ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ppt

หน่วยที่ 2
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ครูทิตยา พลขีดขีน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1. ระบุองค์ประกอบหลักของระบบคอมพิวเตอร์ได้

2. อธิบายความหมายของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร ข้อมูล/สารสนเทศ กระบวนการทำงานได้

3. สามารถจำแนกประเภทของฮาร์ดแวร์ได้

4. สามารถจำแนกประเภทของซอฟต์แวร์ได้

5. สามารถจำแนกระดับของบุคลากรได้

6. สามารถยกตัวอย่างกระบวนการทำงานได้

อ่านทำความเข้าใจ

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

มี 5 ส่วน ดังนี้

  • ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
  • ซอฟต์แวร์ (Software)
  • บุคลากร (People ware)
  • ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
  • กระบวนการทำงาน (Procedure)

บุคลากร
(ผู้ใช้)

ข้อมูล/ สารสนเทศ

เอกสาร/ กระบวนการ

ฮาร์ดแวร์

ซอฟต์แวร์

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น

ฮาร์ดแวร์

ฮาร์ดแวร์แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน

ได้ 4 หน่วย คือ

1. หน่วยรับข้อมูล ( input unit )

เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่รับข้อมูล หรือคำสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์นำข้อมูลหรือคำสั่งดังกล่าวไปยังหน่วยประมวลผลกลางต่อไป เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ แสกนเนอร์ ไมโครโฟน กล้องดิจิตัล

แสกนเนอร์

เครื่องอ่านบาร์โค้ด

จอยสติก

แป้นพิมพ์

ไมโครโฟน

เมาส์

2. หน่วยประมวลผลกลาง
(central processor unit ) หรือ CPU


เป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดเปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ประมวลผลข้อมูล และควบคุมระบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์

3. หน่วยแสดงผล (output unit )

เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลกลางไปแสดง เช่น

  • จอภาพ
  • เครื่องพิมพ์
  • ลำโพง

เครื่องพิมพ์แบบจุด

เครื่องพิมพ์พ่นหมึก

เครื่องพิมพ์เลเซอร์

เครื่องฉายโปรแจคเตอร์

เครื่องพอทเตอร์

จอภาพ

ลำโพง

4. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )

คือ สื่อในการเก็บบันทึกข้อมูล เช่น

  • Hard disk
  • CD-ROM
  • DVD
  • Floppy disk (ไม่ใช้แล้ว)
  • Flash drive

แผ่นดิสก์เก็ต ขนาด 5.25 นิ้ว 1.2 MB

แผ่นดิสก์เก็ตขนาด 3.5 นิ้ว 1.44 MB

แฟรชไดรฟ์ 4 - 64 GB

แผ่นซีดี

แผ่นดีวีดี

ฮาร์ดดิสก์

2.ซอฟต์แวร์ (Software)

หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์เป็นส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม)

ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )

ซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป เช่น DOS, Windows, Unix, Linux

คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ

จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ

2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น

2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เช่น MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น

ภาพแต่งด้วยโปรแกรม Photoshop

ภาพแต่งด้วยโปรแกรม Photoshop

ภาพแต่งด้วยโปรแกรม Photoshop

ภาพแต่งด้วยโปรแกรม Photoshop

3.บุคลากร (People ware)

หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ

แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้

1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) 

คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน

2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) 

คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) 

คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้

4. ผู้ใช้ (User) 

คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

4. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)

ข้อมูล (Data)
        หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่าง ๆ โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

สารสนเทศ (Information)
หมายถึง ข้อมูลต่าง ๆ ได้ผ่านการประมวลผลและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา

แผนภูมิ แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลและสารสนเทศ

คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี มีประโยชน์

  • มีความสัมพันธ์กัน (relevant) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
  • มีความทันสมัย (timely) ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
  • มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate) เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้ต้องถูกต้องในทุกส่วน
  • มีความกระชับรัดกุม (concise) ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
  • มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete) ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน

5. กระบวนการทำงาน (Procedure)


หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้

    1. จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
  2. สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
  3. เลือกรายการ
  4. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
  5. รับเงิน

  6. รับใบบันทึกรายการ และบัตร

จบเนื้อหาหน่วยที่ 2

พบกันใหม่ในหน่วยต่อไป