การจัดการ อาชีว อนามัย และความ ปลอดภัย ในการปฏิบัติงาน ช่วย ให้ ผลผลิต เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับ ข้อ ใด

อาชีวอนามัย (Occupational Health) มีรากฐานมาจากคำว่า

  • อาชีวะ (Occupational) หมายถึง อาชีพ การประกอบอาชีพ
  • อนามัย (Health) หรือสุขภาพอนามัย หมายถึง สภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ

เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันจึงเกิดเป็นคำว่า “อาชีวอนามัย” ซึ่งได้แก่ การส่งเสริม ควบคุม ดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพการงานให้คงไว้ซึ่งสภาวะสมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ด้วยดี รวมทั้งมีความปลอดภัยจากภัยคุกคาม อันตรายและความเสี่ยงต่าง ๆ ด้วยการดูแลสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เครื่องมือเครื่องใช้ กระบวนการให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ประกอบอาชีพการงาน

การจัดการ อาชีว อนามัย และความ ปลอดภัย ในการปฏิบัติงาน ช่วย ให้ ผลผลิต เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับ ข้อ ใด

โดยในปัจจุบัน ประเทศไทยได้ก้าวไปสู่การเป็นสังคมอุตสาหกรรมมากขึ้น แรงงานจึงมีความเสี่ยงมากขึ้น กระทรวงแรงงานได้เล็งเห็นความสำคัญในข้อนี้จึงได้มอบหมายให้สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานจัดทำมาตรฐานและระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้สถานประกอบการและหน่วยงานต่าง ๆ นำไปปฏิบัติเพื่อคุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคง ตลอดจนความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งมาตรฐานความปลอดภัยเบื้องต้นที่ควรรู้มีดังนี้

  • มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง (มปอ. 101 : 2561)

เป็นมาตรฐานที่จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้บังคับกฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง เช่น งานอุตสาหกรรมทั่วไป งานก่อสร้าง งานสายส่งไฟฟ้า งานทำความสะอาดในที่สูง ฯลฯ โดยเน้นการขจัดความเสี่ยง ลดความเสี่ยง และการกำหนดมาตรการในการป้องกันและยับยั้งลูกจ้าง รวมถึงวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ จากการพลัดตกจากที่สูง

  • มาตรฐานการยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงกายตามหลักการยศาสตร์ (มปอ. 302 : 2561)

เป็นมาตรฐานที่จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบกิจการที่ต้องมีการยกและเคลื่อนย้ายวัสดุที่มีน้ำหนักมาก มีขนาดใหญ่ หรือรูปทรงที่ไม่เป็นมาตรฐานด้วยแรงกายเป็นประจำหรือหลายชั่วโมง อาทิ โรงงานอุตสาหกรรมทุกขนาด สำนักงาน ศูนย์กระจายสินค้า ฯลฯ ผ่านการกำหนดแนวทางในการออกแบบสถานีงาน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบริเวณที่ปฏิบัติงาน และการบริหารจัดการ รวมถึงการเสริมสร้างความเข้าใจและดูแลพฤติกรรมของลูกจ้างที่ปฏิบัติงานยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงกายให้เป็นไปตามหลักการยศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ช่วยปรับเปลี่ยนสภาพงานให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานเพื่อปรับปรุงสภาพการทำงานให้มีความเป็นระบบเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและทวีความรุนแรงมากขึ้น

  • มาตรฐานการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์ (มปอ. 301 : 2561)

เป็นมาตรฐานที่มุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานและสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทางคอมพิวเตอร์ปรับปรุงสภาพการทำงานภายในสำนักงานให้สอดคล้องกับหลักการยศาสตร์ ตั้งแต่การจัดสถานีงานคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การปรับปรุงสภาพแวดล้อม และการบริหารจัดการงานคอมพิวเตอร์ รวมถึงยังมีการแนะนำท่าบริหารร่างกายที่ผู้ปฏิบัติงานทางคอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติได้อย่างง่าย ๆ ในระหว่างการทำงานเพื่อผ่อนคลายและบรรเทาอาการปวดเมื่อยบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงการสร้างความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อที่ต้องใช้งานหนักขณะใช้คอมพิวเตอร์ และสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่มีใช้ในประเทศไทยเราเท่านั้น จะเห็นได้ว่า หากสถานประกอบการประกอบด้วยอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแล้ว ย่อมเป็นการส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความสูญเสียของทั้งตัวผู้ประกอบอาชีพและนายจ้างแล้ว ยังช่วยลดผลกระทบทางสังคมที่อาจตามมาหลังการประสบอันตรายจากการทำงาน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เสริมภาพลักษณ์ให้องค์กรหรือตราสินค้า อีกทั้งยังส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตและอำนวยประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในภาพรวมอีกด้วย

สอบถามข้อมูลบริการตรวจสุขภาพได้ที่

เบอร์โทร.  02-374-9604-5

Hotline: 080-9411240, 080-2718365

website: https://www.medicallinelab.co.th/

ความท้าทาย

          อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่และทุกเวลาหากขาดความระมัดระวังหรือความรอบคอบในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บจนนำมาซึ่งความสูญเสียชีวิตหรืออวัยวะบางส่วนของร่างกายนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ ยิ่งไปกว่านั้นความสูญเสียดังกล่าว ยังส่งผลกระทบระยะยาวต่อสภาพจิตใจทั้งตัวของผู้ประสบอุบัติเหตุและบุคคลใกล้ชิด ดังนั้นความตระหนักและความมีจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงหรือเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน นับเป็นความท้าทายที่สำคัญที่ต้องสร้างความร่วมมือจากทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเพื่อส่งเสริมเรื่องความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีฝังรากลึกในตัวบุคคล จนทำให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์ให้ได้

ความมุ่งมั่นและแนวทางการบริหารงาน

          บริษัทมุ่งมั่นในการบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ISO45001 : 2018 บริษัทได้กำหนดนโยบายด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (Security, Safety, Occupational Health and Environment: SSHE) โดยนำมาบูรณาการบริหารจัดการทั่วทั้งภายใน และภายนอกองค์กร 

    คลิกเพื่อดูรายละเอียดนโยบายด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

          บริษัทมีการจัดตั้งฝ่ายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม โดยมีทีมงานส่วนกลาง และในแต่ละพื้นที่ของโรงงาน เพื่อให้การบริหารงานอย่างครอบคลุม มีประสิทธิภาพ มีการกำหนดเป้าหมายแผนการดำเนินงานร่วมกันของแต่ละบริษัทในกลุ่มมิตรผล ซึ่งทีมงานได้มีการสื่อสาร ถ่ายทอดอย่างครอบคลุมไปยังทุกกลุ่ม ตั้งแต่ผู้บริหาร พนักงาน ผู้รับเหมา และผู้มีส่วนได้เสียทุกคน(403-1)

          การติดตามผลการดำเนินงานด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยกำหนดฝ่ายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานตามแผนงาน และติดตามแผนงานดังกล่าวเป็นระยะโดยการจัดการประชุมเป็นประจำทุกเดือน รวมทั้งได้มีการสำรวจการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น(403-2)   

          สำหรับการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานเพื่อให้ลดอุบัติเหตุจากการดำเนินงานนั้น จะมีการทบทวนแนวทางการบริหารจัดการโดยฝ่ายบริหารอย่างสม่ำเสมอ มีกระบวนการในการบ่งชี้ความเป็นอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการสอบสวนอุบัติการณ์เพื่อระบุประเด็นประเมินความเสี่ยง (Risk) และโอกาส (Opportunity) ครอบคลุมกระบวนการปฏิบัติงาน กิจกรรม และพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตตลอดจนกิจกรรมในการดำเนินการของผู้รับเหมาที่มีนัยสำคัญต่อหน่วยงาน พิจารณาครอบคลุมถึงสถานการณ์ปกติ สถานการณ์ไม่ปกติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงกำหนดแผนควบคุมและลดความเสี่ยงนั้นๆ เพื่อให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ในทุกระดับความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ

          หากพนักงานหรือผู้บังคับบัญชาพบว่ากิจกรรมหรืองานที่ได้รับมอบหมายได้ปฏิบัตินั้นมีความเสี่ยง หรืออาจก่อให้เกิดอันตราย การบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต พนักงานหรือผู้บังคับบัญชามีสิทธิปฏิเสธการปฏิบัติงาน และ/หรือสั่งหยุดการกระทำนั้นได้ทันที โดยไม่ถือเป็นการกระทำผิดในการปฏิบัติงานและต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบทันที เพื่อดำเนินการแก้ไข เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของกลุ่มมิตรผลต่อไป สำหรับกรณีหากเกิดอุบัติเหตุจะมีขั้นตอนการสอบสวนหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติขึ้น รายงานต่อผู้บังคับบัญชาในแต่ละพื้นที่ และรายงานข้อมูลให้ฝ่ายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมส่วนกลางได้รับทราบ จากนั้นจะมีการสอบสวนหาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ ทำแผนงาน และติดตามผลการดำเนินงานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำ

          นอกจากนี้ กลุ่มมิตรผลยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากพนักงานและตัวแทนขององค์กรจัดการประชุมอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง รายงาน และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน และมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อบริษัท เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการโดยดำเนินการภายใต้กรอบของกฎหมายอย่างเคร่งครัด (403-4) ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมาทางโรงงานได้สร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายด้วยการให้มีตัวแทนของแต่ละฝ่ายมาเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานด้วย

การดำเนินงานที่สำคัญ

1. สถิติด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน(403-9)

           กลุ่มมิตรผลมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์ (Zero accident) โดยมีการตั้งเป้าหมายอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Injury Frequency Rate : LTIFR) สำหรับพนักงานและผู้รับเหมาให้น้อยกว่า 0.6 ราย/1 ล้านชั่วโมงการทำงาน ภายในปี 2566   

          ในแต่ละปีจะมีการตั้งเป้าหมายอัตราการบาดเจ็บขั้นหยุดงาน และเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติอุบัติการณ์ต่างๆ ของพนักงานและผู้รับเหมาเป็นประจำทุกเดือน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน(403-9) โดยมีข้อมูลของปี 2564 ดังนี้

 
การจัดการ อาชีว อนามัย และความ ปลอดภัย ในการปฏิบัติงาน ช่วย ให้ ผลผลิต เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับ ข้อ ใด
        หมายเหตุ: ข้อมูลสถิติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ภาคผนวก 
 

    สำหรับผลสถิติยังพบว่าอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานของพนักงานยังเกินเป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้ ทั้งนี้บริษัทได้ดำเนินการสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุที่แท้จริงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำ มีการทบทวน ปรับปรุง แก้ไขขั้นตอนการทำงาน รวมถึงการทบทวนผลการประเมินความเสี่ยงให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น ตลอดจนจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักให้กับพนักงานและผู้รับเหมาของบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีอุบัติเหตุจากการทำงานเกิดขึ้นกับพนักงานและผู้รับเหมาในอนาคต

2. ส่งเสริมการดูแลสุขภาพอนามัย(403-3)

          กลุ่มมิตรผลจัดให้มีแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานและการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขประจำที่ห้องพยาบาลของแต่ละพื้นที่ตามกฎหมายกำหนด เพื่อให้คำแนะนำ ปรึกษา ตรวจรักษา และบริการตลอดระยะเวลาปฏิบัติงานของพนักงานและผู้รับเหมา รวมถึงมีการจัดตั้งคลินิคความปลอดภัยเพื่อให้มีระบบการดูแล พนักงานและผู้รับเหมาที่ประสบอันตรายจากการทำงานที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ สร้างระบบการป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพในเบื้องต้น และมีการให้คำปรึกษาพร้อมส่งเสริมการดูแลสุขภาพอนามัย รวมทั้งการเฝ้าระวังการเจ็บป่วยหรือโรคจากการทำงาน โดยมีแนวทางการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์การให้บริการคลินิกความปลอดภัย

          นอกจากนี้ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 กลุ่มมิตรผลได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันที่หน่วยงานภาครัฐกำหนดอย่างเคร่งครัด รวมถึงได้ส่งต่อความห่วงใยสุขภาพอนามัยของพนักงาน ชาวไร่ และชุมชน ด้วยการจัดหาวัคซีน แอลกอฮออล์ฆ่าเชื้อ อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องได้ใช้ป้องกันตนเองเพื่อให้ปลอดภัยห่างไกลจากโรค

3. สร้างจิตสำนึกเพื่อความปลอดภัยของทุกคน(403-5)(403-6) 

          กลุ่มมิตรผลมุ่งสร้างจิตสำนึกเพื่อความปลอดภัยของทุกคนผ่านการสร้างวัฒนธรรมด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยมีการดำเนินงานต่างๆ ดังนี้

  • จัดทำกฎพิทักษ์ชีวิต (Life Saving Rules) เพื่อให้ทุกคนถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด พร้อมการอบรมให้ความรู้ จัดทำการทดสอบเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจและปฏิบัติตามกฎพิทักษ์ชีวิตได้อย่างถูกต้อง  
  • การปลูกฝังการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างความปลอดภัย (Behavior Base Safety : BBS) เพื่อให้พนักงานได้แจ้งอุบัติการณ์ที่พบในพื้นที่ปฏิบัติงาน และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น ซึ่งในรอบปีนี้ธุรกิจวัสดุทดแทนไม้ได้เริ่มนำแพลทฟอร์ม BBS Online มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ปฏิบัติงาน และวางแผนขยายผลการประยุกต์ใช้ BBS Online ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
  • ฝึกอบรมให้ความรู้ความปลอดภัยกับพนักงานและผู้รับเหมาอย่างสม่ำเสมอ ตลอดทั้งนำสถานีการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาทักษะในการทำงานให้พนักงาน รู้จุดอันตราย และประเมินสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยได้
  • จัดทำรางวัลเกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่ยั่งยืน ภายใต้ชื่อ Safety and Health Sustainable Awards   รางวัลดังกล่าวเป็นการยกระดับและส่งเสริมให้แต่ละโรงงานของกลุ่มมิตรผลได้ร่วมกันบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อความยั่งยืน ด้วยการประเมินคะแนนจากผลสถิติความปลอดภัยและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และการบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งให้แต่ละพื้นที่ประเมินผลด้วยตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยแบ่งเป็นประเภทรางวัลออกเป็น 3 ประเภท สำหรับในปีนี้มีโรงงานที่ได้รางวัลเหรียญทอง 3 โรงงาน เหรียญเงิน 17 โรงงาน และเหรียญทองแดง 6 โรงงาน รวมทั้งหมด 26 โรงงาน 
  • จัดทำระบบ I-Contractors มาใช้ในโรงงาน เพื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ ของผู้รับเหมาที่จะเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ของโรงงาน โดยผู้รับเหมาจะทำการลงทะเบียนก่อนเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่โรงงาน ซึ่งการนำระบบนี้มาใช้ช่วยลดเวลาในการออกบัตรให้กับผู้รับเหมา และสามารถใช้ตรวจสอบข้อมูลอื่นๆ เช่น ข้อมูลการอบรมความรู้ความปลอดภัยให้กับผู้รับเหมา รวมทั้งการขออนุญาตทำงานเสี่ยง เปลี่ยนการจากใช้กระดาษ มาเป็นบนระบบแพลทฟอร์มของ I-contractors 
 
การจัดการ อาชีว อนามัย และความ ปลอดภัย ในการปฏิบัติงาน ช่วย ให้ ผลผลิต เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับ ข้อ ใด