แนวคิดพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนมีกี่ประการ

หลักการและแนวคิดสิทธิมนุษยชน

แนวคิดพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนมีกี่ประการ


     1.ความเป็นมาและพัฒนาการสิทธิมนุษยชน

 สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิของมนุษย์ทุกคนบนโลกที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดและเป็นสากล ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ชนชาติ ประเทศ เพศ ผิวพรรณ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม สติ ปัญญา ความสามารถ ฐานะทางเศรษฐกิจ ที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี มีอิสระ เสรีภาพ เสมอภาค มีชีวิตที่ดี มีสิทธิแสวงหาวัตถุปัจจัยมาดำรงชีพ ได้รับการยอมรับจากสังคมและการปฏิบัติจากรัฐอย่างเหมาะสม

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา การเคลื่อนไหวปกป้อง คุ้มครองและเผยแพร่แนวคิดสิทธิมนุษยชน ค่อยๆ ขยายตัวมากขึ้น จนถึงในปี 2540 จึงเกิดรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและยังมี บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างเด่นชัด รวมไปถึงการก่อให้เกิดคระกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วย

 ความหมายของสิทธิมนุษยชน หรือ Human Rights คือ สิทธิความเป็นมนุษย์หรือสิทธิในความเป็น คนเป็นของทุกคนไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ แหล่งกำเนิด เพศ อายุ สีผิว ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หรือจะยากดีมีจน ซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด สิทธิมนุษยชนจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายโอน ให้แก่กันได้ และไร้ซึ่งพรมแดน ดังนั้นจึงไม่มีบุคคล องค์กร หรือแม้แต่รัฐที่จะมาล่วงละเมิดความเป็นมนุษย์ได้ นอกจากนี้ ยังมีสิ่งจำเป็นที่ทำให้เรามีชีวิตอยู่รอดนอกจากปัจจัยสี่ที่ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค และ ที่อยู่อาศัยแล้ว คือ การศึกษา การมีงานท า การไม่ถูกทรมาน และได้รับความเป็นธรรมเมื่อถูกกล่าวหาว่า ท าผิดกฎหมาย เราเรียกว่า สิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนที่ต้องได้รับในฐานะที่เป็นมนุษย์ ซึ่งจะทำให้มนุษย์ อยู่รอดและสามารถพัฒนาตนเองได้ว่าเป็น “สิทธิมนุษยชน” ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด และอยู่เหนือ กฎหมายและอำนาจใดๆ ของรัฐทุกรัฐ สิทธิเหล่านี้ได้แก่ สิทธิในชีวิต ห้ามฆ่าหรือทำร้ายต่อชีวิต ห้ามการค้ามนุษย์ ห้ามโทรมานอย่างโหดร้าย คนทุกคนมีสิทธิในความเชื่อ มโนธรรมหรือลัทธิทางศาสนา มีเสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออก สิทธิมนุษยชนเหล่านี้ไม่ต้องมีกฎหมายมารองรับ สิทธิเหล่านี้ก็ดำรงอยู่ เช่น แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการฆ่าคนเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่ คนทุกคนสำนึกรู้ ได้เองว่า การฆ่าคนนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม เป็นบาปในทางศาสนา หรือการที่คนในชาติไม่ได้รับอาหารที่เพียงพอ แก่การยังชีพซึ่งไม่ถือว่ามีใครทำผิดกฎหมายแต่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลมีหน้าที่ต้องจัดการให้ คนในชาติได้รับอาหารอย่างเพียงพอแก่การมีชีวิตรอด นอกจากนี้ สิทธิมนุษยชนต้องได้รับรองในรูปแบบของ กฎหมาย หรือต้องได้รับการคุ้มครองโดยรัฐบาล ได้แก่ ได้รับสัญชาติ การมีงานท า การได้รับความคุ้มครอง แรงงาน ความเสมอภาคของหญิงชาย สิทธิของเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ การได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การประกันการว่างงาน การได้รับบริการสาธารณสุข การสามารถแสดงออกทางด้านวัฒนธรรมอย่างอิสระ สามารถได้รับความเพลิดเพลินจากศิลปวัฒนธรรมในกลุ่มของตน เป็นต้น สิทธิมนุษยชนเหล่านี้ต้องเขียน รับรองไว้ในกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญหรือแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐของแต่ละประเทศ เพื่อเป็นหลักประกัน ว่าคนทุกคนที่อยู่ในรัฐนั้นจะได้รับความคุ้มครองชีวิตความเป็นอยู่ ให้มีความเหมาะสมแก่ความเป็นมนุษย์ ซึ่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้นิยามความหมาย สิทธิมนุษยชนไว้ว่า คือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง หรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทย มีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองทั่วโลก ว่าเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของการปฏิบัติต่อ มนุษย์นั้น

หลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน 6 ประการ

1. ทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) เป็นสิทธิติดตัวทุกคนตามธรรมชาติตั้งแต่เกิด (National Rights)

2. คนทุกคนมีความเสมอภาคและห้ามการเลือกปฏิบัติ (Equality and non-discrimination)

3. สิทธิมนุษยชนเป็นของคนทุกคนโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา เพศ อายุ อาชีพ สถานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม สุขภาพ และความคิดเห็นด้านต่างๆ (Universality)

4. สิทธิมนุษยชนเป็นองค์รวมแยกเป็นส่วนๆ ไม่ได้และพึ่งพิงกัน (Indivisibility & Interdependently)

5.การมีส่วนร่วมและการเป็นส่วนหนึ่งของสิทธินั้น (Participation & Inclusion) หมายความว่า ประชาชนแต่ละคน หรือกลุ่มประชาชนหรือประชาสังคมย่อมมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการเข้าถึงและได้รับ ประโยชน์จากสิทธิพลเมืองและการเมือง และสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

6. ตรวจสอบได้และใช้หลักนิติธรรม (Accountibility & the Rule of Law) ดังนั้นการจะเข้าใจความหมายสิทธิมนุษยชนนั้น จำเป็นต้องเข้าใจหลักการต่างๆ ที่ถือเป็นองค์รวม ของสิทธิมนุษยชนด้วย คือ

สิทธิ (Rights) ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์ทุกคนตามธรรมชาติที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ซึ่งไม่มีใคร ล่วงละเมิดได้ ทุกคนมีสิทธิมีชีวิตที่จะอยู่รอด อยู่อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ แม้กฎหมาย ยังไม่รองรับแต่สิทธิก็ยังมีอยู่

เสรีภาพ (Freedom) คือการที่มนุษย์สามารถทำอะไรก็ได้ภายใต้ขอบเขตของศีลธรรมอันดีงาม โดยไม่เบียดเบียนสังคม หรือไม่ล่วงล้าสิทธิของบุคคลอื่นหรือส่วนรวม ซึ่งคำว่าสิทธิและเสรีภาพมักจะ อยู่รวมกันดังปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เพื่อแสดงออกทางความคิด และการปฏิบัติ

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) เป็นคำอธิบายความหมายของสิทธิมนุษยชน ในแง่ของ การให้คุณค่าแก่ความเป็นคน ว่าทุกคนมีคุณค่าเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของสิทธิมนุษยชนที่กำหนด สิทธิมาตั้งแต่เกิด ใครจะละเมิดไม่ได้ และไม่สามารถ่ายโอนให้แก่กันได้ ซึ่งรวมไปถึงสิทธิในการมีชีวิตและ ความมั่นคงในการมีชีวิตอยู่ เพราะคนทุกคนที่เกิดมาบนโลกมีศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์ ดังนั้นการปฏิบัติ ต่อกันของผู้คนในสังคมจึงต้องเคารพความเป็นมนุษย์ ห้ามท าร้ายร่างกายหรือทรมานอย่างโหดร้าย ตลอดจน การกระทำใดๆ  ที่ถือเป็นการเหยียดหยามความเป็นมนุษย์ ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการรับรอง อยู่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศ อนุสัญญา และปฏิญญาระหว่างประเทศ หลายฉบับ สังคมในปัจจุบันมักจะละเลยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพราะมีการให้คุณค่าของคนต่างกัน ตามสถานภาพทางสังคมของคนแต่ละคน เช่น กำนัน นายทหาร ภารโรง นายกรัฐมนตรี ซึ่งสถานภาพเหล่านั้น ไม่ใช่ตัวชี้วัดว่ามนุษย์หรือคนคนนั้นมีศักดิ์ศรีของมนุษย์หรือไม่ แต่ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ คือการให้คุณค่า ความเป็นคนตามธรรมชาติไม่ว่าจะเกิดมาเป็น ผู้ชาย ผู้หญิง กระเทย  คนพิการ ปัญญาอ่อนหรือยากจน ต้องถือ ว่าคนทุกคนมีคุณค่าเท่ากัน ต้องปฏิบัติต่อกันเยี่ยงมนุษย์อย่างเสมอหน้ากัน เพราะถือเป็นการเคารพศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ด้วยกัน ความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติ (Equality and Discrimination) คือเกณฑ์การวัดว่าสังคมหนึ่ง สังคมใดมีการละเมิดหรือเคารพสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ชี้ให้เห็นถึงความเสมอภาค หรือการปฏิบัติต่อทุกคน อย่างเท่าเทียมกันหรือไม่เท่าเทียมกัน 2. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณค่าของมนุษย์ที่มีความเกี่ยวข้องหรือขึ้นอยู่กับความเป็นมนุษย์ โดยในฐานะมนุษย์ทุกคน ได้รับคุณค่าความเป็นมนุษย์โดยไม่ต้องคำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ ศาสนา วัย ฐานะ หรือตำแหน่ง ในความเข้าใจ ทั่วไป การให้คุณค่ามนุษย์นั้น คุณค่าหรือศักดิ์ศรีขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจ บทบาททางสังคม การดำรง ตำแหน่งทางสังคม เมื่อเข้าใจอย่างนี้ ดังนั้น มนุษย์คนใดรวยหรือมีบทบาททางสังคมมากหรือมีตำแหน่งใหญ่โต ก็จะมีคุณค่ามาก คนจนหรือคนที่ไม่มีบทบาททางสังคม ยศหรือตำแหน่งใดๆ ก็จะมีคุณค่าน้อย หากเรามอง เช่นนี้ เราก็จะมีความคิดว่าระหว่างนักการภารโรงกับผู้อำนวยการโรงเรียนมีคุณค่าต่างกัน เด็กเรียนดีและเด็กที่ มีพฤติกรรมแย่เนื่องจากเรียนไม่เก่งมีคุณค่าต่างกัน เด็กที่มีฐานะรวยกับเด็กที่มีฐานะยากจนมีคุณค่าต่างกัน การปฏิบัติตนต่อคนเหล่านั้นก็จะแตกต่างกันด้วย

 ซึ่งหากพิจารณากันให้ดีแล้ว เราจะเห็นว่าความแตกต่างของมนุษย์ ความจน ความรวย ผู้อำนวยการ นายพล นายอำเภอ สัญชาติ ภาษา ล้วนแล้วแต่สังคมเป็นผู้กำหนดทั้งสิ้น และเมื่อสังคมกำหนดแล้ว ก็อาจจะมี การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติต่อคนเหล่านั้นได้ด้วย ถ้าหากคนจนกลายเป็นคนรวย คนที่มีตำแหน่งสูงๆ อาจจะ ถูกถอดตำแหน่ง คนที่ไม่มีความสำคัญทางสังคมกลายเป็นคนดังในหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นต้น แต่มีสิ่ง ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้คือ อายุ เพศ เพราะธรรมชาติกำหนดมา แม้ว่าอาจจะมีการผ่าตัดแปลงเพศแต่ก็ยัง ถูกระบุว่าคนคนนั้นมีเพศดั้งเดิมคืออะไร ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความจริงข้อนี้ได้ แต่สิ่งที่มนุษย์ทุกคนมีคือ การรักชีวิต รักตัวกลัวตายมีอยู่ในมนุษย์ทุกผู้ทุกคน คุณค่าของความเป็นคนหรือศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์จึง ไม่มีใครมีคุณค่ามากกว่าใครเพราะทุกคนมีคุณค่าความเป็นคนเหมือนกัน แต่ในสังคมทุกคนก็ยังคงมองเห็น ความต่างนี้ไม่ว่าจะเป็น ความแตกต่างทางเพศ ซึ่งฐานะทางเพศชายถูกมองว่ามีคุณค่าทางสังคมมากกว่าเพศ หญิงในทุกด้านนับแต่โบราณกาลมา ดังนั้น การละเมิดสิทธิมนุษยชนจึงเกิดขึ้นอยู่เสมอ

การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น หมายถึง การเหยียดหยาม ลดทอน หรือการปฏิบัติต่อคน เหมือนไม่ใช่มนุษย์ หรือลดฐานะมนุษย์เป็นเพียงวัตถุสิ่งของ เช่น เมื่อเราเห็นขอทานแล้วเกิดความสงสาร จึงไป ซื้ออาหารกล่องมาให้แต่กลับโยนใส่ให้ขอทานแทนที่จะหยิบยื่นให้อย่างสุภาพ ก็ถือว่าเป็นการละเมิดศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ของขอทาน ซึ่งแม้ขอทานจะยากจน แต่มนุษย์ด้วยกันก็ไม่มีสิทธิไปเหยียดหยามหรือละเมิด ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โยการโยนอาหารให้ขอทานราวกับขอทานนั้นเป็นสัตว์มากกว่าคน