ระบบ ใดที่ สะท้อนให้เห็นว่ากำลังคนเป็นทรัพยากรสำคัญใน ดิน แดน ไทยสมัยโบราณ O NET 51

Show

1.ข้อใดเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมกำลังคนในระบบไพร่

ก. ไพร่ต้องสังกัดมูลนาย                    ข. ไพร่จับจองที่ดินไม่ได้

ค. ไพร่เปลี่ยนแปลงสถานะไม่ได้         ง. ไพร่ต้องมาทำงานให้ราชการ

2.ข้อใดตรงกับวัตถุประสงค์เบื้องต้นของการจัดระบบไพร่

ก. ต้องการแรงงาน                       ข. ต้องการภาษี

ค. ต้องการเสริมอำนาจบารมี          ง. ต้องการคนมาเข้าเวรราชการ

3.การดำเนินการใดที่ก่อให้เกิดผลต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศสมัยพระบาทสมเด็จพระจุมจอมเกล้าเจ้า

ก. การเลิกทาส      ข. การเลิกไพร่      ค. การเลิกบ่อนเบี้ย     ง.การตั้งโรงเรียน

4.นายชมเคยเป็นไพร่เมื่อรัชกาลที่ 5 ยกเลิกระบบไพร่นายชมได้เรียนหนังสือจบแล้วได้รับราชการเป็นขุนนางและมีฐานะดีการที่นายชมเปลี่ยนสถานะไปเช่นนี้เพราะผลข้อใดเป็นสำคัญ

ก. การปฏิรูปทางสังคม                    ข. การปฏิรูปทางการศึกษา

 ค. การปฏิรูปการปกครอง               ง. การปฏิรูปเศรษฐกิจ

5.ไพร่สมัยก่อนรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์สามารถเลื่อนฐานะทางสังคมได้หลายประการยกเว้นข้อใด

ก. การบวชเรียน                                    ข. การเรียนหนังสือ   

 ค. การไปรับราชการสงคราม             ง. การฝากตัวกับเจ้านาย

6.หลักฐานประเภทใดที่ทำให้การศึกษาเรื่องอาณาจักรต่างๆ ในดินแดนประเทศไทยน่าเชื่อถือมากที่สุด

ก. จารึก        ข. ตำนาน        ค. จดหมายเหตุ        ง. เอกสารจีน

7.หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในข้อใดจัดว่าเป็นหลักฐานชั้นต้น

ก. พระพุทธรูป                                       ข.จดหมายเหตุวันวลิต

ค.เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง                ง. พระไตรปิฎก

8.พัฒนาการเขียนประวัติศาสตร์ไทย เริ่มจากลักษณะใดตามลำดับ

ก. ตำนาน  พงศาวดาร  ประวัติศาสตร์         ข. ตำนาน  ประวัติศาสตร์  พงศาวดาร

ค. พงศาวดาร  ประวัติศาสตร์  ตำนาน        ง. พงศาวดาร  ตำนาน   ประวัติศาสตร์

9.พระราชพงศาวดารสมัยอยุธยาฉบับใดเป็นที่ยอมรับว่ามีข้อมูลถูกต้องที่สุด

ก. ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์              ข. ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์

ค. ฉบับพันจันทนุมาศ                              ง. ฉบับริติชมิวเซียม

10.ข้อใดเป็นจุดเริ่มต้นของยุคโลหะ

ก. การหลอมดีบุก                                      ข. การหลอมทองแดง

ค. การหลอมเหล็ก                                     ง. การหลอมสำริด

11.ข้อใดจัดว่าพัฒนาการของมนุษย์ชาติในการคิด สร้าง และทำเพื่อความอยู่รอดเกิดขึ้นครั้งแรกยุคใด

ก.ยุคหิน        ข. ยุคสำริด        ค. ยุคเหล็ก        ง. ยุคโลหะ

12.ข้อใดเป็นจุดเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์

ก. รู้จักใช้ไฟ       ข. รู้จักเพาะปลูก       ค. รู้จักตั้งถิ่นฐาน      ง.รู้จักบันทึกข้อความ

13.ปัจจุบันข้อใดที่มีผลน้อยต่อการตั้งถิ่นฐานและการดำรงชีวิตของมนุษย์

ก. ลักษณะเชื้อชาติ                               ข. ลักษณะภูมิประเทศ

ค. ความเหมาะสมของภูมิอากาศ          ง. ความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ

14.ข้อใดจัดว่าเป็นการปฏิวัติทางเศรษฐกิจครั้งแรกของมนุษย์

ก. การตั้งถิ่นฐานและการเพาะปลูก        ข. การประดิษฐ์คันไถ

ค. การใช้เครื่องจักรในระบบการผลิต      ง. การประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ด้วยโลหะ

15.ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญทางวัฒนธรรมของชาวสุเมเซียน

ก. พระราชวัง                                      ข. ภาพแกะสลักนูน

ค. อักษรเฮียโรกลิฟิก                          ง. การปกครองแบบนครรัฐ

16. ชนชาติใดที่เข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในโลกตะวันตกเป็นกลุ่มแรก

ก. ชาวเปอร์เซียน       ข. ชาวสุเมเรียน       ค. ชาวอียิปต์       ง. ชาวบาบิโลเนียน

17.สถาปัตยกรรมกรีกที่ได้ยกย่องมากที่สุดเป็นสถาปัตยกรรมประเภทใด

ก. โรงมหรสพขนาดใหญ่                         ข. พระราชวังที่มีขนาดใหญ๋

ค. โบสถ์รูปแปดเหลี่ยม                             ง. วิหารหินอ่อน

18.ข้อใดเป็นมรดของอารยธรรมของโรมันที่ถ่อยทองสู่ชาติต่างๆ ในโลกยุคปัจจุบัน

ก. ระบบศักดินาสวามิภักดิ์                         ข. ระบบประชาธิปไตร

ค. ระบบกฎหมาย                                        ง. ระบบรัฐธรรมนูญ

19.มรดกอารยธรรมอะไรที่โรมันรับมาจากเปอร์เซียนและมำมาใช้เพื่อประสิทธิภาพในการปกครอง

ก. กฎหมาย                                                     ข. ระบบคมนาคม

ค. เคารพเชื่อฟังผู้มีอำนาจเหนือตน            ง. รู้จักนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน

20.ผลงานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมสะท้อนให้เห็นลักษณะเฉพาะของชาวกรีก คือเรื่องใด

ก. ความไม่นิยมในปัจเจกบุคคล                           ข. ความหมกมุ่นในเรื่องศาสนา

ค. ความเป็นตัวของตัวเองและรักในเสรีภาพ      ง. ความมีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ

21.แนวความคิดใดของขบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยากรเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ก. กายวิภาคศาสตร์                                      ข. มนุษย์นิยม

ค. ความเชื่อมั่นในเรื่องชีวิต                          ง. การเกิดมหาวิทยาลัย

22.ข้อใดคือมรดกทางอารยธรรมที่สำคัญในสมัยกลางที่มีผลต่อโลกตะวันตกในระยะยาว

ก. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ                          ข. มนุษย์นิยม

ค. ความเป็นตัวของตัวเอง                          ง. การเกิดมหาวิทยาลัย

23.ข้อใดเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์

ก. การขยายตัวทางการค้า                             ข. ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรม

ค. การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร              ง. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

24.ข้อใด ไม่ใช่คุณสมบัติของชั้นกลางในสังคมยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16 -17

ก. เป็นผู้รักอิสรเสรี                                   ข. เป็นผู้มีความเชื่อมั่นในตัวเอง

ค. เป็นผู้ที่ต้องการความเสมอภาค          ง. เป็นผู้บุกเบิกความรู้ทางวิทยาศาสตร์

25.กิจกรรมใดนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2

ก. การผลิตเหล็กกล้า                           ข. การใช้เครื่องจักรไอน้ำ

ค. การประดิษฐ์เครื่องปั่นด้าย               ง. การวางสายโทรเลขข้ามทวีป

26.ข้อใดไม่ได้เป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ก. การเกิดลัทธิสังคมนิยม                    ข. เกิดลัทธิศาสนานิยม

ค. เกิดลัทธิจักรวรรดินิยม                      ง. เกิดลัทธิปัจเจกชนนิยม

27.ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์ในการปกครองประเทศของกษัตริย์ที่ทรงภูมิธรรมในยุโรปศตวรรษที่ 18

ก. เพื่อให้เสรีภาพแก่พลเมืองในด้านต่างๆ       ข. เพื่อให้อำนาจอธิปไตยแก่ประชาชน

ค. เพื่อผู้รับใช้และประชาชน                             ง. เพื่อให้พลเมืองอยู่ดีกินดี

28.ประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตกร่วมสมัยเริ่มต้นเมื่อใด

ก. ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1        ข. ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ค. ภายหลังสงครามเย็น                      ง. ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

29.วัตถุประสงค์ของการปฏิวัติในโลกตะวันตก ช่วงศตวรรษที่ 18 ตรงกับข้อใดมากที่สุด

ก. เพื่อให้ประชาชนมีเสรีภาพ                          ข. เพื่อยกเลิกลัทธิพาณิชยนิยม

ค. เพื่อให้ประชาชนเลือกนับถือศาสนาได้       ง. เพื่อแก้ไขระบบเลื่อยชั้นในสังคม

30.ข้อใดคือจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น

ก. การต่อต้านการขยายตัวของลัทธินิยม

ข. การแข่งขันเพื่อสร้างอาวุธนิวเคลียร์ของมหาอำนาจ

ค. การแก่งแย่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของมหาอำนาจ

ง. การต่อสู้อุดมการณ์ระหว่างประเทศกลู่มเสรีประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์

31.สงครามโลกครั้งที่ 2แตกต่างจากสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างชัดเจนในประเด็นใด

ก. การเข้าร่วมสงครามของสหรัฐอเมริกา

ข. การที่สหภาพโซเวียตไม่ได้เข้าร่วมสงคราม

ค. การขยายพื้นที่ของสมรภูมิและความร้ายแรงของอาวุธ

ง. การยุติความขัดแย้งและจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ

32.สงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลต่อโลกตะวันออกโดยตรงในข้อใด

ก. การเกิดสมาคมซีโต้                                  ข. การสิ้นสุดยุคอาณานิคม

ค. การปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์จีน       ง. การเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น

33.การดำเนินนโยบายใดแสดงออกถึงการประสานประโยชน์ทางการเมืองระหว่างประเทศได้ดีที่สุด

ก. การร่วมกลุ่มประเทศโอเปค           ข. การเจรจาลดอาวุธนิวเคลียร์

ค. การจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ      ง. การก่อตั้งองค์การอาเซียน

34.อารยธรรมตะวันออกข้อใดมีผลต่อประเทศไทยในด้านเศรษฐกิจ

ก. การใช้ปฏิทิน                                         ข. การทำเครื่องสังคโลก

ค. การปกครองระบอบประชาธิปไตย     ง. พระมหากษัตริย์ตามแบบธรรมราชา

35.การปฏิรูปด้านใดของญี่ปุ่นมีส่วนสำคัญทำให้ญี่ปุ่นมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมตะวันออก

ก. การทหารและการต่างประเทศ             ข. การเมืองและการปกครอง

ค. ระบบเศรษฐกิจและการคลัง               ง. การศึกษาและเทคโนโลยี

36.ดินแดนส่วนใดของโลกตะวันออกที่ก้าวหน้ามากทางวิทยาศาสตร์ช่วงศตวรรษที่

ก. จีน        ข. อินเดีย        ค. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้       ง. เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

37.เหตุการณ์ใดเกิดจากลัทธิก่อการร้าย

ก. นารีสั่งฆ่าชาวยิวในเยอรมนี

ข. เวียดกงลอบโจมตีทหารอเมริกาในดานัง

ค. ชาวอาหรับหัวรุนแรงลอบสังหารประธานาธิปดีอียิปต์ที่ไคโร

ง. เขรมแดงสังหารหมู่ประชาชนชาวเขรม

38.สงครามเกาหลีเหนือเหมือนกันสงครามเวียดนานในเรื่องใด

ก. เป็นสงครามจำกัดขอบเขต             ข. เป็นสงครามเบ็ดเสร็จ

ค. เป็นสงครามตัวแทน                       ง. เป็นสงครามเย็น

39.เซอร์ไอแซค นิวตัน มีอายุตรงกับรัชสมัยใดของไทย

ก. พระนเรศวรมหาราช                      ข. พระนารายณ์มหาราช

ค. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช              ง. พระเจ้าตากสินมหาราช

40.หากเปรียบเทียบสมัยปัจจุบันในแบบสากลกับสมัยรัตนโกสินทร์ของไทยตรงกับรัชกาลใด

ก. รัชกาลที่ 5      ข. รัชกาลที่ 6   ค. รัชกาลที่ 7    ง. รัชกาลที่ 8

41.สมัยอยุธยานั้นตรงกับสมัยใดของประวัติศาสตร์โลก

ก. สมัยโบราณ       ข.ร่วมสมัย       ค. สมัยกลาง       ง. สมัยใหม่

42.การเปลี่ยนแปลงด้านใดตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ช้าที่สุด

ก. ด้านสังคม       ข. ด้านวัฒนธรรม       ค. ด้านเศรษฐกิจ       ง. ด้านการปกครอง

43.รัชกาลใดมิได้จัดเป็นยุคทองของการกวีและวรรณคดี

ก. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ข. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ค. พระเจ้าประปราสาททอง

ง. พระนารายณ์มหาราช

44.การจัดระเบียบสังคมไทยสมัยอยุธยาเกี่ยวข้องกับเรื่องใดน้อยที่สุด

ก. ความเจริญของบ้านเมือง                       ข. ความมั่นคงของอาณาจักร

ค. กำลังแรงงานของทางราชการ               ง. ความสัมพันธ์ระหว่างไพร่กับมูลนาย

45.นโยบายการแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในสมัยรัชกาลที่ 7 คือข้อใด

ก. ลดค่าเงินบาท                             ข. ปลดข้าราชการออก

ค. กู้เงินจากต่างประเทศ                ง. ส่งเสริมการใช้สินค้าไทย

46.ข้อใดเป็นลักษณะการค้าต่างประเทศในสมัยอยุธยา

ก. เป็นการค้าเสรีภายใต้การควบคุมของขุนนาง

ข. เป็นการค้าเสรีโดยไม่กีดกันชาวต่างชาติ

ค. เป็นการผูกขาดโดยพระคลังสินค้า

ง. เป็นการผูกขาดโดยขุนนางระดับสูง

47.ประเทศไทยได้เผชิญปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเป็นครั้งแรกในช่วงเวลาใด

ก. หลังสงครามโลกครั้งที่ 1          ข. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ค. หลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112      ง. หลังการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง

48.การปฏิรูปทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการเสริมความมั่นคงให้แก่สถาบันกษัตริย์ในตอนต้นรัชกาลที่ 5 คือข้อใด

ก. การเริ่มทำงบประมาณแผนดิน                   ข.การยกเลิกระบบภาษีนายอากร

ค. การจ่ายเงินเดือนข้าราชกาล                      ง. การจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์

49.วิกฤตการณ์  14 ต.ค. 2516 ก่อให้เกิดผลด้านการเมืองที่สำคัญหลายประการ ยกเว้นข้อใด

ก. มีการเลืองตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยตามที่ระบุในรัฐธรรมนูญใหม่

ข. กลุ่มอาชีพต่างๆเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิประโยชน์และเสรีภาพ

ค. ทหารและกองทัพลดบทบาทการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองจนถึงปัจจุบัน

ง. ทำให้มีร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2517

50.การปฏิรูปการปกครองในรัชกาลที่ 5 เกิดจากสาเหตุใดน้อยที่สุด

ก. การคุกคามจักรวรรดินิยมตะวันตก

ข. โครงสร้างการปกครองเดิมล้าสมัย

ค. เหตุการณ์วุ่นวายภายในประเทศ

ง. ความเสื่อมของระบบไพร่

51.ระบบศักดินาส่งผลต่อสังคมไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างไร

ก. เกิดระบบควบคุมการใช้งาน                  ข. เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน

ค. เกิดระบบชนชั้นในสังคมไทย                 ง. เกิดการแย่งอำนาจการปกครอง

52.ศักดินา ในอดีตหมายถึงข้อใด

ก. สิทธิในการครอบครองที่ดิน

ข. การได้รับบรรดาศักดิ์ของขุนนาง

ค. การควบคุมกำลังคนของมูลนาย

ง. การกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อสถานภาพในสังคม

53.การประกอบอาชีพของคนไทยมีผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาตรงกับข้อความในข้อใด

ก. เมื่อเสร็จหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก

ข. อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น

ค. ผัวหาบ เมียคอน

ง. ฝนทั่งให้เป็นเข็ม

54.ระบบใดที่สะท้อนให้เห็นกำลังคนเป็นทรัพยากรสำคัญในดินแดนไทยสมัยโบราณ

ก. ระบบไพร่       ข. ระบบขุนนาง       ค. ระบบศักดินา       ง. ระบบอุปถัมภ์

55.ไพร่ ในสังคมอยุธยามีฐานะใกล้เคียงกับบุคคลใดในปัจจุบัน

ก. แรงงานรับจ้าง       ข. สามัญชน       ค. ทหารเกณฑ์       ง. กระฏุมพี

56.โบราณวัตถุรูปแบบธรรมจักรและกวางหมอบจัดว่าอยู่ในยุคใด

ก. ฟูนัน       ข. ละโว้       ค. ทวารวดี       ง. ศรีวิชัย

57.เครื่องเคลือบดินเผาสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่มักทำสีใดมากที่สุด

ก. สีฟ้า      ข. สีตราไก่       ค. สีน้ำตาล       ง. สีเขียวไข่กา

58.บรรดาช่างฝีมือไทย ช่างชีช่างจัดว่าเป็นช่างศิลป์ไทยประเภทใด

ก. ช่างหลวง                                  ข. ช่างอิสระ

ค. ช่างพื้นบ้านพื้นเมือง                 ง. ช่างทำในวัดวาอารามต่างๆ

59.การเพาะปลูกข้าวของไทยสามารถผลิตข้าวรสดีจนกลายเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ชาติจำนวนไม่น้อยเรียกว่าข้าวอะไร

ก. ข้าวเจ้า       ข. ข้าวเหนียว       ค. ข้าวหอมมะลิ     ง. ข้าวเจ้าหอม

60.แนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยที่นักวิทยาศาสตร์ไทยในปัจจุบันไม่ยอมรับ

ก. อยู่บริเวณตอนใต้ของจีน                     ข. อยู่บริเวณเทือกเขาอัลไต

ค. อยู่บริเวณมณฑลยูนนาน                     ง. อยู่บริเวณ ประเทศไทยในปัจจุบัน