พัฒนาการด้านร่างกาย 6 7 ปี

• สติปัญญา เด็กต้องการการพัฒนาทางทางสติปัญญาหลายด้าน พ่อแม่ต้องรู้จักสอดแทรกเรื่องที่เป็นประโยชน์ให้กับลูกด้วย ถ้าอยากให้ลูกเรียนเก่ง พ่อแม่ต้องให้ลูกค่อยๆ เรียนรู้ แต่ไม่ควรให้แบบยัดเยียด การให้ลูกได้รู้จักผ่อนคลายกับการเรียน จะทำให้เด็กเรียนรู้ได้มากขึ้น และสนุกกับการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

การพูดจาฉะฉาน ถามไป ตอบมา แบบไม่ต้องใช้ความคิดนาน เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับเด็กยุคปัจจุบันนี้คะ นั่นอาจเป็นเพราะได้รับการอบรมเลี้ยงดู และการได้รับแบบอย่างที่ดีจากพ่อแม่ และการสอนสั่งที่ดีจากคุณครูที่โรงเรียน จึงทำให้เด็กเมื่อเขาเติบโตขึ้นมาในช่วงชีวิตที่ต้องออกไปเรียนรู้อยู่กับสังคมภายนอกบ้าน จึงทำให้เด็กคิดเป็น พูดเป็น ทำเป็น  เด็กที่อยู่ในระดับปฐมวัยพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู และคุณครู ต้องให้ความใส่ใจ และเข้าใจพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กด้วย เพื่อที่เด็กจะได้มีพัฒนาการที่เติบโตอย่างสมวัย และนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงขึ้นต่อไปในอนาคต

การเจริญเติบโตของร่างกาย

ร่างกายของคนเรา มีการเจริญเติบโตจากวัยทารกไปสู่วัยเด็ก จากวัยเด็กไปสู่วัยรุ่น จากวัยรุ่นไปสู่วัยผู้ใหญ่  และจากวัยผู้ใหญ่ก็ไปสู่วัยชรา ซึ่งเราก็เหมือนจะกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ที่อาจจะต้องมีคนมาคอยช่วยเหลือทำอะไรให้ในบางเรื่อง  ซึ่งในแต่ละวัยขนาดของร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันไป การเจริญเติบโตทางร่างกายสามารถสังเกตได้ดังนี้

• น้ำหนัก ส่วนสูง

• ใบหน้าที่ค่อยๆ พัฒนาขึ้นจนโตเต็มที่ (ความชัดเจน หรือความเหมือนพ่อ แม่)

• ความยาวของเส้นรอบวงศีรษะ (ขนาดศีรษะ)

• ความยาวของลำตัว

• ความยาวของช่วงแขนเมื่อกางเต็มที่

• ความยาวของเส้นรอบอก

• การขึ้นของฟันนม และฟันแท้

ตารางน้ำหนักและส่วนสูง

อายุ
(ปี)

เด็กหญิง

เด็กชาย

น้ำหนัก
(กิโลกรัม)

ส่วนสูง
(เซนติเมตร)

น้ำหนัก
(กิโลกรัม)

ส่วนสูง
(เซนติเมตร)

4

16

100

16

100

5

18

106

18

106

6

20

112

20

112

7

22

118

22

118

8

24

124

24

124

9

27

130

27

130

10

32

138

30

136

11

38

148

33

142

12

45

158

36

148

พัฒนาการด้านต่างๆ ของวัยเด็ก 6 – 9 ปี

ด้านร่างกาย มีความคล่องแคล่วว่องไว ชอบเล่น ไม่เคยอยู่นิ่ง

ด้านอารมณ์ อ่อนไหวง่ายต่อการติเตียน และการเยาะเย้ย ชอบการชมเชยจากพ่อแม่ คุณครู

ด้านสังคม ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด ไม่มีการยืดหยุ่น ทุกสิ่งเป็นจริงเป็นจัง

ด้านสติปัญญา มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ชอบพูดมากกว่าเขียน กระบวนการคิดขึ้นอยู่กับการรับรู้ตามที่เห็น

รู้จักลูก รู้จักพัฒนาการที่สมวัย

• เมื่อเด็กอายุได้ 6 ปี เด็กวัยนี้สามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของได้ เช่น ความแตกต่างของลวดลายต่างๆ เข้าใจความหมายของด้านหน้า ด้านหลัง ข้างบน และข้างล่าง เด็กวัยนี้ยังคิดถึงแต่เรื่องปัจจุบัน  ระยะของความสนใจจะสั้น สนใจการกระทำกิจกรรมต่างๆ  เด็กจะกระตือรือร้นทำงานที่ตัวเองสนใจ แต่เมื่อหมดความสนใจก็จะเลิกทำทันที โดยที่บางครั้งงานที่ทำอยู่นั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์

• เมื่อเด็กอายุได้ 7 ปี เด็กวัยนี้จะมีความอยากรู้อยากเห็น สามารถจำเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้ มีความสนใจอยากที่จะทำสิ่งต่างๆ และจะพยายามทำให้สำเร็จ รู้จักชอบหรือไม่ชอบสิ่งนั้นสิ่งนี้ ระยะความสนใจยังสั้น จะสนใจสิ่งต่างๆ ทีละอย่าง

• เมื่อเด็กอายุได้ 8 ปี เด็กวัยนี้จะมีความอยากรู้อยากเห็น เด็กจะมีความสนใจและสักถามในเรื่องที่อยากรู้มากขึ้น ชอบทำอะไรใหม่ๆ ในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน ระยะของความสนใจจะนานขึ้น ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ สามารถเข้าใจคำชี้แจงง่ายๆ มีความสนใจในการเล่นต่างๆ เด็กวัยนี้จะสนใจ วาดรูปภาพ ดูการ์ตูน เป็นต้น

• เมื่อเด็กอายุได้ 9 ปี เด็กวัยนี้เป็นวัยที่รู้จักใช้เหตุผล  มีความรู้ในด้านภาษา และความรู้รอบตัวในหลายชอบสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว ที่เกิดขึ้น ในวัยนี้ต้องการความเป็นอิสระ  ชอบเลียนท่าทาง หรือการกระทำของคนที่ชื่นชอบ

พัฒนาการทางด้านกายภาพของเด็กวัย 6 ขวบขึ้นไป ยังมีอีกหลายเรื่องให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทำความเข้าใจกัน ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจและเรียนรู้กันต่อในฉบับหน้าคะ

ประโยคเด็ดชวนคิด

“ คำชม หรือ การใช้คำพูดในเชิงบวก ช่วยสร้างทัศนคติด้านบวกให้กับเด็ก ทำให้เด็กเกิดความภูมิใจในตัวเอง เมื่อเขาเริ่มต้นเรียนรู้ชีวิตด้วยการมองเห็นด้านดีของตัวเอง แน่นอนว่า ย่อมส่งผลให้เขาเรียนรู้ที่จะมองผู้อื่นในด้านดี มองโลกในด้านดี มีทัศนคติที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความสุข ”

เด็กวัย 4-6 ปี หรือเรียกว่า เด็กวัยอนุบาล (preschool) เป็นวัยที่สำคัญ เพราะเป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีพัฒนาการหลายด้านก้าวหน้าขึ้น ทั้งด้านความคิด ภาษา การสื่อสาร การเคลื่อนไหว และการช่วยเหลือตนเอง นอกจากนี้ยังเป็นวัยที่เด็กเริ่มออกจากครอบครัวไปสู่โรงเรียน ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และ ใช้ชีวิตภายนอกบ้านมากขึ้น ดังนั้นครูจึงเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่มีความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยนี้นอกเหนือจากคุณพ่อคุณแม่หรือบุคคลใกล้ชิดในครอบครัว จึงมีความจำเป็นที่ผู้ปกครองและครูจะต้องทราบ พัฒนาการพื้นฐานของเด็กๆ เพื่อส่งเสริมทักษะที่จำเป็น ให้เด็กๆมีพัฒนาการตามวัย และ เติบโตอย่างมีความสุข


โดยพัฒนาการของเด็กจะแบ่งเป็น 4 ด้านหลักๆ


1. พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

เด็กในวัยนี้ กล้ามเนื้อมัดเล็กเริ่มแข็งแรงขึ้น จึงสามารถวาดรูปทรงเรขาคณิตง่าย ๆ เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วาดรูปคน ใช้มือได้คล่องในทุกทิศทาง ใช้ช้อนส้อมทานข้าวเองได้ ต่อบล็อกได้ สามารถสวมใส่และถอดเสื้อผ้าได้ แปรงฟันเองได้

สำหรับกล้ามเนื้อมัดใหญ่จะเริ่มแข็งแรงขึ้นจนสามารถกระโดดขาเดียว วิ่งเร็วขึ้น โยนรับเตะลูกบอลได้ดี


เคล็ดลับการส่งเสริมพัฒนาการในด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

  • ให้เด็กๆเล่นตัวต่อเลโก้ บล๊อกต่างๆ เพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เสริมสร้างพัฒนาการด้านความคิดและจินตนาการ

  • ฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้า

  • ส่งเสริมพัฒนาการผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นกีฬา ว่ายน้ำ เตะฟุตบอล

2. พัฒนาการด้านความคิดและความเข้าใจ

เด็กในวัยนี้ รู้จักสี รูปร่าง และรูปทรง จดจำสัญลักษณ์ต่างๆได้ รู้จักซ้าย-ขวา นับ 1-10 ได้

เด็กวัยนี้จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยสิ่งที่ รับรู้และจินตนาการของตนเอง โดยยังไม่รู้จักคิดไตร่ตรองอย่างรอบด้าน การแก้ปัญหาของเขาจึงเป็น แบบลองผิดลองถูก และเรียนรู้จากผลของการกระทำ


เคล็ดลับการส่งเสริมพัฒนาการในด้านความคิดและความเข้าใจ

  • ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับเด็ก เช่น เกมส์ต่อภาพ ต่อบล็อก

  • สอนให้รู้จักและสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว

  • ให้โอกาสเด็กๆได้ทดลองแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยคอยให้คำแนะนำ ชมเชยเมื่อเด็กทำสำเร็จ ให้กำลังใจและช่วยแนะวิธีแก้ไขเมื่อทำผิดพลาด จะทำให้เด็กเติบโตเป็นคนกล้าคิดกล้าแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์และไม่เกรงกลัวต่อปัญหา เด็กๆจะเกิดความภาคภูมิใจในตนเองเมื่อสามารถเอาชนะปัญหาต่างๆได้

3. พัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสาร

เด็กในวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็น มีคำถามมากมาย สนใจสิ่งแปลกใหม่ สามารถพูดคุยเป็นประโยคที่ซับซ้อนมากขึ้น สามารถเล่าเรื่องราวได้ สามารถเข้าใจคำพูดของผู้ใหญ่ได้เกือบทั้งหมด บอกได้ว่า ชอบ หรือ ไม่ชอบอะไร


เคล็ดลับการส่งเสริมพัฒนาการในด้านการพูดและการสื่อสาร

  • ใช้การ์ดตัวอักษร หรือ การ์ดตัวเลข เพื่อเพิ่มคำศัพท์ และ สอนวิธีการนับเลข

  • เล่านิทาน อ่านหนังสือให้ฟัง และชี้ตามคำที่อ่านด้วย เพื่อให้เด็กๆรู้จักตัวสะกดเหล่านั้น

  • คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรแสดงความหงุดหงิดหรือรำคาญที่จะต้องตอบคำถามของเด็กๆ

4. พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม

เด็กในวัยนี้มีความสนใจและอยากมีส่วนร่วมในการเล่นกับเด็กคนอื่น สามารถเข้าร่วมกลุ่มกับเพื่อนได้แต่อาจจะยังไม่รู้จักกฏและกติกา ยังคงเห็นพฤติกรรมหวงและแย่งของเล่น ยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีนัก อาจอารมณ์เสียใส่เพื่อนคนอื่น โกรธและหงุดหงิดง่าย


เคล็ดลับการส่งเสริมพัฒนาการในด้านอารมณ์และสังคม

  • ควรพาเด็กๆไปเข้ากิจกรรมกลุ่ม (play group) เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น

  • สอนให้รู้จักการให้ การแบ่งปัน และ การรับ

  • หากลูกรู้สึกหงุดหงิดหรือโกรธง่าย ให้พยายามสอนลูกถึงการควมคุมอารมณ์ และค่อยๆแก้ปัญหาไป

  • เตรียมความพร้อมด้านจิตใจให้กับเด็กก่อนเข้าโรงเรียน เช่น หัดให้มีความอดทน รู้จักรอคอย สามารถจากพ่อแม่และอยู่กับคนที่ไม่รู้จัก ได้นานหลายชั่วโมงในแต่ละวัน

  • เลือกโรงเรียนให้เหมาะสมกับลูก

นอกจากเคล็ดลับต่างๆที่ผู้ปกครองอาจจะสามารถลองฝึกลูกๆได้ที่บ้าน การเรียน Coding ก็สามารถช่วยเสริมสร้างพัฒนาการได้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน หลักสูตร Junior Coding ของ Beyond Code Academy ถูกพัฒนาจากความเข้าใจการเติบโตของเด็กในช่วงอายุนี้ กิจกรรมและหุ่นยนต์ในคลาสถูกออกแบบและพัฒนามาเพื่อสอนเด็กเล็กโดยเฉพาะ เด็กๆจะสนุกกับการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากงานวิจัยด้านการศึกษาเด็กเล็ก จากประเทศสหรัฐอเมริกา เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่น (Play-based Learning) และ การเรียนแบบ Hands-on หรือ Kinaesthetic Learning ซึ่งมีประสิทธิภาพต่อเด็กในวัยนี้เป็นอย่างมาก การเรียนCodingในวัยนี้จึงเป็นแบบ Unplugged หรือ การสอนโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้เด็กๆจะได้เรียนรู้วิธีการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย เพื่อเป็นรากฐานในการเติบโตอย่างมีความสุขในโลกยุค Digital