แผนการ สอนแบบสืบเสาะ หาความ รู้ 5e ภาษาไทย

รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycles (5Es)


แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycles (5Es) มีอะไรบ้าง

                    1. ปรัชญาวิทยาศาสตร์แนวใหม่ คือ ความรู้วิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากการสรรสร้างของแต่ละบุคคล ซึ่งมีอิทธิพลมาจากความรู้เดิม และสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของสังคม

                    2. แนวคิดของเพียเจต์ (Piaget) เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิด คือ การที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด และการมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมนี้มีผลทำให้ระดับสติปัญญา และความคิดมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางสติปัญญาและความคิดมี 2 กระบวนการ คือ การปรับตัว (adaptation) และการจัดระบบโครงสร้าง (organization) การปรับตัวเป็นกระบวนการที่บุคคลหาหนทางที่จะปรับสภาพความไม่สมดุลย์ทางความคิดให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัว และเมื่อบุคคลัมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว โครงสร้างทางสมองจะถูกจัดระบบให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม มีรูปแบบของความคิดเกิดขึ้น กระบวนการปรับตัวประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ 2 ประการ คือ

                          1) กระบวนการดูดซึม (assimilation) หมายถึง กระบวนการที่อินทรีย์ซึมซาบประการณ์ใหม่ เข้าสู่ประสบการณ์เดิมที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน แล้วสมองก็รวบรวมปรับเหตุการณ์ใหม่ให้เข้ากับโครงสร้างของความคิดอันเกิดจากการเรียนรู้ที่มีอยู่เดิม 


                          2) กระบวนการปรับขยายโครงสร้าง (accomodation) เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากกระบวนการดูดซึม คือภายหลังจากที่มีการซึมซาบของเหตุการณ์ใหม่เข้ามา และปรับเข้าสู่โครงสร้างเดิมแล้ว ถ้าปรากฎว่าประสบการณ์ใหม่ที่รับเข้ามามีสมบัติเหมือนกับประสบการณ์เดิม ประสบการณ์ใหม่จะถูกซึมซาบและปรับเข้าหาประสบการณ์เดิม คือ ทำให้ประสบการณ์เดิมมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถปรับปรับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับการซึมซาบเข้ามา ให้เข้ากับประสบการณ์เดิมได้ สมองก็จะสร้างโครงสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อปรับให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่นั้น
 
                    3. ทฤษฎีการเสริมสร้างความรู้ (constructivism) ซึ่งเชื่อกันว่านักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างมาแล้วไม่มากก็น้อย ก่อนที่ครูจะจัดการเรียนการสอนให้เน้นว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นด้วยตัวของผู้เรียนรู้เอง และการเรียนรู้เรื่องใหม่จะมีพื้นฐานมาจากความรู้เดิม ดังนั้น ประสบการณ์เดิมของนักเรียนจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง กระบวนการเรียนรู้ (process of learning) ที่แท้จริงของนักเรียนไม่ได้เกิดจากการบอกเล่าของครูหรือนักเรียนเพียงแต่จดจำแนวคิดต่างๆ ที่มีผู้บอกให้เท่านั้น แต่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎี constructivism เป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้น เสาะหา สำรวจตรวจสอบ และค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใดๆ มาเผชิญหน้า ดังนั้น การที่นักเรียนจะสร้างองค์ความรู้ได้ ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการสืบเสาะความรู้ (Inquiry Process)

                    นักการศึกษากลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Study) ได้นำวิธีการสอนแบบ Inquiry มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเสนอขั้นตอนในการเรียนการสอนเป็น 5 ขั้นตอน เรียกว่า การเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle หรือ 5Es ได้แก่ Engage Explore Explain Elaborate และ Evaluate

แผนการ สอนแบบสืบเสาะ หาความ รู้ 5e ภาษาไทย


 

แผนการ สอนแบบสืบเสาะ หาความ รู้ 5e ภาษาไทย


 สาขาชีววิทยา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จึงต้องการศึกษารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนากระบวนการคิดระดับสูง วิชาชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จึงพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในแต่ละขั้นตอนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5Es) ซึ่งมีขอบข่ายรายละเอียด ดังนี้

                    1. การสร้างความสนใจ (Engage) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัยหรือความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนมารู้มาแล้วเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา ในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจะจะจัด กิจกรรมหรือสถานการณ์เพื่อกระตุ้น ยั่วยุ หรือท้าทายให้นักเรียนตื่นเต้น สงสัย ใครรู้ อยากรู้อยากเห็น หรือขัดแย้ง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา การศึกษาค้นคว้า หรือการทดลอง แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือปัญหาที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะศึกษา ทำได้หลายแบบ เช่น สาธิต ทดลอง นำเสนอข้อมูล เล่าเรื่อง/เหตุการณ์ ให้ค้นคว้า/อ่านเรื่อง อภิปราย/พูดคุย สนทนา ใช้เกม ใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ สร้างสถานการณ์/ปัญหาที่น่าสนใจ ที่น่าสงสัยแปลกใจ

                    2. การสำรวจและค้นคว้า (Explore) นักเรียนดำเนินการสำรวจ ทดลอง ค้นหา และรวบรวมข้อมูล วางแผนกำหนดการสำรวจตรวจสอบ หรือออกแบบการทดลอง ลงมือปฏิบัติ เช่น สังเกต วัด ทดลอง รวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฎการณ์ต่างๆ

                    3. การอธิบาย (Explain) นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและค้นหามาวิเคราะห์ แปลผล สรุปและอภิปราย พร้อมทั้งนำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจเป็นรูปวาด ตาราง แผนผัง ผลงานมีความหลากหลาย สนุบสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือโต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำหนดไว้ โดยมีการอ้างอิงความรู้ประกอบการให้เหตุผลสมเหตุสมผล การลงข้อสรุปถูกต้องเชื่อถือได้ มีเอกสารอ้างอิงและหลักฐานชัดเจน

                    4. การขยายความรู้ (Evaborate)

                        4.1 ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ลึกซื้งขึ้น หรือขยายกรอบความคิดกว้างขึ้นหรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่ความรู้ใหม่หรือนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า ทดลอง เพิ่มขึ้น เช่น ตั้งประเด็นเพื่อให้นักเรียน ชี้แจงหรือร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซักถามให้นักเรียนชัดเจนหรือกระจ่างในความรู้ที่ได้หรือเชื่อมโยงความรู้ที่ได้กับความรู้เดิม

                        4.2 นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น อธิบายและขยายความรู้เพิ่มเติมมีความละเอียดมากขึ้น ยกสถานการณ์ ตัวอย่าง อธิบายเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เป็นระบบและลึกซึ้งยิ่งขึ้น หรือสมบูรณ์ละเอียดขึ้น นำไปสู่ความรู้ใหม่หรือความรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในเรื่องอื่นหรือสถานการณ์อื่นๆ หรือสร้างคำถามใหม่และออกแบบการสำรวจ ค้นหา และรวบรวมเพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่

                    5. การประเมิน (Evaluate)
                        5.1 นักเรียนระบุสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งด้านกระบวนการและผลผลิต

                        5.2 นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องของความรู้ที่ได้ เช่น วิเคราะห์วิจารณ์แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน คิดพิจารณาให้รอบคอบทั้งกระบวนการและผลงาน อภิปราย ประเมินปรับปรุง เพิ่มเติมและสรุป ถ้ายังมีปัญหา ให้ศึกษาทบทวนใหม่อีกครั้ง อ้างอิงทฤษฎีหรือหลักการและเกณฑ์ เปรียบเทียบผลกับสมมติฐาน เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิม

                        5.3 นักเรียนทราบจุดเด่น จุดด้อยในการศึกษาค้นคว้า หรือทดลอง
                    มาถึงตอนนี้เราก็ทราบทั้งเรื่องเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ครานี้ก็มาถึงเรื่องสำคัญที่จะเป็นกระจกสะท้อนให้เกิดการพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กไทย เรื่องสำคัญที่ว่าก็คือ

 ผลการวิจัย

                    1. กระบวนการเรียนการสอน ขั้นตอนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ 5Es ส่วนมากครูดำเนินการในชั้นตอนการสร้างความสนใจ (Engage) การสำรวจและค้นหา (Explore) การอธิบาย (Explain) ส่วนขั้นตอนการขยายความรู้ (Elaborate) และการประเมินผล (Evaluate) ครูดำเนินการน้อยมาก การเรียนการสอนส่วนมากบทบาทอยู่ที่ครู โดยครูเป็นผู้นำอภิปรายตั้งคำถามให้นักเรียนตอบ ใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนสงสัยใคร่รู้และคิด แต่คำถามส่วนมากเป็นคำถามวัดความจำ และความเข้าใจ และใช้วิธีสอนแบบแก้ปัญหาโดยอ้อม กิจกรรมการเรียนการสอนส่วนมากเป็นกิจกรรมให้คิดและปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดให้ และให้นักเรียนปฏิบัติงานกลุ่มโดยมีครูเป็นที่ปรึกษาชี้แนะ กระตุ้น

                    2. ความสามารถในการใช้ความคิดระดับสูงของนักเรียน ระหว่างการเรียนการสอน นักเรียนไม่ได้แสดงออกถึงความสามารถในการอธิบายให้ชัดเจน หรือให้เหตุผลในการตอบหรือลงข้อสรุปผลการสังเกตหรือทดลองอย่างสมเหตุสมผล หรือไม่ได้อภิปรายผลการทดลองและมักจะตอบสั้นๆ ไม่ครบประเด็น และผลการทดสอบก่อนและหลังสอน พบว่า ความสามารถในการคิดวิจารณญาน นักเรียนส่วนมากยังคงมีความคิดวิจารณญานอยู่ในระดับการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเชิงระบบอย่างมีเหตุผล รองลงมานักเรียนพัฒนาขึ้นเป็นระดับการคาดคะเน หรือคาดเดาอย่างสมเหตุสมผล ความสามารถในการแก้ปัญหานักเรียนส่วนมากยังไม่เข้าใจปัญหาและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนลดลงจากเดิม และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์หลังจากได้รับการสอนแล้วนักเรียนส่วนมากมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับการระดมความคิด และเมื่อพิจารณาระดับการพัฒนา พบว่านักเรียนส่วนมากมีความคิดสร้างสรรค์พัฒนาขึ้นจากระดับเดิม และจากการวิเคราะห์คำตอบของนักเรียนจากแบบทดสอบ พบว่า นักเรียนส่วนมากเขียนตอบสั้นๆ ไม่ชัดเจน ไม่ครบประเด็น ไม่อธิบายบริบท ไม่เชื่อมโยงข้อมูลกับความรู้เดิมหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ค่อยให้เหตุผล ขาดความรู้พื้นฐาน การเรียบเรียงคำบรรยายสับสน

                    3. ปัญหาและอุปสรรค

                        3.1 ปัญหาเกี่ยวกับครู


- พื้นฐานความรู้ของครูในเนื้อหาสาระบางเรื่องยังมีพื้นฐานไม่เพียงพอ
- สถานการณ์ที่ครูใช้ไม่สามารถนำไปสู่ปัญหาที่ต้องการให้นักเรียนสืบเสาะหาความรู้
- ครูขาดการเชื่อมโยงเนื้อหาสาระที่ต้องการให้นักเรียนรู้กับสิ่งที่นักเรียนสืบเสาะหาความรู้ได้
- การเรียงลำดับเนื้อหาในการสอน ยังขาดความต่อเนื่อง
- ครูขาดความมั่นใจในขั้นตอนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ 5Es
- ครูขาดเทคนิคในการตั้งคำถามที่มีประสิทธิภาพ
- ครูไม่ค่อยเปิดโอกาสให้เวลานักเรียนคิดเท่าที่ควร
- ครูไม่ค่อนสนใจคำตอบของนักเรียน

 

                        3.2 ปัญหาเกี่ยวกับนักเรียน


- ความรู้พื้นฐานหรือความรู้เดิมของนักเรียนไม่เพียงพอที่จะเชื่อมโยงความรู้ใหม่
   หรือทำการสำรวจตรวจสอบ
- นักเรียนขาดความมั่นใจในการตอบคำถามครู
- นักเรียนตอบคำถามของครูแบบสั้นๆ ไม่ชัดเจน ไม่สมบูรณ์
- นักเรียนไม่แสดงออกถึงความสามารถในการอธิบายและลงข้อสรุปสิ่งที่ได้จากการสืบเสาะ
   หาความรู้อย่างสมเหตุสมผล
- คำตอบของนักเรียนอาจจะไม่ได้จากการสำรวจ สังเกต หรือทดลอง แต่ได้จาก
   การดูหนังสือตอบหรือใบความรู้

 

 ข้อเสนอแนะ

                    1. การเตรียมความพร้อมให้ครู ครูควรได้รับการฝึกอบรมให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5Es) มากกว่านี้ และความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความคิดระดับสูง ครูควรได้รับการฝึกให้ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นความคิด ได้รับการพัฒนาให้มีความก้าวหน้าในการสอนอย่างมีวิจารณญาณ และควรได้รับการฝึกการวิเคราะห์และประเมินผลงานนักเรียน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน

                    2. ครูควรจัดทำแผนการสอน ตามรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าว รวมทั้งจัดเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม

                    3. ครูควรสอดแทรกทักษะการคิด ลักษณะการคิด และกระบวนการคิดในกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการคิด และสิ่งที่ควรเน้น คือ ในการปฏิบัติงานควรให้นักเรียนวิเคราะห์และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากกว่านี้ ให้นักเรียนเป็นผู้นำอภิปรายและมีบทบาทมากกว่านี้

ที่มา  :  สาขาชีววิทยา สสวท.

 

หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

                1.  ปรัชญาวิทยาศาสตร์ดั้งเดิม ความรู้วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความจริงหรือข้อเท็จจริงที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ ซึ่งได้จากการตรวจสอบ การค้นคว้าทดลองอย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แต่ปรัชญาวิทยาศาสตร์แนวใหม่ ความรู้วิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากการสรรสร้างของแต่ละบุคคล ซึ่งมีอิทธิพลมาจากความรู้หรือประสบการณ์เดิม และสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของสังคมของแต่ละคน

                2.  แนวคิดของเพียเจต์ (Piaget) เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิด คือ การที่คนเรามีปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด และการปะทะสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมนี้มีผลทำให้ระดับสติปัญญาและความคิด มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางสติปัญญาและความคิดมี 2 กระบวนการ คือ การปรับตัว (Adaptation) และการจัดระบบโครงสร้าง (Organization) การปรับตัวเป็นกระบวนการที่บุคคลหาหนทางที่จะปรับสภาพความไม่สมดุลทางความคิดให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัว และเมื่อบุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว โครงสร้างทางสมองจะถูกจัดระบบให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม มีรูปแบบของความคิดเกิดขึ้น กระบวนการปรับตัวประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ 2 ประการคือ

                                1)  กระบวนการดูดซึม (Assimilation) หมายถึง กระบวนการที่อินทรีย์ซึมซาบประสบการณ์ใหม่เข้าสู่ประสบการณ์เดิมที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน แล้วสมองก็รวบรวมปรับเหตุการณ์ใหม่ให้เข้ากับโครงสร้างของความคิดอันเกิดจากการเรียนรู้ที่มีอยู่เดิม

                                2)  กระบวนการปรับขยายโครงสร้าง (Accomodation) เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากกระบวนการดูดซึม คือ ภายหลังจากที่ซึมซาบของเหตุการณ์ใหม่เข้ามา และปรับเข้าสู่โครงสร้างเดิมแล้วถ้าปรากฏว่าประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับการซึมซาบเข้ามาให้เข้ากับประสบการณ์เดิมได้ สมองก็จะสร้างโครงสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อปรับให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่นั้น

                3. ทฤษฎีการสร้างเสริมความรู้ (Constructivism) เชื่อว่านักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างมาแล้วไม่มากก็น้อย ก่อนที่ครูจะจัดการเรียนการสอนให้เน้นว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นด้วยตัวของผู้เรียนรู้เอง และการเรียนรู้เรื่องใหม่จะมีพื้นฐานมาจากความรู้เดิม ดังนั้น ประสบการณ์เดิมของนักเรียนจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง กระบวนการเรียนรู้ (Process of Leaning) ที่แท้จริงของนักเรียนไม่ได้เกิดจากการบอกเล่าของครู หรือนักเรียนเพียงแต่จดจำแนวคิดต่าง ๆ ที่มีผู้บอกให้เท่านั้น แต่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎี Constructivism เป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้นเสาะหา สำรวจตรวจสอบ และค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใด ๆ มาเผชิญหน้า ดังนั้นการที่นักเรียนจะสร้างองค์ความรู้ได้ ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process)

                4.  ความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method)

                     การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้มีผู้ให้ความหมายและแนวคิดหลากหลาย ดังนี้

                อนันต์  จันทร์กวี (2523) กล่าวว่า การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดด้วยตนเอง รู้จักค้นคว้าหาเหตุผล และสามารถแก้ปัญหาได้ โดยการนำเอาวิธีการต่างๆ ของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ นอกจากนี้ยังเป็นการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วย

                สุวัฒน์  นิยมค้า (2531) กล่าวว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้ค้นคว้า หรือสืบเสาะหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นักเรียนยังไม่เคยมีความรู้ในสิ่งนั้นมาก่อน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ

                ดวงเดือน  เทศวานิช (2535) กล่าวว่า การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นทักษะการคิดอย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ซึ่งต้องมีหลักฐานสนับสนุน วิธีนี้เป็นวิธีที่นักเรียนพิจารณาเหตุผล สามารถใช้คำถามที่ถูกต้องและคล่องแคล่วสามารถสร้างและทดสอบสมมติฐานด้วยการทดลอง และตีความจากการทดลองด้วยตนเอง โดยไม่ขึ้นอยู่กับคำอธิบายของครู เป็นวิธีการที่ช่วยให้นักเรียนมีระบบวิธีการแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง

                สมจิต  สวธนไพบูลย์ (2541) กล่าวว่า หลักการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ จะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ส่วนครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกแนะนำและให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ ได้แก่ การสำรวจ และการสร้างองค์ความรู้

                มนมนัส  สุดสิ้น (2543) สรุปความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ไว้ว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการหนึ่งที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ คิดและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างมีระบบของการคิด ใช้กระบวนการของการค้นคว้าหาความรู้ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ครูมีหน้าที่จัดบรรยากาศ การสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ คิดแก้ปัญหาโดยใช้การทดลอง และอภิปรายซักถามเป็นกิจกรรมหลักในการสอน

                ชลสีต์  จันทาสี (2543) สรุปความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ไว้ว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ ซึ่งครูมีหน้าที่เพียงเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือ จัดเตรียมสภาพการณ์และกิจกรรมให้เอื้อต่อกระบวนการที่ฝึกให้คิดหาเหตุผล สืบเสาะหาความรู้ รวมทั้งการแก้ปัญหาให้ได้โดยใช้คำถามและสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ เช่น ของจริง สถานการณ์ ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการสำรวจ ค้นหาด้วยตนเอง บรรยากาศการเรียนการสอนให้นักเรียนมีอิสระในการซักถาม การอภิปรายและมีแรงเสริม อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสอนให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้นั่นเอง

                กู๊ด (Good. 1973) ได้ให้ความหมายของการสอนแบบการสืบเสาะหาความรู้ว่าเป็นเทคนิคหรือกลวิธีอย่างหนึ่งในการจัดให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาบางอย่างของวิชาวิทยาศาสตร์ โดยกระตุ้นให้นักเรียนมีความอยากรู้อยากเห็น เสาะแสวงหาความรู้โดยการถามคำถาม และพยายามค้นหาคำตอบให้พบด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังให้ความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นวิธีการเรียนโดยการแก้ปัญหาจากกิจกรรมที่จัดขึ้น และใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการทำกิจกรรม ซึ่งปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ที่นักเรียนเผชิญแต่ละครั้ง จะเป็นตัวกระตุ้นการคิดกับการสังเกตกับสิ่งที่สรุปพาดพิงอย่างชัดเจน ประดิษฐ์ คิดค้น ตีความหมายภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด การใช้วิธีการอย่างชาญฉลาดสามารถทดสอบได้ และสรุปอย่างมีเหตุผล

                ซันด์และโทรวบริดจ์ (Sun and Trowbridge. 1973) สรุปลักษณะของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ว่า เป็นการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างมโนทัศน์ด้วยตนเอง และเป็นการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ ของนักเรียน เช่น ความสามารถทางวิธีการ ทักษะทางสังคม ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องให้อิสระและให้ผู้เรียนมีโอกาสคิด และเป็นการเรียนที่เน้นการทดลอง เพื่อให้ผู้เรียน ค้นพบด้วยตนเอง และการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้จะกำหนดเวลาสำหรับการเรียนรู้

                ซานดรา เค เอเบล (Sandra K. Abell. 2002) ได้กล่าวถึงความหมายของการสืบเสาะหาความรู้ตามที่ NSES และ AAAS นิยามไว้ ดังนี้

                NSES (National Science Education Standards) ได้ให้ความหมายของการสืบเสาะหาความรู้ว่าเป็นกิจกรรมที่หลากหลายเกี่ยวกับการสังเกต การถามคำถาม การสำรวจตรวจสอบจากเอกสารและแหล่งความรู้อื่น ๆ การวางแผนการสำรวจตรวจสอบ การทดสอบตรวจสอบหลักฐานเพื่อเป็นการยืนยันความรู้ที่ได้ค้นพบมาแล้ว การใช้เครื่องมือในการรวบรวม การวิเคราะห์ และการแปลความหมายข้อมูล การนำเสนอผลงาน การอธิบายและการคาดคะเน และการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับผลงานที่ได้

                AAAS (American Association for the Advancement of Science) ได้ให้ความหมายการสืบเสาะหาความรู้ว่า เริ่มต้นด้วยคำถามเกี่ยวกับธรรมชาติพร้อมทั้งกระตุ้นนักเรียนให้ตื่นเต้นสงสัยใคร่รู้ให้นักเรียนตั้งใจรวบรวมข้อมูลและหลักฐาน ครูเตรียมข้อมูลเอกสารความรู้ต่างๆ ที่มีคนศึกษาค้นคว้ามาแล้ว เพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ หรือเพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนลึกซึ้งขึ้นให้นักเรียนอธิบายให้ชัดเจน ไม่เน้นความจำเกี่ยวกับศัพท์ทางวิชาการ และใช้กระบวนการกลุ่ม

                ดังนั้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติ และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ

                5.  ระดับของการสืบเสาะหาความรู้ (Level of inquiry) แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ

                                1) การสืบเสาะหาความรู้แบบยืนยัน (Confirmed Inquiry) เป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้ตรวจสอบความรู้หรือแนวคิด เพื่อยืนยันความรู้หรือแนวคิดที่ถูกค้นพบมาแล้ว โดยครูเป็นผู้กำหนดปัญหาและคำตอบ หรือองค์ความรู้ที่คาดหวังให้ผู้เรียนค้นพบ และให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่กำหนดในหนังสือหรือใบงาน หรือตามที่ครูบรรยายบอกกล่าว

2) การสืบเสาะหาความรู้แบบนำทาง (Directed Inquiry) เป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้กำหนดปัญหา และสาธิตหรืออธิบายการสำรวจตรวจสอบ แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติการสำรวจตรวจสอบตามวิธีการที่กำหนด

                                3) การสืบเสาะหาความรู้แบบชี้แนะแนวทาง (Guided Inquiry) เป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยผู้เรียนเป็นผู้กำหนดปัญหา และครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทางการสำรวจตรวจสอบ รวมทั้งให้คำปรึกษาหรือแนะนำให้ผู้เรียนปฏิบัติการสำรวจตรวจสอบ

                                4)  การสืบเสาะหาความรู้แบบเปิด (Open Inquiry) เป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนมีอิสระในการคิด เป็นผู้กำหนดปัญหา ออกแบบ และปฏิบัติการสำรวจตรวจสอบด้วยตนเอง

                6.   จิตวิทยาที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

                                1) การเรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้นผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นต่อเมื่อผู้เรียนได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการค้นหาความรู้นั้น ๆ มากกว่าการบอกให้ผู้เรียนรู้

                                2)  การเรียนรู้จะเกิดได้ดีที่สุด เมื่อสถานการณ์แวดล้อมในการเรียนรู้นั้นยั่วยุให้ผู้เรียนอยากเรียน ไม่ใช่บีบบังคับผู้เรียน และครูต้องจัดกิจกรรมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการค้นคว้าทดลอง

                                3)  วิธีการนำเสนอของครู จะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด มีความคิดสร้างสรรค์ ให้โอกาสผู้เรียนได้ใช้ความคิดของตนเองมากที่สุด

                ทั้งนี้กิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนทำการสำรวจตรวจสอบจะต้องเชื่อมโยงกับความรู้เดิม และผู้เรียนมีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ โดยกิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ หรือแสวงหาความรู้ใหม่

7.      รูปแบบการสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle)

นักการศึกษาจากกลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Society) ได้เสนอกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้เข้ากับประสบการณ์หรือความรู้เดิม เป็นความรู้หรือแนวคิดของผู้เรียนเอง เรียกรูปแบบการสอนนี้ว่า Inquiry cycle หรือ 5Es  มีขั้นตอนดังนี้ (BSCS. 1997)

                                1)  การสร้างความสนใจ (Engage) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการเรียนรู้ที่จะนำเข้าสู่บทเรียน จุดประสงค์ที่สำคัญของขั้นตอนนี้ คือ ทำให้ผู้เรียนสนใจ ใคร่รู้ในกิจกรรมที่จะนำเข้าสู่บทเรียน ควรจะเชื่อมโยงประสบการณ์การเรียนรู้เดิมกับปัจจุบัน และควรเป็นกิจกรรมที่คาดว่ากำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ผู้เรียนสนใจจดจ่อที่จะศึกษาความคิดรวบยอด กระบวนการ หรือทักษะ และเริ่มคิดเชื่อมโยงความคิดรวบยอด กระบวนการ หรือทักษะกับประสบการณ์เดิม

                                2) การสำรวจและค้นหา (Explore) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกันในการสร้างและพัฒนาความคิดรวบยอด กระบวนการ และทักษะ โดยการให้เวลาและโอกาสแก่ผู้เรียนในการทำกิจกรรมการสำรวจและค้นหาสิ่งที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้ตามความคิดเห็นผู้เรียนแต่ละคน หลังจากนั้นผู้เรียนแต่ละคนได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการคิดรวบยอด กระบวนการ และทักษะในระหว่างที่ผู้เรียนทำกิจกรรมสำรวจและค้นหา เป็นโอกาสที่ผู้เรียนจะได้ตรวจสอบหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดรวบยอดของผู้เรียนที่ยังไม่ถูกต้องและยังไม่สมบูรณ์ โดยการให้ผู้เรียนอธิบายและยกตัวอย่างเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้เรียน ครูควรระลึกอยู่เสมอเกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียนตามประเด็นปัญหา ผลจากการที่ผู้เรียนมีใจจดจ่อในการทำกิจกรรม ผู้เรียนควรจะสามารถเชื่อมโยงการสังเกต การจำแนกตัวแปร และคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นได้

                                3) การอธิบาย (Explain) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความ สามารถในการอธิบายความคิดรวบยอดที่ได้จากการสำรวจและค้นหา ครูควรให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับทักษะหรือพฤติกรรมการเรียนรู้ การอธิบายนั้นต้องการให้ผู้เรียนได้ใช้ข้อสรุปร่วมกันในการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมนี้ครูควรชี้แนะผู้เรียนเกี่ยวกับการสรุปและการอธิบายรายละเอียด แต่อย่างไรก็ตามครูควรระลึกอยู่เสมอว่ากิจกรรมเหล่านี้ยังคงเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นั่นคือ ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการอธิบายด้วยตัวผู้เรียนเอง บทบาทของครูเพียงแต่ชี้แนะผ่านทางกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสอย่างเต็มที่ในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้ชัดเจน ในที่สุดผู้เรียนควรจะสามารถอธิบายความคิดรวบยอดได้อย่างเข้าใจ โดยเชื่อมโยงประสบการณ์ ความรู้เดิมและสิ่งที่เรียนรู้เข้าด้วยกัน

                                4) การขยายความรู้ (Elaborate) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้ยืนยันและขยายหรือเพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น และยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะและปฏิบัติตามที่ผู้เรียนต้องการ ในกรณีที่ผู้เรียนไม่เข้าใจหรือยังสับสนอยู่หรืออาจจะเข้าใจเฉพาะข้อสรุปที่ได้จากการปฏิบัติการสำรวจและค้นหาเท่านั้น ควรให้ประสบการณ์ใหม่ผู้เรียนจะได้พัฒนาความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป้าหมายที่สำคัญของขั้นนี้ คือ ครูควรชี้แนะให้ผู้เรียนได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด กระบวนการ และทักษะเพิ่มขึ้น

                                5) การประเมินผล (Evaluate) ขั้นตอนนี้ผู้เรียนจะได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการอธิบายความรู้ความเข้าใจของตนเอง ระหว่างการเรียนการสอนในขั้นนี้ของรูปแบบการสอน ครูต้องกระตุ้นหรือส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินความรู้ความเข้าใจและความสามารถของตนเอง และยังเปิดโอกาสให้ครูได้ประเมินความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะของผู้เรียนด้วย

                การนำรูปแบบการสอนนี้ไปใช้ สิ่งที่ครูควรระลึกอยู่เสมอในแต่ละขั้นตอนของรูปแบบการสอนนี้ คือ การจัดเตรียมกิจกรรม ครูควรจัดเตรียมกิจกรรมให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของผู้เรียน เมื่อครูเตรียมกิจกรรมแล้ว ครูควรพิจารณาตรวจสอบบทบาทของครูและผู้เรียนในการปฏิบัติกิจกรรมแต่ละขั้นตอนว่าสอดคล้องกับรูปแบบการสอน 5Es หรือไม่จากตารางที่ 1-3 ต่อไปนี้ เพื่อครูจะได้ปรับหรือพัฒนากิจกรรมให้สอดคล้องกับรูปแบบการสอน

ตารางที่ 1  การนำวัฏจักรการเรียนรู้  5E  ของ BSCS  ไปใช้บทบาทของครูผู้สอน

ระยะของ

สิ่งที่ครูผู้สอนปฏิบัติ

ที่สอดคล้องกับโมเดล 5E

ที่ไม่สอดคล้องกับโมเดล 5E

Engagement

(ขั้นการมี

ส่วนร่วม)

- สร้างความสนใจ

- สร้างความอยากรู้อยากเห็น

- สร้างปัญหา

- ค้นหาความรู้ หรือสิ่งที่นักเรียนคิดเกี่ยวกับหัวข้อหรือมโนทัศน์

- อธิบายมโนทัศน์

- ให้คำจำกัดความและคำตอบ

- สรุป

- จัดหาข้อสรุป

- บรรยาย

Explore    (ขั้นสำรวจ)

- ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกัน  โดยครูผู้สอนไม่ต้องสั่งสอน

- สังเกตและฟังปฏิสัมพันธ์ของนักเรียน

- ถามคำถามเพื่อนำไปสู่การสำรวจ  เมื่อจำเป็น

- ให้เวลานักเรียนในการไต่ตรองปัญหา

- ครูผู้สอนหน้าที่เป็นที่ปรึกษา

- จัดหาคำตอบให้

- บอกหรืออธิบายวิธีการทำงานเพื่อแก้ปัญหา

- จัดหาข้อสรุป

- บอกนักเรียนเมื่อนักเรียนทำผิด

- ให้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ใช้แก้ปัญหา

- นำนักเรียนให้แก้ปัญหาไปทีละขั้นตอน

Explain     (ขั้นอธิบาย)

- ส่งเสริมให้นักเรียนอธิบายมโนทัศน์หรือให้คำจำกัดความด้วยคำพูดของนักเรียน

- เรียกร้องหลักฐานและสร้างความกระจ่าง

- จัดหาคำจำกัดความ การอธิบายและ

การกำหนดชื่อที่เป็นทางการให้

- ใช้ประสบการณ์ของนักเรียนเป็นพื้นฐาน

การอธิบายมโนทัศน์

- ยอมรับการอธิบายโดยไม่มีหลักฐาน

- ไม่สนใจที่จะทำให้คำอธิบายของ

  นักเรียนเกิดความกระจ่าง

- แนะนำมโนทัศน์หรือทักษะที่ไม่

  เกี่ยวข้อง

Elaborate     (ขั้นการสร้างความกระจ่าง)

- คาดหวังให้นักเรียนใช้ชื่อ คำจำกัดความและการอธิบายอย่างเป็นทางการ

- ส่งเสริมให้นักเรียนใช้หรือขยายมโนทัศน์และทักษะในสถานการณ์ใหม่

- เตือนใจนักเรียนเมื่อนักเรียนอธิบายอื่นๆ  (Alternative Explanation) ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้อง

- อ้างอิงด้วยข้อมูลและหลักฐานที่มี  และใช้คำถามว่าอะไรที่นักเรียนรู้และอะไรที่นักเรียนยังไม่รู้

- จัดหาคำตอบ  คำจำกัดความให้

- บอกนักเรียนเมื่อนักเรียนทำผิด

- บรรยาย

- นำนักเรียนแก้ปัญหาไปทีละ

ขั้นตอน

- อธิบายวิธีการทำงานเพื่อ

แก้ปัญหา

Evaluate 

(ขั้นประเมินผล)

- สังเกตนักเรียนในขณะที่นักเรียนนำมโนทัศน์และทักษะใหม่ไปใช้

- ประเมินความรู้และทักษะ

- เรียกร้องหลักฐานที่ทำให้นักเรียนเปลี่ยน

แนวคิดหรือการปฏิบัติ

- ให้นักเรียนประเมินการเรียนรู้และทักษะกระบวนการกลุ่มด้วยตนเอง

- ถามคำถามปลายเปิด  เช่น  ทำไม

นักเรียนจึงคิดอย่างนั้น  อะไรที่นักเรียนรู้  นักเรียนจะอธิบายว่าอย่างไร

- ทดสอบคำศัพท์  พจน์  และข้อเท็จจริง

- แนะนำมโนทัศน์หรือ  แนวคิดใหม่

- สร้างความคลุมเครือ  กำกวม

- ส่งเสริมการอธิปรายแบบเปิดที่ไม่เกี่ยวกับมโนทัศน์หรือทักษะ

Elaborate     (ขั้นการสร้างความกระจ่าง)

- คาดหวังให้นักเรียนใช้ชื่อ คำจำกัดความและการอธิบายอย่างเป็นทางการ

- ส่งเสริมให้นักเรียนใช้หรือขยายมโนทัศน์และทักษะในสถานการณ์ใหม่

- เตือนใจนักเรียนเมื่อนักเรียนอธิบายอื่นๆ  (Alternative Explanation) ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้อง

- อ้างอิงด้วยข้อมูลและหลักฐานที่มี  และใช้คำถามว่าอะไรที่นักเรียนรู้และอะไรที่นักเรียนยังไม่รู้

- จัดหาคำตอบ  คำจำกัดความให้

- บอกนักเรียนเมื่อนักเรียนทำผิด

- บรรยาย

- นำนักเรียนแก้ปัญหาไปทีละ

ขั้นตอน

- อธิบายวิธีการทำงานเพื่อ

แก้ปัญหา

Evaluate 

(ขั้นประเมินผล)

- สังเกตนักเรียนในขณะที่นักเรียนนำมโนทัศน์และทักษะใหม่ไปใช้

- ประเมินความรู้และทักษะ

- เรียกร้องหลักฐานที่ทำให้นักเรียนเปลี่ยน

แนวคิดหรือการปฏิบัติ

- ให้นักเรียนประเมินการเรียนรู้และทักษะกระบวนการกลุ่มด้วยตนเอง

- ถามคำถามปลายเปิด  เช่น  ทำไม

นักเรียนจึงคิดอย่างนั้น  อะไรที่นักเรียนรู้  นักเรียนจะอธิบายว่าอย่างไร

- ทดสอบคำศัพท์  พจน์  และข้อเท็จจริง

- แนะนำมโนทัศน์หรือ  แนวคิดใหม่

- สร้างความคลุมเครือ  กำกวม

- ส่งเสริมการอธิปรายแบบเปิดที่ไม่เกี่ยวกับมโนทัศน์หรือทักษะ

Engagement  (ขั้นการมี

ส่วนร่วม)

- ถามคำถาม  เช่น  ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้  อะไรที่เรารู้แล้ว  อะไรที่เราจะค้นหา

- แสดงความสนใจในหัวข้อ

- ถามหาคำตอบที่ถูกต้อง

- นำเสนอคำตอบที่ถูกต้อง

- ยืนยันคำตอบหรือคำอธิบาย

- แสวงหาการแก้ปัญหา

Explore    (ขั้นสำรวจ)

- คิดอย่างอิสระ  แต่อยู่ในขอบเขตของ

กิจกรรม

- ทดสอบคำพยากรณ์และสมมติฐาน

- สร้างคำพยากรณ์และสมมติฐาน

- พยายามหาทางเลือกด้วยการอภิปราย

- บันทึกการสังเกตและแนวคิด

- ชะลอการตัดสินใจ

- ยอมให้ผู้อื่นคิดและสำรวจ

(การมีส่วนร่วมในลักษณะของ

ผู้ถูกกระทำ)

- ทำงานเพียงลำพัง  โดยมี

ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยมาก

- ปฏิบัติไปเรื่อยๆโดยไม่มี

เป้าหมายชัดเจน

- หยุดเมื่อได้วิธีแก้ปัญหา

ตารางที่ 2  การนำวัฏจักรการเรียนรู้  5E  ของ BSCS  ไปใช้บทบาทของนักเรียน

ระยะของ

สิ่งที่ครูผู้สอนปฏิบัติ

ที่สอดคล้องกับโมเดล 5E

ที่ไม่สอดคล้องกับโมเดล 5E

Explain    (ขั้นอธิบาย)

- อธิบายการแก้ปัญหาหรือคำตอบที่เป็นไปได้ให้คนอื่นๆ

- ฟังคำถามการอธิบายจากคนอื่น

- ฟังและพยายามเข้าใจคำอธิบายที่นำเสนอโดยครูผู้สอน

- อ้างอิงกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติ

- ใช้ข้อมูลจากการสังเกตประกอบคำอธิบาย

- เสนอคำอธิบายโดยไม่มี

การเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติ

- ยกตัวอย่างและประสบการณ์ที่ไม่สอดคล้อง

- ยอมรับคำอธิบายโดยไม่พิจารณา

- ไม่สนใจคำอธิบายของคนอื่นๆ

Elaborate  (ขั้นขยายความรู้)

- นำการให้ชื่อ  คำจำกัดความ  คำอธิบายและทักษะไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่คล้ายกับ

สถานการณ์เดิม

- ใช้ข้อมูลเดิมเพื่อถามคำถาม เสนอ

การแก้ปัญหา  ตัดสินใจ  และออกแบบทดลอง

- ให้ข้อสรุปที่มีเหตุผลจากหลักฐานที่มี

- บันทึกการสังเกต  และคำอธิบาย

- ตรวจสอบความเข้าใจในระหว่างกลุ่มเพื่อน

- ทำกิจกรรมไปเรื่อยๆ  โดยไม่มี

เป้าหมายชัดเจน

- ไม่สนใจข้อมูลหรือหรือหลักฐานที่

มีอยู่

- สร้างข้อสรุปในอากาศ

- ใช้การอธิปรายที่ได้จากครูผู้สอน

Evaluate  (ขั้นประเมินผล)

- ถามคำถามปลายเปิดโดยใช้การสังเกต และ  หลักฐานคำอธิบายที่ยอมรับ

- แสดงความเข้าใจ  ความรู้ในมโนทัศน์หรือทักษะ

- ประเมินความกว้าหน้าและความรู้ของ

ตนเอง

- ถามคำถามที่เกี่ยวข้องซึ่งนำไปสู่การสำรวจในอนาคต

- สร้างข้อสรุปโดยไม่มีหลักฐานหรือ

คำอธิบายที่เป็นที่ยอมรับมาก่อน

- เสนอคำตอบผิดหรือถูก คำอธิบาย

หรือคำจำกัดความที่เป็นความจำ

- ล้มเหลวที่จะอธิบายด้วยคำพูดของ

ตนเอง

- เสนอแนะหัวข้อที่ไม่เกี่ยวข้อง

ตารางที่ 3  บทบาทของครูผู้สอนและบทบาทของนักเรียนตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้

ขั้นการสอน

บทบาทของครูผู้สอน

บทบาทของนักเรียน

Engagement   (ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน)

- สร้างความสนใจ

- สร้างความอยากรู้อยากเห็น

- ถามคำถามที่ทำให้รู้ว่านักเรียนทราบอะไรบ้าง

- ถามคำถามตัวเอง “ทำไมจึงเป็นเช่นนี้”  “ทราบอะไรเกี่ยวกับสิ่งนี้”

- แสดงความสนใจเรื่องราวที่

ครูผู้สอนนำเสนอ

Exploration     (ขั้นการสำรวจ)

- กระตุ้นให้นักเรียนทำงาน

- สังเกตและฟังเมื่อนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน

- ถามนำเพื่อให้นักเรียนสืบค้น  เมื่อจำเป็น

- ให้คำปรึกษา

- คิดอย่างอิสระ  แต่อยู่ในขอบเขตหรือข้อจำกัดของกิจกรรม

- ทดสอบสมมติฐาน

- พยายามและอภิปรายทางเลือกใหม่

- บันทึกการสังเกตและแนวความคิด

Explanation     (ขั้นการอธิบาย)

- กระตุ้นให้นักเรียนอธิบายมโนทัศน์และนิยามด้วยตัวนักเรียนเอง

- ถามเพื่อให้นักเรียนอธิบายแสดงเหตุผล

- อธิบายการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้

- ฟังอย่างพิจารณากับคำอธิบายของนักเรียนคนอื่น

- ฟังและประมวลความรู้ที่ครูนำเสนอ

- อธิบายโดยใช้ข้อมูลจาก

การสังเกต

Elaboration  (ขั้นขยายความรู้)

- คาดหวังว่านักเรียนจะใช้ข้อมูลก่อนหน้านี้มานิยามหรืออธิบาย

- กระตุ้นให้นักเรียนประยุกต์มโนทัศน์และทักษะในสถานการณ์ใหม่

- ประยุกต์นิยามและทักษะในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน

- ใช้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในการอธิบายในการตัดสินใจและออกแบบการทดลอง

-                   บันทึกการสังเกตและ

-                   การอธิบาย

Evaluation   (ขั้นการประเมินผล)

- สังเกตนักเรียน  ประยุกต์มโนทัศน์และทักษะใหม่

- ประเมินความรู้และทักษะของนักเรียน

- ปรารถนาให้นักเรียนเปลี่ยนความคิดและ

พฤติกรรม

- อนุญาตให้นักเรียนประเมินผลการเรียน ทักษะ และกระบวนการกลุ่ม

- ถามคำถามปลายเปิด  เช่น

“ทำไมจึงคิดอย่างนี้”

“เธอจะอธิบายอย่างไร”

- ตอบคำถามปลายเปิด โดยใช้การสังเกต และข้อมูลที่เรียนรู้ไป

- ประเมินความกว้าหน้าใน

การเรียนรู้

- ถามคำถามแสดงความสัมพันธ์และกระตุ้นการสืบค้นในอนาคต

 

รูปแบบการสอนนี้สามารถสะท้อนให้เห็นว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร และผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร ดังนั้น รูปแบบการสอนนี้เป็นทั้งรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนและเป็นรูปแบบการสอนของครู

                8.  บรรยากาศการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

                อารี  พันธ์มณี (2540) กล่าวว่า องค์ประกอบสำคัญในการทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนการสอน คือ ครูผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนและผู้เรียนต่างมีบทบาทในการสร้างบรรยากาศ ครูจะเป็นผู้ริเริ่มสร้างบรรยากาศ ผู้เรียนเป็นผู้ตอบสนอง และเติมสีสันให้กับบรรยากาศการเรียนการสอนให้เป็นไปในรูปแบบต่าง ๆ กัน บรรยากาศการเรียนการสอนที่เป็นอิสระ ท้าทาย ตื่นเต้น ปลอดภัยเป็นประชาธิปไตย ผู้สอนให้ความอบอุ่นทั้งทางกายและจิตใจ สร้างความรู้สึกไว้วางใจให้กับผู้เรียนผู้เรียนได้รับความเข้าใจเป็นมิตร เอื้ออาทร ห่วงใย ตลอดจนให้ความดูแล ช่วยเหลือ จะทำให้ผู้เรียนมีความกล้าและอยากเรียนรู้มากขึ้น บรรยากาศการเรียนการสอนที่มีการยอมรับ มองเห็นคุณค่าในตัวผู้เรียน ผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ ผู้สอนควรแสดงความรู้สึกการยอมรับผู้เรียนอย่างจริงใจ กระตุ้นผู้เรียนให้ยอมรับกันเองและเชื่อมั่นว่าสามารถทำได้สำเร็จ

                มัสเซียลาส และค็อคซ์ (Massialas and Cox. 1968) ได้กล่าวว่า ห้องเรียนที่เป็นแบบสืบเสาะหาความรู้ ควรจะมีลักษณะดังนี้

1)      ห้องเรียนต้องเป็นประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่

2)      ปัญหาที่นำมาอภิปรายน่าสนใจที่จะขบคิด และสามารถตัดสินได้ ครูมีบทบาทเพียงกระตุ้นให้กิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปด้วยดี

3)      ทุกคนในห้องเรียนต้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

จากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและบทความต่างๆ สรุปได้ว่า บรรยากาศการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนากระบวนการคิด ควรมีลักษณะดังนี้

1. บรรยากาศภายในห้องเรียน

     1.1 เป็นบรรยากาศการโต้ตอบกันระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน อย่างสร้างสรรค์ สมเหตุสมผล

     1.3   เป็นบรรยากาศที่นักเรียนรู้สึกอบอุ่นใจ ปลอดภัย ปราศจากการตำหนิ วิพากษ์ วิจารณ์ความคิด ไม่มีการตัดสินว่าถูกหรือผิด

     1.4  บรรยากาศตื่นเต้น น่าสนใจ สนุกสนาน เพื่อให้การเรียนรู้เป็นแบบสร้างสรรค์และอิสระ

     1.5  นักเรียนสนใจ กระตือรือร้น ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

2.  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน

     2.1  ครูเป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียน เป็นกันเอง ให้กำลังใจแก่นักเรียน

     2.2  ครูใจกว้าง ให้นักเรียนโต้แย้งได้ ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน

     2.3  ครูให้คำปรึกษา ชี้แนะ และช่วยเหลือนักเรียน

3.  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน

     3.1  ร่วมมือร่วมใจในการทำกิจกรรม ช่วยกันคิด ช่วยกันทำงาน ถ้อยที่ถ้อยอาศัย

     3.2  อภิปรายซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและโต้แย้งกันอย่างสร้างสรรค์

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบวัฎจักร

การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดระดับสูง

                ผลการวิจัยทำให้ได้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน เพื่อพัฒนากระบวนการคิดระดับสูง ซึ่งเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกสังเกต ฝึกถาม-ตอบ ฝึกการสื่อสาร ฝึกเชื่อมโยงบูรณาการฝึกนำเสนอ ฝึกวิเคราะห์วิจารณ์ ฝึกสร้างองค์ความรู้ โดยมีครูเป็นผู้กำกับ ควบคุม ดำเนินการให้คำปรึกษา ชี้แนะ ช่วยเหลือ ให้กำลังใจ เป็นผู้กระตุ้นส่งเสริมให้ผู้เรียนคิด อยากรู้อยากเห็น และสืบเสาะหาความรู้จากการถามคำถาม และพยายามค้นหาคำตอบหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเองผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติ ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ รวมทั้งครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เรียน และสร้างบรรยากาศการสืบเสาะหาความรู้ที่เอื้อให้ผู้เรียนคิดอย่างอิสระ ขอบข่ายรายละเอียดของรูปแบบปรากฏ ดังนี้

ขั้นตอน

ลักษณะของกิจกรรม

หรือสถานการณ์

บทบาทของครู

บทบาทของนักเรียน

1. สร้างความสนใจ

(Engage)  ครูจัดกิจกรรมหรือสร้างสถานการณ์กระตุ้น ยั่วยุ หรือท้าทาย ทำให้นักเรียนสนใจ สงสัย ใคร่รู้ อยากรู้อยากเห็น ขัดแย้ง หรือเกิดปัญหา และทำให้นักเรียนต้องการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือแก้ปัญหา (สำรวจตรวจสอบ) ด้วยตัวของนักเรียนเอง

1. เชื่อมโยงกับความรู้หรือประสบการณ์เดิม

2. แปลกใหม่นักเรียนไม่เคยพบมาก่อน

3. ยั่วยุ ท้าทาย น่าสนใจ ใคร่รู้

4. เปิดโอกาสให้มีแนวทางการตรวจสอบอย่างหลากหลาย

5. นำไปสู่กระบวนการตรวจสอบด้วยตนเองนักเรียนเอง

1. สร้างความสนใจ

2. สร้างความอยากรู้อยากเห็น

3.ตั้งคำถาม กระตุ้นให้นักเรียนคิด

4. ให้เวลานักเรียนคิดก่อนตอบคำถาม หรือไม่เร่งเร้าในการตอบคำถาม

5. ดึงเอาคำตอบหรือความ คิดที่ยังไม่ชัดเจนไม่สมบูรณ์

6. เปิดโอกาสให้นักเรียนทำความกระจ่างในปัญหาที่จะสำรวจตรวจสอบ

7. เปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกหรือกำหนดปัญหาที่จะสำรวจตรวจสอบ

1. ตั้งคำถาม

2. ตอบคำถาม

3.แสดงความคิดเห็น

4.กำหนดปัญหาหรือเรื่องที่จะสำรวจตรวจสอบให้ชัดเจน

5. แสดงความสนใจ

ขั้นตอน

ลักษณะของกิจกรรม

หรือสถานการณ์

บทบาทของครู

บทบาทของนักเรียน

2. สำรวจและค้นหา (Explore)

ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ให้นักเรียนสำรวจตรวจสอบปัญหา หรือประเด็นที่นักเรียนสนใจ ใคร่รู้

1. นักเรียนได้เรียนรู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

2. นักเรียนทำงานตามความ คิดอย่างอิสระ

3. นักเรียนตั้งสมมติฐานได้หลากหลาย

4. พิจารณาข้อมูลและข้อเท็จ จริงที่ปรากฏแล้วกำหนดสมมติฐานที่เป็นไปได้

5. นักเรียนวางแผนแนวทางการสำรวจตรวจสอบ

6. นักเรียนวิเคราะห์อภิปรายเกี่ยวกับกระบวน การสำรวจตรวจสอบ

7. นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติในการสำรวจตรวจสอบ

1.เปิดโอกาสให้นักเรียนได้วิเคราะห์กระบวนการสำรวจตรวจสอบ

2. ซักถามเพื่อนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ

3. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำงานร่วมกันในการสำรวจตรวจสอบ

4. ให้เวลานักเรียนในการคิดไตร่ตรองปัญหา

5. สังเกตการณ์ทำงานของนักเรียน

6. ฟังการโต้ตอบกันของนักเรียน

7. ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษา

8. อำนวยความสะดวก

1. คิดอย่างอิสระ แต่อยู่ในขอบเขตของกิจกรรม

2. ตั้งสมมติฐาน

3. พิจารณาสมมติฐานที่เป็นไปได้โดยการอภิปราย

4. ระดมความคิดเห็นในการแก้ปัญหาในการสำรวจตรวจสอบ

5. ตรวจสอบสมมติฐานอย่างเป็นระบบ ขั้นตอนถูกต้อง

6. บันทึกการสังเกตหรือผลการสำรวจตรวจสอบ อย่างเป็นระบบ ละเอียดรอบคอบ

7. กระตือรือร้นมุ่งมั่นในการสำรวจตรวจสอบ

3. อธิบายและลงข้อสรุป (Explain)  ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ให้นักเรียนวิเคราะห์อธิบายความรู้ หรืออภิปรายซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือสิ่งที่ได้ค้นพบ เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้ที่ได้อย่างชัดเจน

1. นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจตรวจสอบมานำเสนอในลักษณะ

   1.1 วิเคราะห์ แปลผล

   1.2 สรุปผล

   1.3 อภิปราย

2. นักเรียนนำเสนอผล งานในรูปแบบต่างๆ เช่น รูปวาด ตาราง แผนผัง

3. มีการอภิปรายซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานของนักเรียน

4. มีการพิสูจน์ตรวจสอบให้แน่ใจ (ทำซ้ำหรือมีเอก สารอ้างอิง หรือหลักฐานชัดเจน)

1. ส่งเสริมให้นักเรียนได้อธิบายผลการสำรวจตรวจสอบ และแนวคิดด้วยคำพูดของนักเรียนเอง

2. ให้นักเรียนอธิบายโดยเชื่อมโยงประสบการณ์ความรู้เดิม และสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรือสิ่งที่ได้ค้นพบเข้าด้วยกัน

3. ให้นักเรียนอธิบายโดยมีเหตุผล หลักการ หรือหลักฐานประกอบ

4.ให้ความสนใจกับคำ อธิบายของนักเรียน

5. ส่งเสริมให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน สมเหตุสมผล

1. อธิบายการแก้ปัญหาหรือผลการสำรวจตรวจ สอบที่ได้

2. อธิบายผลการสำรวจตรวจสอบสอดคล้องกับข้อมูล

3. อธิบายแบบเชื่อมโยงสัมพันธ์และมีเหตุผลหลัก การ หรือหลักฐานประกอบ

4. ฟังการอธิบายของผู้อื่น แล้วคิด วิเคราะห์

5.อภิปรายซักถามเกี่ยวกับสิ่งที่เพื่อนอธิบาย

ขั้นตอน

ลักษณะของกิจกรรม

หรือสถานการณ์

บทบาทของครู

บทบาทของนักเรียน

4. ขยายความรู้ (Elaborate) ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ให้นักเรียนได้ขยายเพิ่ม เติม หรือเติมเต็มองค์ความรู้ใหม่ให้กว้างขวางสมบูรณ์ กระจ่างและลึก ซึ้งยิ่งขึ้น

1. ให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้เดิมไปสู่ความรู้ใหม่

2. ให้นักเรียนได้อธิบายและร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมหรือเติมเต็มเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่สมบูรณ์กรจ่าง หรือลึกซึ้งขึ้นหรือขยายกรอบความรู้ความคิดให้กว้างขึ้น

3. ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า หรือทดลองเพิ่มขึ้น

4. ให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆ หรือสถานการณ์ใหม่

1. ส่งเสริมให้นักเรียนอธิบายอย่างละเอียดชัดเจน สมบูรณ์ และอภิปรายแสดงความคิด เห็นเพิ่มเติม หรือเติมเต็มหรือขยายแนวความ คิด และทักษะจากการสำรวจตรวจสอบ

2. ส่งเสริมให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้จากการสำรวจตรวจสอบกับความรู้อื่น ๆ

3. ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมหรือเติมเต็ม หรือขยายกรอบความรู้ความคิด

1. ใช้ข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบไปอธิบายหรือทักษะ จากการสำรวจตรวจสอบไปใช้ในสถาน การณ์ใหม่ที่คล้ายกับสถานการณ์เดิม

2. นำข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบไปสร้างความรู้ใหม่

3. นำความรู้ใหม่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมเพื่ออธิบาย หรือนำไปใช้ในชีวิต ประจำวัน

5. ประเมินผล (Evaluate) ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือ อภิปรายซักถามแลก เปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกันในเชิงเปรียบ เทียบ ประเมิน ปรับปรุง เพิ่มเติม หรือทบทวนใหม่ ทั้งกระบวนการและองค์ความรู้

มีการตรวจสอบความถูก ต้อง ความชัดเจน ความสมบูรณ์ของกระบวนการและองค์ความรู้ที่ได้โดย

1. วิเคราะห์แลกเปลี่ยนเรียน รู้ซึ่งกันและกัน

2. วิจารณ์ หรืออภิปรายเพื่อเปรียบเทียบ ประเมิน ปรับ ปรุง หรือเพิ่มเติมทั้งกระบวนการและองค์ความรู้

3. เปรียบเทียบผลการสำรวจตรวจสอบกับสมมติฐานที่กำหนดไว้

1. ถามคำถามเพื่อนำไป สู่การประเมิน

2. ส่งเสริมให้นักเรียนประเมินกระบวนการและผลงานด้วยตนเอง

3. ให้นักเรียนวิเคราะห์สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในการสำรวจตรวจสอบ ทั้งกระบวนการและองค์ความรู้ที่ได้

1. วิเคราะห์กระบวนการสร้างองค์ความรู้ของตนเอง

2. ถามคำถามที่เกี่ยวข้องจากการสังเกต หลักฐานและคำอธิบายเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน สมบูรณ์ และอาจนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบใหม่

3. ประเมินกระบวนการและองค์ความรู้ของตน เอง

นอกจากนี้แล้วยังมีบรรยากาศการเรียนการสอนก็เป็นปัจจัยสำคัญทีเอื้อให้ผู้เรียนอยากสืบเสาะหาความรู้ ครูผู้สอนและผู้เรียนต่างมีบทบาทในการสร้างบรรยากาศ ครูจะเป็นผู้ริเริ่มสร้างบรรยากาศ ผู้เรียนเป็นผู้ตอบสนองและเพิ่มสีสันให้กับบรรยากาศการเรียนการสอนให้เป็นไปในรูปแบบต่างๆ

ที่มา: เอกสารการอบรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน สาขาชีววิทยา สสวท.

ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสอนแบบ

 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักประกอบแผนผังความคิดและสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถการคิดวิเคราะห์และการใช้เหตุผล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่องเศษส่วนและทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2ที่เรียนแบบสตอรีไลน์กับแบบสืบเสาะหาความรู้

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบ TGT และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง สถิติ

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ เรื่อง ความน่าจะเป็น

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และ 4MAT

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และความคงทนในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องแรงและความดันที่เรียนโดยใช้โปรแกรมบทเรียนแบบจำลองสถานการณ์กับการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิดรวบยอด และการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เรื่อง การอ่านวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิชา คอมพิวเตอร์ เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพันธุกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบรูณาการ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 4 MAT และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น

การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น เรื่อง อาหารกับการดำ รงชีวิตกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เรื่อง คลื่นเสียง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นเรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องอาหารและสารอาหารโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่4

การพัฒนาใช้สื่อประสมประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) เรื่อง นิทานแสนสนุกและสามสถาบันหลักนครา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่างๆ ในร่างกายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าน่ารู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น

 

การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้  5ES กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องเอกภพ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของพืชชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศ  ชั้นม.1

การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต   ชั้นม.5

การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต   ชั้นป.6

การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร   ชั้นม.5

การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศ   ชั้นม.3

การพัฒนาแผนการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะความรู้ (Inquiry Method)

ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้เรื่อง ตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง ระบบนิเวศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้

http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full134/wanpet131386/titlepage.pdf

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อ เรื่อง กระบวนการดำรงชีวิตของพืชชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็นโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผลการเรียนแบบร่วมมือสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5