ศูนย์การศึกษาพิเศษ มี กี่ แห่ง

ผู้ปกครองมักจะสอบถามว่าหากลูกมีความผิดปกติบนใบหน้าแล้วจะสามารถเรียนหนังสือได้หรือไม่ และเรียนได้ที่ไหน

ก่อนอื่นอยากสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองก่อนในเรื่องรูปแบบของการศึกษาพิเศษสําหรับเด็กพิการว่าคืออะไร มีรูปแบบใดบ้าง หลังจากที่เด็กเริ่มเข้าสู่วัยเรียนและแพทย์ได้ประเมินแล้วว่าสามารถเข้าโรงเรียนได้

การศึกษาพิเศษ หมายถึง การจัดการศึกษาสําหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ หรือไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือผู้ด้วยโอกาส

การศึกษาพิเศษเน้นการเพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด  เนื้อหาหลักสูตรเน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ชีวิตประจําวัน ควบคู่ ไปกับทักษะทางวิชาการ  การศึกษาพิเศษ มีการจัดการศึกษาและบริการเพื่อสนับสนุนให้กับบุคคลที่มีความต้องการทางการศึกษาเป็นพิเศษ 3 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
  2. กลุ่มเด็กพิการที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้
  3. กลุ่มด้อยโอกาสและต้องได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษ

กลุ่มที่มักจะกล่าวถึงในเรื่องการศึกษาพิเศษ คือ สองกลุ่มหลัง ซึ่งมักจะพบเจอในระบบโรงเรียนและควรได้รับความช่วยเหลืออย่างถูกต้องเพื่อให้เด็กพัฒนาได้อย่างเหมาะสม

รูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษในประเทศไทย

มี 3 รูปแบบ คือ

  1. การเรียนร่วม - เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมกับเด็กปกติ มีทั้งแบบเต็มเวลา คือ เรียนร่วมกันทั้งวัน และเรียนร่วมเฉพาะบางวิชา
  2. การจัดตั้งโรงเรียนและศูนย์การเรียนเฉพาะเพื่อการศึกษาพิเศษ - เป็นรูปแบบที่จัดขึ้นสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในแต่ละลักษณะโดยเฉพาะ เช่น โรงเรียนสอนคนหูหนวก โรงเรียนสอนคนตาบอด  หรือจัดตั้งเป็นชั้นเรียนเฉพาะในโรงเรียนปกติ เช่น ชั้นเรียนเด็กพิเศษ
  3. การหมุนเวียนครูการศึกษาพิเศษ - เป็นรูปแบบสําหรับพื้นที่ที่ขาดแคลนครูการศึกษาพิเศษหรือมีจํานวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่มากนัก โดยครูการศึกษาพิเศษจะหมุนเวียนไปตามโรงเรียนหรือศูนย์การเรียนรู้สําหรับเรียนร่วม

พบว่ายังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องนักในหมู่ผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มักมองว่าเด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้และไม่เหมาะจะมาโรงเรียน  กลัวโดนล้อ โดนครูตําหนิ จึงไม่กล้าส่งลูกมาเรียน  แท้ที่จริงการเรียนร่วมมีข้อดีมากมาย ดังต่อไปนี้

  1. การเรียนร่วมเป็นการสร้างทัศนคติเชิงบวกให้กับผู้ปกครองที่มีต่อเด็ก เชื่อมันในศักยภาพของเด็กว่า พัฒนาได้  มองข้ามความบกพร่องในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้แสดงตนมากขึ้น
  2. การเรียนร่วมช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพราะไม่ต้องจ้างครูพิเศษมาดูแล
  3. การเรียนร่วมช่วยส่งเสริมศักยภาพของเด็กที่มีความพิเศษ ทําให้พวกเขาค้นหาศักยภาพที่มีในตัวเองได้ดีขึ้น ซึ่งศักยภาพนั้นอาจนํามาสู่ประโยชน์ของโรงเรียน ชุมชน ตลอดจนประเทศชาติได้ในภายหลัง  เมื่อเด็กทำกิจกรรมร่วมกับเด็กคนอื่น ๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ และหากเด็กเกิดความสนใจกิจกรรมใดเป็นพิเศษ คุณครูก็สามารถช่วยส่งเสริมความสนใจนั้นและฝึกฝนพัฒนาต่อยอดไปได้เรื่อย ๆ
  4. การเรียนร่วมทําให้เด็กในชั้นเรียนเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีเมตตา กรุณา มีนํ้าใจ และพร้อมจะให้การช่วยเหลือผู้ที่ด้อยกว่า
  5. การเรียนร่วมช่วยให้ไม่เกิดการแบ่งแยกบุคคลเพราะความแตกต่าง ความบกพร่อง หรือความพิการ และทําให้เด็ก ๆ เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างเหมาะสม
  6. การเรียนร่วมช่วยจําลองการใช้ชีวิตระหว่างคนปกติและคนที่มีความต้องการพิเศษ ส่งเสริมเรื่องทักษะชีวิต การเข้าสังคม กฏระเบียบต่าง ๆ ของโรงเรียน ทําให้ทั้ง 2 กลุ่มสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข
  7. การเรียนร่วมช่วยสร้างความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับเรื่องราวของเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้กับบุคคลทั่วไป และแสดงให้เห็นว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้นสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติ

ทั้งนี้ผู้ปกครองสามารถขอคําปรึกษาแนะนําได้ที่โรงเรียนใกล้บ้านและศูนย์การศึกษาพิเศษประจําจังหวัด เพื่อหาที่เรียนที่เหมาะสมกับบุตรต่อไป  แม้จะมีบุตรเป็นเด็กพิเศษแต่ปัจจุบันมีทางเลือกในการการศึกษามากยิ่งขึ้น

ข้อมูลพื้นฐาน
ศูนย์การศึกษาพิเศษ  เขตการศึกษา ๑๐ จังหวัดอุบลราชธานี


ข้อมูลทั่วไป
           ศูนย์การศึกษาพิเศษ  เขตการศึกษา ๑๐ จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่เลขที่ ๕๐๑ หมู่ที่ ๒๔ (หมู่บ้านดงคำอ้อ) ถนนคลังอาวุธ ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ๓๔๐๐๐       สังกัด สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
           โทรศัพท์  ๐๔๕ – ๒๑๐ ๓๓๗
            มือถือ  ๐๙๓ – ๕๒๔ ๑๑๖๖
           โทรสาร   ๐๔๕ – ๒๑๐ ๓๓๗
           Website: http:// http://www.ubonspecial10.go.th/
           Email:    ubonspecial๑๐@hotmail.com, [email protected]
           มีเนื้อที่ทั้งหมด  ๘ ไร่ ๘๑ ตารางวา
           มีเขตพื้นที่บริการ  จังหวัดนครพนม  จังหวัดมุกดาหาร  จังหวัดอำนาจเจริญ  จังหวัดร้อยเอ็ด     จังหวัดยโสธร  และจังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติโรงเรียนโดยย่อ
           ศูนย์การศึกษาพิเศษ  เขตการศึกษา ๑๐ จังหวัดอุบลราชธานี  เปิดทาการสอนเมื่อวันที่ ๑๙  พฤศจิกายน  ๒๕๓๙ โดยได้จัดตั้งตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ  และในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงสังกัดของศูนย์การศึกษาพิเศษ    จากสังกัดกองการศึกษาพิเศษ  เป็นกองการศึกษาเพื่อคนพิการ
            วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๓ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ เป็นสถานศึกษา เพื่อจัดการศึกษาในลักษณะศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม และเตรียมความพร้อมของคนพิการ รวมทั้งสนับสนุนการเรียนการสอน การจัดสื่อ จัดสิ่งอำนวยความสะดวก การให้บริการและความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้อง ทาการวิจัยและอบรมบุคลากร รวมถึงการจัดครูเดินสอนแก่คนพิการและสถานศึกษา
             ปัจจุบัน ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา ๑๐ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบ  หรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการ  ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการจนตลอดชีวิต  และจัดการศึกษาอบรมแก่ผู้ดูแลคนพิการ  ครู  บุคลากรและชุมชน  รวมทั้งการจัดสื่อ  เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออื่นใด  ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในประกาศกระทรวง