พิมพ์ใบอนุโมทนาบัตร กรมสรรพากร

ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป ใครต้องการใบอนุโมทนาบัตรไปลดหย่อนภาษี จะต้องลงทะเบียนศูนย์รับบริจาค และจะได้รับ User และ Password เพื่อกรอกข้อมูลผู้บริจาคบนระบบของกรมสรรพากร และพิมพ์ใบอนุโมทนาบัตรให้ผู้บริจาค โดยต้องทำผ่านระบบของสรรพากรนี้เท่านั้นจึงจะนำไปลดหย่อนภาษีได้ นั้น

กรมสรรพากรขอเรียน ดังนี้

1. กรมสรรพากรได้พัฒนาระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริจาคให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ โดยไม่ต้องนำหลักฐานการบริจาคมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ โดยมีช่องทางการรับข้อมูล 2 ช่องทาง ได้แก่
1.1 กรณีบริจาคด้วยเงินสดที่หน่วยรับบริจาคโดยตรง ต้องแจ้งให้หน่วยรับบริจาคข้อมูลบันทึกบนระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร โดยหน่วยรับบริจาคจะบันทึกข้อมูลบนระบบ
1.2 กรณีบริจาคผ่านธนาคารพาณิชย์ และผู้บริจาคแสดงความประสงค์บนระบบของธนาคารว่าต้องการให้ส่งข้อมูลเพื่อการลดหย่อนภาษี ธนาคารพาณิชย์จะเป็นผู้ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร

2. ผู้บริจาคที่บริจาคผ่านระบบ e-Donation ไม่ต้องแนบใบอนุโมทนาบัตร ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ซึ่งเป็นการช่วยให้วัดประหยัดค่าใช้จ่ายในการออกใบอนุโมทนาบัตรอีกทางหนึ่ง

3. สำหรับการบริจาคในปีภาษี 2561 ที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ในปี 2562 ผู้บริจาคสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีการบริจาคได้ แม้ว่าจะเป็นการบริจาคให้ผู้รับบริจาคที่ไม่ได้ใช้ระบบ e-Donation

อย่างไรก็ดี กรมสรรพากร กำลังดำเนินการกำหนดให้การบริจาคที่สามารถลดหย่อนภาษีได้จะต้องเป็นการบริจาคผ่านระบบ e-Donation เท่านั้น

UPDATE: กสศ. เปิดรายงานเหลื่อมล้ำทางการศึกษาปี 65 พบรายได้ครัวเรือนนักเรียนยากจนพิเศษเหลือวันละ 34 บาท เสนอปรับเงินอุดหนุนให้สอดคล้องค่าครองชีพ
.
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้จัดแถลงข่าวรายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาปี 2565 นำเสนอแนวโน้มผลกระทบที่เป็นจุดเสี่ยงทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา และข้อเสนอนโยบายสู่การฟื้นฟูระบบการศึกษาไทยให้มีความเสมอภาค โดยพบว่าในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มีเด็กนักเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ (อนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 3) จำนวนประมาณ 9 ล้านคน อยู่ในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (อปท.), กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.), สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.)
.
ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา รายงานว่า จากการสำรวจสถานการณ์นักเรียนยากจนพิเศษของ กสศ. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า มีนักเรียนยากจนพิเศษในระดับการศึกษาภาคบังคับเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 มีนักเรียนยากจนพิเศษจำนวน 994,428 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 มีจำนวน 1,174,444 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 มีจำนวน 1,244,591 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 มีจำนวน 1,301,366 คน และล่าสุดในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มีจำนวนมากถึง 1,307,152 คน
.
หากพิจารณาโดยใช้รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า มีเด็กและเยาวชนอายุ 3-14 ปี จำนวนกว่า 2.5 ล้านคน อยู่ใต้เส้นความยากจน เนื่องจากมีรายได้ไม่ถึง 2,762 บาทต่อคนต่อเดือน และหากเปรียบเทียบข้อมูลนักเรียนยากจนพิเศษของ กสศ. ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ถึงปีการศึกษา 2565 พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษลดลงมาถึงร้อยละ 5 โดยตัวเลขล่าสุดในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 พบว่า รายได้เฉลี่ยของครอบครัวนักเรียนยากจนพิเศษที่คัดกรองใหม่เฉพาะสังกัด สพฐ. อยู่ที่ 1,044 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็นวันละ 34 บาทเท่านั้น ซึ่งมีนักเรียนกว่า 1.3 ล้านคน ได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข (ทุนเสมอภาค) จาก กสศ. และนักเรียนยากจนอีก 1.8 ล้านคน กสศ. ได้สนับสนุนผลการคัดกรองให้ต้นสังกัดจัดสรรทรัพยากรเพิ่มเติม
.
“จากการประมาณการของสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โดยวิเคราะห์แนวโน้มของดัชนีราคาผู้บริโภคตามอัตราเงินเฟ้อและมูลค่าที่แท้จริง พบว่าในปี 2563-2566 ดัชนีราคาผู้บริโภคด้านอาหารและการเดินทางมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น ต้นทุนค่าใช้จ่ายจริงในการใช้ชีวิตของครัวเรือน ผู้ปกครอง และนักเรียนจึงเพิ่มสูงขึ้น แม้ดัชนีราคาผู้บริโภคด้านการศึกษาจะมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยก็ตาม ดังนั้นครัวเรือนจึงมีแนวโน้มที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายประจำวันในด้านต่างๆ ที่สูงขึ้น อาจจะส่งผลต่อกำลังในการสนับสนุนการศึกษาให้บุตรหลานลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มครอบครัวผู้ยากจน ด้อยโอกาส” ดร.ภูมิศรัณย์กล่าว
.
ดร.ภูมิศรัณย์กล่าวอีกว่า จากการศึกษาถึงแหล่งรายได้ของครอบครัวนักเรียนยากจนพิเศษ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 พบว่ารายได้ของผู้ปกครองร้อยละ 59 มาจากสวัสดิการรัฐและเอกชน รองลงมาร้อยละ 53.9 คือเงินเดือนหรือค่าจ้าง และรายได้จากการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 42.4 ตามลำดับ เมื่อประมวลปัญหาของนักเรียนยากจนพิเศษซึ่งควรได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน พบว่ามีสภาพครัวเรือนที่มีภาระพึ่งพิง มีผู้พิการ เจ็บป่วยเรื้อรัง โดยมีนักเรียนยากจนพิเศษที่ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่กว่าร้อยละ 38 และอาศัยอยู่ในครอบครัวยากจนที่มีสมาชิก 5 คนขึ้นไป โดยที่มีผู้ปกครองลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐกว่าร้อยละ 31
.
“โจทย์ท้าทายของการสร้างความเสมอภาคด้านการศึกษาไทยในอนาคต ต้องพิจารณาบนพื้นฐานผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศอันเนื่องจากสถานการณ์โควิด ช่วงสองถึงสามปีผ่านมา ทุนเสมอภาคที่เคยอุดหนุนให้กับนักเรียนยากจนพิเศษในปีการศึกษา 2561 จำนวน 3,000 บาท หากคำนวณใหม่ในปี 2566 ที่มีแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อขึ้นไปร้อยละ 3.1 พบว่ามูลค่าที่แท้จริงลดลงเหลือเพียง 2,728 บาท เช่นเดียวกับเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนในระดับประถมศึกษาที่เคยอุดหนุนในปี 2554 จำนวน 1,000 บาทต่อคนต่อปี หรือวันละ 5 บาท และในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3,000 บาทต่อคนต่อปี หรือวันละ 15 บาท คิดมูลค่าที่แท้จริงตามอัตราเงินเฟ้อในปี 2566 พบว่าเหลือเพียง 840 บาท และ 2,521 บาทตามลำดับ ซึ่งไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพและสถานการณ์เงินเฟ้อที่คาดการณ์ว่าจะสูงถึงร้อยละ 4-5 และมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นอีกในอนาคต” ดร.ภูมิศรัณย์กล่าว
.
เพื่อรักษามูลค่าที่แท้จริงของอัตราเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษที่ควรเป็นในปี 2565 ดร.ภูมิศรัณย์ระบุว่า กสศ. เสนอว่ารัฐบาลควรเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนในปัจจุบันที่จัดสรรให้ระดับประถมศึกษา จาก 1,000 บาท เป็น 1,190 บาท และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จาก 3,000 เป็น 3,300 บาท ขณะที่ทุนเสมอภาคซึ่งสนับสนุนนักเรียนในระบบการศึกษาภาคบังคับ จาก 3,000 บาท เป็น 3,300 บาท เพื่อป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษา
.
“ที่ผ่านมามีงานวิจัยของ UNICEF ในปี 2015 ชี้ว่าจำนวนเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา 500,000 คน จะส่งผลต่อมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศถึง 1.7% ของ GDP หรือคิดเป็น 6,520 ล้านดอลลาร์ ส่วนข้อมูลจากงานวิจัยของ Eric Hanushek ในปี 2020 ได้ลองคำนวณว่าถ้าเด็กทุกคนในประเทศไทยบรรลุการศึกษาตามมาตรฐานสากล จะทำให้ GDP ของประเทศเติบโตได้ถึง 5.5% ไปได้ตลอดทั้งศตวรรษที่ 21 หรือในอีกทางหนึ่งถ้าไทยสามารถทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาเป็นศูนย์ได้สำเร็จ จะทำให้ GDP ของประเทศเพิ่มถึง 3% ไปจนสิ้นศตวรรษเช่นกัน” ดร.ภูมิศรัณย์กล่าว
.
ดร.ภูมิศรัณย์กล่าวด้วยว่า จากประเด็นดังกล่าว กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาได้มีข้อเสนอนโยบายเพื่อฟื้นฟูระบบการศึกษาไทยให้มีความเสมอภาค และเกิดความยั่งยืนในอนาคต
.
ด้าน ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้ประเมินสถานการณ์ความยากจนในปี 2565 ในมิติกำลังซื้อทางการศึกษาว่าเป็นหัวใจสำคัญของการป้องกันเด็กหลุดออกจากระบบ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในระบบการศึกษา ด้วยมุมมองการลงทุนเพื่อพยุงอำนาจและกำลังซื้อให้ผู้ปกครองยังคงมีกำลังส่งบุตรหลานให้อยู่ในระบบการศึกษา
.
ดร.ไกรยสระบุว่า ระดับการศึกษาส่งผลต่อการมีรายได้อย่างมีนัยสำคัญ จากผลสำรวจระดับการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนยากจนพิเศษภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดย กสศ. พบว่ามากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ปกครองนักเรียนยากจนพิเศษจบการศึกษาสูงสุดเพียงระดับประถมศึกษา มีเพียงร้อยละ 0.9 เท่านั้นที่จบการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า โดยมีค่าเฉลี่ยรายได้อยู่ที่ 1,949-3,372 บาท ขณะที่ปัจจุบันรายได้ขั้นต่ำของประชากรที่เข้าสู่ฐานภาษีเฉลี่ย 26,584 บาทต่อเดือน โดยมีประชากรกลุ่มนี้ประมาณ 11 ล้านคน หากสามารถทำให้นักเรียนยากจน 2.5 ล้านคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงถึงฐานภาษี นอกจากจะส่งเสริมคุณภาพชีวิต ยังเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมให้ดียิ่งขึ้น
.
“การที่ประเทศไทยมีเป้าหมายเป็นประเทศรายได้สูงใน 20 ปี รายได้เฉลี่ยขั้นต่ำของประชากรควรอยู่ที่ 38,000 บาทต่อเดือน แต่ปัจจุบันนี้ประชากรไทยยังมีรายได้เฉลี่ยเพียง 20,920 บาทต่อเดือน ดังนั้นการลงทุนด้านการศึกษาเพื่อผลักดันให้มีจำนวนการจบปริญญาตรีหรือสูงกว่าเพิ่มขึ้น การเพิ่มสมรรถนะของสถานศึกษา และการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศเพื่อให้ตลาดแรงงานแข็งแรงพอที่จะยกระดับรายได้เฉลี่ยประชากรไปที่ 38,000 บาทต่อเดือนในอนาคต ต้องลงทุนวันนี้ เพราะถ้าไม่ลงทุนวันนี้ เราจะสูญเสียโอกาสของประเทศ นี่คือค่าเสียโอกาสที่น่าเสียดายที่สุด” ดร.ไกรยสกล่าว
.
ดร.ไกรยสนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 โดย กสศ. พบว่า วุฒิการศึกษาที่สูงขึ้นส่งให้มีรายได้ตลอดช่วงชีวิตการทำงานเพิ่มขึ้น โดยหากประชากรวัยแรงงานในประเทศไทยมีวุฒิการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 6 จะมีรายได้เฉลี่ย 9,136 บาทต่อเดือน หากมีวุฒิการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 จะมีรายได้เฉลี่ย 10,766 บาทต่อเดือน ขณะที่วุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะมีรายได้เฉลี่ย 13,118 บาทต่อเดือน และวุฒิปริญญาตรี จะมีรายได้เฉลี่ย 27,132 บาทต่อเดือน
.
ทั้งนี้ ข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ iSEE ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือของ กสศ. ที่สะท้อนให้เห็นสถานการณ์ของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศไทย พบว่า ในปีการศึกษา 2561 ที่มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับทุนเสมอภาคจาก กสศ. และทุนอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนจาก สพฐ. รวม 148,021 คน นักเรียนกลุ่มนี้เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 62,042 คน และ กสศ. ได้เชื่อมโยงข้อมูลนักเรียนที่เข้าศึกษาต่อผ่านระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS) พบว่า มีเด็กที่ได้รับความช่วยเหลือจากการคัดกรองนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษของ กสศ. เมื่อปีการศึกษา 2561 ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบ TCAS ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 20,018 คน คิดเป็นร้อยละ 14 ของจำนวนนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษที่ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาต่อ กระจายอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 75 แห่ง
.
ดร.ไกรยสกล่าวอีกว่า กสศ. ได้ใช้แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ในการประเมินว่าหากเด็กนักเรียนทั้ง 20,018 คน สามารถสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จะทำให้รายได้ตลอดช่วงชีวิตของพวกเขาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นถึง 66,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.3 ล้านบาทต่อคน เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขถ้าสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ขณะเดียวกัน หากคำนวณต้นทุนที่ต้องช่วยสนับสนุนให้พวกเขาสามารถเรียนจนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีได้ในภาพรวม อยู่ที่ประมาณ 8,200 ล้านบาท หรือคิดเป็น 410,000 บาทต่อคน ซึ่งคิดเป็นผลตอบแทนกลับคืนสู่ระบบเศรษฐกิจกว่า 7 เท่า
.
“สรุปได้ว่าความเหลื่อมล้ำทางการศึกษากับการพัฒนาประเทศออกจากกับดักรายได้ปานกลางเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะยิ่งมีเด็กและเยาวชนไปถึงการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นมากเท่าไร เราจะไปสู่ประเทศรายได้สูงได้เร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การลงทุนกับการศึกษาถือเป็นความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ” ดร.ไกรยสกล่าว
.
ดร.ไกรยสกล่าวต่อไปว่า ข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า แนวทางฟื้นฟูระบบการศึกษาไทยให้มีความเสมอภาคและเกิดความยั่งยืนในอนาคต คือการลงทุนทำให้ประเทศไทยมีฐานภาษีที่กว้างขึ้นจากการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีรายได้มากขึ้น โดยมีข้อเสนอว่า นอกจากการจัดสวัสดิการด้านการศึกษาแบบเท่ากันทุกคน (Universal) ด้วยฐานงบประมาณเรียนฟรี 15 ปีแล้ว ควรให้ความสำคัญกับการจัดสวัสดิการแบบมุ่งเป้า (Targeting) หรือการเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขติดตามการคงอยู่ในระบบการศึกษาประกอบกัน ซึ่งการลงทุนด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดย กสศ. ได้สรุปข้อเสนอ 3 รูปแบบ ดังนี้
.
1. ข้อเสนอด้านอัตราอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษ สำหรับงบประมาณ 2567
.
- ปรับปรุงอัตราเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน (เรียนฟรี 15 ปี) โดยจัดให้ระดับอนุบาล 1,000 บาท / ระดับประถมศึกษา 1,00 บาท / ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 4,000 บาท / ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 9,000 บาท
.
- ปรับปรุงอัตราทุนเสมอภาค เริ่มตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัย-มัธยมศึกษาตอนปลาย โดยจัดให้รายหัว ระดับอนุบาล 4,000 บาท / ระดับประถมศึกษา 5,100 บาท / ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 4,500 บาท / ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 9,100 บาท
.
2. ข้อเสนอเชิงคุณภาพ
- การจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไข เพื่อติดตามผลการคงอยู่ในระบบการศึกษาของผู้เรียนและการศึกษาต่อหลังขั้นพื้นฐาน รวมถึงติดตามผลด้านพัฒนาการด้านกายภาพและการเรียนรู้
- การเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลและระบบส่งต่อการทำงานและติดตามนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ป้องกันการหลุดออกจากระบบซ้ำ โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง 7 กระทรวง เพื่อต่อยอดจากโครงการพาน้องกลับมาเรียน
- จัดทำมาตรการสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการระดมงบประมาณ/ทรัพยากร จาก อปท. และการบริจาคจากภาคเอกชนเพื่อลดภาระทางการคลังของประเทศ
.
3. เป้าหมายในอนาคต
- เพิ่มอัตราการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าของนักเรียนยากจน/ยากจนพิเศษให้สูงกว่าร้อยละ 20 ภายใน 5 ปี
- เยาวชนจากครัวเรือนยากจน/ยากจนพิเศษ ต้องก้าวออกจากกับดักความยากจนข้ามรุ่น เข้าสู่ระบบฐานภาษีและรายได้เฉลี่ยถึงระดับรายได้สูงภายใน 10 ปี
.
“ข้อเสนอสำคัญคือการปรับเงินอุดหนุนให้ครอบคลุมการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกระดับ และปรับเพิ่มให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ โดยจุดเปลี่ยนสำคัญคือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเป็นช่วงชั้นรอยต่อที่มีเด็กหลุดจากระบบการศึกษามากที่สุด ขณะที่เงินอุดหนุนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จะช่วยดึงเด็กไว้ให้อยู่ในระบบจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และจะทำให้มาตรการการจัดสรรเงินอุดหนุนเกิดความคุ้มค่าในระยะยาว ร่วมกับการเชื่อมโยงฐานข้อมูลส่งต่อเด็กและเยาวชนตั้งแต่อนุบาลถึงมหาวิทยาลัยเป็นเวลา 20 ปี และให้รัฐบาลมีนโยบายเพิ่มแรงจูงใจภาคเอกชนในการระดมทรัพยากรมาช่วยเหลืออย่างเต็มที่ พร้อมเชื่อมโยงกับข้อมูลของกระทรวงการคลัง ดูแลไปถึงครอบครัวของเด็ก ถ้าสามารถทำได้ทั้งหมดนี้ ตัวเลข 14% ที่รายงานนำเสนอว่าคือจำนวนของเด็กยากจนและยากจนพิเศษที่ได้เรียนต่อมหาวิทยาลัยอาจเพิ่มขึ้นได้ถึง 20% ได้ภายใน 5 ปี และเยาวชนกลุ่มนี้จะก้าวออกจากกับดักความยากจนข้ามรุ่น มีรายได้เฉลี่ยถึงระดับสูงสุดและเข้าสู่ฐานภาษีภายใน 10 ปี แล้วประเทศไทยจะออกจากกับดักรายได้ปานกลางได้เร็วขึ้น” ดร.ไกรยสกล่าว
.
ทั้งนี้ ดร.ไกรยสวิเคราะห์ว่า หากเด็กและเยาวชนใต้เส้นความยากจน 2.5 ล้านคนเข้าสู่ฐานภาษีได้ในรุ่นตนเอง จะเพิ่มจำนวนประชากรในระบบฐานภาษีจาก 11 ล้านคน เป็น 13.5 ล้านคน ประเทศไทยจะได้รับรายได้คืนกลับมาเป็นงบประมาณที่นำไปใช้จัดสวัสดิการได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคต โดยคิดเป็นอัตราผลตอบแทนของการลงทุนแบบ IRR อยู่ที่ประมาณ 9% ซึ่งถือว่าสูงมากหากเทียบเคียงกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟฟ้า และยังสูงกว่าต้นทุนทางการเงินของรัฐประมาณ 2.7%
.
ด้าน ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า การแก้ปัญหาการศึกษาจำเป็นต้องแก้ไขในหลายมิติไปพร้อมกัน เพื่อแก้ปัญหาเด็กกลุ่มยากจนพิเศษหลุดจากระบบการศึกษา โดยพุ่งเป้าไปที่ปัญหาต่างๆ การแก้ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเชื่อมโยงกับภูมิศาสตร์ของแต่ละแห่งที่แตกต่างกัน และโจทย์สำคัญที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องทำงานร่วมกับ กสศ. คือการพัฒนาโรงเรียนและนักเรียนให้สอดคล้องกับปัญหาของนักเรียนกลุ่มยากจนพิเศษ ให้มีระบบโภชนาการหรือมีอาหารแต่ละมื้อที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนระหว่างมาเรียน หรือมีสื่อการเรียนการสอนที่จำเป็นต่อการเรียนที่เพียงพอ ซึ่งทั้งสองส่วนอาจจะยังมีปัญหาในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะเกิดจากการจัดสรรงบประมาณรายหัว แต่ปัจจุบันได้มีการเพิ่มงบประมาณพิเศษในกับโรงเรียนกลุ่มนี้และเด็กยากจนพิเศษ จากปกติงบอาหารกลางวันคนละ 21 บาท เป็น 34 บาท นอกจากนี้ สพฐ. ได้เร่งสร้างความร่วมมือกับ กสศ. และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยพยายามสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กทุกกลุ่มโดยเฉพาะเด็กที่มาจากครอบครัวยากจน ให้เห็นความสำคัญของการศึกษา และมีความเชื่อมั่นว่าการศึกษาที่สูงขึ้นไม่เพียงแต่จะสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้ แต่ยังเป็นหลักประกันสำคัญของแต่ละครอบครัว และหลักประกันของการพัฒนาประเทศในอนาคตอีกด้วย
.
ส่วน ดร.ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมองเห็นเกี่ยวกับปัญหาการศึกษาสอดคล้องกับ กสศ. คือการใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ในอนาคตประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์ประเทศ ให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตได้ปีละ 5% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวอาจไม่ตรงตามเป้า เพราะปัจจัยสำคัญคือมีแรงงานของประเทศลดลงในอนาคต รัฐบาลจึงจำเป็นต้องชดเชยแรงงานกลุ่มนี้ด้วยการหันไปพัฒนาด้านโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่สูงขึ้น
.
“กสศ. ได้แสดงให้เห็นตัวเลขที่สำคัญว่า หากประชากรโดยเฉพาะเด็กกลุ่มยากจนพิเศษมีโอกาสได้เข้าถึงการศึกษาที่สูงขึ้น ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตก็จะขยับตาม เพราะรายได้เฉลี่ยของแต่ละครอบครัวสูงขึ้น รวมถึงการศึกษาจะเป็นหลักประกันสำคัญให้ประชากรสามารถปรับตัวให้เข้ากับวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย” ดร.ดอนกล่าว
.
ด้าน ดร.ยุทธภูมิ จารุเศร์นี ผู้อำนวยการส่วนแบบจำลองและประมาณการทางเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า แนวทางการส่งเสริมด้านการศึกษา คือทำอย่างไรถึงจะช่วยต่อยอดเด็กและเยาวชนในกลุ่มหรือพื้นที่ที่มีพื้นฐานที่ดีอยู่แล้ว ให้พัฒนาทักษะได้สุดทาง เรียนจบและมีงานในระดับสูง และในขณะเดียวกันก็ต้องลงทุนเพิ่มเติมด้านการศึกษาให้กับกลุ่มหรือพื้นที่ที่ขาดแคลนโอกาส แทนที่จะลงทุนเท่ากันกับทุกกลุ่มหรือทุกพื้นที่ ก็ใช้วิธีเติมปัจจัยพื้นฐานให้กับกลุ่มหรือพื้นที่ที่ต้องการที่สุด เป็นการกระจายความเสมอภาคออกไปให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น
.
“ในด้านการลงทุนศึกษา กระทรวงการคลังจะดูเรื่องของประสิทธิภาพ เม็ดเงินที่ลงไปต้องเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มได้ การออกแบบนโยบายด้านการศึกษาก็เช่นกัน ควรมีนโยบายการสร้างคุณค่าของการศึกษา หรือสร้างแรงจูงใจให้เด็กเข้าเรียนโดยค่อยๆ ปรับพฤติกรรม หลักการคือกลุ่มเป้าหมายต้องมีอิสระทางความคิด สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้ ไม่เกิดจากการบังคับ ขณะที่รัฐอาจออกแบบนโยบายการแลกเปลี่ยนระหว่างการเข้าเรียนกับรางวัลบางอย่าง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้อยากมาเรียน ไปจนถึงเมื่อเข้าเรียนครบทั้งสัปดาห์ หรือเรียนได้ตามเกณฑ์กำหนดในหนึ่งเทอมการศึกษา ก็อาจขยับไปให้รางวัลที่ใหญ่ขึ้น เหล่านี้เป็นการสร้างคุณค่าของการเรียนโดยไม่ต้องลงทุนในระดับโครงสร้าง และจะช่วยดึงเด็กและเยาวชนไว้ในระบบได้มากยิ่งขึ้น”ดร.ยุทธภูมิกล่าว
.
#TheStandardNews

 

Dec 23, 2022 ต้องรู้! กรมสรรพากร แนะขั้นตอนยื่นคำขอออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ประกอบการ เลือกใช้ให้เหมาะสมกับขนาดกิจการ เพื่อรองรับมาตรการช้อปดีมีคืน 2566
.
ตามที่รัฐบาลได้ออกมาตรการ “ช้อปดีมีคืน 2566 ” ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 ถึงวันที่ 15 ก.พ. 2566 โดยประชาชนที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 40,000 บาท โดยใช้ใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ตามเงื่อนไขในการลดหย่อนภาษีนั้น
.
กรมสรรพากร ได้แนะนำช่องทางสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือมีหน้าที่ออกใบ สามารถยื่นคำขอจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax ) เพื่อเข้าร่วมมาตรการช้อปดีมีคืน 2566 ได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt สำหรับผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องการออกใบกำกับภาษีจำนวนมาก และ เป็นระบบบัญชีขนาดใหญ่ โดยเป็นการจัดทำข้อมูลใบกำกับภาษี รวมถึงใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับ ให้อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel, PDF หรือ PDF/A-3 ที่ได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ส่วนการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรต้องจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่ในรูปแบบ XML File ตามมาตรฐานเท่านั้น
.
สำหรับขั้นตอนการยื่นคำขอจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt มีดังนี้
1.เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th เพื่อยื่นคำขอ
2.ดาวน์โหลดโปรแกรม Ultimate Sign & Viewer Free และติดตั้งลงเครื่องคอมพิวเตอร์
3.เชื่อมต่ออุปกรณ์ Token หรือ HSM ที่จัดเก็บใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ฅ
4.กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและตรวจสอบข้อมูล
5.ลงลายมือชื่อใน บ.อ.01 และข้อตกลง
6.ตรวจสอบอีเมล และสร้างบัญชีผู้ใช้งาน
7.ตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับอนุมัติ บ.อ.01 ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร
.
สำหรับ ระบบ e-Tax Invoice by Email สำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขนาดเล็ก มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี ระบบนี้เหมาะกับการออกใบกำกับภาษีจำนวนน้อย และ เป็นระบบบัญชีขนาดเล็ก โดยเป็นการจัดทำข้อมูลใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดในรูปแบบ PDF/A-3 มีข้อมูล XML ตามรูปแบบที่กำหนด
.
รับรองเอกสารโดยการประทับรับรองเวลา (Times tamp) จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และ ส่งมอบแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการผ่าน e-mail ส่วนการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ
.
ขั้นตอนการยื่นคำขอจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ระบบ e-Tax Invoice by Email มีดังนี้
1.เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th เพื่อยื่นคำขอ
2.กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและตรวจสอบข้อมูล พิมพ์เอกสาร ก.อ.01 เพื่อลงนาม
3.สแกน ก.อ.01 และเอกสารเกี่ยวข้องเพื่ออัปโหลดเอกสาร
4.กรมสรรพากรตรวจสอบความถูกต้องและจัดส่งเอกสารยืนยันทางไปรษณีย์ พร้อมรหัสยืนยัน (Activate Code)
5.ยืนยันตัวตนผ่านทางเว็บไซต์ และกำหนดรหัสผ่านภายใน 15 วันทำการ
6.แจ้งอีเมลที่ประสงค์จะใช้ในการส่งใบกำกับภาษีและใบรับ
7.ตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับอนุมัติ ก.อ.01 ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร
.
อ่านเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3WCNfMp
.
ติดตาม BTimes ได้ทุกช่องทาง ดังนี้
เฟซบุ๊ก: https://m.facebook.com/btimesch3/
ยูทูป: https://m.youtube.com/c/MisterBan
ทวิตเตอร์: https://mobile.twitter.com/btimes_ch3
เว็บไซต์: https://btimes.biz
พ็อดคาสท์: https://btimes.podbean.com/
.
#สรรพากร #กรมสรรพากร #ภาษีอิเล็กทรอนิกส์ #ช้อปดีมีคืน #BTimes

 

Dec 23, 2022 อีอีซีหงอย! อสังหาฯ พื้นที่อีอีซี 3 จังหวัดตะวันออกซบเซาทั้งซื้อขายยันเปิดโครงการใหม่
.
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า ได้รายงานภาพรวมสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา พบว่าหลังจากสถานการณ์โควิด 19 เห็นภาพการชะลอตัวลงในด้านอุปสงค์(ความต้องการซื้อ) ขณะที่อุปทานใหม่เริ่มเข้าสู่ตลาดมากขึ้นกว่า 2 ไตรมาสที่ผ่านมาแต่โดยภาพรวมยังอยู่ในช่วงการหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของ โควิด 19
.
เมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 อุปทานพร้อมขาย หรือ Total Supply มีจำนวน 54,116 หน่วย ลดลง -9.11% มูลค่ารวม 184,985 บาท ลดลง -9.94% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
.
ดร.วิชัย กล่าวว่า ประเด็นที่น่าจับตาคือที่อยู่อาศัยที่เสนอขายทั้งหมดในตลาดเริ่มลดลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2564 และการเปิดตัวใหม่ในไตรมาส 3 ถือว่าต่ำที่สุดทั้งก่อน และระหว่างเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID -19 โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าการเปิดตัวโครงการใหม่จะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่โซนอุตสาหกรรม ขณะที่อัตราการดูดซับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการขายได้เพิ่มขึ้นของโครงการแนวราบโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภททาวน์เฮ้าส์
.
นอกจากนี้ ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่ 3 จังหวัดหรืออีอีซีในปี 2566 สถานการณ์โดยรวมจะยังคงอยู่ในช่วงของการปรับตัวอีกครั้ง หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งประกาศนโยบายชัดเจนในเรื่องของการนำกฎเกณฑ์ LTV กลับมาใช้อีกครั้ง ส่งผลให้การเปิดขายโครงการใหม่มีแนวโน้มจะลดลง โดยตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC จะยังคงถูกขับเคลื่อนโดยโครงการบ้านจัดสรร และผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยังคงเน้นการขายสินค้าคงค้างในทำเล และการพัฒนาที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่เหมาะสมความสามารถของในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้ซื้อที่ยังไม่สูงนัก
.
ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า จากการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยเสนอขายในพื้นที่ 3 จังหวัด ณ ช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 พบว่ามีจำนวน 54,116 หน่วย ลดลง -9.11% มูลค่ารวม 184,985 บาท ลดลง -9.94%
.
ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นประเภทอาคารชุด 17,998 หน่วย มูลค่า 77,667 ล้านบาท จำนวนหน่วยลดลง -10.16% มูลค่าลดลง -13.45% เป็นประเภทบ้านจัดสรร 36,118 หน่วย มูลค่า 107,318 ล้านบาท จำนวนหน่วยลดลง – 8.57% มูลค่าลดลง -8.50% ซึ่งในจำนวนนี้เป็นโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ที่เข้าสู่ตลาด 4,117 หน่วย มูลค่า 12,516 ล้านบาท จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้น 16.89% มูลค่าลดลง -9.38% โดยโครงการอาคารชุดที่เปิดใหม่เกือบทั้งหมดจะเปิดในจังหวัดชลบุรี ขณะที่บ้านจัดสรรในไตรมาสนี้มีการเปิดตัวโครงการใหม่ในฉะเชิงเทรามากกว่าจังหวัดชลบุรีและระยอง
.
โครงการอาคารชุดเปิดขายใหม่ ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 กระจายอยู่ในทำเลย่านนิคมอุตสาหกรรมและพื้นที่ต่อเชื่อม โดย 3 ทำเล ซึ่งโครงการอาคารชุดเสนอขายใหม่มากที่สุดในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC ประกอบด้วย
.
อันดับ 1 นิคมฯอมตะนคร-บายพาส จำนวน 497 หน่วย มูลค่า 596 ล้านบาท (มูลค่าเป็นอันดับ 4)
.
อันดับ 2 บางแสน-หนองมน-บางพระ จำนวน 491 หน่วย มูลค่า 1,186 ล้านบาท (มูลค่าเป็นอันดับ 1)
.
อันดับ 3 สัตหีบ-อู่ตะเภา จำนวน 262 หน่วย มูลค่า 985 ล้านบาท (มูลค่าเป็นอันดับ 3)
.
ส่วนทำเลที่มีโครงการบ้านจัดสรรเปิดขายใหม่สูงสุดอยู่ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมถึงในพื้นที่ต่อเชื่อมนิคมอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน ประกอบด้วย
.
อันดับ 1 ในเมืองฉะเชิงเทรา จำนวน 804 หน่วย มูลค่า 1,997 ล้านบาท (มูลค่าเป็นอันดับ 1)
.
อันดับ 2 นิคมฯ สหพัฒน์ -ปิ่นทอง จำนวน 335 หน่วย มูลค่า 484 ล้านบาท (มูลค่าเป็นอันดับ 7)
.
อันดับ 3 นิคมฯอมตะนคร-บายพาส จำนวน 290 หน่วย มูลค่า 783 ล้านบาท (มูลค่าเป็นอันดับ 3)
.
โดยพบว่ามีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 จำนวน 6,740 หน่วย มูลค่า 21,113 ล้านบาท จำนวนหน่วยลดลง -14.34% มูลค่าลดลง -15.15% ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นโครงการอาคารชุดเพียง 1,617 หน่วย มูลค่า 5,946 ล้านบาท จำนวนหน่วยลดลง -16.91% มูลค่าลดลง -20.62% โครงการบ้านจัดสรร 5,123 หน่วย มูลค่า 17,389 ล้านบาท จำนวนหน่วยลดลง -13.49% มูลค่าลดลง -12.79% ซึ่งเป็นการขายประเภทบ้านจัดสรรประมาณกว่า 75% ของหน่วยขายทั้งหมดใน 3 จังหวัดอีอีซีส่วนอาคารชุดเกือบทั้งหมดขายได้ในจังหวัดชลบุรี
.
ทั้งนี้ พบว่าอัตราดูดซับลงมาอยู่ที่ 4.2% ลดลงกว่าไตรมาสก่อนหน้าแต่ดีกว่าในช่วงไตรมาสแรก หากแยกตามประเภทที่อยู่อาศัย พบว่าบ้านจัดสรรมีอัตราดูดซับสูงกว่าโครงการอาคารชุด โดยมีอัตราดูดซับ 4.7% ขณะที่อัตราดูดซับอาคารชุดอยู่ในระดับ 3.0% และระดับราคาที่มีอัตราดูดซับดีที่สุดอยู่ในกลุ่มของทาวน์เฮ้าส์ โดยอัตราดูดซับอยู่ที่ 5.0% โดยกลุ่มราคาน้อยกว่า 1.00 ล้านบาท อัตราดูดซับปรับตัวดีขึ้นจาก 3.2% มาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ขณะที่อัตราดูดซับกลุ่มราคาอื่นปรับตัวลดลง
.
อ่านเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3POj4ji
.
ติดตาม BTimes ได้ทุกช่องทาง ดังนี้
เฟซบุ๊ก: https://m.facebook.com/btimesch3/
ยูทูป: https://m.youtube.com/c/MisterBan
ทวิตเตอร์: https://mobile.twitter.com/btimes_ch3
เว็บไซต์: https://btimes.biz
พ็อดคาสท์: https://btimes.podbean.com/
.
#EEC #อสังหาฯ #อสังหาริมทรัพย์ #อีอีซี #BTimes

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 ที่จะถึงนี้ บขส. ได้เตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางของประชาชน ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยคาดการณ์ว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการเพิ่มขึ้นจากเทศกาลปีใหม่ 2565 ประมาณ 5% เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย ประชาชนและนักท่องเที่ยวกลับมาเดินทางเพิ่มขึ้น
.
“ในเที่ยวไป ระหว่างวันที่ 28-29 ธันวาคม 2565 คาดการณ์ว่าจะมีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 50,000 - 55,000 คน ใช้รถโดยสาร คือ รถ บขส. , รถร่วม , รถตู้ เฉลี่ยวันละ 3,500 เที่ยว ส่วนเที่ยวกลับระหว่างวันที่ 2-3 มกราคม 2566 คาดว่ามีผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยวันละ 53,000 คน ใช้รถโดยสารประมาณ 3,300 เที่ยว” นายสัญลักข์ กล่าว
.
นายสัญลักข์ กล่าวอีกว่า บขส. ได้ทำหนังสือขออนุญาตต่อนายทะเบียน กรมการขนส่งทางบก ให้ผู้ประกอบการนำรถโดยสารไม่ประจำทาง (รถทะเบียน 30) มาจัดเสริมในเส้นทางต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเดินทางของประชาชนอย่างเพียงพอ โดยคาดการณ์ว่าจะมีรถโดยสารไม่ประจำทาง มาเสริมเที่ยววิ่งประมาณ 600 คัน จึงมั่นใจมีรถโดยสารเพียงพอรองรับการเดินทางของประชาชนได้อย่างแน่นอน

สำหรับยอดจองตั๋วล่วงหน้าเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 ในเส้นทางภาคเหนือ , ภาคใต้ , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ของ บขส. ขณะนี้อยู่ที่ประมาณกว่า 90% ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด โดยเส้นทางกรุงเทพฯ -เชียงใหม่ , กรุงเทพฯ - นครพนม และกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ มียอดจองตั๋วล่วงหน้ามากที่สุด

นายสัญลักข์ กล่าวอีกว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ ขอให้ผู้ใช้บริการเผื่อเวลาเดินทางมาขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งฯ ก่อนเวลารถออกอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง และขอให้ซื้อตั๋วที่ช่องจำหน่ายตั๋วเท่านั้น เพื่อป้องกันการหลอกลวงจากกลุ่มมิจฉาชีพ รวมทั้งให้ตรวจสอบรายละเอียดในตั๋วโดยสาร เช่น เส้นทาง , เที่ยวเวลา , จุดขึ้นรถก่อนออกเดินทางทุกครั้ง และขอความร่วมมือผู้โดยสาร สแกนกระเป๋าสัมภาระ ตรวจวัดอุณหภูมิ บริเวณทางเข้าสถานีฯ สวมหน้ากากอนามัย เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วย

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส. กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2566 ให้กับประชาชน ตามนโยบายของรัฐบาลและ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม บขส. ได้จัดโครงการ “HAPPY NEW YEAR 2023 ลด 10% ไปก่อน-กลับทีหลัง” โดยมอบส่วนลดค่าโดยสาร 10% ให้กับลูกค้าที่ซื้อตั๋วโดยสารผ่านช่องทางออนไลน์ Application E-Ticket หรือ Website บขส. www.transport.co.th เดินทางระหว่างวันที่ 21 - 27 ธันวาคม 2565 และวันที่ 3 - 9 มกราคม 2566 รวมทั้งได้เปิดให้บริการตรวจเช็คสภาพความพร้อมของรถยนต์ก่อนออกเดินทาง ให้กับประชาชนทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันนี้ - 29 ธันวาคม 2565 เวลา 08.30 – 16.00 น. ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงและตรวจสภาพรถ บขส. (รังสิต) สอบถามข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติม โทร Call Center 1490 เรียก บขส. ตลอด 24 ชั่วโมง
.
นอกจากนี้ บขส.ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กองบังคับการตำรวจจราจร สน.บางซื่อ, สน.ตลิ่งชัน และสน.ทองหล่อ สนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจมาอำนวยความสะดวกด้านการจราจรโดยรอบสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ ทั้ง 5 แห่ง จัดเจ้าหน้าที่ร่วมกับกรมการขนส่งทางบก ตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ สารเสพติดของพนักงานขับรถก่อนปฏิบัติหน้าที่ ตั้งจุดตรวจรถโดยสารบนทางหลวงสายหลัก และขอความร่วมมือองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และผู้ประกอบการรถแท็กซี่ นำรถโดยสารมารับผู้โดยสาร ในเที่ยวกลับ บริเวณชานชาลาขาเข้า สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
.
ในส่วนความปลอดภัยของรถโดยสารและพนักงานขับรถ ได้เน้นย้ำให้มีการเตรียมความพร้อมก่อนการเดินทาง โดยตรวจเช็ครถโดยสารให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ควบคุมความเร็วบนรถโดยสาร ไม่เกิน 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง จัดพนักงานขับรถ 2 คน ในเส้นทางสายยาวที่ใช้เวลาเดินทางเกิน 4 ชั่วโมง และให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พนักงานขับรถต้องปลอดแอลกอฮอล์ และสารเสพติด
.

นอกจากนี้ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้มาตรการ 4 พร้อม คือ สถานีพร้อม, พนักงานพร้อม, รถโดยสารพร้อม และการบริการพร้อม ในการอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร ทั้งนี้ ผู้โดยสาร สามารถสอบถามข้อมูลในการเดินทาง และแจ้งปัญหาในการเดินทาง ได้ที่จุดรับเรื่องร้องเรียน บริเวณประชาสัมพันธ์ ชั้น 1 และชั้น 3 สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ซึ่งจะเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 28-30 ธันวาคม 2565 ระหว่างเวลา 17.00 - 24.00 น.

-------------------------------
แหล่งข่าว

https://www.naewna.com/business/700079

-------------------------------
ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
Website : http://www.thailandvision.co
Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
Youtube : https://www.youtube.com/c/Thailandvision