วิธีการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แต่ละ ประเภท ม. 1

รูปภาพทั้งหมดจะมีให้ใบ้จำนวน 20 คำ ได้แก่

1.แผนที่

2.ลูกโลก

3.เข็มทิศ

4.บารอมิเตอร์

5.ดาวเทียม

6.ภาพถ่ายดาวเทียม

7.ภาพถ่ายทางอากาศ

8.ศรลม

9.มาตรวัดลมแบบรูปถ้วย

10.เทอม์โมมิเตอร์

11.เทปวัดระยะทาง

12.เรนเกจ

13.ไซโครมิเตอร์

14.GPS

15.แพลนิมิเตอร์

16.เทเลสโคป

17.การสำรวจระยะไกล

18.สเตอริโอสโคป

19.ไฮโกรมิเตอร์

20.GIS

.

วิธีการเล่น

1. ให้ผู้เล่นจับคู่กัน

2. แบ่งผู้เล่นออกคนใบ้ และคนทาย

3. คนใบ้จะต้องพยายามบอกลักษณะของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่เห็นจากคนทาย โดยจะต้องไม่ระบุชื่อหรือคำของเครื่องมือที่อยู่ในการ์ดนั้น ขณะใบ้สามารถแสดงท่าทางประกอบได้

4. คนทายจะต้องถือการ์ดเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เอาไว้บนหัวเมื่อเริ่มทาย

5. เมื่อคนใบ้ทำผิดกติกาจะต้องเริ่มใหม่โดยใช้การ์ดใบใหม่ในการใบ้ หรือในกรณีที่ผู้เล่นไม่สามารถทายต่อได้ให้กำเนินการเปลี่ยนการ์ดในการใบ้ได้

วิธีการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แต่ละ ประเภท ม. 1
Ἱ���
วิธีการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แต่ละ ประเภท ม. 1
�١�š
วิธีการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แต่ละ ประเภท ม. 1
������
วิธีการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แต่ละ ประเภท ม. 1
�ٻ���·ҧ�ҡ������Ҿ�ҡ�������
วิธีการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แต่ละ ประเภท ม. 1
����ͧ���෤��������͡���֡��������ʵ��
วิธีการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แต่ละ ประเภท ม. 1
���觢��������ʹ�Ȣͧ��

วิธีการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แต่ละ ประเภท ม. 1
วิธีการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แต่ละ ประเภท ม. 1
วิธีการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แต่ละ ประเภท ม. 1
วิธีการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แต่ละ ประเภท ม. 1

          เนื่องจากเครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีหลายชนิด แต่ละชนิดมิข้อดี ข้อด้อยแตกต่างกัน ดังนั้น การเลือกเครื่องมือทางภูมิศาสตร์เพื่อการรวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะ ทางกายภาพ ลังคมและวัฒนธรรมของทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

          1) ใช้เครื่องมือที่เหมาะกับลักษณะของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่แสดงหรือบรรจุ อยู่ในเครื่องมือภูมิศาสตร์แต่ละชนิดจะมีลักษณะต่างกัน อย่างแผนที่เล่มจะให้ข้อมูลที่เป็นภาพรวม ของพื้นที่หรือข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อย เช่น สภาพภูมิลักษณ์ ภูมิอากาศ ขอบเขตของทวีป หรือถ้าเป็นข้อมูลเศรษฐกิจด้านการเพาะปลูก จะแสดงทั้งชนิด ปริมาณ และการกระจายของแหล่ง ปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ตามบริเวณใดบริเวณหนึ่งของ ประเทศหรือทวีป ถ้าต้องการทราบรายละเอียด ก็ควรใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์ที่เป็นตารางแสดง ปริมาณผลผลิต สถิติจากเว็บไซต์หรือจาก หนังสือ The World Almanac ประกอบ

          2) ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพ คุณภาพในที่นี้มิได้หมายถึงเป็นเครื่องมือที่มี เทคโนโลยีระดับสูง หากแต่เป็นเครื่องมือที่ สามารถให้ข้อมูลได้ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น แผนที่แสดงแหล่งท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์ หลักเพื่อให้ผู้อ่านรู้ว่า มีแหล่งท่องเที่ยวอะไรและ ที่ใดบ้าง ใช้เส้นทางอย่างไร ดังนั้น ขนาด มาตราส่วน ทิศทาง ระยะทางจึงเป็นเพียงข้อมูล สังเขปเท่านั้น การนำแผนที่มาใช้อ้างอิงหาข้อมูลสภาพภูมิลักษณ์ของพื้นที่ ควรใช้แผนที่แสดงลักษณะทางกายภาพจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากกว่า หรือพื้นที่ป่าแอมะซอนที่ได้รับความเสียจากไฟป่า ควรดูภาพจากดาวเทียมประกอบด้วย เป็นต้น

          3) ใช้เครื่องมือทีทันสมัย เครื่องมือภูมิศาสตร์แต่ละชนิดล้วนมีข้อจำกัดเรื่อง ความทันสมัยของข้อมูลต่างกัน ดังนั้น จึงควรพิจารณาช่วงเวลาที่มีการจัดทำเครื่องมือนั้น เพราะถ้าละเลย จะทำให้ไต้รับข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบัน การนำมาวิเคราะห์อาจผิดพลาดได้ เซ่น ถ้าต้องการทราบการเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ใช้ภาพจากดาวเทียมจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากกว่าดูจากลูกโลก หรือต้องการทราบสถิติข้อมูล บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวล่าสุดวันต่อวัน พร้อมระดับความรุนแรง ควรสืบค้นจากเว็บไซต์ ขององค์การสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) ซึ่งเป็นหน่วยงานเฝ้าระวังตรวจจับ แผ่นดินไหวทั่วโลกสามารถระบุพิกัดและความรุนแรงได้ทันที จึงดีกว่าข้อมูลจากแหล่งอื่น เป็นต้น

          4) ตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือ  ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากเครื่องมือ

ทางภูมิศาสตร์ ก่อนนำไปใช้ควรตรวจสอบจากหลาย ๆ แห่ง แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน รวมทั้ง พิจารณาถึงความน่าจะเป็นไปไต้ของข้อมูลนั้นๆ ด้วย ไม่ควรนำไปใช้ทันที โดยเฉพาะข้อมูลจาก เว็บไซต์ซึ่งมีทั้งที่จัดทำจากหน่วยงาน องค์กรที่น่าเชื่อถือ แต่บางครั้งทำมาจากบุคคลแต่ละคน ที่อาจมีการคัดลอกทำสำเนาซ้ำ ๆ เผยแพร่กันต่อไป ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ พบว่าบ่อยครั้งมีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับความเป็นจริง

          5) ใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์หลากหลายผสมกัน เนื่องจากเครื่องมือภูมิศาสตร์ แต่ละชนิดมีข้อดี ข้อจำกัดในการให้ข้อมูลแตกต่างกันออกไป เพื่อลดข้อจำกัดดังกล่าว ในการใช้ เครื่องมือภูมิศาสตร์จึงควรใช้เครื่องมือหลายอย่างผสมผสานกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นการตรวจสอบ ข้อมูลไปในตัว ทำให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องแล้ว การได้มีโอกาสสัมผัสหรือใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์ที่ หลากหลาย จะได้รับรู้ถึงคุณสมบัติของเครื่องมือภูมิศาสตร์แต่ละชนิด อันจะเป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เห็นแนวทางที่จะนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ไปนำเสนอใหม่ผ่านทาง เครื่องมือภูมิศาสตร์ชนิดต่างๆ

อ้างอิง

กระมล ทองธรรมชาติและคณะ.สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มัธยมศึกษาปีที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 7 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .