การ ทดสอบ มี ความ สำคัญ อย่างไร จำเป็น หรือ ไม่ ที่ ต้อง ทำการ ทดสอบ

by  • November 3, 2015 • Comments Off on การทดสอบโปรแกรม (Testing)

Post Views: 37,532

วันนี้ขออธิบายสิ่งที่หลาย ๆ คนอาจจะรู้ อาจจะทราบกันอยู่แล้ว แต่บางคนอาจจะยังไม่รู้ถึงกระบวนการและความจำเป็นของการทดสอบระบบ ผู้เขียนจึงขอนำเสนอข้อมูลในเรื่องนี้สักหน่อย เนื่องจากกำลังทำงานหลัก ๆ ที่เกี่ยวกับการทดสอบโปรแกรมเป็นส่วนใหญ่ 

การ ทดสอบ มี ความ สำคัญ อย่างไร จำเป็น หรือ ไม่ ที่ ต้อง ทำการ ทดสอบ

การ Test คือการทดสอบระบบว่าทำงานได้ถูกต้องได้ผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ซึ่งเป็นการทดสอบกระบวนการทางพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์

โปรแกรมคอมพิวเตอร์มีหลักการง่าย ๆ คือ Input -> Process -> Output วิธีการกำหนด Test case อย่างง่ายที่สุดคือทำการ Test แต่ละส่วนโดยอยู่บนพื้นฐานของ Business requirement และวัตถุประสงค์ของระบบ ซึ่งจะต้องมีการเขียน Test case โดย Test case เป็นเอกสารที่ระบุชุดข้อมูลป้อนเข้าผลลัพธ์ ที่คาดว่าจะได้รับและกลุ่มของเงื่อนไขในการดำเนินการในชุดทดสอบต่าง ๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อแบ่งฟังก์ชันการทำงานของซอฟต์แวร์ออกเป็นฟังก์ชันย่อย ๆ เพื่อให้สามารถทำการทดสอบโดยชุดข้อมูลป้อนเข้าดังกล่าว และสร้างผลลัพธ์ที่สามารถประเมินผลได้โดยปกติจะขึ้นกับ use case ของระบบ

“Test case ประกอบด้วย”

  • ชื่อ Test case โดยปกติแล้วคือ Use case ตาม ฺBusiness requirement เช่น การ login เข้าระบบ
  • วัตถุประสงค์ของ Test case นั้น ๆ
  • ผลที่คิดว่าจะได้รับ (Output)
  • กำหนดลักษณะข้อมูลที่จะนำเข้าเพื่อใช้ในการ Test (Input)
  • ขั้นตอนวิธีการทดสอบ เป็น Step 1,2,3,… ว่าแต่ละขั้นตอนต้องทำอะไรบ้าง
  • ผลที่ได้จากการ test

“ชนิดของการ Test”

  1. ทดสอบความถูกต้อง
    • Unit test เป็นการ test functional ของระบบในแต่ละส่วนย่อยๆเพื่อให้แน่ใจว่าแต่ละส่วนทำงานได้ถูกต้อง
    • Integration test เป็นการนำแต่ละ unit มาประกอบกันและทดสอบการติดต่อระหว่าง unit ว่าสามารถทำงานได้ถูกต้อง
    • End to end test เป็นการทดสอบระบบในภาพรวมโดยนำแต่ละส่วนของระบบมาประกอบกันให้สมบูรณ์ และทดสอบระบบประหนึ่งเป็น ผู้ใช้ของระบบ
  2. ทดสอบคุณภาพ
    • Stress test เป็นการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ เพื่อทดสอบว่าระบบสามารถรับจำนวนผู้ใช้, ข้อมูล ได้มากแค่ไหน
    • Usability test เป็นการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของระบบ เช่น UI เหมาะสมต่อการใช้งานหรือไม่ เข้าใจได้ง่ายหรือไม่

การทดสอบระบบไม่ว่าที่ไหนก็คงมีวิธีการและขั้นตอนไม่ต่างกันนัก ที่แตกต่างกันคงจะเป็นความเข้มข้นของการ Test เสียมากกว่า คือจะ Test ละเอียดแค่ไหน มีระบบที่ใช้เพื่อการ Test พร้อมหรือไม่ และทีมงานมีความพร้อมแค่ไหน

การจะเป็น Tester ที่ดีได้ต้องเข้าใจถึงมาตรฐานต่างๆที่ระบบใช้งาน เพื่อจะได้ทดสอบได้อย่างถูกต้องและแบบมีหลักเกณฑ์ ยกตัวอย่างง่ายๆ หากเป็น Tester ของเว็บไซต์ที่หนึ่ง หากไม่มีความรู้ด้านมาตรฐานหรือด้านเทคนิคเลย จะทดสอบอะไรได้บ้าง? เพียงแต่ click ดูแล้วดูผลลัพธ์ว่าตรงเท่านั้นหรือ?

ความสำคัญของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

        การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน  เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นในการพิจารณาว่าผู้เรียนเกิดคุณภาพการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและมาตรฐานการเรียนรู้

จาก ประเภทของการประเมินโดยเฉพาะการแบ่งประเภทโดยใช้จุดประสงค์ของการประเมิน เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภท  จะเห็นว่า การวัดและประเมินผลการเรียนนอกจากจะมีประโยชน์โดยตรงต่อผู้เรียนแล้ว ยังสะท้อนถึงประสิทธิภาพการการสอนของครู  และเป็นข้อมูลสำคัญที่สะท้อนคุณภาพการดำเนินงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ด้วย   ดังนั้นครูและสถานศึกษาต้องมีข้อมูลผลการเรียนรู้ของผู้เรียน  ทั้งจากการประเมินในระดับชั้นเรียน  ระดับสถานศึกษา  และระดับอื่นที่สูงขึ้น  ประโยชน์ของการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้จำแนกเป็นด้านๆ ดังนี้

         1. ด้านการจัดการเรียนรู้

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนมีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนดังนี้

         1.1  เพื่อจัดตำแหน่ง (Placement)  ผลจากการวัดบอกได้ว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถอยู่ในระดับใดของกลุ่มหรือ เปรียบเทียบกับเกณฑ์แล้วอยู่ในระดับใด  การวัดและประเมินเพื่อจัดตำแหน่งนี้ มักใช้ในวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ

1.1.1 เพื่อคัดเลือก(Selection) เป็นการใช้ผลการวัดเพื่อคัดเลือกเพื่อเข้าเรียน  เข้าร่วมกิจกรรม-โครงการ  หรือเป็นตัวแทน(เช่นของชั้นเรียนหรือสถานศึกษา)  เพื่อการทำกิจกรรม  หรือการให้ทุนผล  การวัดและประเมินผลลักษณะนี้คำนึงถึงการจัดอันดับที่เป็นสำคัญ

1.1.2 เพื่อแยกประเภท(Classification) เป็นการใช้ผลการวัดและประเมินเพื่อแบ่งกลุ่มผู้เรียน เช่น แบ่งเป็นกลุ่มอ่อน ปานกลาง  และเก่ง  แบ่งกลุ่มผ่าน-ไม่ผ่านเกณฑ์ หรือตัดสินได้-ตก  เป็นต้น  เป็นการวัดและประเมินที่ยึดเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มเป็นสำคัญ

              1.2  เพื่อวินิจฉัย (Diagnostic)เป็นการใช้ผลการวัดและประเมินเพื่อค้นหาจุดเด่น-จุดด้อยของผู้เรียนว่ามีปัญหาในเรื่องใด  จุดใด  มากน้อยแค่ไหน  เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจการวางแผนการจัดการเรียนรู้และการปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดเพื่อการวินิจฉับ เรียกว่า แบบทดสอบวินิจฉัย (Diagnostic Test) หรือแบบทดสอบวินิจฉัยการเรียน  ประโยชน์ของการวัดและประเมินประเภทนี้นำไปใช้ในวัตถุประสงค์ 2 ประการดังนี้

1.2.1 เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน    ผลการวัดผู้เรียนด้วยแบบทดสอบวินิจฉัยการเรียนจะทำให้ทราบว่าผู้เรียนมีจุดบกพร่องจุดใด  มากน้อยเพียงใด ซึ่งครูผู้สอนสามารถแก้ไขปรับปรุงโดยการสอนซ่อมเสริม (Remedial Teaching) ได้ตรงจุด เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้

1.2.2 เพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ผลการวัดด้วยแบบทดสอบวินิจฉัยการเรียน นอกจากจะช่วยให้เห็นว่าผู้เรียนมีจุดบกพร่องเรื่องใดแล้ว ยังช่วยให้เห็นจุดบกพร่องของกระบวนการจัดการเรียนรู้อีกด้วย เช่น ผู้เรียนส่วนใหญ่มีจุดบกพร่องจุดเดียวกัน  ครูผู้สอนต้องทบทวนว่าอาจจะเป็นเพราะวิธีการจัดการเรียนรู้ไม่เหมาะสมต้องปรัปรุงแก้ไขให้เหมาะสม

    1.3 เพื่อตรวจสอบและปรับปรุง  การประเมินเพื่อพัฒนา (Formative Evaluation)  เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้เทียบกับจุดประสงค์หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  ผลจากการประเมินใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  โดยอาจจะปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนวิธีการสอน (Teaching Method) ปรับเปลี่ยนสื่อการสอน (Teaching Media) ใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ (Teaching Innovation) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

     1.4 เพื่อการเปรียบเทียบ(Assessment) เป็นการใช้ผลการวัดและประเมินเปรียบเทียบว่าผู้เรียนมีพัฒนาการจากเดิมเพียงใด และอยู่ในระดับที่พึงพอใจหรือไม่

   1.5 เพื่อการตัดสิน  การประเมินเพื่อการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนเป็นการประเมินรวม (Summative Evaluation)  คือใช้ข้อมูลที่ได้จากการวัดเทียบกับเกณฑ์เพื่อตัดสินผลการเรียนว่าผ่าน-ไม่ผ่าน  หรือให้ระดับคะแนน 

 2. ด้านการแนะแนว

ผลจากการวัดและประเมินผู้เรียน  ช่วยให้ทราบว่าผู้เรียนมีปัญหาและข้อบกพร่องในเรื่องใด มากน้อยเพียงใด  ซึ่งสามารถแนะนำและช่วยเหลือผู้เรียนให้แก้ปัญหา มีการปรับตัวได้ถูกต้องตรงประเด็น  นอกจากนี้ผลการวัดและประเมินยังบ่งบอกความรู้ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ซึ่งสามารถนำไปใช้แนะแนวการศึกษาต่อและแนะแนวการเลือกอาชีพให้แก่ผู้เรียนได้

         3. ด้านการบริหาร

ข้อมูลจากการวัดและประเมินผู้เรียน ช่วยให้ผู้บริหารเห็นข้อบกพร่องต่างๆ ของการจัดการเรียนรู้ เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานของครู  และบ่งบอกถึงคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษามักใช้ข้อมูลได้จากการวัดและประเมินใช้ในการตัดสินใจหลายอย่าง เช่น การพัฒนาบุคลากร  การจัดครูเข้าสอน การจัดโครงการ  การเปลี่ยนแปลงโปรแกรมการเรียน นอกจากนี้การวัดและประเมินผลยังให้ข้อมูลที่สำคัญใน

         การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SSR) เพื่อรายงานผลการจัดการศึกษาสู่ผู้ปกครอง  สาธารณชน หน่วยงานต้นสังกัด  และนำไปสู่การรองรับการประเมินภายนอก จะเห็นว่าการวัดและประเมินผลการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญของระบบการประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

         4. ด้านการวิจัย

การวัดและประเมินผลมีประโยชน์ต่อการวิจัยหลายประการดังนี้

    4.1 ข้อมูลจาการวัดและประเมินผลนำไปสู่ปัญหาการวิจัย  เช่น ผลจากการวัดและประเมินพบว่าผู้เรียนมีจุดบกพร่องหรือมีจุดที่ควรพัฒนาการ แก้ไขจุดบกพร่องหรือการพัฒนาดังกล่าวโดยการปรับเปลี่ยนเทคนิควิธีสอนหรือทด ลองใช้นวัตกรรมโดยใช้กระบวนการวิจัย การวิจัยดังกล่าวเรียกว่า  การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Research)  นอกจากนี้ผลจากการวัดและประเมินยังนำไปสู่การวิจัยในด้านอื่น ระดับอื่น  เช่น การวิจัยของสถานศึกษาเกี่ยวกับการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียน เป็นต้น

    4.2 การวัดและประเมินเป็นเครื่องมือของการวิจัย  การวิจัยใช้การวัดในการรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาผลการวิจัย ขั้นตอนนี้เริ่มจากการหาหรือสร้างเครื่องมือวัด  การทดลองใช้เครื่องมือ  การหาคุณภาพเครื่องมือ  จนถึงการใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพแล้วรวบรวมข้อมูลการวัดตัวแปรที่ศึกษา  หรืออาจต้องตีค่าข้อมูล  จะเห็นว่าการวัดและประเมินผลมีบทบาทสำคัญมากในการวิจัย  เพราะการวัดไม่ดี  ใช้เครื่องมือไม่มีคุณภาพ  ผลของการวิจัยก็ขาดความน่าเชื่อถือ