ข้อสอบการพยาบาลผู้สูงอายุ พร้อมเฉลย

[] เก็งแนวข้อสอบการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ   มีพร้อมเฉลย  

[] หนังสือติวสอบการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ   ฉบับปรับปรุงใหม่ 

[]  เอกสารสำหรับสอบการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ  เจาะลึกตรงประเด็น

แนวข้อสอบการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
1 ความรู้เรื่องการพยาบาลผู้ใหญ่

2 แนวข้อสอบเรื่อง การพยาบาลผู้ใหญ่

3 ความรู้เรื่องการพยาบาลผู้สูงอายุ

4 แนวข้อสอบเรื่อง การพยาบาลผู้สูงอายุ

5 แนวข้อสอบวิชาการพยาบาล

6 แนวข้อสอบกฎหมายวิชาชีพการพยาบาล

7 แนวข้อสอบภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ

8 ความสามารถด้านการคิดคำนวณ

9 ความสามารถทางด้านเหตุผล

10 วิชาสามารถทั่วไปความสามารถด้านภาษา

11 แนวข้อสอบความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

MP3- P046 การพยาบาลผู้ใหญ่


สอบถามหรือสั่งซื้อแนวข้อสอบได้ที่

โทร: 091-8616828

คลิ๊กเพื่อติดต่อเรา >> Line : https://line.me/R/ti/p/%40srk1564f

ID Line : yoknidtiya

 ชำระค่าสินค้าและบริการ

-ธ.กรุงไทย เลขที่บัญชี 983-0-97701-3   

-ธ.กสิกรไทย เลขที่บัญชี 549-2-17930-4 

(ชื่อบัญชี ปาณิสรา พระกาย ออมทรัพย์ สาขามหาวิทยาลัยขอนแก่น)

โอนเงินแล้วแจ้งทางช่องทางที่สั่งซื้อ

 โทร: 091-8616828

คลิ๊กเพื่อติดต่อเรา >> Line : https://line.me/R/ti/p/%40srk1564f

ID Line : yoknidtiya

ติดตามข่าวเปิดสอบได้ที่ http://www.winersheet.com

รีวิวผลงานลูกค้าที่สอบได้   https://goo.gl/REYqqH

***** ขอบคุณที่ให้เราเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของท่าน ขอให้โชคดีในการทำข้อสอบนะคะ *****

ข้อสอบการพยาบาลผู้สูงอายุ พร้อมเฉลย

ข้อสอบการพยาบาลผู้สูงอายุ พร้อมเฉลย

เผยแพร่เมื่อ 26/06/2021 19:49

แก้ไขเมื่อ 04/11/2022 02:17

ข้อมูล

ข้อสอบการพยาบาลผู้สูงอายุ พร้อมเฉลย

Medsaieiei

เป็นสรุปที่หลังจากเราสอบเสร็จก็มานั่งทวนดูอีกครั้ง ว่าหัวข้อไหนออกบ้าง อยากให้ทุกคนได้อ่านดูนะคะ ปี 64 ผู้สูงอายุออกแค่ 20 ข้อ ไม่ได้ตามบลูปริ้นแบบชัดๆ แต่เราสรุปตามบลูปริ้น
***ข้อให้สอบผ่านนะคะ 8 วิชาสาธุ ***

ถ้าคิดว่าโน้ตนี้มีประโยชน์ ก็กดติดตามผู้เขียนเพื่อรับแจ้งเตือนเมื่อมีโน้ตใหม่ ๆ มาได้เลย!

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

ข้อสอบการพยาบาลผู้สูงอายุ พร้อมเฉลย

สมุดโน้ตแนะนำ

คำถามที่เกี่ยวข้องกับโน้ตสรุปนี้

ข้อสอบการพยาบาลผู้สูงอายุ พร้อมเฉลย

  1. เกณฑ์ในการพิจารณาความเป็นผู้สูงอายุของ สุรกุล  เจนอบรม  มีอะไรบ้าง

ตอบ  1.  พิจารณาความเป็นผู้สูงอายุจากอายุจริงที่ปรากฏ  (Chronological  Aging)  จากจำนวนปีหรืออายุที่ปรากฏจริงตามปีปฏิทินโดยไม่นำเอาปัจจัยอื่นมาร่วมพิจารณาด้วย

  1. พิจารณาความเป็นผู้สูงอายุจากลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย(Physiological  Aging  หรือ  Biological  Aging) กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุขัยในแต่ละปี
  2. พิจารณาความเป็นผู้สูงอายุจากลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ(Psychological  Aging)  จากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ  สติปัญญา  การรับรู้และเรียนรู้ที่ถดถอยลง
  3. พิจารณาความเป็นผู้สูงอายุจากบทบาททางสังคม(Sociological  Aging)  จากบทบาทหน้าที่ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป  การมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มบุคคล ตลอดจนความรับผิดชอบในการทำงานลดลง
  4. ผู้ใดชราภาพหรือสูงอายุสามารถพิจารณาจากองค์ประกอบต่าง  ๆ  ได้ดังนี้คือ

ตอบ  1.  ประเพณีนิยม  (Tradition)   เป็นการกำหนดผู้สูงอายุ โดยยึดตามเกณฑ์อายุที่ออกจากงานเช่น ประเทศไทยกำหนดอายุวัยเกษียณอายุ เมื่ออายุครบ 60 ปี  แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดอายุ  65  ปี  เป็นต้น

  1. การปฏิบัติหน้าที่ทางร่างกาย(Body  Functioning)      เป็นการกำหนดโดยยึดตามเกณฑ์ทางสรีรวิทยาหรือทางกายภาพ    บุคคลจะมีการเสื่อมสลายทางสรีรวิทยาที่แตกต่างกันในวัยสูงอายุอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย จะทำงานน้อยลงซึ่งแตกต่างกันในแต่ละบุคคล     บางคนอายุ 50 ปี ฟันอาจจะหลุดทั้งปากแต่บางคนอายุถึง  80 ปี ฟันจึงจะเริ่มหลุด เป็นต้น
  2. การปฏิบัติหน้าที่ทางด้านจิตใจ(Mental  Functioning)    เป็นการกำหนดตามเกณฑ์ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์  การจำ  การเรียนรู้ และความเสื่อมทางด้านจิตใจ  สิ่งที่พบมากที่สุดในผู้ที่สูงอายุคือ ความจำเริ่มเสื่อม ขาดแรงจูงใจซึ่งไม่ได้หมายความว่าบุคคลผู้สูงอายุทุกคนจะมีสภาพเช่นนี้
  3. ความคิดเกี่ยวกับตนเอง(Self  –  Concept)     เป็นการกำหนดโดยยึดความคิดที่ผู้สูงอายุมองตนเอง เพราะโดยปกติผู้สูงอายุมักจะเกิดความคิดว่า  “ตนเองแก่  อายุมากแล้ว”   และส่งผลต่อบุคลิกภาพทางกาย   ความรู้สึกทางด้านจิตใจ และการดำเนินชีวิตประจำวัน       สิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามแนวความคิดที่ผู้สูงอายุนั้น  ๆ  ได้กำหนดขึ้น
  4. ความสามารถในการประกอบอาชีพ(Occupation)   เป็นการกำหนดโดยยึดความสามารถในการประกอบอาชีพ      โดยใช้แนวความคิด จากการเสื่อมถอยของสภาพทางร่างกาย และจิตใจ    คนทั่วไปจึงกำหนดว่า  วัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องพักผ่อน  หยุดการประกอบอาชีพ     ดังนั้น  บุคคลที่อยู่ในวัยสูงอายุ  จึงหมายถึงบุคคลที่มีวัยเกินกว่าวัยที่จะอยู่ในกำลังแรงงาน
  5. ความกดดันทางอารมณ์และความเจ็บป่วย(Coping with  Stress  and  Illness)  เป็นการกำหนดโดยยึดตามสภาพร่างกาย และจิตใจ  ผู้สูงอายุจะเผชิญกับสภาพโรคภัยไข้เจ็บอยู่เสมอ  เพราะสภาพทางร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ เริ่มเสื่อมลง     นอกจากนั้น ยังอาจเผชิญกับปัญหาทางด้านสังคมอื่นๆ ทำให้เกิดความกดดันทางอารมณ์เพิ่มขึ้นอีก ส่วนมากมักพบกับผู้มีอายุระหว่าง  60 – 65 ปีขึ้นไป
    ข้อสอบการพยาบาลผู้สูงอายุ พร้อมเฉลย
  6. ผู้สูงอายุหมายถึง

ตอบ  ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป  ที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และจิตใจไปในทางที่เสื่อมลง มีบทบาททางสังคม และกิจกรรมในการประกอบอาชีพลดลง

  1. เกณฑ์อายุตามสภาพของการมีอายุเพิ่มขึ้น ในลักษณะของการแบ่งช่วงอายุที่เหมือนกัน คือ

ตอบ                      1.  ผู้สูงอายุ (Elderly)   มีอายุระหว่าง 60 – 74 ปี

  1. คนชรา  (old)  มีอายุระหว่าง  75 – 90 ปี
  2.   คนชรามาก  (Very  old)    มีอายุ  90 ปีขึ้นไป
  3. การแบ่งช่วงอายุของผู้สูงอายุ ตามสถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติ(National Institute of Aging) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็น 2 กลุ่ม คือ

ตอบ                        1.  กลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น  (Young  – Old)  มีอายุ 60 – 74 ปี

  1. กลุ่มผู้สูงอายุวัยปลาย  (Old –  Old)  มีอายุ 75 ปีขึ้นไป
  2. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกได้เสนอข้อมูลการแบ่งช่วงอายุผู้สูงอายุของประเทศไทย ดังนี้ คือ

ตอบ                        1.  อายุตั้งแต่  60–69 ปี

  1. อายุตั้งแต่ 70–79 ปี
  2. อายุ 80 ปีขึ้นไป
  3. การเปลี่ยนแปลงวัยในผู้สูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านใดบ้าง

ตอบ    1.  การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย    2.  การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ   3.  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

  1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จำแนกออกตามระบบของร่างกายได้ ดังนี้คือ

ตอบ        1.1  ระบบผิวหนัง     ผิวหนังบางลง เพราะเซลล์ผิวหนังมีจำนวนลดลง    เซลล์ที่เหลือเจริญช้าลง อัตราการสร้างเซลล์ใหม่ลดลง

1.2  ระบบประสาทและระบบสัมผัส     เซลล์สมอง และเซลล์ประสาท มีจำนวนลดลง ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก จำนวนและขนาดเส้นใยของเซลล์กล้ามเนื้อลดลง  มีเนื้อเยื่อพังพืดเข้ามาแทนที่มากขึ้น

1.3  ระบบการไหลเวียนโลหิต       หลอดลม  ปอดมีขนาดใหญ่ขึ้น ความยืดหยุ่นของเนื้อปอดลดลง

1.4  ระบบทางเดินอาหาร       ฟันของผู้สูงอายุไม่แข็งแรง   เคลือบฟันเริ่มบางลง  เซลล์สร้างฟันลดลง  ฟันผุง่ายขึ้น ผู้สูงอายุไม่ค่อยมีฟันเหลือต้องใส่ฟันปลอม   ทำให้การเคี้ยวอาหารไม่สะดวกต้องรับประทานอาหารอ่อนและย่อยง่าย

1.5    ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์      ผู้สูงอายุมีขนาดของไตลดลงการไหลเวียนโลหิตในไตลดลง  ในเพศชาย ต่อมลูกหมากโตขึ้น  ทำให้ปัสสาวะลำบาก ต้องถ่ายบ่อยลูกอัณฑะเหี่ยวเล็กลง และผลิตเชื้ออสุจิได้น้อยลง ส่วนในเพศหญิง รังไข่จะฝ่อเล็กลง ปีกมดลูกเหี่ยว มดลูกมีขนาดเล็กลง

1.6     ระบบต่อมไร้ท่อ      ต่อมใต้สมองจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง  และทำงานลดลง  ผู้สูงอายุจะเกิดอาการอ่อนเพลีย  เบื่ออาหารและน้ำหนักลดลง

  1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของผู้สูงอายุคืออะไร

ตอบ  การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์  จะมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม    เนื่องจากความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย    การสูญเสียบุคคลใกล้ชิด   การแยกไปของสมาชิกในครอบครัว และการหยุดจากงานที่ทำอยู่เป็นประจำ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ

  1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของผู้สูงอายุเป็นอย่างไร

ตอบ       การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องประสบ  ภาระหน้าที่ และบทบาทของผู้สูงอายุจะลดลง    มีข้อจำกัดทางร่างกาย  ทำให้ความคล่องตัวในการคิด  การกระทำ  การสื่อสาร สัมพันธภาพทางสังคมมีขอบเขตจำกัด  ความห่างเหินจากสังคมมีมากขึ้น   ความมีเหตุผล และการคิดเป็นไปในทางลบเพราะ สังคมมักจะประเมินว่า ความสามารถในการปฏิบัติลดลง   ถึงแม้ว่าจะมีผู้สูงอายุบางคนแสดงให้เห็นว่า   ความมีอายุ มิได้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินบทบาท และหน้าที่ทางสังคมก็ตาม

ข้อสอบการพยาบาลผู้สูงอายุ พร้อมเฉลย