กรุงเทพมหานครอยู่ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนใด

สารบัญ ลง

พระราชบัญญัติ อารัมภบท  นามพระราชบัญญัติ ๒   วันเริ่มใช้พระราชบัญญัติ ๓   การยกเลิกกฎหมายอื่น ๔   การอ้างถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกฎหมายอื่น ๕   ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ หมวด ๑ การจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร  สถานะและเขตอำนาจของกรุงเทพมหานคร ๗   เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร ๘   การที่กฎหมายอื่นอ้างถึงองค์กรตามพระราชบัญญัตินี้ หมวด ๒ การบริหารกรุงเทพมหานคร  องค์กรบริหารกรุงเทพมหานคร ส่วนที่ ๑ สภากรุงเทพมหานคร ๑๐   องค์ประกอบ ๑๑   การเลือกตั้ง ๑๒   ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๑๓   ผู้ต้องห้ามเลือกตั้ง ๑๔   ผู้มีสิทธิรับเลือกตั้ง ๑๕   ผู้มีสิทธิรับเลือกตั้ง ๑๖   ผู้ต้องห้ามรับเลือกตั้ง ๑๗   อายุสภา ๑๘   การยุบสภา ๑๙   การยุบสภา ๒๐   การยุบสภา ๒๑   การเริ่มสมาชิกภาพ ๒๒   บทขจัดการขัดกันของผลประโยชน์ ๒๓   การสิ้นสมาชิกภาพ ๒๔   การสิ้นสมาชิกภาพ ๒๕   ประธานและรองประธานสภา ๒๖   การพ้นจากตำแหน่งประธานและรองประธานสภา ๒๗   อำนาจหน้าที่ประธานและรองประธานสภา ๒๘   เลขานุการประธานและรองประธานสภา ๒๙   ข้อบังคับของสภา ๓๐   การประชุมสภาสมัยสามัญ ๓๑   การประชุมสภาสมัยวิสามัญ ๓๒   องค์ประชุม และสิทธิของฝ่ายบริหารในการร่วมประชุม ๓๓   การออกเสียงของที่ประชุม ๓๔   ขอบเขตการประชุม ๓๕   การประชุมโดยเปิดเผย และการประชุมลับ ๓๖   กระทู้ ๓๗   การอภิปรายทั่วไป ๓๘   คณะกรรมการ ๓๙   คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ ๔๐   การประชุมคณะกรรมการ ๔๑   อำนาจคณะกรรมการ ๔๒   อายุคณะกรรมการ ๔๓   เงินประจำตำแหน่ง เบี้ยประชุม และเงินตอบแทนสำหรับบุคลากรสภา ส่วนที่ ๒ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ๔๔   การเลือกตั้ง ๔๕   ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๔๖   ผู้มีสิทธิรับเลือกตั้ง ๔๗   วาระดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการ ๔๘   การเริ่มวาระดำรงตำแหน่ง และการมอบหมายงานแรกดำรงตำแหน่ง ๔๙   อำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการ ๕๐   อำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการ ๕๑   บทขจัดการขัดกันของผลประโยชน์ ๕๒   การพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการ ๕๓   การพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการ ๕๔   การพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการ ๕๕   รองผู้ว่าราชการ ๕๖   เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการ ๕๗   จำนวนประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา และสมาชิกคณะที่ปรึกษา ๕๘   ความเป็นข้าราชการการเมืองของผู้ว่าราชการ รองผู้ว่าราชการ ฯลฯ ๕๙   เงินเดือน เงินเพิ่ม ฯลฯ สำหรับผู้ว่าราชการ รองผู้ว่าราชการ ฯลฯ หมวด ๓ การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร ส่วนที่ ๑ ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร ๖๐   ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร ๖๑   สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ๖๒   สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ๖๓   สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ๖๔   สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ๖๕   สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ๖๖   สำนัก ๖๗   สำนัก ส่วนที่ ๒ เขตและสภาเขต ๖๘   สำนักงานเขต ๖๙   อำนาจหน้าที่ผู้อำนวยการเขต ๗๐   การให้สำนักงานเขตหนึ่งปฏิบัติการแทนอีกสำนักงานเขตหนึ่ง ๗๑   องค์ประกอบและการเลือกตั้งสภาเขต ๗๒   อายุสภาเขต ๗๓   สมาชิกภาพสมาชิกสภาเขต ๗๔   ประธานและรองประธานสภาเขต ๗๕   การประชุมสภาเขต ๗๖   หน้าที่และสิทธิของฝ่ายบริหารในการประชุมสภาเขต ๗๗   เงินประจำตำแหน่ง เบี้ยประชุม และเงินตอบแทนสำหรับบุคลากรสภาเขต ๗๘   หน้าที่ของผู้อำนวยการเขตในการอำนวยความสะดวกแก่สภาเขต ๗๙   อำนาจหน้าที่สภาเขต ๘๐   บทซึ่งใช้แก่สภาเขตโดยอนุโลม หมวด ๔ การรักษาราชการและปฏิบัติราชการแทน ๘๑   ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ๘๒   ปลัดกรุงเทพมหานคร ๘๓   ผู้อำนวยการสำนัก ๘๔   ผู้อำนวยการเขต ๘๕   เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ๘๖   เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ๘๗   หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ๘๘   อำนาจหน้าที่ของผู้รักษาราชการและปฏิบัติราชการแทน หมวด ๕ อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ๘๙   การจัดทำบริการสาธารณะ ๙๐   การดำเนินคดีอาญา ๙๑   ความเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ๙๒   การเรียกค่าบริการ ๙๓   การดำเนินกิจการนอกเขต ๙๔   บริษัท ๙๕   สหการ ๙๖   การมอบหมายให้เอกชนดำเนินการแทน หมวด ๖ ข้อบัญญัติ ๙๗   วัตถุประสงค์ในการตราข้อบัญญัติ และบทกำหนดโทษในข้อบัญญัติ ๙๘   การเสนอร่างข้อบัญญัติ ๙๙   ร่างข้อบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ๑๐๐   การประกาศใช้ร่างข้อบัญญัติ ๑๐๑   การพิจารณาร่างข้อบัญญัติซ้ำ ๑๐๒   ร่างข้อบัญญัติซึ่งมิได้รับความเห็นชอบ ๑๐๓   ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ๑๐๔   การประกาศใช้ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ๑๐๕   ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายซึ่งมิได้รับความเห็นชอบ ๑๐๖   ระยะเวลาพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ๑๐๗   สถานะของร่างข้อบัญญัติในระหว่างที่สภาสิ้นสุดลง ๑๐๘   ข้อกำหนด หมวด ๗ การคลังและทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร ๑๐๙   ภาษี ๑๑๐   ภาษี ๑๑๑   ภาษี ๑๑๒   ภาษี ๑๑๓   การดำเนินกิจกรรมของเทศบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ๑๑๔   การเรียกค่าธรรมเนียม ๑๑๕   การเก็บและบังคับชำระภาษีและค่าธรรมเนียม ๑๑๖   การมอบหมายให้หน่วยงานอื่นเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมแทน ๑๑๗   รายได้ ๑๑๘   รายจ่าย ๑๑๙   การจ่ายเงิน ๑๒๐   การสอบบัญชี หมวด ๘ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกรุงเทพมหานคร ๑๒๑   การส่งบุคลากรราชการส่วนกลางมาประจำกรุงเทพมหานคร ๑๒๒   เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ๑๒๓   การควบคุมดูแลโดยส่วนกลาง บทเฉพาะกาล ๑๒๔   การใช้กฎหมายและกฎที่มีอยู่แล้วโดยอนุโลมระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายและกฎใหม่ ๑๒๕   การตรากฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง ๑๒๖   การจัดให้มีส่วนราชการ ๑๒๗   การเลือกตั้งสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติและผู้ว่าราชการเป็นครั้งแรก ๑๒๘   การเลือกตั้งในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง ๑๒๙   อัตราเงินเดือนซึ่งใช้ไปพลางก่อน ๑๓๐   สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งอยู่ในตำแหน่งในปัจจุบัน ๑๓๑   สมาชิกฝ่ายบริหารซึ่งอยู่ในตำแหน่งในปัจจุบัน ๑๓๒   การเลิกตำแหน่งพนักงานฝ่ายปกครองท้องที่ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หมายเหตุ

พระราชบัญญัติ ขึ้น • ลง

กรุงเทพมหานครอยู่ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนใด

พระราชบัญญัติ


ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๒๘


ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

เป็นปีที่ ๔๐ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

สารบัญ

มาตรา ๑

พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘"

สารบัญ

มาตรา ๒

พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[1]

สารบัญ

มาตรา ๓

ให้ยกเลิก

(๑)   พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘

(๒)   พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๘

(๓)   พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๙

(๔)   ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐

(๕)   พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๒

(๖)   พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๓

สารบัญ

มาตรา ๔

บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใด อ้างถึงกรุงเทพมหานคร เขต แขวง จังหวัด อำเภอ ตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล ให้ถือว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งนั้น อ้างถึงกรุงเทพมหานคร เขต หรือแขวง ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้

สารบัญ

มาตรา ๕

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

สารบัญ

หมวด ๑ การจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร


สารบัญ

มาตรา ๖

ให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีระเบียบการบริหารตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอาณาเขตท้องที่ตามที่กรุงเทพมหานครมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาณาเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ

สารบัญ

มาตรา ๗

ให้แบ่งพื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครเป็นเขตและแขวงตามพื้นที่เขตและแขวงที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขต ให้กระทำโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทย และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ในเขตหนึ่ง ถ้าเห็นสมควร อาจแบ่งพื้นที่การบริหารออกเป็นแขวงก็ได้ การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวง ให้ทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สารบัญ

มาตรา ๘

บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอ้างถึงเขตท้องที่จังหวัด ให้หมายถึง กรุงเทพมหานคร อ้างถึงเขตท้องที่อำเภอ ให้หมายถึง เขต อ้างถึงเขตท้องที่ตำบล ให้หมายถึง แขวง อ้างถึงหัวหน้าเขต ให้หมายถึง ผู้อำนวยการเขต ตามพระราชบัญญัตินี้

สารบัญ

หมวด ๒ การบริหารกรุงเทพมหานคร


สารบัญ

มาตรา ๙

การบริหารกรุงเทพมหานครประกอบด้วย

(๑)   สภากรุงเทพมหานคร

(๒)   ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

ส่วนที่ ๑ สภากรุงเทพมหานคร


สารบัญ

มาตรา ๑๐

สภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้ง มีจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๑

สารบัญ

มาตรา ๑๑

การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร จะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว ในพระราชกฤษฎีกานั้น ให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง

การกำหนดเขตเลือกตั้ง ให้ถือเกณฑ์ราษฎรหนึ่งแสนคนเป็นประมาณ โดยพยายามจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนราษฎรใกล้เคียงกันเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ต้องไม่เป็นการนำเอาพื้นที่ของเขตหนึ่งไปรวมกับเขตอื่น หรือนำพื้นที่เพียงบางส่วนของแขวงหนึ่งไปรวมกับแขวงอื่น

ในเขตเลือกตั้งหนึ่ง ให้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้หนึ่งคน ถ้าเขตใดมีจำนวนราษฎรไม่พอที่จะจัดให้เป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง ก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นหนึ่งคน และให้ถือเป็นเขตเลือกตั้งหนึ่ง

การกำหนดเขตเลือกตั้ง ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และให้ทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย

หลักเกณฑ์และวิธีการของการกำหนดเขตเลือกตั้ง จำนวนแตกต่างของราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๑๒

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(๑)   สัญชาติไทย

(๒)   อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑ มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง และ

(๓)   มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน

สารบัญ

มาตรา ๑๓

บุคคลผู้มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร คือ

(๑)   วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(๒)   หูหนวกและเป็นใบ้ซึ่งไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้

(๓)   ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

(๔)   ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

(๕)   อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยคำพิพากษา

สารบัญ

มาตรา ๑๔

ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(๑)   สัญชาติไทยโดยการเกิด แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งบิดาเป็นคนต่างด้าวต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๕ ด้วย

(๒)   อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง และ

(๓)   มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันสมัครไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานคร และได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ ให้กรุงเทพมหานคร ในปีที่สมัครหรือปีก่อนที่สมัครหนึ่งปี

สารบัญ

มาตรา ๑๕

ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งบิดาเป็นคนต่างด้าวที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง มาใช้บังคับแก่คุณสมบัติของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งบิดาเป็นคนต่างด้าวที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัตินี้ โดยอนุโลม

สารบัญ

มาตรา ๑๖

บุคคลผู้มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร คือ

(๑)   ติดยาเสพติดให้โทษ

(๒)   เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี

(๓)   เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๑๓ (๑) (๒) (๓) หรือ (๕)

(๔)   ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น

(๕)   เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป และได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท

(๖)   เป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น

(๗)   เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น

(๘)   เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ

(๙)   เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของทางราชการ ไม่ว่าจะเป็นราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจหรือการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น

(๑๐)   เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจไล่ออก ปลดออก ให้ออก หรือเลิกจ้าง เพราะทุจริตต่อหน้าที่ นับแต่วันที่ถูกไล่ออก ปลดออก ให้ออก หรือเลิกจ้าง แล้วแต่กรณี ถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบแปดปี

(๑๑)   เป็นผู้ถูกถอดถอนให้ออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบแปดปี

(๑๒)   เป็นผู้เคยถูกให้ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา ๒๓ (๘) ถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบแปดปี

(๑๓)   เป็นผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น เพราะปฏิบัติการอันฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน ก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่สภาท้องถิ่น กระทำการอันอาจเสื่อมเสียแก่ประโยชน์ของทางราชการหรือของประเทศ ละเลยไม่ปฏิบัติการหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หรือมีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง หรือแก่ท้องถิ่น หรือแก่ราชการ และนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งจนถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบแปดปี

สารบัญ

มาตรา ๑๗

อายุของสภากรุงเทพมหานครมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

เมื่ออายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่อายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดวันเดียวกันทั่วกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๑๘

ในกรณีที่การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกัน จนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครหรือแก่ราชการโดยส่วนรวม ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจยื่นข้อเสนอพร้อมด้วยเหตุผลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครใหม่ได้

ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ประกาศยุบสภากรุงเทพมหานครภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอให้ยุบสภากรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจยื่นข้อเสนอทบทวนให้พิจารณาใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับข้อเสนอตามวรรคหนึ่ง ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเห็นควรให้ยุบสภากรุงเทพมหานครตาม ข้อเสนอทบทวนหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอทบทวนดังกล่าว

ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้สั่งยุบสภากรุงเทพมหานครในเหตุการณ์เดียวกันอีก ให้กระทำได้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดสามสิบวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับข้อเสนอทบทวนตามวรรคสอง

สารบัญ

มาตรา ๑๙

ถ้าปรากฏว่า การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกัน หรือการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้อง จนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครหรือแก่ราชการโดยส่วนรวม และการแก้ไขสภาพเช่นนั้นไม่อาจกระทำได้โดยเหมาะสมด้วยวิธีการอื่นนอกจากการยุบสภากรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี อาจให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครใหม่ได้

สารบัญ

มาตรา ๒๐

การยุบสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ และการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่เห็นชอบด้วยกับข้อเสนอทบทวนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามมาตรา ๑๘ วรรคสาม ให้ทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยพร้อมกับแสดงเหตุผล โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สารบัญ

มาตรา ๒๑

สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง และอยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภากรุงเทพมหานคร

เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานคร หรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน เว้นแต่อายุของสภากรุงเทพมหานครจะเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้เข้ามาแทนนั้น ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภากรุงเทพมหานครที่เหลืออยู่

สารบัญ

มาตรา ๒๒

สมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น

สารบัญ

มาตรา ๒๓

สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้

(๑)   ถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานคร หรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร

(๒)   ตาย

(๓)   ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร และให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันยื่นหนังสือลาออก

(๔)   ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๔ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๑๖ (๔)

(๕)   กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๒๒

(๖)   ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(๗)   ขาดการประชุมสภากรุงเทพมหานครตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภากรุงเทพมหานคร

(๘)   สภากรุงเทพมหานครวินิจฉัยให้ออก เพราะเห็นว่า ได้กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง มติของสภากรุงเทพมหานครในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครลงมติ

ในกรณีตาม (๘) ให้กระทำเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร้องขอ หรือเมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้ง หมดเข้าชื่อเสนอเป็นญัตติให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณา

สารบัญ

มาตรา ๒๔

ในกรณีที่มีข้อกล่าวหาว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๒๓ (๔) (๕) หรือ (๗) ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครดำเนินการสอบสวน ถ้าประธานสภากรุงเทพมหานครรายงานว่า สมาชิกภาพของสมาชิกคนนั้นสิ้นสุดลงตามข้อกล่าวหานั้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบด้วย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง

การพ้นจากตำแหน่งตามมาตรานี้ ให้นำมาตรา ๕๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

สารบัญ

มาตรา ๒๕

ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นประธานสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่ง และรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินสองคน โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศชื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา

ประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละสองปี

สารบัญ

มาตรา ๒๖

ประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้

(๑)   ขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

(๒)   ลาออกจากตำแหน่ง โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก

(๓)   เมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอญัตติให้สภากรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครใหม่ และสภากรุงเทพมหานครมีมติตามนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด โดยให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อได้มีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี

ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครคนใหม่ขึ้นแทน แล้วแต่กรณี และให้ผู้ได้รับเลือกนั้นอยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน

สารบัญ

มาตรา ๒๗

ประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของสภากรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร

รองประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการแทนประธานสภากรุงเทพมหานคร เมื่อประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือตามที่ประธานสภากรุงเทพมหานครมอบหมาย

เมื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานเฉพาะในการประชุมคราวนั้น

สารบัญ

มาตรา ๒๘

ให้มีเลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินจำนวนรองประธานสภากรุงเทพมหานคร โดยประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้ง

สารบัญ

มาตรา ๒๙

สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการสามัญหรือวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร วิธีการประชุม การเสนอและพิจารณาร่างข้อบัญญัติ การเสนอญัตติ การปรึกษา การอภิปราย การลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไป การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย และกิจการอื่นอันเป็นหน้าที่ของสภากรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๓๐

ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก

ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าสองสมัย แต่ต้องไม่เกินสี่สมัย จำนวนสมัยประชุมสามัญและวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีแต่ละสมัยให้สภากรุงเทพมหานครกำหนด

สมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครสมัยหนึ่ง ๆ ให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน แต่ถ้ามีกรณีจำเป็น ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครสั่งขยายสมัยประชุมสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน

การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวัน จะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร

ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครตามสมัยประชุม และเป็นผู้เปิดหรือปิดการประชุม

สารบัญ

มาตรา ๓๑

นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว เมื่อมีกรณีเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด อาจทำคำร้องยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานครขอให้เรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้ ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเรียกประชุม โดยกำหนดวันประชุมภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำร้อง

สมัยประชุมวิสามัญให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน แต่ถ้ามีกรณีจำเป็น ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครสั่งขยายสมัยประชุมวิสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน

การปิดสมัยประชุมวิสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวัน จะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๓๒

การประชุมสภากรุงเทพมหานครทุกคราว ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย มีสิทธิเข้าประชุมสภากรุงเทพมหานคร และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุม แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

สารบัญ

มาตรา ๓๓

การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้หรือในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร

สมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่ง ให้มีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

สารบัญ

มาตรา ๓๔

ห้ามมิให้สภากรุงเทพมหานครประชุมปรึกษาหารือในเรื่องนอกเหนืออำนาจหน้าที่

สารบัญ

มาตรา ๓๕

การประชุมของสภากรุงเทพมหานครย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร แต่ถ้าหากว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดร้องขอให้ประชุมลับ ก็ให้ประชุมลับ

สารบัญ

มาตรา ๓๖

ในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกย่อมมีสิทธิตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบ เมื่อเห็นว่า เรื่องนั้น ๆ ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๓๗

สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร

ญัตติดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร และให้ประธานสภากรุงเทพมหานครแจ้งไปยังผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อกำหนดวันเวลาสำหรับการเปิดอภิปรายทั่วไป ซึ่งต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับแจ้ง

การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรานี้ สภากรุงเทพมหานครจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้

สารบัญ

มาตรา ๓๘

สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร เพื่อกระทำกิจการ หรือพิจารณา สอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือบุคคลผู้มิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครให้สภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญได้ จำนวนกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอนั้น ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๓๙

คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ ให้มีกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอชื่อบุคคลผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครให้สภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นกรรมการได้ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งคณะ

สารบัญ

มาตรา ๔๐

การประชุมคณะกรรมการตามมาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม และให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานครโดยอนุโลม

สารบัญ

มาตรา ๔๑

คณะกรรมการของสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเรียกเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณา สอบสวน หรือศึกษาอยู่นั้นได้ ทั้งนี้ จะกระทำนอกสมัยประชุมของสภากรุงเทพมหานครก็ได้ และถ้ามีความจำเป็น คณะกรรมการแต่ละคณะอาจตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นพิจารณารายละเอียดในเรื่องที่เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการ แล้วเสนอรายงานต่อคณะกรรมการก็ได้

สารบัญ

มาตรา ๔๒

คณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานครให้มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละสองปี

คณะกรรมการวิสามัญตามมาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙ ให้สิ้นสภาพไป หลังจากที่ได้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย และเสนอรายงานต่อสภากรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว

สารบัญ

มาตรา ๔๓

ให้ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร รวมทั้งคณะกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น หรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการตั้งขึ้น ได้รับเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา จากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

ส่วนที่ ๒ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร


สารบัญ

มาตรา ๔๔

ให้กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนหนึ่งซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นโดยวิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว ในพระราชกฤษฎีกานั้น ให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง

หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ผลของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สารบัญ

มาตรา ๔๕

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๒ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓

สารบัญ

มาตรา ๔๖

ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๔ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖

สารบัญ

มาตรา ๔๗

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้จัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดวาระ แต่ถ้าตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครว่างลงโดยเหตุอื่น ให้ทำการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในเก้าสิบวัน และให้ผู้ได้รับการเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งโดยเริ่มนับวาระใหม่

สารบัญ

มาตรา ๔๘

ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้ง

ให้มีการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในเจ็ดวันนับแต่วันเลือกตั้ง

สารบัญ

มาตรา ๔๙

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑)   กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย

(๒)   สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร

(๓)   แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ

(๔)   บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย

(๕)   วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย

(๖)   รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

(๗)   อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น

สารบัญ

มาตรา ๕๐

ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายอื่นได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรี หรือคณะเทศมนตรี แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม ทั้งนี้ เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

สารบัญ

มาตรา ๕๑

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

(๑)   ต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

(๒)   ต้องไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น นอกเหนือไปจากที่ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ หรือบริษัทปฏิบัติกับบุคคลอื่นในธุรกิจการงานตามปกติ

(๓)   ต้องไม่เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับกรุงเทพมหานคร หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น เว้นแต่กรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้เป็นคู่สัญญาหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาอยู่ก่อนได้รับการเลือกตั้ง

บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ หรือเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับเงินตอบแทน เงินค่าเบี้ยประชุม หรือเงินอื่นใด เนื่องจากการดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภา หรือวุฒิสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร หรือสภากรุงเทพมหานคร หรือสภาท้องถิ่นอื่น หรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือกรรมการที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโดยตำแหน่ง

สารบัญ

มาตรา ๕๒

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้

(๑)   ถึงคราวออกตามวาระ

(๒)   ตาย

(๓)   ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก

(๔)   ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๖ ยกเว้นลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ (๔)

(๕)   กระทำการอันต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๑

(๖)   ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(๗)   มีการยุบสภากรุงเทพมหานคร

(๘)   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมติคณะรัฐมนตรีสั่งให้ออกจากตำแหน่ง เมื่อมีกรณีแสดงให้เห็นว่า ได้กระทำการอันเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง หรือปฏิบัติการหรือละเลยไม่ปฏิบัติการอันควรปฏิบัติในลักษณะที่เห็นได้ว่า จะเป็นเหตุให้เสียหายอย่างร้ายแรงแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม หรือแก่การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน

ในกรณีมีพฤติการณ์ดังที่ระบุไว้ตาม (๘) สภากรุงเทพมหานครจะมีมติขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาก็ได้ มติของสภากรุงเทพมหานครในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต้องนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งมติของสภากรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๕๓

เมื่อปรากฏกรณีตามมาตรา ๕๒ (๔) หรือ (๕) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้มีการสอบสวนก่อนมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง แต่ผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง

ในระหว่างรอคำพิพากษาของศาล ให้ผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งพักการปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจนกว่าศาลจะพิพากษา

ในกรณีผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งไม่ยื่นฟ้องต่อศาล หรือศาลพิพากษาให้เป็นไปตามคำสั่ง ให้ผู้ถูกสั่งนั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกคำสั่ง

วันที่ได้รับคำสั่งให้ออกจากตำแหน่ง ให้หมายถึง วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับคำสั่งดังกล่าว

สารบัญ

มาตรา ๕๔

ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๕๒ (๑) คงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับเลือกตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นใดนอกจากการออกตามวาระ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ถ้าไม่มีปลัดกรุงเทพมหานคร หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งรองปลัดกรุงเทพมหานครหรือข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๕๕

ให้มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำนวนไม่เกินสี่คนตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้ ช่วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการบริหารราชการของกรุงเทพมหานครตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย

คำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สารบัญ

มาตรา ๕๖

ให้มีเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เกินจำนวนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๕๗

ในกรณีมีการแต่งตั้งประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา และคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา ๔๙ (๓) ตำแหน่งดังกล่าวจะมีจำนวนรวมกันทั้งหมดเกินเก้าคนไม่ได้

สารบัญ

มาตรา ๕๘

ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษา และที่ปรึกษา เป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง

ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองมาใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา จากบุคคลซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นสมควร และจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๕๑ มาใช้บังคับแก่บุคคลดังกล่าวด้วย

เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร ผู้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง แล้วแต่กรณี พ้นจากตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตามวรรคสองพ้นจากตำแหน่งด้วย นอกจากการพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว บุคคลดังกล่าวต้องพ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง หรือเมื่อกระทำการต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๑ หรือถูกสั่งให้ออกตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือประธานสภากรุงเทพมหานครไม่ว่าจะเป็นไปโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม

สารบัญ

มาตรา ๕๙

ให้ข้าราชการการเมืองตามมาตรา ๕๘ และคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ได้รับเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นสำหรับตำแหน่ง ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา จากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

หมวด ๓ การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร


สารบัญ

ส่วนที่ ๑ ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร


สารบัญ

มาตรา ๖๐

ให้จัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานครดังนี้

(๑)   สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร

(๒)   สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

(๓)   สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร

(๔)   สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร

(๕)   สำนักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก

(๖)   สำนักงานเขต

การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงสำนัก หรือการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานตามวรรคหนึ่ง จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร โดยทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร และประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สารบัญ

มาตรา ๖๑

สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร มีเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ขึ้นต่อปลัดกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครขึ้นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร และมีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๖๒

สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการการเมือง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และมีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการการเมือง เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และมีหัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ เป็นผู้ช่วยของเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและของผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และในการบังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ขึ้นต่อเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ

สารบัญ

มาตรา ๖๓

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ขึ้นต่อปลัดกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ขึ้นต่อประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และจะให้มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคน เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครก็ได้

สารบัญ

มาตรา ๖๔

สำนักปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ มีปลัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และจะให้มีรองปลัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคน เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานครก็ได้

สารบัญ

มาตรา ๖๕

นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร กำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานครรองจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๖๖

สำนักตามมาตรา ๖๐ (๕) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้อำนวยการสำนัก ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานครรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนัก และจะให้มีรองผู้อำนวยการสำนัก ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคน เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักก็ได้

สารบัญ

มาตรา ๖๗

นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๖ ให้ผู้อำนวยการสำนักมีอำนาจหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนด และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และปลัดกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของสำนักที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร กำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของสำนักที่รับผิดชอบ

สารบัญ

ส่วนที่ ๒ เขตและสภาเขต


สารบัญ

มาตรา ๖๘

สำนักงานเขตมีผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร รับผิดชอบการปฏิบัติราชการภายในเขต และจะให้มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้

สารบัญ

มาตรา ๖๙

ให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(๑)   อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

(๒)   อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการเขต

(๓)   อำนาจหน้าที่ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย

สารบัญ

มาตรา ๗๐

ในกรณีที่เป็นการสมควร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจสั่งให้สำนักงานเขตใดปฏิบัติหน้าที่ใดแทนสำนักงานเขตอื่นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ และจะให้ผู้อำนวยการเขตใดเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่นั้นก็ได้ แต่ต้องประกาศการสั่งการดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา

สารบัญ

มาตรา ๗๑

ในเขตหนึ่ง ๆ ให้มีสภาเขต ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้ง มีจำนวนอย่างน้อยเขตละเจ็ดคน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน เศษของหนึ่งแสน ถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้น ให้นับเป็นหนึ่งแสน

จำนวนสมาชิกสภาเขตที่แต่ละเขตจะพึงมี ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศจำนวนสมาชิกสภาเขตที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขต

คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต ให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

การประกาศตามวรรคสอง และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต ให้กระทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานคร และประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สารบัญ

มาตรา ๗๒

อายุของสภาเขตมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต

เมื่ออายุของสภาเขตสิ้นสุดลง ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่อายุของสภาเขตสิ้นสุดลง

สารบัญ

มาตรา ๗๓

สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเขตเริ่มแต่วันเลือกตั้ง และอยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภาเขต

เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาเขตในเขตใดว่างลงถึงกึ่งจำนวนของสมาชิกสภาเขตที่เขตนั้นจะมีได้ตามประกาศในมาตรา ๗๑ วรรคห้า สมาชิกภาพของสภาเขตแห่งนั้นเป็นอันสิ้นสุดลง และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่ภายในเก้าสิบวันนับแต่มีกรณีดังกล่าว

สารบัญ

มาตรา ๗๔

ให้สภาเขตเลือกสมาชิกสภาเขตเป็นประธานสภาเขตคนหนึ่ง และรองประธานสภาเขตคนหนึ่ง โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก

ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศชื่อประธานสภาเขตและรองประธานสภาเขตผู้ได้รับเลือก

ประธานสภาเขตและรองประธานสภาเขตดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละหนึ่งปี

สารบัญ

มาตรา ๗๕

ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต ให้ผู้อำนวยการเขตนัดประชุมสมาชิกสภาเขตเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก

ให้สภาเขตกำหนดให้มีการประชุมสภาเขตอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง และจะประชุมในวันใด เวลาใด ให้เป็นไปตามมติของสภาเขต

สารบัญ

มาตรา ๗๖

ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต และหรือผู้ที่ผู้อำนวยการเขตมอบหมาย มีหน้าที่เข้าประชุมสภาเขต และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมสภาเขต แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

สารบัญ

มาตรา ๗๗

ให้ประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขตได้รับเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา จากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๗๘

ให้ผู้อำนวยการเขตอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการประชุมและกิจการอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาเขต

สารบัญ

มาตรา ๗๙

ให้สภาเขตมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(๑)   ให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนพัฒนาเขตต่อผู้อำนวยการเขตและสภากรุงเทพมหานคร

(๒)   จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขต ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรืองบประมาณรายจ่าย

(๓)   สอดส่องและติดตามดูแลการดำเนินการของสำนักงานเขต เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎร

(๔)   ให้คำแนะนำหรือข้อสังเกตต่อผู้อำนวยการเขต เกี่ยวกับการปรับปรุงหรือแก้ไขการบริการประชาชนภายในเขต หากผู้อำนวยการเขตไม่ดำเนินการใด ๆ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ทราบ ให้สภาเขตแจ้งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาดำเนินการต่อไป

(๕)   ให้คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตร้องขอ

(๖)   แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกระทำกิจการ หรือพิจารณา สอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับการงานของสภาเขต ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนั้น

(๗)   หน้าที่อื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎหมายหรือที่สภากรุงเทพมหานครมอบหมาย

ให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขตตามความเหมาะสม ซึ่งการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวจะต้องได้รับการพิจารณาจัดสรรจากสภาเขตตาม (๒)

สารบัญ

มาตรา ๘๐

ให้นำความในมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๖ (๑) และ (๒) โดยขอลาออกต่อสภาเขต มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ มาใช้บังคับแก่สภาเขต สมาชิกสภาเขต รองประธานสภาเขต และประธานสภาเขต โดยอนุโลม

สารบัญ

หมวด ๔ การรักษาราชการแทนและปฏิบัติราชการแทน


สารบัญ

มาตรา ๘๑

อำนาจหน้าที่ในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย

ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้ตามมาตรา ๕๕ เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีปลัดกรุงเทพมหานคร หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘๒ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ได้ แต่ถ้าจะมอบให้ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก หรือผู้อำนวยการเขต ปฏิบัติราชการแทน ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สารบัญ

มาตรา ๘๒

ในกรณีที่มีรองปลัดกรุงเทพมหานคร การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองปลัดกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย

ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดกรุงเทพมหานครหลายคน ให้รองปลัดกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกรุงเทพมหานคร หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนัก หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก คนใดคนหนึ่ง เป็นผู้รักษาราชการแทน

อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ปลัดกรุงเทพมหานครจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้บัญญัติในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น ปลัดกรุงเทพมหานครจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานครก็ได้ แต่ถ้าจะมอบให้ผู้อำนวยการสำนัก หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า ปฏิบัติราชการแทนในนามปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สารบัญ

มาตรา ๘๓

ในกรณีที่มีรองผู้อำนวยการสำนัก การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองผู้อำนวยการสำนักให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการสำนักมีคำสั่งมอบหมาย

ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้อำนวยการสำนักหลายคน ให้รองผู้อำนวยการสำนักผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีรองผู้อำนวยการสำนัก หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักนั้น คนใดคนหนึ่ง เป็นผู้รักษาราชการแทน

อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการสำนักจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น ผู้อำนวยการสำนักจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักก็ได้ แต่ถ้าจะมอบให้ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักนั้น ปฏิบัติราชการแทนในนามผู้อำนวยการสำนัก ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สารบัญ

มาตรา ๘๔

ในกรณีที่มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการเขตมีคำสั่งมอบหมาย

ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเขต หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหลายคน ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า คนใดคนหนึ่ง เป็นผู้รักษาราชการแทน

อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการเขตจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น ผู้อำนวยการเขตจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต หรือหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานเขต ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้

สารบัญ

มาตรา ๘๕

การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามที่เลขานุการสภากรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย

ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหลายคน ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน

สารบัญ

มาตรา ๘๖

การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามที่เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย

ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหลายคน ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน

สารบัญ

มาตรา ๘๗

ในกรณีที่มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย

ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครหลายคน ให้ประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน

สารบัญ

มาตรา ๘๘

ให้ผู้รักษาราชการแทนตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน

ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งใด หรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้น มอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอำนาจ

ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนทำหน้าที่กรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในระหว่างที่รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนด้วย แล้วแต่กรณี

สารบัญ

หมวด ๕ อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร


สารบัญ

มาตรา ๘๙

ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการในเขตกรุงเทพมหานครในเรื่องดังต่อไปนี้

(๑)   การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งนี้ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและตามกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร

(๒)   การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด

(๓)   การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

(๔)   การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

(๕)   การผังเมือง

(๖)   การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ

(๗)   การวิศวกรรมจราจร

(๘)   การขนส่ง

(๙)   การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

(๑๐)   การดูแลรักษาที่สาธารณะ

(๑๑)   การควบคุมอาคาร

(๑๒)   การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

(๑๓)   การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

(๑๔)   การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

(๑๕)   การสาธารณูปโภค

(๑๖)   การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

(๑๗)   การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน

(๑๘)   การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

(๑๙)   การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

(๒๐)   การควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยในโรงมหรสพและสาธารณสถานอื่น ๆ

(๒๑)   การจัดการศึกษา

(๒๒)   การสาธารณูปการ

(๒๓)   การสังคมสงเคราะห์

(๒๔)   การส่งเสริมการกีฬา

(๒๕)   การส่งเสริมการประกอบอาชีพ

(๒๖)   การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร

(๒๗)   หน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เทศบาลนคร หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย หรือที่กฎหมายระบุเป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร

บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคจะมอบให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติก็ได้ โดยให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือประกาศ แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ทำเป็นข้อบังคับหรือประกาศ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

สารบัญ

มาตรา ๙๐

ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๘๙ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าส่วนราชการที่เป็นสำนักหรือเทียบเท่าสำนัก ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต และข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และให้มีฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งมีอำนาจเข้าไปในอาคารหรือบริเวณที่ตั้งอาคารที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติดังกล่าว ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น และเพื่อการนี้ ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริง หรือสั่งให้แสดงเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง จากบุคคลที่อยู่หรือทำงานในสถานที่นั้น และให้มีอำนาจยึดหรืออายัดเอกสาร หลักฐาน ยานพาหนะ หรือสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รวมทั้งให้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดได้ด้วย

ในกรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิดตามวรรคสอง ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก ผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี เห็นว่า ผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษจำคุก ให้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดค่าปรับได้ เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ ให้ถือว่า คดีเลิกกัน

ถ้าผู้ต้องหาไม่ยอมตามที่ปรับ หรือเมื่อยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง มีอำนาจในการสอบสวน และมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

เงินค่าปรับตามมาตรานี้ ให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๙๑

ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา และข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

สารบัญ

มาตรา ๙๒

กรุงเทพมหานครอาจให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นโดยเรียกค่าบริการได้ โดยตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๙๓

กรุงเทพมหานครอาจดำเนินกิจการนอกเขตกรุงเทพมหานครได้ เมื่อ

(๑)   การนั้นจำเป็นต้องกระทำ และเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร และ

(๒)   ได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และ

(๓)   ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าราชการจังหวัด ราชการส่วนท้องถิ่น หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี

สารบัญ

มาตรา ๙๔

กรุงเทพมหานครอาจทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่น โดยก่อตั้งบริษัท หรือถือหุ้นในบริษัทได้ เมื่อ

(๑)   บริษัทนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะกิจการเป็นสาธารณูปโภค แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่กรุงเทพมหานครได้กระทำอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และ

(๒)   กรุงเทพมหานครต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าเกินร้อยละห้าสิบของทุนที่บริษัทนั้นจดทะเบียนไว้ ในกรณีที่มีกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นถือหุ้นอยู่ในบริษัทเดียวกัน ให้นับหุ้นที่ถือนั้นรวมกัน และ

(๓)   สภากรุงเทพมหานครมีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด และ

(๔)   ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

การเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่กรุงเทพมหานครถืออยู่ ต้องได้รับอนุมัติจากสภากรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๙๕

ถ้ากิจการใดอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครอาจดำเนินการนั้นร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นได้ โดยจัดตั้งเป็นองค์การเรียกว่า สหการ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย ผู้แทนของกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี

การจัดตั้งสหการจะกระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกานั้น ให้กำหนดชื่อ อำนาจหน้าที่ และวิธีดำเนินงาน เมื่อจะยุบเลิกสหการให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ระบุวิธีจัดการทรัพย์สินไว้ด้วย

สารบัญ

มาตรา ๙๖

ในกรณีจำเป็น กรุงเทพมหานครอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทนกรุงเทพมหานครได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสียก่อน

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้กระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

สิทธิในการกระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไปมิได้

สารบัญ

หมวด ๖ ข้อบัญญัติ


สารบัญ

มาตรา ๙๗

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะตราขึ้นได้โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานครในกรณีดังต่อไปนี้

(๑)   เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร

(๒)   เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

(๓)   การดำเนินการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร

(๔)   การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้าง และการพัสดุ

ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท

สารบัญ

มาตรา ๙๘

ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะเสนอได้ก็แต่โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ถ้าสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอ ต้องมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครลงนามรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด

ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะเสนอได้ ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๙๙

ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน หมายความถึง ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยข้อความต่อไปนี้ทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่ง

(๑)   การตั้งขึ้น หรือยกเลิก หรือลด หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีอากร

(๒)   การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินของกรุงเทพมหานคร หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานคร

(๓)   การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้

(๔)   การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้าง และการพัสดุ

(๕)   การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร

(๖)   การออกพันธบัตรของกรุงเทพมหานคร

ในกรณีเป็นที่สงสัยว่า ร่างข้อบัญญัติใดเป็นร่างข้อบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือไม่ ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้วินิจฉัย

สารบัญ

มาตรา ๑๐๐

เมื่อสภากรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและลง มติเห็นชอบแล้ว ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครส่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบ และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ผ่านความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๑๐๑

ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยกับสภากรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครส่งร่างข้อบัญญัตินั้น พร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่ เห็นชอบด้วย ให้สภากรุงเทพมหานครภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครได้รับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานคร เพื่อให้สภา กรุงเทพมหานครพิจารณาใหม่ ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ส่งให้สภากรุงเทพมหานครภายในเวลาดังกล่าว ให้ถือว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบด้วย และให้ประธานสภากรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัตินั้นแทนผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย

ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วย และส่งให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณาใหม่ สภากรุงเทพมหานครจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ ต่อเมื่อเวลาได้ล่วงพ้นไปสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครส่งกลับให้สภากรุงเทพมหานคร นอกจากร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน สภากรุงเทพมหานครอาจยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที

ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครมีมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครส่งร่างข้อบัญญัติดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๐๐ ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ดำเนินการตามกำหนด ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัตินั้นแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย

สารบัญ

มาตรา ๑๐๒

ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วย ให้เป็นอันตกไป ยกเว้นร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย

ร่างข้อบัญญัติที่ตกไปตามวรรคหนึ่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะเสนอใหม่ได้เมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัตินั้น

สารบัญ

มาตรา ๑๐๓

งบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานครให้ทำเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอ ถ้าข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณที่แล้วนั้นไปพลางก่อน

ถ้าปีใดจำนวนเงินซึ่งได้กำหนดไว้ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณไม่พอสำหรับการใช้จ่ายประจำปีก็ดี หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายขึ้นใหม่ในระหว่างปีก็ดี ให้ทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

สารบัญ

มาตรา ๑๐๔

ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๖ ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครเห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกคณะกรรมการวิสามัญตามมาตรา ๓๙ เพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ

สารบัญ

มาตรา ๑๐๕

ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๖ ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ให้สภากรุงเทพมหานครตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนแปดคน และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตั้งบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนเจ็ดคน ประกอบเป็นคณะกรรมการร่วม เพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้งในสาระสำคัญที่บัญญัติไว้ในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย แล้วรายงานผลการพิจารณาต่อสภากรุงเทพมหานครภายในสิบวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครตั้งคณะกรรมการร่วม

ถ้าสภากรุงเทพมหานครยังไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการร่วมด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด ให้ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเป็นอันตกไป และให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีที่แล้วนั้นไปพลางก่อน ในกรณีเช่นว่านี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งยุบสภากรุงเทพมหานคร ถ้ามีข้อเสนอของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๑๐๖

ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ และร่างข้อบัญญัติงบ ประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม สภากรุงเทพมหานครจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นเป็นครั้งแรก

ถ้าสภากรุงเทพมหานครพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่า สภากรุงเทพมหานครได้ให้ความเห็นชอบในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้น และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ

สารบัญ

มาตรา ๑๐๗

ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครสิ้นอายุ หรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร บรรดาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่สภากรุงเทพมหานครยังมิได้ให้ความเห็นชอบหรือที่สภากรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังมิได้ลงนามและประกาศใช้เป็นกฎหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันรับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานคร ให้เป็นอันตกไป

สารบัญ

มาตรา ๑๐๘

ในระหว่างที่ไม่มีสภากรุงเทพมหานคร หรือในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความปลอดภัยสาธารณะ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ และจะเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครให้ทันท่วงทีมิได้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จะออกข้อกำหนดกรุงเทพมหานครให้ใช้บังคับดังเช่นข้อบัญญัติ และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

ในการประชุมสภากรุงเทพมหานครคราวต่อไป ให้นำข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นเสนอต่อสภากรุงเทพมหานครเพื่ออนุมัติ ถ้าสภากรุงเทพมหานครอนุมัติแล้ว ให้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นใช้บังคับเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครต่อไป ถ้าสภากรุงเทพมหานครไม่อนุมัติ ให้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นเป็นอันตกไป แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้กระทำไปในระหว่างที่ใช้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้น

การอนุมัติหรือไม่อนุมัติข้อกำหนดกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีไม่อนุมัติ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สารบัญ

หมวด ๗ การคลังและทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร


สารบัญ

มาตรา ๑๐๙

ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย อากรการฆ่าสัตว์ และผลประโยชน์อื่นอันเนื่องในการฆ่าสัตว์ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้กรุงเทพมหานครจัดเก็บเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

สารบัญ

มาตรา ๑๑๐

ภาษีและค่าธรรมเนียมรถ หรือรถยนต์ หรือล้อเลื่อน ที่จัดเก็บได้ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

สารบัญ

มาตรา ๑๑๑

ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีบำรุงกรุงเทพมหานคร สำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกัน และก๊าซปิโตรเลียม ซึ่งสถานการค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานครเป็นผู้จำหน่าย ได้ไม่เกินลิตรละห้าสตางค์ ราคาขายปลีกที่สูงเพิ่มขึ้นไม่เกินจำนวนภาษีที่เรียกเก็บตามมาตรานี้ ไม่ถือว่า เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด

สารบัญ

มาตรา ๑๑๒

กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละสิบของภาษี และค่าธรรมเนียมประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภทดังต่อไปนี้

(๑)   ภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร

(๒)   ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา

(๓)   ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน

ในการเสียภาษีและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้ เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง

ภาษีและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นภาษีและค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

สารบัญ

มาตรา ๑๑๓

กิจการใดที่กฎหมายมอบหน้าที่ให้เทศบาลเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ถ้ากิจการนั้นอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายนั้น และบรรดาค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับเนื่องในกิจการเช่นว่านั้น ให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๑๑๔

กรุงเทพมหานครอาจออกข้อบัญญัติเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ จากผู้ซึ่งใช้หรือได้ประโยชน์จากบริการสาธารณะที่กรุงเทพมหานครจัดให้มีขึ้นได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

สารบัญ

มาตรา ๑๑๕

ในการจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจและหน้าที่ปฏิบัติการตามกฎหมาย เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการนั้นจะได้กำหนดไว้เป็นประการอื่น

ในการบังคับเรียกเก็บภาษีอากรค้างชำระ ให้ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการเขต โดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจสั่งยึด และสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรได้ โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง

วิธียึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวในวรรคสอง ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม

เงินที่ได้จากการขายทอดตลาด เมื่อหักค่าธรรมเนียมกับค่าใช้จ่ายในการยึด และขาย และเงินภาษีอากรค้างชำระออกแล้ว ถ้ามีเงินเหลือ ให้คืนแก่เจ้าของทรัพย์สิน

สารบัญ

มาตรา ๑๑๖

กรุงเทพมหานครจะมอบให้กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียม เรียกเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมเพื่อกรุงเทพมหานครก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงแล้ว ให้กระทรวง ทบวง กรม นั้นส่งมอบให้แก่กรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๑๑๗

กรุงเทพมหานครอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้

(๑)   รายได้จากทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร

(๒)   รายได้จากการสาธารณูปโภคของกรุงเทพมหานคร

(๓)   รายได้จากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร การทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่น หรือจากสหการ

(๔)   ภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นของเทศบาล หรือมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ

(๕)   ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้

(๖)   ค่าบริการตามมาตรา ๙๒

(๗)   รายได้จากการจำหน่ายพันธบัตร เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

(๘)   เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่าง ๆ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร

(๙)   เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ส่วนราชการ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น และเงินสมทบจากรัฐบาล

(๑๐)   เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ

(๑๑)   เงินกู้จากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร

(๑๒)   เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้

(๑๓)   เงินช่วยเหลือหรือเงินค่าตอบแทน

(๑๔)   รายได้จากทรัพย์สินของแผ่นดินหรือรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการเพื่อมุ่งแสวงหากำไรในกรุงเทพมหานครตามที่จะมีกฎหมายกำหนด

(๑๕)   รายได้จากการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินหรือค่าธรรมเนียมพิเศษตามที่จะมีกฎหมายกำหนด

(๑๖)   รายได้อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๑๑๘

กรุงเทพมหานครอาจมีรายจ่ายดังต่อไปนี้

(๑)   เงินเดือน

(๒)   ค่าจ้างประจำ

(๓)   ค่าจ้างชั่วคราว

(๔)   ค่าตอบแทน

(๕)   ค่าใช้สอย

(๖)   ค่าสาธารณูปโภค

(๗)   ค่าวัสดุ

(๘)   ค่าครุภัณฑ์

(๙)   ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

(๑๐)   เงินอุดหนุน

(๑๑)   รายจ่ายอื่นตามที่กฎหมายหรือระเบียบของกรุงเทพมหานครกำหนดไว้

(๑๒)   รายจ่ายตามข้อผูกพัน

สารบัญ

มาตรา ๑๑๙

การจ่ายเงินของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามที่ได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม การจ่ายเงิน ซึ่งมิได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติว่าด้วยการนั้น

สารบัญ

มาตรา ๑๒๐

ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การบัญชี การเงิน และทรัพย์สินอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานคร

เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงนั้นในราชกิจจานุเบกษาโดยมิชักช้า

รายงานการรับจ่ายเงินประจำปีตามวรรคสอง เมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว ให้ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อเสนอสภากรุงเทพมหานคร

สารบัญ

หมวด ๘ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกรุงเทพมหานคร


สารบัญ

มาตรา ๑๒๑

เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการอื่นนอกเหนือจากที่พระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ถ้ากระทรวง ทบวง กรมใดเห็นสมควรส่งข้าราชการมาประจำกรุงเทพมหานคร เพื่อปฏิบัติราชการในหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ ก็ย่อมกระทำได้ โดยทำความตกลงกับกรุงเทพมหานคร

สารบัญ

มาตรา ๑๒๒

การตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนในกรุงเทพมหานคร ให้รัฐบาลตั้งให้กรุงเทพมหานครโดยตรง

ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้แก่กรุงเทพมหานครนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะออกระเบียบกำหนดการใช้จ่ายเงินดังกล่าวก็ได้

สารบัญ

มาตรา ๑๒๓

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร เพื่อการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง หรือสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครชี้แจงแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นว่า การปฏิบัติใด ๆ ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขัดต่อกฎหมาย มติของคณะรัฐมนตรี หรือเป็นไปในทางที่อาจทำให้เสียประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะยับยั้งหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรก็ได้

สารบัญ

บทเฉพาะกาล


สารบัญ

มาตรา ๑๒๔

ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา ออกกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่ง ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาใช้บังคับโดยอนุโลม

สารบัญ

มาตรา ๑๒๕

ให้ดำเนินการให้มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

สารบัญ

มาตรา ๑๒๖

ให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีส่วนราชการตามมาตรา ๖๐ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

สารบัญ

มาตรา ๑๒๗

ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขต ให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

สารบัญ

มาตรา ๑๒๘

ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามกฎหมายนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดกรุงเทพมหานคร

ในการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเขตแต่ละเขตเป็นเขตเลือกตั้ง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขตนั้น

จำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่แต่ละเขตจะพึงมี ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในราชกิจจานุเบกษา โดยถือเกณฑ์หนึ่งแสนคนต่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน เขตใดมีราษฎรไม่ถึงหนึ่งแสนคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นได้หนึ่งคน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคน ก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน เศษของหนึ่งแสน ถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้น ให้นับเป็นหนึ่งแสน

การประกาศตามวรรคสอง และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สารบัญ

มาตรา ๑๒๙

ในระหว่างที่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๕๙ ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐ มาใช้บังคับ

สารบัญ

มาตรา ๑๓๐

นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา ๑๒๗ ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คงมีวาระอยู่ในตำแหน่งต่อไป ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว เมื่อมีเหตุอันสมควร ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งคณะหรือแต่ละบุคคลพ้นจากตำแหน่ง และจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้

ในกรณีที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้

สารบัญ

มาตรา ๑๓๑

ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับเลือกตั้งตามมาตรา ๑๒๗ จะเข้ารับหน้าที่ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว เมื่อมีเหตุอันสมควร ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่ง และจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้

สารบัญ

มาตรา ๑๓๒

ให้ตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนัน ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงมีอยู่ต่อไป ถ้าในเขตหรือแขวงใดหมดความจำเป็นต้องมีตำแหน่งดังกล่าว ให้กรุงเทพมหานครประกาศยกเลิกตำแหน่งนั้นในราชกิจจานุเบกษา

สารบัญ

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพลเอก ป. ติณสูลานนท์นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ ขึ้น

หมายเหตุ

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน แม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วรวม ๕ ครั้ง ก็ยังมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการกรุงเทพมหานครมีความเหมาะสม และคล่องตัว สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้โดยสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เป็นไปตามหลักการปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

สารบัญ

เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๑๕/ฉบับพิเศษ/หน้า ๑/๓๑ สิงหาคม ๒๕๒๘



กรุงเทพมหานครอยู่ในระบบบริหารราชการส่วนใด

กรุงเทพมหานคร (ย่อ: กทม.) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่บริหารเขตการปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528.

กรุงเทพมีการปกครองแบบใด

กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด คำว่า "กรุงเทพมหานคร" นั้นยังใช้เรียกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย มีโครงสร้างประกอบด้วยสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง แต่บางคนก็มาจากคำสั่งของคณะรัฐประหาร

ข้าราชการ ก ทม สังกัดกระทรวง อะไร

อำนาจหน้าที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานค (..) (1) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับนโยบายการบริหารงานบุคคล และจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร

บทบาทหน้าที่ของกรุงเทพมหานครมีอะไร

อำนาจหน้าที่.
การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด.
ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย.
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง.
การผังเมือง.
การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกหรือทางน้ำ และทางระบายน้ำ.
การจัดการจราจรและการวิศวกรรมจราจร.