ธุรกรรมออนไลน์ ข้อดี ข้อเสีย

ในยุคที่ทุกคนต่างมีสมาร์ทโฟนติดตัวตลอดเวลา และขอแค่ให้มีอินเทอร์เน็ตเท่านั้น เราก็สามารถทำหลายสิ่งหลายอย่างบนหน้าจอสี่เหลี่ยมขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าฝ่ามือได้ เช่นเดียวกับการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ เราต่างก็คุ้นเคยกับความสะดวกเพียงปลายนิ้ว และฟีเจอร์ต่างๆ ที่ช่วยให้การจัดการการเงินเป็นเรื่องง่าย

คงไม่ต้องพูดถึงข้อดีของการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์กันให้มากความ เพราะทุกคนที่ใช้บริการคงรู้ดี แต่ในบทความนี้ อยากให้คุณกลับมาพิจารณาความสะดวก ความง่าย ของบริการการเงินออนไลน์ดูอีกครั้งว่า เราจะทำธุรกรรมการเงินออนไลน์อย่างไรให้ปลอดภัย เฝ้าระวังภัยจากความคุ้นชิน

อย่างไรก็ตาม เรามาทบทวนธุรกรรมการเงินออนไลน์กันอีกครั้ง จากนั้นจึงค่อยๆ ทำรู้จักรูปแบบการรักษาความปลอดภัยของธนาคาร แล้วมาดูกันว่า ถ้าจะใช้บริการการเงินออนไลน์ให้ปลอดภัย เราควรทำอะไรบ้าง 

หัวข้อหลัก

  • ทำความรู้จักธุรกรรมการเงินออนไลน์
  • รูปแบบของการรักษาความปลอดภัยของธุรกรรมออนไลน์
  • ความปลอดภัยเรื่องออนไลน์ที่ทุกคนมักมองข้าม
  • ทำอย่างไรให้การเงินออนไลน์ของตัวเองปลอดภัยจริงๆ 
  • สรุป 

ทำความรู้จักธุรกรรมการเงินออนไลน์

ธุรกรรมการเงินออนไลน์ (Online Banking หรือ Internet Banking) คือ การทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงิน-การธนาคารไม่ว่าจะโอนเงิน ถอนเงิน ซื้อหน่วยลงทุน จ่ายบิล หรือติดต่อเรื่องอื่นๆ กับธนาคารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และช่องทางในการเข้าถึงบริการก็มีทั้งผ่านตู้ ATM ผ่านหน้าเว็บไซต์ของธนาคารเอง หรือที่นิยมกันมากที่สุดในทุกวันนี้ก็คือ แอปพลิเคชัน

ธุรกรรมออนไลน์ ข้อดี ข้อเสีย
     
ธุรกรรมออนไลน์ ข้อดี ข้อเสีย

ช่องทาง Mobile Application Banking

ช่องทางบริการผ่านแอปพลิเคชัน เป็นช่องทางที่สะดวกที่สุดและเป็นมิตรกับการใช้งานบนสมาร์ทโฟน (Mobile Friendly) และให้บริการที่ครอบคลุมแทบจะทุกธุรกรรมการเงิน นอกจากจะโอน ถอน จ่ายบิลทั่วไปได้แล้ว ข้อดีข้อเด่นของแอปพลิเคชันการเงินออนไลน์ คือ ช่วยให้เราสามารถบริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะสามารถตรวจสอบยอดเงินคงเหลือ รายการโอนเงิน ประวัติธุรกรรมการเงินอื่นๆ ยอดบัตรเครดิต ฯลฯ ได้ตลอดเวลา 

รูปแบบของการรักษาความปลอดภัยของธุรกรรมออนไลน์

อย่างที่ทุกๆ คนเคยใช้บริการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์บนแอปพลิเคชัน พอเปิดแอปฯ ขึ้นมา หรือเข้าใช้งานผ่านตู้ ATM หรือหน้าเว็บไซต์ เราก็จะต้อง ‘กรอกรหัส’ เพื่อยืนยันตัวตน ซึ่งนี่ก็เป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่จำเป็น คุณคงนึกออกว่า หากใครสามารถเข้าถึงบัญชีคุณได้ง่ายๆ เขาจะทำอะไรได้บ้าง และคุณก็คงไม่อยากให้เรื่องแบบนั้นเกิดขึ้น

การเข้ารหัสเพื่อทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ในปัจจุบัน ก็มีความรัดกุมและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งคุณสามารถเลือกการเข้ารหัสใช้งานได้ถึง 3 วิธีด้วยกัน

1.การเข้ารหัสตัวเลขหกหลัก

แต่ก่อน หลายๆ คนคงจำกันได้ ว่าธนาคารจะให้เรากรอกรหัสเป็นตัวเลขเพียง 4 ตัวเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้ ธนาคารจะให้เราตั้งรหัส 6 ตัว ในการยืนยันตัวตนเข้าใช้บริการ เพิ่มความปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม รหัสตัวเลขนั้นมีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดี คือ สามารถจำได้ง่าย และข้อเสียก็เช่นเดียวกัน คนอื่นก็เดาได้ง่าย ข้อห้าม คือ ห้ามใช้ตัวเลขเรียงกัน หรือเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับเรา เช่น วัน/เดือน/ปี เกิด หลายเลขโทรศัพท์ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้อื่นรู้

2.การเข้ารหัสส่วนบุคคล

รหัสส่วนบุคคล หรือ รหัสที่เราคิดเองโดยที่ไม่จำกัดว่าต้องเป็นตัวเลขเท่านั้น แม้หลายคนจะไม่ค่อยคุ้นเคยเท่าไร แต่จริงๆ ยังมีการใช้กันอยู่ในการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ประเภทตัดบัตรเครดิตออนไลน์ 

ข้อดีของรหัสประเภทนี้ คือ คุณสามารถตั้งรหัสที่ยากขึ้นกว่าแค่ตัวเลขได้ โดยประสมตัวอักษร ตัวเลข และเครื่องหมายต่างๆ ไว้ด้วยกันได้ เช่น “GHB.1234”  แต่เพราะความซับซ้อน ก็อาจทำให้จำรหัสคลาดเคลื่อนได้เหมือนกัน จะตั้งรหัสอะไรจึงต้องแน่ใจว่า เราจะจำได้จริงๆ

3.การใช้ลายนิ้วมือ

จากเทคโนโลยี Touch ID ของสมาร์ทโฟน สู่การยืนยันตัวตนเข้าใช้แอปพลิเคชันการธนาคารด้วยลายนิ้วมือ เป็นวิธีเข้ายืนยันตัวตนที่รัดกุม ปลอดภัย ด้วยอัตลักษณ์ลายนิ้วมือเพียงหนึ่งเดียวของแต่ละคน หากโทรศัพท์ใครมีระบบ Touch ID ก็น่าจะได้เคยใช้กันมาบ้าง ทั้งนี้ ระบบนี้ก็ยังต้องการการยืนยันด้วยการเข้ารหัสตัวเลขอีกครั้ง เมื่อต้องการทำธุรกรรม ประโยชน์หลักของระบบนี้จึงเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับบัญชีของเรา

ธุรกรรมออนไลน์ ข้อดี ข้อเสีย

ความปลอดภัยเรื่องออนไลน์ที่ทุกคนมักมองข้าม

เข้าประเด็นของบทความกันเลยในหัวข้อนี้ ลองมาดูกันว่า มีเรื่องอะไรที่คุณมองข้ามไปหรือเปล่าตอนที่ทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ ซึ่งสิ่งที่มองข้ามเหล่านี้อาจทำให้คุณเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ 

  1. อุปกรณ์ที่ใช้เข้าถึงบริการ ไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ผู้อื่น และคอมพิวเตอร์ของร้านอินเทอร์เน็ตเด็ดขาด เพื่อป้องกันการถูกขโมยข้อมูล ทั้งนี้ ไม่ควรใช้สมาร์ทโฟนที่ผ่านการดัดแปลงระบบปฏิบัติการมาด้วย เพราะระบบป้องกันข้อมูลอาจมีปัญหา
  2. แอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์เถื่อน ถ้าในคอมพิวเตอร์ของคุณมีโปรแกรมเถื่อนหรือบนสมาร์ทโฟนมีแอปพลิเคชันที่ไม่ได้อยู่ใน Store ซอฟต์แวร์และแอปฯ เหล่านั้นอาจเป็นเครื่องมือดักจับข้อมูลของเรา หรือเป็นช่องทางให้ไวรัสเข้ามาแฮกระบบได้ 
  3. Wifi แน่นอนว่าจะทำธุรกรรมออนไลน์ อย่างไรๆ ก็ต้องใช้อินเทอร์เน็ต แต่การใช้ Wifi สาธารณะโดยไม่เลือก ก็เสี่ยงที่จะถูกขโมยข้อมูลและรหัสไปได้ ทางทีดีควรใช้อินเทอร์เน็ตส่วนตัว เช่น Wifi ของที่บ้าน หรือผ่านเครือข่าย 3G 4G แทนจะปลอดภัยกว่า
  4. ลิงก์เว็บไซต์ของธนาคาร ข้อนี้หลายๆ คนอาจจะพลาด ทำให้ต้องไปเจอ ‘เว็บปลอม’ ที่ทำเลียนแบบเว็บไซต์ของธนาคาร หากจะเข้าใช้บริการ ก็ควรเข้าถึงโดยการพิมพ์ URL ด้วยตัวเอง เพราะถ้าค้นหาใน Search Engine ก็อาจเจอเว็บปลอมที่มี URL ใกล้เคียงกัน และอีกวิธีสังเกตก็คือ ลิงก์ที่ปลอดภัยจะเป็น “https” และมีสัญลักษณ์แม่กุญแจอยู่ข้างหน้า ซึ่งหมายถึงเว็บไซต์ที่ปลอดภัย ทั้งนี้ ห้ามเข้าลิงก์จาก SMS หรือ Email ที่แจ้งให้ทำธุรกรรมเด็ดขาด
  5. การ Log in – Log out เป็นอีกเรื่องที่ต้องย้ำอีกรอบ เพราะหลายๆ คนเมื่อเข้าระบบใช้งาน แล้วพอเสร็จธุระก็มักจะลืมออกจากระบบ ต้องจำไว้ว่า เมื่อทำธุรกรรมใดๆ ก็ตามเสร็จ ต้องออกจากระบบและเช็คดูว่าออกจากระบบแล้วจริงๆ ทันที

ทำอย่างไรให้การเงินออนไลน์ของตัวเองปลอดภัยจริงๆ 

ต่อไปนี้ คือ สิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ ต้องทำ เพื่อที่จะให้การทำธุรกรรมการเงินผ่านโลกดิจิทัลของคุณปลอดภัย

  1. ไม่ตั้งรหัสที่เดาง่าย เป็นเลขเรียง หรือมาจากข้อมูลส่วนตัว เช่น 123456 วัน/เดือน/ปี เกิด และเปลี่ยนรหัสนานๆ ที เพื่อความปลอดภัย
  2. หมั่นตรวจสอบประวัติการทำธุรกรรมอยู่เสมอ ดูว่าตรงกับที่ทำธุรกรรมจริงหรือไม่
  3. ติดตั้งโปรแกรมสแกน-ป้องกันไวรัส และหมั่นสแกนสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์อยู่เสมอ
  4. ตั้งจำกัดวงเงินในการถอนหรือทำธุรกรรม เช่น 20,000 บาท – 50,000 บาท/วัน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการแฮก
  5. สมัครรับรายงานการทำธุรกรรมทาง SMS และ Email ควรสอบถามบริการจากธนาคาร

สรุป 

ความปลอดภัยของสินทรัพย์คือเรื่องที่ทุกธนาคารให้ความสำคัญ และออกแบบระบบมาอย่างรัดกุมอยู่แล้ว มีเพียงฝั่งผู้ใช้ที่อาจประมาทหรือมองข้ามเรื่องความระมัดระวังไป อาจจะเพราะความง่าย ความสะดวกสบายของการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ที่คุ้นเคยเป็นเหตุ จนในบางทีก็ละเลยสิ่งจำเป็นไป

ทั้งเรื่องความปลอดภัยที่หลายคนมองข้าม ทั้งเรื่องต้องทำ-ห้ามทำเพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการของคุณที่รวบรวมมาในบทความนี้น่าจะช่วยเตือนให้คุณใช้บริการธุรกรรมการเงินออนไลน์ได้ปลอดภัยมากขึ้น

ธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ มีอะไรบ้าง

E-Banking คือ การทำธุรกรรมต่างๆ กับธนาคาร โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน หรือ สอบถามยอดเงิน เป็นต้น E-Banking อาจเรียกด้วยชื่ออื่น เช่น Internet Banking (ธนาคารอินเตอร์เน็ต), Online Banking (ธนาคารออนไลน์), Electronic Banking (ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์), Cyber Banking (ธนาคารไซเบอร์) เป็นต้น

ข้อใดคือข้อดีของการใช้จ่ายผ่าน Online Banking

ข้อดีของการใช้บริการ Internet Payment.
เพิ่มความสะดวกสบายและเพิ่มช่องทางในการชำระเงินผ่านเว็บไซต์ให้กับร้านค้าและผู้ซื้อสินค้า.
ลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมการชำระเงิน.
ใช้บริการที่ไหนก็ได้ที่สามารถใช้ระบบอินเทอร์เน็ตได้ ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ ตลอด 24 ชั่วโมง.

การทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์ออนไลน์ (Online Banking หรือ Internet Banking) มีข้อดีอย่างไร

ข้อดีการชำระผ่าน Online Banking ของร้านค้าออนไลน์ ช่วยเพิ่มแรงดึงดูดให้ลูกค้าได้จริง!.
1. สะดวกสบายขั้นสุด.
2. โอนเงินได้ตลอดเวลา.
3. ไม่เสียค่าธรรมเนียม.
4. สะสมแต้มได้.
5.ความผิดพลาดน้อย.
6. ตรวจสอบง่าย.

ข้อดี การทำธุรกรรมออนไลน์ คืออะไร

ข้อดีของการทำธุรกรรมการเงิน มีอะไรบ้าง.
1.สามารถเข้าถึงได้ง่าย – แน่นอนว่าการเข้าถึงธุรกรรมทางการเงินออนไลน์เพียงแค่คุณมีโทรศัพท์มือถือกับอินเทอร์เน็ตคุณก็สามารถที่จะทำธุรกรรมออนไลน์ได้แล้ว.
2.ทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว - แน่นอนว่าเราไม่ต้องเดินทางไปยังธนาคาร สามารถทำธุรกรรมที่ไหนก็ได้เพียงมีอินเทอร์เน็ตเท่านั้น.