บรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศ ศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับ อะไร

ขอถามเกี่ยวกับสาขา "บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์" ครับ

กระทู้คำถาม

แอดมิชชั่น มหาวิทยาลัย การเรียน การศึกษา ซอฟต์แวร์

1.สาขานี้ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรครับ และเรียนยากไหมครับ

2.ใช้โปรแกรมอะไรเป็นส่วนใหญ่ไหมครับ

3.คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าสาขานี้ต้องมีอะไรบ้างครับ ผมถนัดภาษาอังกฤษ กับชอบเล่นเกม อย่างนี้พอได้ไหมครับ

4.ถ้าจะเรียนพิเศษเกี่ยวกับสาขานี้ ต้องเรียนคอมพิวเตอร์ด้านเป็นหลักไหนครับ

5.เมื่อจบมาแล้ว จะหางานทำได้ไหมครับ และรายได้ประมาณเท่าไร

0

0

บรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศ ศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับ อะไร

สมาชิกหมายเลข 1984817

ความรู้

มารู้จัก สารสนเทศศาสตร์ – ที่หลายคนมักเข้าใจผิด

บรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศ ศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับ อะไร

สวัสดีค่ะนักอ่านทุกท่าน วันนี้เราจะมาสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์ที่เราเรียนจบมา นั่นคือ สารสนเทศศาสตร์ เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง และแน่นอนอีกหลาย ๆ คนอาจจะงง ๆ กับชื่อสาขาวิชานี้ว่าคืออะไร เรียนเกี่ยวกับอะไรกันแน่ จบออกมาแล้วทำงานสายไหนได้บ้าง วันนี้เราจึงอยากมาแชร์ประเด็นเหล่าดังกล่าวในมุมมองของรุ่นพี่คนหนึ่งที่จบการศึกษาจากศาสตร์วิชานี้ ให้กับน้อง ๆ ที่กำลังจะเข้ามหาวิยาลัยหรือผู้อ่านท่านอื่นที่สนใจและยังสงสัยกันอยู่ . . .


สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ 💁‍♀ อยู่ในศาสตร์ของศิลปศาสตรบัณฑิต จริง ๆ หลักสูตรนี้มีเปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอกในสถาบันอุดมศึกษาหลายที่เลยก็ว่าได้ค่ะ สำหรับบทความนี้เจ้าของบทความขอเล่าในส่วนของระดับปริญญาตรีนะคะ ซึ่งแต่ละสถาบันอาจจะมีหลักสูตรที่แตกต่างกันออกไปเล็กน้อย โดยส่วนใหญ่หลักสูตรนี้ถูกพัฒนามาจากหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ แต่ด้วยบริบทต่าง ๆ ทำให้ถูกพัฒนาและเปลี่ยนชื่อมาเป็นสารสนเทศศาสตร์นั่นเอง

บรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศ ศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับ อะไร

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับหมวดวิชาที่น้อง ๆ ต้องเจอ ทีนี้เรามาดูกันค่ะ ว่าสายอาชีพที่สามารถทำได้ มีอะไรที่ได้บ้าง . . . แน่นอนว่าหลาย ๆ ท่านอาจจะมองว่าต้องทำงานในห้องสมุดเท่านั้น ขอบอกเลยว่าไม่จริงเลยนะคะ เพราะปัจจุบันสายอาชีพสำหรับบัณฑิตจากศาสตร์นี้ค่อนข้างกว้างออกไปจากเดิมมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น 📣 นักสารสนเทศ นักวิเคราะห์เนื้อหา ผู้ดูแลระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ  นักออกแบบพัฒนาเว็บไซต์ นักปฏิบัติการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ นักออกแบบและพัฒนาสื่อสารสนเทศ นักออกแบบและพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ผู้สนับสนุนการใช้สารสนเทศภายในองค์กร เป็นต้น


ขอขอบคุณภาพประกอบบทความจาก Freepik :รูปหน้าปก(ซ้าย) / รูปหน้าปก(ขวา) / รูปภาพที่ 1 / รูปภาพที่ 2 / รูปภาพที่ 3 / รูปภาพที่ 4

ความคิดเห็น

บรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศ ศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับ อะไร

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์

     บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (Library and information science: LIS) (ที่มาวิกิพีเดีย สารนุกรมกรมเสรี) เป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดเก็บ สิ่งพิมพ์, ข้อมูล, และสื่อ ทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด รวมไปถึงการเรียนรู้ทางวิชาการ ในแง่ของทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ ว่าผู้ใช้ใช้ระบบห้องสมุดและระบบการเรียนรู้อื่น ๆ อย่างไร

     เป้าหมายหลักของ งานวิจัยด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มุ่งไปที่การจัดการองค์ความรู้ เพื่อการดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจรวมถึงหัวข้ออันได้แก่ การได้มา, การสร้างรายการชื่อ, การจัดหมวดหมู่, การเก็บรักษา, และ การดูแลข้อมูลและทรัพยากรห้องสมุด

     การศึกษาอีกแขนงหนึ่ง ที่ศึกษาเรื่องใกล้เคียงกัน แต่ได้พัฒนาไปอีกทาง คือ การศึกษาโครงสร้างของข้อมูล และ ทฤษฎีข้อมูล (Information Theory) ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับแนวคิดของข้อมูลสารสนเทศ

     วิทยาการสารสนเทศ, สารสนเทศศาสตร์, สารนิเทศศาสตร์ หรือ ศาสตร์สารสนเทศ (อังกฤษ: information science หรือ informatics) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีสารสนเทศ ตั้งแต่การรับรู้, การทำความเข้าใจ, การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, การเก็บ, การค้นคืน, การสื่อสาร สารสนเทศอย่างเป็นระบบ. ในการศึกษาด้านวิทยาการสารสนเทศนั้น มีความจำเป็นต้องศึกษาวิชาในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ด้วยเนื่องจากใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำหรับประมวลผลสารสนเทศ

     วิทยาการสารสนเทศนั้นยังสนใจกระบวนความคิดและสารสนเทศในเชิงประยุกต์ด้วย เช่น เรื่องของสารสนเทศในสิ่งมีชีวิตในวิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา (cognitive science) ซึ่งศึกษากระบวนความคิดและการทำงานของสมองของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างการประยุกต์สารสนเทศศาสตร์ อื่น ๆ เช่น ชีวสารสนเทศศาสตร์ ในกรณีนี้คือการศึกษาสารสนเทศทางชีววิทยา หรือ การศึกษาด้านสารสนเทศศาสตร์ที่เกี่ยวกับการส่งสารสนเทศไปยังผู้รับสารด้วย ซึ่งคือบางส่วนของนิเทศศาสตร์

     จากข้อมูลข้างต้นทำให้ทราบว่า สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ ประกอบด้วยสองแขนงวิชาคือ บรรณารักษศาสตร์และ สารสนเทศศาตร์ ซึ่งหลายๆ ท่านอาจมองผิวเผินเพียงว่าเรียนสาขานี้แล้ว คงทำได้แค่เป็นบรรณารักษ์เท่านั้น แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว มีการปรับปรุงให้ผู้ที่ศึกษาในสาขาฯ นี้สามารถนำเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในการจัดการข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      ดังนั้นผมจึงอยากเรียนให้ทราบว่าสำหรับผู้ที่สนใจศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยี  การจัดการความรู้  การจัดการทรัพยาการสารสนเทศ สามารถเข้ามาศึกษาในสาขาวิชานี้ได้  และจบไปไม่ใช่แค่เพียงจะเป็นบรรณารักษ์ ทำงานในห้องสมุดอย่างเดียวเท่านั้น  ท่านสามารถไปอยู่ในหน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ ได้อีกเยอะแยะมากมาย

สารสนเทศและบรรณารักษศาสตร์ ทำงานอะไร

อาชีพที่สามารถประกอบได้ บรรณารักษ์ / นักสารสนเทศ / นักจดหมายเหตุ / นักวิชาการสารสนเทศ / เจ้าหน้าที่บริการสารสนเทศ ผู้จัดการสารสนเทศบนเว็บ / นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ / ผู้ดูแลเว็บไซต์ นักวิจัยสารสนเทศ / ผู้ช่วยนักวิจัย / ผู้ให้คำปรึกษาด้านสารสนเทศ

บรรณารักษ์เรียนเกี่ยวกับอะไร

บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (อังกฤษ: Library and information science: LIS) เป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดเก็บ สิ่งพิมพ์, ข้อมูล, และสื่อ ทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด รวมไปถึงการเรียนรู้ทางวิชาการ ในแง่ของทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ ว่าผู้ใช้ใช้ระบบห้องสมุดและระบบการเรียนรู้อื่น ๆ อย่างไร

สารสนเทศ มช เรียนเกี่ยวกับอะไร

เรียนเกี่ยวกับ วิชาเอกก็จะประกอบด้วยหลากหลายวิชาที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล อาทิสารสนเทศกับสังคม แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ การวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เครือข่ายห้องสมุดกับการเรียนรู้ การจัดเก็บการค้นคืนสารสนเทศ การจัดการฐานข้อมูล

สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คืออะไร

สารสนเทศศาสตร์ หรือสารนิเทศศาสตร์ คือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาลักษณะและการจัด การกับสารสนเทศ ซึ่งมีกระบวนการหลายขั้นตอนนับตั้งแต่การคัดเลือกสารสนเทศ รวบรวมจัด หมวดหมู่ จัดทำเครื่องมือเก็บเนื้อหาเพื่อการค้นคว้ามาใช้จัดระบบของกระบวนการอย่างถูกวิธี โดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยและให้บริการถึงตัวผู้ใช้ตามความต้องการในเวลาที่ผู้ใช้ ...