วงจร pdca องค์ประกอบของคำ a act คืออะไร

แนวคิดของ PDCA (Plan Do Check Act)  มาจากคำภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ผู้คิดค้นโดยวอล์ทเตอร์ ซิวฮาร์ท (Walter Shewhart ) ผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรม และ เอดวาร์ด เดมมิ่ง (W.Edwards Deming) ด้านการบริหารคุณภาพ นำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการทำงานของพนักงานภายในโรงงานให้ดียิ่งขึ้น และช่วยแก้ปัญหาอุปสรรคในแต่ละขั้นตอน ซึ่งต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

  • P –Plan วางแผน การกำหนดวัตถุประสงค์ และตั้งเป้าหมาย กำหนดขั้นตอนวิธีการ และระยะเวลา จัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นทั้งในด้านบุคคล เครื่องมืองบประมาณ
  • D- Do ปฏิบัติ การทำความเข้าใจ และลงมือปฏิบัติตามแผน
  • C-Check ตรวจสอบ เพื่อติดตามความคืบหน้า และดูผลสำเร็จของงานเมื่อเทียบกับแผน
  • A-Act ดำเนินการ ให้เหมาะสม หมายถึง การปฏิบัติเป็นที่น่าพอใจ ก็จัดให้เป็นมาตรฐานเพื่อเป็นแนวทางให้ปฏิบัติต่อไป หากการปฏิบัติมีข้อควรปรับปรุง ให้กำหนดวิธีการปรับปรุงต่อไป

ตัวอย่าง ผู้เรียนจะซื้อของใช้ภายในบ้าน PDCA ของกิจกรรมการซื้อ ได้แก่ การซื้อของใช้ภายในบ้าน

Plan วางแผน :

คิดว่ามีอะไรต้องใช้ สำหรับกี่คน ตรวจสอบว่าของในบ้านมีอะไรเหลืออยู่เป็นจำนวนเท่าไหร่ ขาดเหลืออะไร (check) จดรายการและจำนวนสิ่งของที่ต้องซื้อ กำหนดสถานที่ เตรียมเงินให้เพียงพอ

Do ปฏิบัติ :

ไปที่ร้านค้า ลำดับในการซื้อ ถ้าต้องไปหลายร้าน เลือกเส้นทางที่ไม่ต้องอ้อมไปอ้อมมา ถ้าต้องยกของเอง เลือกซื้อของที่มีน้ำหนักเบาก่อน เพื่อจะได้ไม่ต้องยกของหนัก เป็นเวลานาน (plan) แล้ว เดินเลือกซื้อของตามที่จดมา (do) หากพบสิ่งที่ไม่เป็นไปตามแผน เช่น ไม่มีของ หรือมีราคาสูงเกินกว่าที่ตั้งใจไว้ (check) ให้พิจารณาปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม (act) ก่อนออกจากร้าน ตรวจสอบ ว่าของที่ซื้อ ได้รับครบตามจำนวนและถูกต้องตามที่ต้องการหรือไม่ สินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือมีตำหนิ คนขายคิดราคาและทอนเงินถูกต้องหรือไม่ (check) ถ้าสินค้ามีตำหนิให้เปลี่ยนของหรือถ้าทอนผิดก็ทักท้วงให้เกิดความถูกต้อง (act)

Check ตรวจสอบ :

กลับมาที่บ้าน ตรวจสอบจำนวนเงินที่ใช้ไป ตรวจสอบว่าอะไรบ้างที่ซื้อไม่ได้ตามแผน เช่น ของราคาสูงกว่าที่คิดไว้ ของเปลี่ยนรุ่น เป็นต้น ของอะไรที่ซื้อมาแล้วใช้ไม่ได้ เช่น ซื้อแบตเตอรรี่ผิดขนาด

Act ดำเนินการให้เหมาะสม :

ความผิดพลาดจากการซื้อของครั้งนี้คืออะไร เช่น ไม่เช็คขนาดของแบตเตอรี่ก่อนออกจากบ้าน ต่อไปต้องตรวจสอบรายละเอียดให้รอบคอบขึ้น แทนที่จะดูแต่รายการกับจำนวน เช่น เบอร์ของสินค้า ว่าเป็นแบตเตอรี่ ขนาด AA หรือ AAA รวมทั้งขยายผลไปยังของอื่นที่ต้องตรวจสอบสเป็คด้วย เช่น เบอร์ รหัส รุ่น หน่วยวัด เป็นต้น

จดราคาสินค้าที่ซื้อมาเก็บไว้เป็นมาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบในการซื้อครั้งต่อไป เพื่อจะได้เตรียมงบประมาณให้เหมาะสม ประโยชน์ของ PDCA มีดังนี้

1. การวางแผนงานก่อนการปฎิบัติงาน จะทำให้เกิดความพร้อมเมื่อได้ปฏิบัติงานจริงการวางแผนงานควรวางให้ครบ 4 ขั้นดังนี้

  • (1) ขั้นการศึกษา คือ การวางแผนศึกษาข้อมูล วิธีการ ความต้องการของตลาด ข้อมูลด้านวัตถุดิบ ด้านทรัพยากรที่มีอยู่หรือเงินทุน
  • (2) ขั้นเตรียมงาน คือ การวางแผนการเตรียมงานด้านสถานที่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ความพร้อมของพนักงาน อุปกรณ์ เครื่องจักร วัตถุดิบ
  • (3) ขั้นดำเนินงาน คือ การวางแนวทางการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนแต่ละฝ่าย เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย
  • (4) ขั้นการประเมินผล คือ การวางแผนหรือเตรียมการประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ เช่น ประเมินจากยอดการจำหน่าย ประเมินจากการติชมของลูกค้า เพื่อให้ผลที่ได้จากการประเมินเกิดการเที่ยงตรง

2. การปฏิบัติตามแผนงาน ทำให้ทราบขั้นตอน วิธีการ และสามารถเตรียมงานล่วงหน้าหรือทราบอุปสรรคล่วงหน้าด้วย ดังนั้น การปฏิบัติงานก็จะเกิดความราบรื่น และเรียนร้อย นำไปสู่เป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

3. การตรวจสอบ ให้ได้ผลที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้ ประกอบด้วย

  • 3.1 ตรวจสอบจากเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
  • 3.2 มีเครื่องมือที่เชื่อถือได้
  • 3.3 มีเกณฑ์การตรวจสอบที่ชัดเจน
  • 3.4 มีกำหนดเวลาการตรวจที่แน่นอน
  • 3.5 บุคลากรที่ทำการตรวจสอบต้องได้รับการยอมรับจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อการตรวจสอบได้รับการยอมรับ การปฏิบัติงานขั้นต่อไปก็ดำเนินงานต่อไปได้

4. การปรับปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใดก็ตาม เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพก็จะเกิดขึ้น

ดังนั้น วงจร PDCA จึงเรียกว่า วงจรการบริหารงานคุณภาพ

Related Posts

PDCA คือ วงจรคุณภาพ เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพระยะยาวของการดำเนินงาน พร้อมกับกำหนดสิ่งที่ใช้วัดผลว่าการปรับปรุงคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ โดยวงจร PDCA ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ Plan Do Check และ Act

พื้นฐานของทฤษฎีวงจรคุณภาพ PDCA คือ การวางแผนและวนซ้ำไปเรื่อย ๆ ตามลำดับที่เห็นได้จากแผนภาพ โดยเริ่มจาก Plan (วางแผน) > Do (ปฏิบัติ) > Check (ตรวจผล) > Act (ปรับปรุง หรือ นำไปใช้) จนกว่าจะได้วิธีที่สามารถแก้ปัญหาได้จริงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

โดยในแต่ละขั้นตอนของวงจรคุณภาพ PDCA มีรายละเอียดดังนี้:

  • Plan คือ การวางแผนการดำเนินงาน
  • Do คือ การลงมือปฏิบัติจริงตามแผน
  • Check คือ การตรวจสอบและวัดผลว่าดีขึ้นจริงหรือไม่
  • Act คือ การปรับปรุงกระบวนการ
วงจร pdca องค์ประกอบของคำ a act คืออะไร
แผนภาพวงจรคุณภาพ Deming หรือ วงจร PDCA ที่เป็นการทดลองซ้ำเรื่อย ๆ

PDCA เป็นแนวคิดของ Edward Deming ที่พัฒนาต่อมาจาก Walter Shewhart ในปี 1950 ทำให้อีกชื่อของวงจรคุณภาพ PDCA คือ Deming Cycle หรือ วงจรเดมมิ่ง หรือ วงจรคุณภาพเดมมิ่ง รวมไปถึง Shewhart Cycle (วงจรชิวฮาร์ท) ตามชื่อผู้พัฒนาแนวคิด

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า PDCA คือ เครื่องมือที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อการพัฒนากระบวนการดำเนินงานขององค์กร แต่ในความเป็นจริง PDCA คือเครื่องมือในการวางแผนพัฒนาที่สามารถใช้กับเรื่องอะไรก็ได้ อย่างเช่น การพัฒนาผลการเรียน และการปรับปรุงวิธีการอะไรบางอย่างให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


Plan (วางแผน)

ขั้นแรกของ PDCA คือ Plan ซึ่งเป็นการวางแผนการดำเนินงาน ว่าจะทำอย่างไรหรือใช้วิธีการอะไรเพื่อให้เป้าหมายที่ต้องการแก้ไข เป็นไปตามผลลัพธ์ที่ต้องการ

โดยในส่วนของ P หรือ Plan จะครอบคลุมตั้งแต่การศึกษาถึงปัญหา การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา การเลือกปัญหาที่จะจัดการแก้ไขก่อนหลัง การจัดตั้งวัตถุประสงค์ ตั้งเกณฑ์ในการประเมินผล การกำหนดงบประมาณ ไปจนถึงขั้นตอนในการดำเนินงาน

ตัวอย่างเช่น ปัญหาที่จะแก้ไขด้วย วงจร PDCA คือ ปัญหางานเอกสารใช้เวลาทำนานเกินไป ก็จะต้องหาสาเหตุว่าอะไรบ้างที่ทำให้งานเอกสารใช้เวลานานและจัดลำดับความสำคัญของที่มาของปัญหา

จากตัวอย่างสมมติว่า เป็นเพราะมีการทำเอกสารซ้ำซ้อนมากเกินไป ดังนั้นจึงใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยการรวมเอกสารหลายอย่างเข้าด้วยกัน และตั้งเกณฑ์ในการประเมินผลด้วย 2 เงื่อนไขคือ

  1. ระยะเวลาในการทำเอกสารลดลง 60 นาที
  2. ความผิดพลาดในการดำเนินงานด้วยเอกสารแบบใหม่ไม่เกิน 10% ของเอกสารทั้งหมด

สำหรับขั้นตอนการหาปัญหาเพื่อปรับปรุงด้วย วงจรคุณภาพ PDCA อาจใช้แนวคิด QCC หรือ Quality Control Cycle (อ่านเพิ่มเติม) เข้ามาช่วยในการหาปัญหาก็ได้

Do (ทำ)

Do คือ ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติของ วงจร PDCA ตามแผนที่ได้วางไว้ในขั้น Plan ก่อนหน้านี้

โดยในขั้น Do การดำเนินงานจะต้องตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัดและมีการควบคุม เพื่อทำให้สามารถตรวจสอบ (ในขั้นถัดไป) ได้ว่า วิธีนี้ได้ผลหรือไม่

Check (ตรวจสอบ)

Check คือ การตรวจสอบ เป็นการตรวจวัดผลจากที่ได้ลงมือปฏิบัติในขั้น Do ว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในขั้น Plan หรือไม่

จากตัวอย่างเดิม เกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ “ระยะเวลาในการทำเอกสารลดลง 60 นาที” และ “ความผิดพลาดในการดำเนินงานด้วยเอกสารแบบใหม่ไม่เกิน 10%”

เมื่อตรวจสอบและได้ผลจากขั้น Check ของ PDCA ก็จะนำไปสู่ขั้นตอนถัดไปคือ Act หรือ การปรับปรุง

Act (ปรับปรุง)

Act คือ ขั้นตอนสุดท้ายของ วงจร PDCA เป็นการปรับปรุงกระบวนการหลังจากที่ได้วัดผลในขั้น Check เพื่อทำให้กระบวนการดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นขั้นตอนมาตรฐานตามหลังจากนี้

โดยในขั้น Act เป็นผลมาจากขั้น Check หรือ การตรวจสอบผล โดยจะมีเงื่อนไขดังนี้คือ:

  • ถ้าตรวจสอบแล้วพบไว้ว่าไม่สำเร็จตามเกณฑ์ที่วางไว้ในขั้น Plan จะต้องกลับไปปรับปรุงวิธีการใหม่ให้เหมาะสม
  • ถ้าสำเร็จตามเกณฑ์ที่วางไว้ในขั้น Plan วิธีที่ใช้แล้วสำเร็จนี้จะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของการดำเนินงานหลังจากนี้

จากตัวอย่าง ถ้าหากเงื่อนไขที่ใช้วัดผลทั้ง 2 เงื่อนไขสำเร็จ หลังจากนี้งานเอกสารก็จะใช้วิธีนี้ แต่ถ้าไม่สำเร็จตามเงื่อนไขก็จะดูว่าปัญหาเกิดจากอะไร และกลับไปที่ขั้น Plan ของ วงจร PDCA อีกครั้ง พร้อมวิเคราะห์ปัญหาใหม่จากสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมกับปฏิบัติและประเมินผลจนกว่าจะผ่านเงื่อนไขที่ตั้งไว้


วงจรคุณภาพ PDCA กับเรื่องอื่น ๆ

PDCA คือ เครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการปรับปรุงพัฒนากระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร แต่ด้วยหลักการของ PDCA ที่เป็นการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นวงจรด้วย Plan Do Check และ Act ทำให้วงจรคุณภาพ PDCA สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่อง

ตัวอย่างเช่น การแก้พัฒนาคะแนนสอบของนักศึกษา ซึ่งอาจพัฒนาด้วยขั้นตอนแบบวงจร PDCA ได้ดังนี้:

Plan หาว่าอะไรทำให้สอบได้คะแนนน้อย แล้วคิดวิธีแก้ปัญหานั้น เช่น เพิ่มเวลาอ่านหนังสือ ตั้งใจเรียนมากขึ้น หรือใช้การสรุปเนื้อหาก่อนสอบ พร้อมกับตั้งว่าในการสอบครั้งหน้าคะแนนจะต้องเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ (ด้วยตัวเลขที่เป็นไปได้)

Do ทำตามขั้นตอนที่วางเอาไว้

Check เปรียบเทียบผลสอบกับคะแนนที่ตั้งเป้าเอาไว้

Act ถ้าเป็นไปตามเป้าแปลว่าหลังจากนี้ต้องใช้วิธีที่ทำในขั้น Do ในการเรียนหนังสือ แต่ถ้ายังไม่เป็นไปตามเป้าก็ต้องหาคำตอบว่าทำไม (เช่น ทำข้อสอบส่วนไหนไม่ได้ เพราะอะไร) แล้วนำไปเพิ่มในการวางแผนในขั้น Plan

Kris Piroj

บรรณาธิการ GreedisGoods | อดีตที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการเงิน | นักลงทุนที่สนใจในเศรษฐศาสตร์มหภาคและอนุพันธ์เป็นพิเศษ | หากบทความเป็นประโยชน์สามารถติดตามเราได้บน Facebook และ Twitter