยผู้ผลิตซอฟแวร์ที่มีความชำนาญในด้านนั้นๆ หรือพัฒนาโดยฝ่ายบุคากรฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้ โดยผ่านการวิเคราะห์ ออกแบบ ลงมือ สร้าง และทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องก่อนจึงจะสามารถนำมาใช้งานได้ เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของประชาชน เป็นต้น

 ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัตินําตัวเองไปติดปะปนกับโปรแกรมอื่น ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เพื่อก่อกวนทำลายระบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น แผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ และเป็นโปรแกรมที่สามารถกระจายจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกตัวหนึ่งได้โดยผ่านระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ เช่น โดยผ่านทาง แผ่นบันทึกข้อมูล (Diskette ) แฟรชไดรฟ์ หรือระบบเครือข่ายข้อมูล ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่โดนไวรัสเล่นงานจะเกิดความเสียหาย ต่อข้อมูลที่อยู่บนดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ หรือเกิดการทํางานที่ไม่พึงประสงค์เช่น การลบไฟล์ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์หรือฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์เป็นต้น 

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

       อย่างไรก็ตามการทํางานของไวรัสโดยส่วนใหญ่ทั่วไปแล้ว จะไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การทําลาย แต่จะมีการทํางานอย่างง่ายๆ เช่น การขู่หรือการแสดงข้อความเพื่อให้เกิดความกลัว ไวรัสจะทํางานเฉพาะในหน่วยความจํา ของระบบเท่านั้น และจะอยู่จนกว่าจะมีการปิดเครื่อง เมื่อมีการปิดเครื่องไวรัสก็จะถูกกําจัดออกจากหน่วยความจําด้วยเช่นกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าได้กําจัดไวรัสออกจากระบบ เพราะการปิด เครื่องไม่ได้เป็นการกําจัดไวรัสออกจากไฟล์โปรแกรม หรือจากแผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ที่มีไวรัสแอบแฝงอยู่ เมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์ในครั้งต่อไป ไวรัสก็จะทํางานด้วย และมันก็จะทําการแพร่กระจายไปยังโปรแกรมอื่นๆ ด้วยการทํางานของโปรแกรมไวรัสเอง

อาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พอจะคาดคะเนได้ว่าติดไวรัส

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
- การทำงานของคอมพิวเตอร์ช้ากว่าปกติ
- คอมพิวเตอร์หยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ข้อมูลหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ส่งเสียง หรือข่าวสารแปลกออกมา
- ไดร์ฟ หรือฮาร์ดดิสก์หยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ไฟล์ในแผ่นดิสก์ หรือฮาร์ดดิสก์ถูกเปลี่ยนเป็นขยะ 

ซอฟต์แวร์ในข้อใดที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล *

Database โปรแกรมที่ใช้ในการทำงานทางด้านฐานข้อมูลจะใช้เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่มีขนาดใหญ่ และมีข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น dBASE lll Plis, Foxbase, Microsoft Access, foxpro, Visual Foxpro เป็นต้น

ยกตัวอย่างซอฟต์แวร์มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างประเภทของซอฟต์แวร์.
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เช่น Windows, iOS..
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เช่น Microsoft Word. ... .
ซอฟต์แวร์เขียนโปรแกรม (Programming Software) เช่น Eclipse. ... .
ซอฟต์แวร์ไดร์เวอร์ (Driver Software) เช่น ... .
ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utility Software) เช่น.

ซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล มี 5 ข้อ คืออะไรบ้าง

โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ... .
Microsoft Access. ... .
FoxPro. ... .
dBase. ... .
SQL Server..

ซอฟต์แวร์รวบรวมข้อมูลมีกี่ขั้นตอน

1. การกำหนดหัวข้อ 2. การเตรียมอุปกรณ์ 3. รวบรวมและเก็บข้อมูล 4. นำข้อมูลที่ได้มาทำการประมวลผล โดยการเปรียบเทียบ จัดกลุ่ม เรียงลำดับ การหาผลรวม จนได้ผลเป็นสารสนเทศแล้วจึงนำมา