คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภาษาไทย จบมาทํางานอะไร

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภาษาไทย จบมาทํางานอะไร

บทความนี้คัดลองมา  จาก  Pantip.com   เห็นว่ามีประโยชน์อย่างมหาศาลสำหรับคนจะเลือกเรียนเอกภาษาไทย


Q  =  จบเอกภาษาไทย จะมีหวังได้เงินเดือนสูงๆกะเขามั่งมั้ย แบบว่าสัก10,000-15,000ประมาณเนี้ย ไม่อยากได้แค่8,000-9,000น่ะค่ะ แนะนำหน่อยว่าทำอาชีพอะไรดี


A = เป็นครูสอนภาษาไทย..

มันขึ้นอยู่กับวิชาข้างในที่คุณจะเลือกเรียนด้วยครับมาหลากหลาย

ผมจบวิชาโทเป็นภาษาไทย 30 หน่วยกิต..
ผมเลือกแต่วิชาที่เกี่ยวกับการเขียนทั้งสารคดี การเขียนแบบสร้างสรรค์ การเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย บทความ..คล้ายกับนิเทศน์ แต่ก็จะมีส่วนลึกกว่า พวกกลอน วรรณคดี
หลักหรือรากของภาษาครับ..


A =  ครูลิลลี่ ไม่ได้จบเอกภาษาไทย(จบนิเทศฯ) แต่สอนภาษาไทย ไม่ทราบเดือนนึงได้กี่บาทนะครับ
 


A =   มีญาติคนหนึ่งเรียนจบโทภาษาไทย ตอนนี้เงินเดือนเป็นแสนแล้ว ทำอาชีพเป็นครูสอนภาษาไทยอยู่สิงคโปร์ บินกลับบ้านได้ทุกเดือน เหมือนอยู่ต่างจังหวัด แต่ก็ต้องเก่งอังกฤษด้วยนะ
 


A =  ขอแนะนำอีกอาชีพครับ
ก่อนนั้นไม่ชอบภาษาไทย
แต่ชอบเขียนเรื่องสั้น
จึงได้ศึกษาการใช้ภาษาอย่างถูกต้องไปโดยปริยาย

ต่อมาได้ฝึกฝนการเขียนมากขึ้น
ทำงานเป็นบรรณาธิการหนังสือระยะหนึ่ง
รายได้ก็หมื่นต้นๆ ถึงกลางๆ (แต่มีรายได้เสริมจากงานเขียนวรรณกรรมลงหนังสือ)

และต่อมา ฝึกฝนเขียนข่าว เขียนคำโฆษณา
ทำงานเป็น Copy-Writer

รายได้ประจำมากกว่าที่คุณแต๊แนวคาดหวังหนึ่งเท่า
(ไม่รวมรายได้เสริมอื่น)

แนะนำว่า เก่งภาษาไทยแล้วศึกษาเรื่องวรรณกรรม
ก็จะช่วยได้มากครับ โดยเฉพาะการมีงานหลักที่ผมทำ
และงานเสริม บรรณาธิการหนังสือ แต่ต้องฝึกฝน
เรืองสำนวนภาษา และต้องรักการอ่านมากๆ ครับ


A =   เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เงินเดือนจะเริ่มที่ประมาณ 14,000 - 15,000 บาท

รับสอนพิเศษ ให้นักเรียนก็รายได้ดี ทั้งที่ประจำถามสถาบันต่าง ๆ และที่รับเอง

คิดดู 1 เทอม มี 3-4 เดือน รับสอนให้เด็กกลุ่มสัก 10 -15 คน สัก 2 กลุ่มต่อเทอม คิดหัวถูก ๆ หัวละ 2,000 -2,500 บาท 1 ปี มี 2 เทอม ก็ได้โขอยู่นะ แต่ต้องสอนดีจริงนะ ถึงจะมีลูกค้าปากต่อปาก ต่อเนื่อง

นอกจาเป็นครุแล้ว ก็ทำอย่างอื่นได้อีกเยอะ อาจใช้วิชาโทที่เลือกด้วย หรือใช้ความสนใจส่วนตัวของตน เช่น เขียนวรรณกรรม สารคดี บทละคร

ประเด็นคือ คุณต้องอดทน ฝึกฝน และหมั่นหาความรู้เพิ่มเติมเสมอครับ


A  =   ถ้าจบเอกไทย แล้วคิดว่าตัวเองสร้างสรรค์พอ ขอแนะนำให้เป็น Copy writer ในเอเจนซี่โฆษณา และพัฒนาตัวเองให้กลายเป็น ครีเอทีฟ ในที่สุด ...


A  =   ผมจบเอกไทย รามคำแหง เกรด แค่สองกว่าๆ
เป็นครูจ้างรร.ไทย อยู่ปีกว่าๆ ตอนนี้เป็นอาจารย์พิเศษมหาลัยเอกชน สอนเด็กต่างชาติ แล้วหาสอนพิเศษอื่นๆ แล้วได้เรียนต่อ ปโท ที่ มศว ก็ภูมิใจ รายได้พอมีพอกิน มีความสุข ...ถ้าภูมิใจกับสิ่งที่ได้เรียนได้ทำ แล้วทำด้วยความรักจริงๆ ผมว่าอดทนสักหน่อยก็จะได้สิ่งดีๆน่ะครับ ผมเคยโดนดูถูก เพราะจบเอกไทย ที่รามคำแหง
ไม่มีวันสู้อักษรจุฬา ศิลศาสตร์ มธ ได้หรอก ตอนแรกแอบน้อยใจ ...เวลาผ่านไป ตอนนี้ผมไม่คิดสู้ใครเลย สู้กับตัวเองมากๆๆๆ ได้ทำสิ่งที่ตัวเองรัก แล้วก็ทำได้ดีเท่าที่ความสามารถจะมีให้คนอื่นๆเห็น ...แค่นี้ผมก็พูดให้ใครๆฟังด้วยความภูมิใจว่า ผมเด็กมนุษย์ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทย มอรามฯ คร๊า.......บบบบบบบ


สุดท้ายกราบขอบพระคุณ พี่พี่ทุกคน ใน pantip  สำหรับประสบการณ์ดีดีที่ร่วมแบ่งปัน

Credit http://pantip.com/

  1. Home
  2. Global
  3. อาชีพของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • อาจารย์ตามสถาบันการศึกษาหรือนักวิจัย น้อง ๆ ที่มีความถนัดหรือความสามารถเฉพาะทางตามสาขาด้านคณะมนุษยศาสตร์ที่จบมา สามารถไปทำงานอาจารย์สอนในสาขาวิชานั้น ๆ ตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ หรือเป็นนักวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องกับมานุษยวิทยาได้
  • ล่ามและนักแปล ผู้ที่มีความชอบและความถนัดด้านภาษา เมื่อได้ฝึกฝนและหมั่นพัฒนาทักษะทางภาษาอยู่เสมอจะสามารถประกอบอาชีพเป็นนักแปลหนังสือ เป็นล่ามตามหน่วยงานรัฐบาลและเอกชน หรือทำเป็นอาชีพอิสระได้
  • นักเขียน หากน้อง ๆ มีใจรักในการเขียน ยิ่งจบคณะมนุษยศาสตร์หรือคณะที่เกี่ยวข้องมาด้วยแล้ว น้อง ๆ จะมีความเข้าใจในความแตกต่างของคน และมีความรู้พื้นฐานในประวัติความเป็นมาต่าง ๆ และด้วยนิสัยที่ชอบค้นคว้า นิสัยนักอ่านที่ถูกปลูกฝังขณะเรียน ประกอบกับความสามารถในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิดและจินตนาการ จะทำให้น้อง ๆ เป็นนักเขียนที่ดีได้เลยทีเดียว
  • ไกด์หรือพนักงานโรงแรม หากเรียนจบสาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม และมีใจรักในงานบริการ งานมัคคุเทศก์นำเที่ยว หรืองานโรงแรมก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจ
  • รับราชการ ผู้ที่เรียนจบคณะมนุษยศาสตร์สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานราชการ กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ได้ เช่น กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น
  • ทำงานกับเอกชนต่างชาติ ข้อได้เปรียบของผู้ที่เรียนจบคณะมนุษยศาสตร์ หรือคณะอักษรศาสตร์คือความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ยิ่งประเทศเรากำลังก้าวเข้าสู่ AEC ด้วยแล้ว งานใด ๆ ที่ต้องใช้ความสามารถทางภาษาในการติดต่อกับชาวต่างชาติ ทั้งงานล่าม งานอิมพอร์ต/ เอ็กซปอร์ต หรืองานติดต่อประสานงาน น้อง ๆ สามารถสมัครเข้าทำงานได้ทั้งสิ้น ขอเพียงมีความถนัด คล่องแคล่ว มีความรู้รอบตัว ก็จะสามารถทำงานร่วมกับชาวต่างชาติได้
  • เลขานุการ การเรียนมนุษยวิทยาคือการศึกษาเกี่ยวกับผู้คน งานเลขานุการจึงเป็นงานเกี่ยวกับคนที่สำคัญ ถือเป็นผู้ช่วยของผู้บริหารระดับต่าง ๆ ในองค์กร ถือเป็นหนึ่งหน่วยที่แบ่งเบาภาระของผู้บริหาร และทำให้องค์กรดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
  • แอร์โฮสเตสและสจ๊วต เรียนจบคณะนี้มาสามารถทำงานการบิน เป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินได้ เพราะได้ใช้ความสามารถทางภาษาและเป็นงานบริการผู้คนที่มีเกียรติงานหนึ่ง
  • นักจิตวิทยา ผู้ที่เรียนจบคณะมนุษยวิทยา หรือคณะจิตวิทยาสามารถประกอบอาชีพเป็นนักจิตวิทยาที่จะให้คำปรึกษากับบุคคล หรือองค์กรได้
  • นักประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์จะเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญ ศึกษาและวิจัย รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของบุคคล สถานที่ ประเทศ และเหตุการณ์ต่าง ๆ
  • นักโบราณคดี นักโบราณคดีจะศึกษาประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในแง่กายภาพ โดยศึกษาจากหลักฐานต่างๆ ที่ถูกค้นพบ เพื่อให้เข้าใจที่มาของมนุษย์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • บรรณารักษ์ เรียนมนุษยศาสตร์สมัครงานอะไร บรรณารักษ์ คือ ผู้ที่มีอาชีพในการจัดการข้อมูลในด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ บรรณารักษ์จะทำงานตามห้องสมุดของหน่วยงาน องค์กร และสถาบันต่างๆ
  • งานด้านสื่อสารมวลชน ด้วยความสามารถทางภาษาและความรู้ความเข้าใจในมนุษย์ ทำให้ผู้ที่เรียนจบคณะมนุษยศาสตร์จะใช้ภาษาและความรู้ที่ได้จากการเรียนในการสื่อสารกับผู้อื่นได้ โดยสามารถเป็น copywriter นักข่าว ผู้ประกาศข่าวได้

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภาษาไทย จบมาทํางานอะไร

© 2019, TCASter. All rights reserved

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภาษาไทย ทำงานอะไร

แนวทางการประกอบอาชีพ.
ข้าราชการ.
นักเขียนบทโฆษณา.
ครูอาจารย์.
นักอ่านบทโฆษณา.
นักวิจัยภาษา.
บรรณาธิการ.
นักแปล.
นักเขียน.

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จบไปทำงานอะไร

สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาและความเข้าใจด้านวัฒนธรรมได้หลากหลายประเภทดังนี้ 1. สายวิชาการ เช่น ครู อาจารย์ ผู้ช่วยวิจัย 2. สายบริการ เช่น มัคคุเทศก์ เลขานุการ แอร์โฮสเตส พนักงานต้อนรับ 3. สายงานธุรกิจ เช่น ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้แทนฝ่ายขาย

สาขาภาษาไทย เรียนอะไร

พี่ขอบอกเลยว่าเรียนสาขาวิชาภาษาไทยไม่ได้กล้วย ๆ อย่างที่คิด !! ส่วนใหญ่เน้น 2 สายหลัก ๆ คือ สายภาษา เน้นภาษาศาสตร์ บาลี สันสกฤต หรือภาษาเขมร ฯลฯ ส่วนสายวรรณกรรม/วรรณคดี ก็จะเน้นตั้งแต่ความรู้พื้นฐานจนถึงขั้นเจาะลึก ทั้งวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ ตีความ ฯลฯ แถมคนเรียนสายนี้ต้องมีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ด้วยนะ ...

เรียนเอกอิ้ง ทํางานอะไรได้บ้าง

แนวทางการประกอบอาชีพ สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน เช่น เป็นนักแปล ล่าม พนักงานสายการบิน เลขานุการ พนักงานฝ่ายต่างประเทศ พนักงานบริษัท พนักงานประชาสัมพันธ์ พนักงานต้อนรับ มัคคุเทศก์ อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ และอาชีพอื่นฯ ที่เกี่ยวข้อง