บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง 8 กลุ่มสาระ doc

แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย

  1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 
  2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 
  3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  
  4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 
  5. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 
  6. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 
  7. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
  8. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย

  1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 
  2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 
  3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  
  4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 
  5. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 
  6. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 
  7. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
  8. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

  • ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
  • เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
  • ความพอประมาณ
  • ความมีเหตุผล
  • การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

เว็บไซต์ปันสื่อฟรีดอทคอม ขอนำเสนอ ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ บูรณาการเศรษฐกิจ พอเพียง ไฟล์ Word สามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์ด้านล่างเลยครับ

ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง 8 กลุ่มสาระ doc
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียง

บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง 8 กลุ่มสาระ doc
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร

“เศรษฐกิจ พอเพียง” 
เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต
แก่ พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรง
เน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

ความพอประมาณ

คือ การดำรงชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งเราควรจะมีความพอประมาณทั้งการหารายได้ และพอประมาณในการใช้จ่าย ความพอประมาณในการหารายได้ คือ ทำงานหารายได้ด้วยช่องทางสุจริต ทำงานให้เต็มความสามารถ
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่วนความพอประมาณในการใช้จ่าย หมายถึง การใช้จ่ายให้เหมาะกับฐานะความเป็นอยู่ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเกินตัว และในขณะเดียวกัน ก็ใช้จ่ายในการดูแลตนเอง และครอบครัวอย่างเหมาะสม
ไม่อยู่อย่างลำบาก และฝืดเคืองจนเกินไป

ความมีเหตุผล

ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจ หรือการดำรงชีวิตประจำวัน เราจำเป็นต้องมีการตัดสินใจตลอดเวลา ซึ่งการตัดสินใจที่ดี ควรตั้งอยู่บนการไตร่ตรองถึงเหตุ รวมทั้งคำนึงถึงผลที่อาจตามมาจากการตัดสินใจอย่างรอบคอบ
ไม่ใช่ตัดสินใจตามอารมณ์ หรือจากสิ่งที่คนอื่นบอกมาโดยปราศจากการวิเคราะห์

การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

คือ การเตรียมตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง ในโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน ทั้งสภาพลม ฟ้า อากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำเกษตร การเปลี่ยนแปลงในบริษัทคู่ค้า การเลิกจ้างพนักงานในบริษัทใหญ่ หรือแม้แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศที่มีผลต่อการลงทุน เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง และตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ เช่น เตรียมแผนสำรองสำหรับแต่ละสถานการณ์ การมีรายได้หลายทางเพื่อลดความเสี่ยงในวันที่ถูกเลิกจ้าง หรือการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

โดยการดำรงชีวิตตามหลักการทั้งสามข้อนั้น จำเป็นต้องมีความรู้และคุณธรรมประกอบด้วย ความรู้ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม เช่น ความรู้ในการประกอบวิชาชีพช่วยให้ธุรกิจและการงานเจริญก้าวหน้า หรือความรู้ในการลงทุนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้นักลงทุน ทั้งนี้ ความรู้และประสบการณ์ จะช่วยทำให้เราตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ถึงแม้ว่า พื้นฐานความคิดและประสบการณ์ที่แตกต่างกันอาจทำให้เหตุผลของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน แต่หากทุกคนยึดมั่นอยู่ในหลักคุณธรรม ก็จะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่างสงบสุข

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น การพึ่งพาตัวเองได้เป็นเพียงส่วนเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจ พอเพียง โดยเมื่อทุกคนสามารถดูแลตัวเอง และครอบครัวได้แล้ว ขั้นต่อไปอาจทำการพัฒนาธุรกิจ โดยมีการรวมกลุ่มกันในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการรวมกลุ่มกันนั้น ไม่จำกัดเฉพาะการรวมกลุ่มของชาวบ้าน เกษตรกร ในรูปของสหกรณ์ การทำงานในเมืองก็สามารถมีการรวมกลุ่มกันได้ เช่น การแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ในการทำธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน การแลกเปลี่ยนแนวคิดการลงทุน เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ รวมไปจนถึงการแบ่งปันความช่วยเหลือส่งกลับคืนสู่สังคม ไปสู่กลุ่มที่ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ เช่น กิจกรรมจิตอาสา เพื่อสร้างสังคมที่เข้มแข็งและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

จะเห็นได้ว่า แนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียงนั้น เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท ด้วยการใช้ความรู้และคุณธรรม เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตัวเองได้ และเผื่อแผ่ไปถึงสังคม ซึ่งเราสามารถนำหลักการปฏิบัติไปปรับใช้ได้ทั้งในชีวิตการทำงาน และการดำรงชีวิตครับ

ขอขอบคุณที่มา :: ครูมาแล้ว