การพูดของผู้บริหารที่ประทับใจ

 ����Ѻ෤�Ԥ�������Ъ��¾Ѳ�ҷѡ�С�þٴ ����ҹ�ٴ���ҧ���ӷ������˭� ������¡��ͧ �����ѡ 6 ��С������Ѻ��õ��ʾ���Ҩ� �ͧ��оط���ҹ���ҡ��ҹ�任���ء�������ҧ��ԧ� �ѧ�ѧ�����С��Ѻ�ͧ���Ѻ��ҷ�ҹ���繼��˹�觷��ٴ �������������褹��觡ѹ�ѧ���ҧ��͹��Ѻ �ش���¢ͽҡ���Դ�СԴ�������� “�Դ�� ��ԺѵԴ� �ٴ�� ��������� ����������觴������������ҧ�蹤�Ѻ” ⪤�չФ�Ѻ

Show

การเป็นผู้นำที่ดี บางครั้งความรู้ความสามารถที่มีอยู่ก็อาจเป็นเพียงคุณสมบัติหนึ่งของหัวหน้างาน ไม่สามารถนำมาจูงใจหรือทำให้ลูกน้องเห็นดีเห็นงาม และมีความคิดเห็นคล้อยตามได้เต็มร้อย ยกเว้นบุคคลคนนั้นมีทักษะในการสื่อสารที่ดี รู้จักใช้คำพูดอย่างสร้างสรรค์หลีกเลี่ยงการพูดในเชิงลบ และควรรู้ว่ามีประโยคใดบ้างที่ลูกน้องไม่อยากได้ยินจากหัวหน้า

10 คำพูดของหัวหน้าที่ลูกน้องไม่อยากได้ยิน

1. “เรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่ของผม” ประโยคนี้ เป็นคำพูดต้องห้ามสำหรับคนเป็นหัวหน้า แม้ฟังดูไม่ใช่คำพูดในเชิงลบ แต่ก็บ่งบอกได้ว่า คุณเป็นหัวหน้างานที่ไม่มีน้ำใจ ขาดการมีสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้ร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา

2. “งานนี้ไม่เหมาะกับคุณ” เป็นคำพูดเชิงลบที่แม้จะเป็นความจริง ผู้บริหารหรือหัวหน้างานก็ควรหลีกเลี่ยง และเลือกใช้คำพูดอย่างสร้างสรรค์ เมื่อต้องปฏิเสธการมอบหมายงานให้ลูกน้องคนใดคนหนึ่งไปให้คนที่เหมาะสมกว่า เช่น “ผมยังมีงานอื่นที่สำคัญและอยากให้คุณช่วย”

3. “ไม่น่าเชื่อว่าคุณก็ทำได้” คำพูดนี้เป็นประโยคที่แสดงออกถึงความไม่เชื่อมั่น หรือไม่เชื่อใจในความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา และจะยิ่งเลวร้ายหากพูดต่อหน้าบุคคลที่ 3 เพราะอาจเป็นการดูหมิ่นดูแคลนและไม่ให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา โดยที่คนพูดก็ไม่ได้ตั้งใจ

4. “เรื่องของคุณ” เป็นประโยคที่ไม่ควรนำมาใช้กับลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงาน เพราะเป็นการสื่อสารที่ขาดบรรยากาศของความเป็นมิตร

5. “ก็ไม่รู้สินะ” ประโยคสั้นๆ แต่สื่อความหมายในเชิงลบ อาจทำให้คนฟังเข้าใจได้ว่าคนพูดไม่สนใจ ไม่แคร์ และไม่ใส่ใจ ทำให้ขาดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล หรือระหว่างลูกน้องกับหัวหน้างาน

6. “บอกไม่เคยเชื่อ” หรือ “เตือนไม่เคยฟัง” เป็นคำตำหนิที่ไม่ควรใช้กับลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ควรเลือกใช้คำพูดในเชิงบวก เช่น “ถ้าเราระมัดระวังให้มากกว่านี้ก็คงจะดี” หรือ “ครั้งนี้ถือเป็นบทเรียน ครั้งต่อไปต้องระมัดระวังให้มากขึ้น”

7. “ไม่เข้าใจ คุณคิดได้ยังไง” เป็นคำพูดที่หัวหน้าควรหลีกเลี่ยง แม้จะฟังดูคล้ายๆ ไม่มีอะไร แต่ก็แฝงความดูหมิ่นดูแคลนความสามารถของคนฟังไว้ในคำพูดนั้นด้วย

8. “ถ้ามอบหมายให้คุณทำ ผมทำเองดีกว่า” เป็นคำพูดของหัวหน้างานที่ไม่ควรพูดกับลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะบ่งบอกถึงความไม่ไว้วางใจ ไม่เชื่อมั่นในความสามารถ และอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ลูกน้องรู้สึกไม่เป็นมิตรด้วย

9. “ทำไม่ได้ ก็ลาออก” เป็นคำพูดเชิงลบที่หัวหน้างานหรือผู้บริหารควรหลีกเลี่ยง และเลือกใช้คำอื่นแทน เช่น “พยายามทำให้เต็มที่ก่อน” หรือ “เชื่อว่าไม่เกินความสามารถของคุณ” 

10. “งานง่ายๆ ก็ยังผิดพลาด” การทำงานย่อมเกิดความผิดพลาดได้ ควรหลีกเลี่ยงคำพูดนี้และเลือกใช้คำพูดที่เป็นการถนอมน้ำใจ หรือเลือกที่จะพูดตรงๆ ไปเลยว่า งานเกิดความผิดพลาดเพราะเหตุใด

คำพูดของคนเปรียบเสมือนใบมีดที่แหลมคมใช้ดีก็เป็นประโยชน์ การบริหารงานก็เช่นเดียวกันหัวหน้างานที่ดีควรเลือกใช้คำพูดในเชิงบวก เพราะนอกจากได้ใจลูกน้องแล้วยังจะได้มิตรภาพที่ดีจากผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานอีกด้วย

หลักสูตร

“เทคนิคการพูดกับลูกค้าเพื่อสร้างความประทับใจ สำหรับงานบริการ”

หัวข้อสัมมนา

Module 1 :

  1. ความหมาย ความสำคัญของการพูด เพื่อสร้างความประทับใจในงานบริการ

  2. ทัศนคติ คุณสมบัติ และศักยภาพของนักพูดมืออาชีพในงานบริการ

  3. หลักมนุษย์สัมพันธ์และการสื่อสาร ที่สร้างความประทับใจให้กับลูกค้า

  4. วิธีการสังเกต ประเมิน และวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า

  5. โครงสร้างการพูดที่มีผลต่อการรับรู้ และสร้างความพึงพอใจในงานบริการ

  6. การสร้างภาษาบริการ (Service Dictionary) ที่เป็นรูปแบบเฉพาะขององค์กร

  7. ลักษณะของภาษาหรือคำวิบัติที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งกับลูกค้า และการเลือกคำพูดเชิงบวก

Module 2 :

  1. สิ่งที่นักพูดในงานบริการต้องเผชิญ ยอมรับ และทำความเข้าใจ ก่อนพูดกับลูกค้า

  2. ศิลปะการพูดเพื่อสร้างความประทับใจในงานบริการ

          - การแนะนำตนเอง                                  - การแนะนำผู้ร่วมสนทนา  

          - การพูดเพื่อเปิดใจ โน้มน้าวจูงใจ               - การรับมือกับคำตำหนิ  

          - การใช้คำพูดที่กระตุ้นอารมณ์ดี                 - การให้สิทธิพิเศษกับลูกค้า  

          - การตอบสนองต่อความต้องการ                - การอำนวยความสะดวก  

          - การปิดการสนทนาอย่างมืออาชีพ             - การใช้ภาษาทางโทรศัพท์ และการพูดคุยแบบเผชิญหน้า 

  1. การพัฒนาบุคลิกภาพในการพูดกับลูกค้า

          - การสบตา (Eye Contact) ขณะพูดกับลูกค้า  

          - การพูดกับการใช้ภาษากาย (Body Language)  

          - การฟังลูกค้าและการแสดงถึงความสนใจ การรับรู้  

          - จังหวะ น้ำเสียง สีหน้า ที่แสดงถึงความเป็นมิตร 

          - การรู้เท่าทันและการควบคุมอารมณ์ สถานการณ์