ของเหลวแยกชั้น ความหนาแน่น

ของเหลวแยกชั้น ความหนาแน่น

กรวยแยก (

Separatory funnel)

กรวยแยก ใช้สำหรับการแยกสาร สารที่เป็นของเหลวและแยกคนละชั้น หรือมีขั้วต่างกัน เช่น น้ำกับน้ำมัน จะแยกชั้นกันอยู่ เนื่องจากน้ำมีขั้ว แต่น้ำมันไม่มีขั้ว ซึ่งกรวยแยกจะมีลักษณะเป็นกรวยให้เราใส่ของเหลวลงไป ของเหลวนั้นจะแยกชั้นกัน

คุณสมบัติ กรวยแยก (Separatory funnel) ยี่ห้อ GLASSCO

1.เนื้อแก้ว BOROSILICATE 3.3 มีคุณสมบัติหนา ทนความร้อน ทนแรงดันได้ดี

2.ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี (Chemical resistant)

3.แถบเขียนชื่อตัวอย่าง (White printing)

4.PTFE Stopcock

5.PE Stopper

6.ISO 4800 Standards

การใช้กรวยแยก (Separatory funnel) ตัวอย่างการทดลอง การใช้ กรวยแยก (Separatory funnel)

1.ก่อนใส่สารละลาย หรือตัวอย่างที่ต้องการแยกสาร ควรทากรีช (grease) บาง ๆ ที่จุกด้านบน (stopper) และที่ก๊อกปิดเปิด (stopcock) เพื่อให้หมุนง่ายและไม่รั่ว

2.ประกอบชุดตั้งกรวยแยก สำหรับวางกรวยแยก ประกอบด้วยห่วงวงแหวน (o-ring) ขนาด 3-4 นิ้ว และ ชุด Stand & Base ขนาด 60 เซนติเมตร (ในระดับอย่างเหมาะสม) 

3.เปิดจุกด้านบนใส่ของเหลวผสมและตัวทำละลาย เช่น เฮกเซน (hexane) ลงไป โดยปริมาณของเหลวไม่ควรเกิน 3 ใน 4 ส่วนของปริมาตรของกรวยแยก

4.ปิดจุกกรวยแยก ด้านบน ให้แน่น

5.เขย่ากรวยแยกให้ของเหลวทั้งสองชั้นผสมกันมากที่สุด ในการเขย่าจะมีแรงดันจากไอระเหยของตัวทำละลายซึ่งต้องปล่อยออกโดยการเอียงกรวยแยกให้ปลายเอียงขึ้น แล้วเปิดก๊อก เพื่อลดความดัน  ทำเช่นนี้ทุก ๆ 2-3 นาที ระหว่างการเขย่าซึ่งในการสกัดแต่ละครั้งควรเขย่าประมาณ 15-20 ครั้ง

6.วางกรวยแยกบนห่วงวงแหวน เปิดจุกออกปล่อยให้ของเหลวแยกชั้น บางครั้งอาจมีอิมัลชั่นเกิดขึ้นระหว่างชั้นของของเหลวทั้งสอง ซึ่งมีวิธีแก้ไขหลายวิธีดังนี้

6.1 ตั้งกรวยแยกในแนวดิ่ง เขย่าแกว่งเป็นวง

6.2 กวนอิมัลชันด้วยแท่งแก้วคน

6.3 ใส่สารละลายอิ่มตัวของโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ลงไป เพื่อไปแย่งที่การละลายในน้ำ ทำให้สารอินทรีย์ละลายน้ำได้น้อยลงและแยกตัวไปอยู่ในชั้นสารอินทรีย์

          ***วิธีนี้เรียกว่า salting out ถ้าลองทำหลายวิธีแล้วไม่ได้ผลควรเปลี่ยนตัวทำละลายในการสกัดใหม่

7.เปิดก๊อกปล่อยให้ของเหลวชั้นล่างไหลออก รองรับด้วยขวดรูปชมพู่หรือบีกเกอร์ แล้วแต่ความเหมาะสม ระมัดระวังช่วงรอยต่อระหว่างชั้นทั้งสองสำหรับของเหลวชั้นบนให้เทออกทางปากกรวยด้านบน

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : https://sites.google.com/site/khnadlaeaxnuphakhkhxngsar/home/kar-chi-krwy-yaek

เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนุกและช่วยความเข้าใจในเรื่องการ ลอยตัวของสาร



1. ใส่น้ำสะอาดลงในขวดประมาณครึ่งขวดแล้วหยดสีผสม อาหารลงไป 2-3 หยด เขย่าให้เข้ากัน 2. ใส่น้ำมันพืชลงในขวดประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ โดยใช้กรวยช่วย 3. ใส่แอลกอฮอล์ในขวดโดยใส่ทับลงไปบนชั้นของน้ำมัน สังเกต สิ่งที่เกิดขึ้น ว่าน้ำมันจะมีลักษณะอย่างไร 4. ค่อยๆ เติมแอลกอฮอล์ลงไป จนชั้นของน้ำมันกลายเป็นลูก กลมลอยอยู่กลางน้ำสี จึงหยุดเติม

ของเหลวแยกชั้น ความหนาแน่น


- เมื่อเติมน้ำมันพืชลงไป น้ำมันพืชไปอยู่ที่ใด เพราะเหตุใด - เมื่อเติมแอลกอฮอล์กับน้ำมันพืช มีอะไรเกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นมีลักษณะอย่างไร - น้ำกับแอลกอฮอล์ ผสมรวมกันได้หรือไม่


เมื่อเติมแอลกอฮอล์ลงไปบนน้ำมันพืช แอลกอฮอล์รวมกับน้ำได้และทำให้น้ำเบาขึ้น หรือจริง ๆ แล้วคือ มีความหนาแน่นน้อยลง น้ำที่ถูกผสมจึงลอยตัวขึ้นดันชั้นน้ำมัน ทำให้น้ำมัน ซึ่งขณะนี้หนักกว่าน้ำที่ผสมกับแอลกอฮอล์ จมลงในส่วนที่เป็นน้ำผสมแอลกอฮอล์ จากการที่น้ำมันถูกผลักดันทุกทิศทางด้วยแรงเท่าๆ กัน ทำให้น้ำมันมีลักษณะเป็นลูกกลม ดังที่เห็น

ที่มา: www.google.com

น้ำกับน้ำมันเมื่อผสมกันจะเกิดอะไรขึ้น

DaveHax | Sept. 9, 2016, 2:51 p.m.

เมื่อไหร่ที่เด็กๆ ได้ยินว่าจะทำการทดลองวิทยาศาสตร์ เด็กๆ จะตาลุกวาวขึ้นมาทันที เป็นเรื่องที่เด็กๆ จะตื่นเต้นกันมากๆ เพราะได้เห็นอะไรแปลกใหม่ แตกต่างไปจากที่คาดคิด วันนี้เรามาทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆ กันค่ะ โดยเราจะทดลองเรื่อง **ความหนาแน่น** ของน้ำ น้ำมัน น้ำตาลเชื่อม และวัตถุต่างๆ กันค่ะ เรามาดูกันว่าวัตถุแต่ละชนิดมีความหนาแน่นต่างกันอย่างไรค่ะ กิจกรรมนี้เด็กจะได้รู้จักเรื่องความหนาแน่น และความเกี่ยวข้องกันของน้ำหนัก ปริมาณ และความหนาแน่นของวัตถุค่ะ

ไอเดียสนุก สร้างพัฒนาการ

. การเรียนรู้: 5/5

. กล้ามเนื้อ: 4/5

. ภาษา: 4/5

. อารมณ์: 4/5


ระยะเวลา : น้อยกว่า 1 ชม.