การเก็บเอกสารทางบัญชี 10 ปี

username/password ไม่ถูกต้อง กรุณาทำการกรอกใหม่

session ของการเข้าสู่ระบบได้สิ้นสุดแล้ว กรุณา reload หน้าเว็บอีกครั้งและเข้าสู่ระบบใหม่อีกครั้ง

ท่านได้เข้าสู่ระบบอยู่แล้ว กรุณาออกจากระบบก่อนหากท่านต้องการเปลี่ยน user

username/password ไม่ถูกต้อง กรุณาทำการกรอกใหม่

session ของการเข้าสู่ระบบได้สิ้นสุดแล้ว กรุณา reload หน้าเว็บอีกครั้งและเข้าสู่ระบบใหม่อีกครั้ง

ท่านได้เข้าสู่ระบบอยู่แล้ว กรุณาออกจากระบบก่อนหากท่านต้องการเปลี่ยน user

รู้หรือไม่ว่า ในการประกอบธุรกิจในทุกธุรกิจไม่ว่าขนาดเล็กไปจนขนาดใหญ่ สิ่งหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือเรื่องของเอกสารทางบัญชี และทำไมธุรกิจจะต้องจัดเก็บเอกสารทางบัญชีเหล่านี้ด้วย ในเมื่อยุคสมัยนี้ คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ให้แล้วเหตุผลก็คือ เมื่อรวบรวมเอกสารให้เป็นหมวดหมู่ เป็นระเบียบ และค้นหาง่าย แต่เอกสารทางบัญชีและภาษีนั้น นอกจากเก็บให้เป็นระเบียบแล้ว แต่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดเอาไว้ 

ตามกฎหมายพระราชบัญญัติการบัญชี ปี พ.ศ.2543 กำหนดไว้ว่า จะต้องจัดเก็บเอกสารทางบัญชี และรักษาข้อมูลเหล่านี้ไว้ มีดังนี้

1. บัญชีรายวัน
2. บัญชีแยกประเภท
3. บัญชีสินค้า
4. บัญชีแยกประเภทอื่นและแยกประเภทย่อย

และเอกสารที่จะต้องจัดเก็บไว้ซึ่งใช้ประกอบกับการลงบัญชี มีดังนี้

1. เอกสารที่ทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก เช่น ใบแจ้งหนี้ ใบส่งของ ใบเสร็จ/ใบกำกับภาษีซื้อ เป็นต้น
2. เอกสารที่ทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่ทำบัญชีเพื่อให้แก่บุคคลภายนอก เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีขาย ฯลฯ
3. เอกสารที่ใช้ในกิจการของตน เช่น ใบเบิกเงินสดย่อย เป็นต้นโดยเอกสารดังกล่าวข้างต้น ต้องมีชื่อผู้จัดทำเอกสาร วัน/เดือน/ปี ที่จัดทำ รวมถึงเลขที่เอกสารและจำนวนเงินรวม แสดงไว้อย่างชัดเจน

นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่นที่ประกาศโดยกรมสรรพากร ที่ประกาศว่า ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องเก็บรายงานใบกำกับภาษีพร้อมเอกสารประกอบการลงรายงาน ไม่ว่าจะเป็น ใบกำกับภาษีซื้อและภาษีขาย นับตั้งแต่วันที่ยื่นแสดงรายการไว้ ณ สถานประกอบการ

ส่วนการจัดเก็บเอกสาร ก็มีกฎหมายทางบัญชี บัญญัติไว้ว่า สถานประกอบการจะต้องจัดเก็บเอกสารรายงานใบกำกับภาษีซื้อ ภาษีขาย เอกสารประกอบงบ ที่ได้ยื่นแสดงรายการไว้ เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบบัญชีของกิจการ ใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีและกรมสรรพากร

การจัดตั้งกิจการในรูปของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขึ้นมาเพื่อประกอบธุรกิจ ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ได้กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องจัดให้มีการจัดทำบัญชีและมีเอกสารประกอบการลงบัญชีให้ครบถ้วน และเริ่มจัดทำบัญชีตั้งแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้น ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แต่เมื่อจัดทำบัญชีผ่านไปหลายปีทำให้มีสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีเป็นจำนวนมากที่ต้องเก็บรักษาไว้ ณ สถานประกอบการ เกิดปัญหาในการจัดเก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีเนื่องจากมีพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารไม่เพียงพอ มีบุคลากรในการจัดการเอกสารน้อย ไม่มีพื้นที่ในการทำลายเอกสาร ซึ่งตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 และประมวลรัษฎากรสรุปประเด็นที่สำคัญได้ดังนี้

1. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

ในการจัดทำบัญชีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานเป็นประจำ เว้นแต่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่นได้

การขออนุญาตดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด และในระหว่างรอการอนุญาตให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ในสถานที่ที่ยื่นขอนั้นไปพลางก่อนได้

ในกรณีจัดทำบัญชีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมืออื่นใดในสถานที่อื่นใดในราชอาณาจักรที่มิใช่สถานที่ดังกล่าว แต่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือนั้นมายังสถานที่ดังกล่าวให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาบัญชีไว้ ณ สถานที่นั้นแล้ว

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องประกอบการลงบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชีหรือจนกว่าจะมีการส่งมอบบัญชีและเอกสาร ในกรณีที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบบัญชีของกิจการประเภทใดประเภทหนึ่ง ให้อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้เกิน 5 ปี แต่ต้องไม่เกิน 7 ปี ก็ได้

ถ้าบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีแจ้งต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบหรือควรทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายนั้น

ในกรณีที่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีตรวจพบว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมิได้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเป็นสาระสำคัญแก่การจัดทำบัญชีไว้ในที่ปลอดภัย ให้สันนิษฐานว่า ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีเจตนาทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีนั้น เว้นแต่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะพิสูจน์ให้เชื่อได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว เพื่อป้องกันมิให้บัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย

2. ประมวลรัษฎากร

การเก็บรักษาเอกสารตามประมวลรัษฎากร ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องเก็บและรักษารายงานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษี และสำเนาใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการรายงานหรือเอกสารอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ ณ สถานประกอบการหรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือวันทำรายงานแล้วแต่กรณี

และในกรณีที่เห็นสมควร อธิบดีกรมสรรพากรจะกำหนดให้เก็บและรักษาไว้เกิน 5 ปีก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 7 ปี ดังนั้นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจึงมีหน้าที่จะต้องเก็บและรักษารายงานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษี และสำเนาใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการรายงานไว้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี

อย่างไรก็ตาม เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกหรือมีอำนาจเรียกเก็บภาษีอากรจากผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษี ตามมาตรา 23 มาตรา 83/6 และมาตรา 91/16 แห่งประมวลรัษฎากร

ซึ่งประมวลรัษฎากรมิได้กำหนดระยะเวลาดำเนินการ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกหรือประเมินภาษีอากรได้ภายใน 10 ปี ทั้งนี้ ตามมาตรา 193/31 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการหรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีจึงต้องมีเอกสารเกี่ยวกับการประกอบกิจการเพื่อให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบในกรณีดังกล่าว

ดังนั้นบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจสม่ำเสมออย่างต่อเนื่องจะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 – 7 ปี ยกเว้นไม่เคยยื่นแบบเสียภาษีอากรจะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี

สรุปคือ

สำหรับเอกสารประกอบการลงบัญชี ตามกฏหมายว่าด้วยการบัญชี พรบ.การบัญชี พ.ศ. 2543 ว่าด้วย การเก็บรักษาเอกสารและหลักฐานประกอบการลงบัญชี กำหนดให้ผู้ประกอบการ ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีเป็นเวลา 5 ปี เว้นแต่ในกรณีที่ต้องรอตรวจสอบบัญชี โดยหน่วยงานราชการมีอำนาจให้ผู้ประกอบการเก็บรักษาเอกสารและหลักฐานประกอบการลงบัญชีต่อไปเกินกว่า 5 ปีได้ แต่ต้องไม่เกิน 7 ปี ดังนั้นคุณจึงสามารถทำลายเอกสารทางบัญชีได้เมื่อเก็บไว้ครบ 5 ปี โดยไม่ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานราชการ

“เอกสารเก่าเก็บทุกชนิด กระดาษทุกแผ่น สามารถนำมาทำลายเอกสารได้”

ติดต่อ Papers-Recycle ศูนย์บริการทำลายเอกสาร

การเก็บเอกสารทางบัญชี 10 ปี
การเก็บเอกสารทางบัญชี 10 ปี

ติดตามผลงานการทำลายเอกสารของเรา

การเก็บเอกสารทางบัญชี 10 ปี
การเก็บเอกสารทางบัญชี 10 ปี

การเก็บเอกสารทางบัญชี 10 ปี
การเก็บเอกสารทางบัญชี 10 ปี
การเก็บเอกสารทางบัญชี 10 ปี
การเก็บเอกสารทางบัญชี 10 ปี

ขั้นตอนการทำลายเอกสาร

การเก็บเอกสารทางบัญชี 10 ปี
การเก็บเอกสารทางบัญชี 10 ปี

หลังจากการดำเนินการทำลายเอกสารเสร็จเรียบร้อยแล้ว Papers-Recycle จะทำการออกหนังสือรับรองการทำลายเอกสาร (Certificate of Destruction) พร้อมภาพถ่ายและ CD คลิปวิดีโอ การทำลายเอกสารส่งให้ลูกค้าเป็นหลักฐาน เพื่อยืนยันว่าเอกสารทุกอย่างและกระดาษทุกแผ่นจากหน่วยงานของลูกค้า ได้ผ่านกระบวนการย่อยทำลายเอกสาร ด้วยมาตรฐานควบคุมความเอกสารให้เป็นความลับ และเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล 100% เรียบร้อยแล้ว

การจัดเก็บเอกสารบัญชี กี่ปี

แนววินิจฉัย : พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 5 ได้บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รักษาการตามพระราชบัญญัติ และตามมาตรา 14 ได้บัญญัติให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันปิดบัญชีหรือจนกว่าจะมีการ

กระดาษทําการของผู้สอบบัญชี เก็บได้กี่ปี

ระยะเวลาการเก็บรักษาสําหรับงานตรวจสอบ โดยปกติแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับจาก • วันที่ในรายงานผู้สอบบัญชี หรือ วันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชีของกลุ่มกิจการหากเป็น วันที่หลังจากนั้น

การเก็บรักษาใบกำกับภาษีต้องปฏิบัติอย่างไร

อ้างอิงตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องเก็บใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดให้เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี กรณีอยู่ระหว่าง การตรวจสอบภาษีอากรจะต้องเก็บไว้จนกว่าการตรวจสอบภาษีอากรและแล้วเสร็จ