นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงทางเพศอย่างไรบ้าง

วัยหนุ่มสาวเป็นช่วงระยะหนึ่งของการเจริญเติบโต ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกายจากวัยเด็กไปสู่วัยเจริญพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจาก มีการทำงานของต่อมใต้สมองที่อยู่บริเวณฐานสมองสร้างฮอร์โมนมากระตุ้นต่อมเพศ (อัณฑะและรังไข่) ผลที่เกิดตามมา คือ การสร้างฮอร์โมนเพศเพิ่มมากขึ้น เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์


การเปลี่ยนแปลงของวัยหนุ่มสาว

เพศชาย ขนาดอัณฑะจะโตขึ้น นมแตกพาน เสียงแหบห้าว กล้ามเนื้อเป็นมัด มีกลิ่นตัว องคชาติมีขนาดโตขึ้น มีขนบริเวณรักแร้และอวัยวะเพศ

เพศหญิง พบมีเต้านมโตขึ้น มีขนบริเวณรักแร้และอวัยวะเพศ มีกลิ่นตัว มีตกขาว และตามด้วยการมีประจำเดือนในที่สุด หลังมีประจำเดือนแล้วเพศหญิงจะสูงได้อีกโดยเฉลี่ย 7-8 ซม. เท่านั้น การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เป็นไปอย่างรวดเร็วนี้ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ด้วย ในระยะท้ายของวัยนี้ อัตราการเจริญเติบโตจะลดน้อยลงตามลำดับ การเจริญเติบโตจะหยุดเมื่อมีการปิดเชื่อมของกระดูกบริเวณแขนและขา


ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย หมายถึงอะไร?

การที่เด็กหญิงเริ่มมีการพัฒนาของเต้านมก่อนอายุ 8 ปี หรือมีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 9 ปี ส่วนเพศชายมีขนาดอัณฑะโตหรือมีลักษณะอื่น ๆ เช่น เสียงแหบห้าว มีกลิ่นตัว ปรากฏให้เห็นก่อนอายุ 9 ปี พบในเพศหญิงได้บ่อยกว่าเพศชาย สาเหตุที่พบภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยได้บ่อยขึ้นส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคุณพ่อคุณแม่ได้รับความรู้จากสื่อต่างๆ ซึ่งมีมากขึ้น ทำให้กังวลและพาเด็กมาพบแพทย์เร็วขึ้น


สาเหตุของภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย

ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าปัจจัยใดเป็นตัวควบคุมการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวก่อนวัย แต่เชื่อว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม หากพ่อแม่มีประวัติเข้าวัยหนุ่มสาวเร็ว ลูกก็จะเป็นหนุ่มสาวเร็วด้วย นอกจากนี้ปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งอาจมีผลต่อการเข้าวัยหนุ่มสาวก่อนวัย ได้แก่ ภาวะโภชนาการ เด็กอ้วนมักจะเป็นหนุ่มสาวเร็ว การได้รับสารหรืออาหารที่ปนเปื้อนฮอร์โมน ไม่ว่าจะเป็นโดยการรับประทาน หรือทางอื่น ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งในหลายๆ ปัจจัย ที่ทำให้เด็กเป็นหนุ่มสาวเร็วขึ้นในปัจจุบัน

ในเพศหญิงส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ พบเพียงมีการทำงานของต่อมใต้สมองเร็วขึ้น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ไม่พบมีความผิดปกติ ต่างกับในเพศชาย โอกาสพบมีความผิดปกติ เช่น เนื้องอกของสมอง หรือเนื้องอกบริเวณอื่นๆ ได้บ่อยกว่า


นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงทางเพศอย่างไรบ้าง


ผลกระทบของเด็กที่เป็นหนุ่มสาวก่อนวัย

ไม่ว่าภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยจะเกิดจากสาเหตุใด แต่ผลกระทบซึ่งเกิดตามมาที่สำคัญคือ

  1. ฮอร์โมนเพศในปริมาณสูงกว่าเด็กปกติ ทำให้เด็กสูงกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็ส่งผลให้กระดูกปิดเร็วด้วยเช่นกัน สิ่งที่ตามมาคือ ระยะเวลาการเจริญเติบโตในวัยเด็กสั้นลงกว่าเด็กปกติ ทำให้เตี้ยเมื่อเป็นผู้ใหญ่
  2. ปัญหาทางด้านจิตใจ เนื่องจากเด็กที่เป็นสาวก่อนวัยจะมีร่างกายเหมือนเด็กสาววัยรุ่น แต่จิตใจยังเป็นเด็ก เด็กอาจจะรู้สึกอายเพื่อนหรือถูกล้อ บางรายอาจถูกล่วงเกินทางเพศและเกิดตั้งครรภ์ตั้งแต่วัยเด็กได้

วิธีการรักษาเด็กที่เป็นหนุ่มสาวก่อนวัย

การรักษาภาวะเด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยขึ้นกับสาเหตุ กรณีมีสาเหตุ เช่น เป็นเนื้องอกไม่ว่าบริเวณไหนต้องรักษาด้วยการผ่าตัด อาจจำเป็นต้องตามด้วยการฉายแสงหรือเคมีบำบัดแล้วแต่กรณี ส่วนกรณีที่ตรวจไม่พบสาเหตุ การรักษาซึ่งได้ผลดีที่สุดในปัจจุบัน คือ การให้ฮอร์โมนสังเคราะห์กลุ่ม Gonadotropin Releasing Hormone Analogue เพื่อชะลอการเข้าสู่วัยหนุ่มสาว โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือเข้ากล้ามเนื้อ ทุก 1 หรือ 3 เดือน แล้วแต่ชนิดและการออกฤทธิ์ของยา ฮอร์โมนนี้จะยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง มีผลทำให้ฮอร์โมนเพศจากต่อมเพศลดลง

ผลการรักษาภาวะเด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยพบว่ายาสามารถยับยั้งการพัฒนาของลักษณะวัยหนุ่มสาวไม่ให้มากขึ้น ในรายที่หน้าอกไม่โตมาก่อนการรักษาอาจยุบลงเป็นปกติ แต่รายที่โตมากแล้วมักเพียงแค่นิ่มลง บางรายอาจพบมีประจำเดือนออกหลังฉีดยาประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากฮอร์โมนเพศลดลง หลังจากนั้นจะไม่มีอีก ส่วนรายที่เคยมีประจำเดือนแล้ว ก็อาจมีได้อีกแต่ก็จะหายไปและไม่มาอีก

จากรายงานส่วนใหญ่พบว่าส่วนสูงเมื่อเป็นผู้ใหญ่ใกล้เคียง หรือเท่ากับส่วนสูงที่ควรจะเป็นตามพันธุกรรมมากกว่าเมื่อเทียบกับก่อนให้การรักษาและกลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาเลย แต่จะได้ผลดีมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับอายุและอายุกระดูกขณะที่เริ่มให้การรักษา การรักษาจะได้ผลดีกว่าในรายที่ได้รับการรักษาเร็วหรือรักษาตั้งแต่อายุน้อยๆ หลังหยุดยาเด็กจะมีการพัฒนาเข้าสู่วัยหนุ่มสาวตามปกติ จากรายงานต่างๆ พบว่ายานี้มีความปลอดภัยสูงอาการข้างเคียงพบได้น้อยมากและไม่รุนแรง

ลักษณะเพศอย่างแรกที่เปลี่ยนแปลงให้เห็นได้ในเด็กหญิง คือ การเจริญเติบโตของเต้านมโดยการเกิด breast buds คือ การเจริญของหัวนมและลานนม และหลังมีประจำเดือนแล้ว เด็กหญิงจะสูงขึ้นได้อีกประมาณ 6-12 เซนติเมตร

ในเด็กชาย
มีการเพิ่มของขนาดลูกอัณฑะและถุงอัณฑะ เริ่มอายุ 10-12 ปี
ต่อมลูกหมากเริ่มทำงาน เริ่มอายุ 11-12 ปี
นมแตกพาน เริ่มอายุ 13-14 ปี
มีขนที่หัวหน่าวและรักแร้ เริ่มอายุ 14-16 ปี
เสียงห้าว เริ่มอายุ 14-16 ปี
ตัวอสุจิโตเต็มที่ เริ่มอายุ 14-16 ปี

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างแรกในเด็กชาย คือ การเพิ่มขนาดของลูกอัณฑะและอัณฑะ ตามด้วยการเพิ่มขนาดขององคชาต และต่อมลูกหมาก

การเปลี่ยนแปลงของเต้านมเด็กหญิง แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้คือ
ระยะที่ 1   ลักษณะเต้านมของเด็ก หัวนมนูนขึ้นเล็กน้อย
ระยะที่ 2   อายุ 11.2 +- 2.2 ปี เต้านมและลานนมโตขึ้นเล็กน้อย
ระยะที่ 3  อายุ 12.2 +- 2.1 ปี เต้านมและลานนมโตขึ้นจนเห็นได้ชัด เหมือนเต้านมขนาดเล็กของผู้ใหญ่
ระยะที่ 4  อายุ 13.1 +- 2.3 ปี หัวนมและลานหัวนมยื่นจากฐานเต้านมทำให้เห็นเต้านมมีลักษณะเป็นเนิน 2 ชั้น
ระยะที่ 5  อายุ 15.3 +- 3.5 ปี เป็นลักษณะเต้านมผู้ใหญ่ ลานหัวนมรายลงเห็นแต่หัวนมนูนอยู่บนฐานของเต้านมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เด็กหญิงบางคน เต้านมเติบโตเพียงระยะที่ 4 แล้วหยุดแค่นี้ จนกว่าจะตั้งครรภ์หรือนานกว่านี้ จึงจะเปลี่ยนเป็นระยะที่ 5 บางคนข้ามระยะที่ 3 ไประยะที่ 5 โดยตรง ร้อยละ 50 ของเด็กผู้ชายวัยรุ่นมีเต้านมโตขึ้นได้ แต่ไม่เกินระยะที่ 2 และจะยุบลงปกติภายใน 11/2 - 2 ปี เมื่อ Androgen หลั่งออกมามากกว่า Estrogen แล้ว

การเปลี่ยนแปลงของอัณฑะและองคชาตระยะต่างๆ
ระยะที่ 1  ลักษณะอัณฑะแลองคชาตเด็ก อัณฑะมีปริมาตรประมาณ 1.6 มล.
ระยะที่ 2 อายุ 11.6 - 2.1 ปี อัณฑะเพิ่มปริมาตรเป็น 1.6-6.0 มล. ถุงอัณฑะมีหนังบางและสีแดงขึ้น องคชาตขนาดเท่าเดิม หรือโตขึ้นเล็กน้อย
ระยะที่ 3 อายุ 12.9 +- 2.1 อัณฑะปริมาตร 6-12.5 มล. ถุงอัณฑะโตและหนังบางยิ่งขึ้น องคชาตยาวขึ้น
ระยะที่ 4 อายุ 13.8 +- 2.0 ปี อัณฑะปริมาตร 12.5-20 มล. ถุงอัณฑะโตและมีสีเข้มขึ้น องคชาตยาวและใหญ่ขึ้นและหัวองคชาต (glands) โตขึ้น
ระยะที่ 5  อายุ 14.9 +- 2.2 ปี อัณฑะมีปริมาตร 20-25 มล.องคชาตและอัณฑะมีขนาดและรูปร่างเท่าผู้ใหญ่

การเปลี่ยนแปลงของขนหัวเหน่าระยะต่างๆ
ระยะที่ 1   ยังไม่มีขนบริเวณหัวหน่าว
ระยะที่ 2 อายุ 13.4 +- 2.2 ปี ในชาย และอายุ 11.7 +- 2.4 ปี ในหญิง เริ่มขนตรงๆ หรือหยิกเล็กน้อย สีอ่อน ขึ้นบางๆ ที่บริเวณ 2 ข้าง labia และโคนองคชาต
ระยะที่ 3 อายุ 13.9 +- 2.1 ปี ในชาย และอายุ 12.4 +- 2.2 ปี ในหญิง ขนหยิกหยาบและสีเข้ม ขึ้นกระจายไปถึงบริเวณหัวหน่าว
ระยะที่ 4 อายุ 14.4 +- 2.2 ปี ในชายและอายุ 13.9 +- 2.1 ปี ในหญิง ลักษณะขนเหมือนของผู้ใหญ่ และขึ้นทั่วบริเวณหัวหน่าว
ระยะที่ 5  อายุ 15.2 +- 2.1 ปี ในชาย และอายุ 14.4 +- 2.2 ปี ในหญิง ลักษณะขนและการกระจายเหมือนของผู้ใหญ่ โดยขยายไปตามแนวนอนและด้านในของต้นขา
ระยะที่ 6 พบร้อยละ 10 ในเด็กหญิงและร้อยละ 80 ในเด็กชายที่ขนจะกระจายขึ้นมาบริเวณสันกลางหน้าท้อง (linear alba)

             2.1.2. การเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพ
จากทฤษฎีพัฒนาบุคลิกภาพของอีริคสัน แบ่งระยะพัฒนาการของตนออกเป็นขั้นต่างๆ 8 ขั้น พัฒนาการแต่ละขั้นติดต่อสืบเนื่องกันตลอดเวลา โดยมีพัฒนาการทางร่างกายเป็นตัวนำไปสู่พัฒนาการขั้นต่อๆ ไป อีริคสันได้แบ่งขั้นพัฒนาการดังนี้ 

ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้วางใจหรือรู้สึกไม่ไว้วางใจ ซึ่งจะเกิดในช่วงอายุ 0-2 ปีแรกของชีวิต (Sense of Trust VS. Sense of Mistrust) 

ขั้นที่ 2 ความรู้สึกเชื่อมั่นในตน หรือสงสัยไม่แน่ใจ ในความสามารถ อยู่ในช่วงอายุ 2-3 ปี (Sense of Autonomy VS. Sense of Doubt and Shame)
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้นำริเริ่มหรือรู้สึกปด เกิดในช่วงอายุ 3-5 ปี (Sense of Initiative VS. Sense of Guilt)
ขั้นที่ 4 การรู้สึกว่าตนประสบความสำเร็จหรือรู้สึกด้อย (Sense of Industry VS. Sense of Inferiority) เกิดในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นช่วงต่อของวัยเด็กเข้าสู่วัยรุ่น จึงขอกล่าวโดยละเอียด

ในวัยนี้เด็กได้สำรวจสิ่งแวดล้อม เมื่อกระทำมากเข้า เขาจะได้ประสบการณ์มากขึ้น เนื่องจากเป็นวัยที่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้มาก เหมือนอย่างที่ผู้ใหญ่ทำ แต่ทำได้ไม่ดีเท่าเด็กวัยนี้ชอบแข่งขัน แต่ไม่ได้แข่งขันเพื่อให้ตนเองชนะเสมอ แต่จะแข่งเพื่อตั้งใจ วัดความสามารถของตนเอง เป็นวัยที่เด็กกลัวว่าจะด้อยกว่าคนอื่นๆ เขาจะพยายามลบความกลัวนี้ โดยพยายามเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสังคมด้วยการกระทำหรือทดลองทำซึ่งสิ่งผลให้เด็กมีความสามารถมากขึ้

2.1.3. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์
            เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น ความเจ็บป่วย การเสื่อมของระบบต่างๆ ในร่าง กาย สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความวิตกกังวล กดดันทางอารมณ์ และจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านบทบาทสังคม เช่น การเกษียณอายุ การสูญเสียบทบาทในการเป็นหัวหน้าครอบครัว การเสียชีวิตของคู่สมรส ญาติ คนใกล้ชิดหรือเพื่อน เหล่านี้มีผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและ อารมณ์ของผู้สูงอายุดังนี้ 2.1   อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย กลัวถูกทอดทิ้ง ขาดความมั่นใจในตนเอง สูญเสียความคุ้นเคย ไม่ สามารถปรับตัวได้เพราะมีปมด้อย 2.2  นิสัย เปลี่ยนไป เฉื่อยชาต่อเหตุการณ์ ไม่เข้าสังคม เก็บตัวอยู่ในบ้าน ไม่นึกสนุกสนาน คิดระแวงสงสัย คิดว่าตนไม่มีประโยชน์ เป็นภาระต่อผู้อื่น ซึมเศร้า หงุดหงิด โกรธง่าย ใจน้อย 2.3   ความทุกข์ใจ คิดถึงอดีตด้วยความเสียดาย อาลัยอาวรณ์ คิดถึงปัจจุบันด้วยความวิตก เศร้าสลด หวาดระแวง คิดถึงอนาคตด้วยความหวาดกลัว ว้าเหว่ ในรายที่สูญเสียคู่ชีวิต

2.1.4. การเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการทางเพศ

นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงทางเพศอย่างไรบ้าง


แนวความคิด ธรรมชาติและพัฒนาการของมนุษย์ จะเป็นไปตามวัย ตามลำดับขั้นตอน ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และพัฒนาการทางเพศได้อย่างชัดเจน เราจึงต้องรู้จักและเข้าใจตนเองอย่างถูกต้อง พร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาตนเองให้มีความสมบูรณ์ เกิดความพร้อมในทุกด้าน
         วัยรุ่นเป็นวัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงหลายๆด้านพร้อมกัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจะมีการพัฒนาตามวัยที่สังเกตได้อย่างชัดเจนเมื่ออายุประมาณ 12-13 ปี และจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นวัยรุ่นเต็มที่ เมื่ออายุประมาณ 19 ปี ผู้หญิงจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าผู้ชายประมาณ 2 ปี (ผู้หญิงเข้าสู้วัยรุ่นเมื่อ 13 - 15 ปี ผุ้ชายเข้าสู่วัยรุ่นเมื่ออายุประมาณ 15 - 17 ปี)
แหล่งข้อมูล :ชุดกิจกรรมพัฒนาการคิด สุขศึกษา พว.

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และพัฒนาการทางเพศ

นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงทางเพศอย่างไรบ้าง

  ผู้ชาย

ด้านร่างกาย

 1. กล้ามเนื้อใหญ่,มีหนวดเครา,อกผาย,มีสิวกลิ่นตัว มีขนขึ้นที่ดับ

 2. อัณฑะ ผลิตอสุจิ ฝันเปียก (เทสโทสเตอโรน)

ด้านสติปัญญา

1. อยากรู้อยากเห็น ชอบค้นคว้าทดลอง

2.ชอบการคิดคำนวณ คาดคะเนคิดวิเคราะห์เป็นเหตุเป็นผล

ด้านอารมณ์

1. อารมณ์ร้อน-รุนแรง เปลี่ยนแปลงง่าย รักอิสระ ดื้อรัน

2. สนใจเพศตรงข้าม มีความรู้สึกทางเพศ แสดงออกเปิดเผย

ด้านสังคม

1. รักเพื่อนต้องการให้เพื่อนยอมรับอยู่ในกลุ่ม

2.  ชอบคล้อยตามเพื่อน เสี่ยงการติดยาเสพติด และโรคทางเพศสัมพันธ์

 ผู้หญิง

ด้านร่างกาย

 1. หน้าอกขยาย , สะโพกผายออก,เอวคอด, เสียงแหลมเล็ก, มีสิว-กลิ่นตัว, ขนขึ้นที่ลับ

 2. รังไข่-ผลิตไข่ ,มีประเดือน(โปรเจสเตอโรน)

ด้านสติปัญญา

1. สนใจการเรียนชอบจดจำ ,ท่องบทเรียน

2. ชอบเรียนรู้ภาษา,ศิลปะ,ความงาม,จินตนาการคิดมาก

ด้านอารมณ์

1. อารมณ์อ่อนไหว-ไม่คงที่,อ่อนโยน,ขี้อาย ชอบวิตกกังกล - อิจฉาริษยา

2. สนใจเพศตรงข้าม- มีความรู้สึกทางเพศแต่เก็บความรู้สึก

ด้านสังคม

1. ให้ความสำคัญกับเพื่อน, ครอบครัว ติดเพื่อน

2.  ชอบแต่งตัวตามสมัย – ชอบเดินห้างสรรพสินค้า นุ่งน้อยห่มน้อย ระวังการถูกล่วงละเมิดทางเพศ

นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงทางเพศอย่างไรบ้าง

ประจำเดือน

ประจำเดือน (อังกฤษ: Menstruation) เป็นเลือดที่เกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก มีฮอร์โมนสองชนิดคือ Estrogen และ Progesteroneควบคุมการสร้างและหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งระดับฮอร์โมนทั้งสองจะมีความสัมพันธ์กับการตกไข่จากรังไข่ โดยแต่ละรอบเดือนจะมีช่วงเวลาประมาณ 26-30 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ทำให้ประจำเดือน เกิดขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง

ระดับของฮอโมน์ที่สัมพันธ์กัน

-ในช่วงวันที่ 1-14 ของเดือนจะมีการสร้างและการเจริญของไข่จนสุกเต็มที่ช่วงนี้เรียกว่า Follicular phaseโดยจะมี ฮอร์โมน follicle stimulating hormone (FSH) กระตุ้นรังไข่ให้สร้าง estrogen เพื่อควบคุมการสร้างไข่และการเจริญของไข่ในช่วงนี้ระดับ ฮอร์โมน estrogen จึงมีปริมาณสูงขึ้น

-ในช่วงวันที่ 14-28 ของเดือนจะมีการสร้างฮอร์โมน Luteinizing hormone (LH) ซึ่งจะเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมน progesterone และระดับ ฮอร์โมน LH จะมีปริมาณสูงขึ้นก่อนวันที่มีการตกไข่เพราะฮอร์โมน LH จะกระตุ้นให้ไข่ตก ส่วน ฮอร์โมน progesterone จะควบคุมการหนาตัวของเยื่อบุมดลูกเพื่อรองรับไข่ที่ถูกผสม ดังนั้นในช่วงนี้ระดับ progesterone จะสูงถ้าไข่ไม่ได้ถูกผสมระดับ progesterone จึงจะลดระดับต่ำลง เยื่อบุมดลูกที่หนาตัวนี้ก็จะสลายตัวไปเป็นประจำเดือน

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome

เป็นอาการที่เกิดขึ้นเป็นประจำก่อนมีประจำเดือน 1-2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงหลังไข่ตก อาการที่พบบ่อย ได้แก่ อาการทางกาย เช่น ปวดท้อง ปวดเมื่อยหลัง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย น้ำหนักขึ้น มีการคั่งของน้ำในร่างกายมากขึ้น เต้านมโตขึ้น รู้สึกตึง เจ็บ ความรู้สึกอยากรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น ท้องอืด ถ่ายเหลว มีสิว และมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม จิต อารมณ์ เช่น หงุดหงิด โกรธง่าย อารมณ์ตึงเครียด วิตกกังวล หลงลืม ขาดความสนใจไม่มีสมาธิ รู้สึกโศกเศร้า นอนไม่หลับ โดยอาการต่างๆ เหล่านี้จะลดลง และหายไปหลังมีประจำเดือนวันที่ 1-4 สาเหตุที่แน่ชัดยังอธิบายได้ยาก แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง และความไม่สมดุลของฮอร์โมนต่างๆ ในรอบประจำเดือน โดยเฉพาะโปรเจสเตอโรน ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นในระยะหลังไข่ตก จากการศึกษาพบว่าสตรีที่มีอาการก่อนมีประจำเดือนจะมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงกว่าสตรีที่ไม่มีอาการก่อนมีประจำเดือน นอกจากนี้ยังเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับไทรอยด์ฮอร์โมน prostaglandin norepinephrine estradiol gonadotropin และ serotonin สารเคมีในสมอง ความเครียด รวมถึงการได้รับสารอาหาร แร่ธาตุ หรือวิตามินบางอย่างไม่เพียงพอ เช่น กรดไขมัน ลิโนลิอิก วิตามินอี วิตามินบี แคลเซียม แมกนีเซียม แมงกานีส สตรีวัยเจริญพันธ์ประมาณร้อยละ 75-80 มีอาการนเล็กน้อย ปานกลาง หรือรุนแรง จนมีผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตประจำวันได้ เช่น ปวดท้องรุนแรงเป็นประจำ ปวดศีรษะปวดเมื่อย ก่อนมี ประจำเดือนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน ความรุนแรงอาจเป็หลัง ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ต้องหยุดงาน

อาการปวดประจำเดือน(dysmenorrhea)

เป็นอาการปวดท้องน้อยในระหว่างเริ่มมีประจำเดือนถึง 8-48 ชั่วโมง เนื่องจากร่างกายมีการหลั่งสาร prostaglandin ออกมา ทำให้มีการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมดลูกมีการหดเกร็งร่วมกับมีอาการปวดเมื่อยหลัง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว ปวดศีรษะ ง่วงนอน คล้ายจะเป็นลมความสนใจต่อสิ่งต่างๆ ลดลง บางรายงานการศึกษาเชื่อว่า สตรีวัยรุ่นจะไม่สุขสบาย ทุกข์ทรมานกับอาการ ปวดประจำเดือนมากกว่ากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน แต่สตรีวัยผู้ใหญ่ หรือวัยใกล้หมดประจำเดือนจะไม่สุขสบาย ทุกข์ทรมานกับกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนมากกว่าวัยรุ่นสตรีที่มีอาการก่อนมีประจำเดือน หรือปวดประจำเดือนส่วนใหญ่จะเห็นว่าเป็นเรื่องปกติของสตรีวัยเจริญพันธุ์ไม่ได้คิดว่าเป็นปัญหาสุขภาพของสตรี และไม่แสวงหาการตรวจรักษาเพียงแต่ใช้วิธีในการบรรเทาอาการไปในแต่ละเดือน เช่น การนอนพักผ่อน การรับประทานยาแก้ปวด การประคบร้อน มักจะปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานเกือบ 10 ปี หรือมากกว่าจึงไปรับการตรวจรักษาซึ่งปัจจุบันมีแนวทางในการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน โดยการใช้ยาต่างๆ และสารอาหารที่มีแคลเซียม แมกนีเซียม วิตามินบี

วิธีการบรรเทาอาการประจำเดือน

การปฏิบัติในการบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน และ อาการปวดประจำเดือน สตรีส่วนใหญ่ ใช้ยาในการบรรเทาอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน หรือระหว่างมีประจำเดือนซึ่งเป็นการใช้ยาเอง ยาที่ใช้ได้แก่paracetamol,Diclofenac ,ibuprofen ,metfenamic acid, buscopan ซึ่งการศึกษาในต่างประเทศก็พบว่า สตรีวัยรุ่นร้อยละ 90 ใช้ยาในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือนเอง โดยยาที่ใช้คือ ibuprofen ร้อยละ 54 paracetamol ร้อยละ 41 midol ร้อยละ 28 และ naprosyn (Naproxen) ร้อยละ 17 ยาเหล่านี้เป็นยาในกลุ่มยาระงับปวด หรือกลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีผลในการบรรเทาอาการปวด เนื่องจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกได้โดยยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด ์จะไปยับยั้งการสร้างสาร prostaglandin การปฏิบัติในการบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน และวิธีการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน โดยใช้วิธีอื่นๆ ได้แก่ การประคบกระเป๋าน้ำร้อน การดื่มน้ำอุ่น การนวดด้วยตนเอง การออกกำลังกายแบบแอโรบิค โยคะ หรือ นอนพัก ซึ่งเป็นวิธีที่สตรีส่วนใหญ่นิยมใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน โดยสตรีร้อยละ 84 ใช้วิธีนอนพักหรือนอนหลับ ร้อยละ 75 อาบน้ำอุ่น ร้อยละ 50 ประคบร้อน ร้อยละ 47 ดูโทรทัศน์ และร้อยละ 30 ออกกำลังกาย

นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงทางเพศอย่างไรบ้าง

การเบี่ยงเบนทางเพศ (Sexual Deviation)

การเบี่ยงเบนทางเพศ  เป็น ความผิดปกติในคนที่มีความรู้สึกทางเพศ ทัศนคติ ตลอดจนพฤติกรรมทางเพศที่แสดงออกไม่เหมาะสม แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในสังคม มักมีสาเหตุจากสภาพจิตใจที่ผิดปกติทำให้เขาไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ แต่มิได้หมายความว่า “เป็นโรคจิตหรือวิกลจริต” เป็นเพียงความผิดปกติทางจิตเวช พวกบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) เท่านั้น

ความผิดปกติทางเพศมีหลายชนิด แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่พบเห็นกันบ่อย ๆ ในสังคม คือ

1. ลักเพศ (Transvestism) คือ ภาวะในคนที่มีความสุขความพอใจในเพศ มีอารมณ์เพศจากการที่ได้แต่งตัวหรือแสดงท่าทางเป็นเพศตรงข้ามตนเอง เช่น ชายที่แต่งตัวเป็นหญิง หรือหญิงแต่งตัวเป็นชาย

2. ปฏิเสธเพศ (Transsexualism) คือ ภาวะของคนที่ไม่ยอมรับเพศที่แท้จริงโดยกำเนิดของตน และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าต้องการผ่าตัดเปลี่ยนเพศของตนเอง

3. ชอบอวดอวัยวะเพศ ( Exhibitionism) คือ ภาวะของคนที่ได้รับความตื่นเต้นพอใจทางเพศจากการได้เปิดอวัยวะของตนในที่สาธารณะ มักพบในผู้ชายเกือบทั้งหมด มีลักษณะเฉพาะ คือ จะอวดอวัยวะเพศกับเด็กหญิงหรือหญิงสาวที่ไร้เดียงสาทางเพศ ตามโรงเรียน หอพัก หรือสวนสาธารณะ ท่าทางตื่นตกใจของเด็กหญิงหรือหญิงสาว จะทำให้เขาเกิดความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศอย่างเต็มที่ พวกนี้จะไม่ทำร้ายเหยื่อของเขาเลย พอเหยื่อตกใจก็จะผละไปและมักกลับไปสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง

4. ถ้ำมอง (Voyeurism) คือ ภาวะของคนที่ได้รับความสุข ความพอใจทางเพศจากการแอบดูร่างเปลือย หรือการร่วมเพศของคนอื่น พบได้ทั้งหญิงและชาย แต่มักพบในผู้ชายมากกว่า เมื่อได้ดูสมใจก็จะทำให้เขาเกิดความรู้สึกทางเพศอย่างรุนแรงและมักจะสำเร็จ ความใคร่ไปด้วยในขณะที่แอบดูหรือกลับไปสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองภายหลัง

5. เบียดเสียดถูไถ (Frotteurism) คือ ภาวะของคนที่ได้รับความรู้สึกทางเพศโดยการเบียดเสียดถูไถกับผู้อื่น มักพบในชายมากกว่าหญิง พวกนี้จะถือโอกาสเบียดเสียดถูไถร่างกายของหญิงที่อยู่ข้างหน้าจนเกิดความ รู้สึกทางเพศอย่างรุนแรงจนถึงขั้นสำเร็จความใคร่

ข้อแนะนำในเรื่องการเบี่ยงเบนทางเพศ

ผู้ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน ควรปิดเป็นความลับเฉพาะตัว หรือเปิดเผยเฉพาะคนที่เข้าใจ และไว้วางใจ พยายามปรับพฤติกรรมการแสดงออกให้เหมาะสมกับเพศของ

ตนและกาลเทศะ หาที่ปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาในการปรับตัว หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย และ

พยายามพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถอยู่เสมอ

ผู้ที่มีเพื่อนหรือคนใกล้ชิดมีพฤติกรรมเป็นรักร่วมเพศ ควรปฏิบัติดังนี้

1. ไม่ควรตีโพยตีพายเลิกคบ แต่ควรจำกัดความสัมพันธ์ไว้แค่เพื่อน ถ้าเขาพยายามจะคบหาแบบชู้สาว (สังเกตได้จาก การจับเนื้อต้องตัว ลูบไล้ร่างกายผิดไปจากเพื่อนตามปกติ มีการหึงหวงไม่ยอมให้มีเพื่อนต่างเพศคนอื่น ติดตามไม่เปิดโอกาสให้เป็นตัวของตัวเอง และแสดงความก้าวร้าวรุนแรงเมื่อถูกปฏิเสธการล่วงเกิน) ให้เปิดเผยตรง ๆ ว่า เราไม่ได้ชอบแบบชู้สาว แต่เป็นเพื่อนได้

2. อย่าปล่อยให้สนิทสนมมาก เพราะจะยุติความสัมพันธ์ได้ยาก หากพบเห็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนในเรื่องอื่น เช่น ชอบอวดอวัยวะเพศ ถ้ำมอง และเบียดเสียดถูไถ ขอให้ใช้ท่าทีเป็นปกติ และเลี่ยงไปจากเหตุการณ์โดยไม่ต้องมีปฏิกิริยาใด ๆ ก็เพียงพอแล้ว

3. อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ เป็นเรื่องที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง และยังไม่สามารถแก้ไขได้ เพียงเต่สามารถปรับพฤติกรรมภายนอกได้ เราควรปฏิบัติต่อผู้ที่มีพฤติกรรมทางเพศเยี่ยงบุคคลหนึ่ง ไม่ควรส่งเสริมหรือซ้ำเติม ซึ่งจะทำให้ชีวิตเขายุ่งยากมากยิ่งขึ้น

รักร่วมเพศ

เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ความสนใจเพศตรงข้ามจะเกิดขึ้น จะสังเกตใจตัวเองได้ว่าเริ่มสนใจดารา นักแสดง นักร้องหรือบุคคลที่มีชื่อเสียง บางครั้งจะเกิดจินตนาการทาง

เพศกับคนที่ชอบ ความสนใจนี้จะปะปนกับความรู้สึกทางเพศและจะมีกับเพศตรงข้าม ในเชิงชู้สาว ซึ่งจะแตกต่างจากความรู้สึกกับเพื่อนตามปกติ

ความรู้สึกทางเพศเช่นนี้ จะเกิดขึ้นกับเพศเดียวกัน นั่นคืออาจมีความพอใจทางเพศกับเพศเดียวกัน มีความพอใจที่จะใกล้ชิดผูกพันเป็นคู่รักกับเพศเดียวกัน มีจินตนาการทางเพศที่จะสร้างอารมณ์เพศได้กับเพศเดียวกัน และบางครั้งอาจมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเพศเดียวกันด้วย แบบนี้เรียกว่า “รักร่วมเพศ” ภาษาอังกฤษ เรียกว่า HOMOSEXUAL

รักร่วมเพศมีทั้งชายและหญิง

- ชอบ ชาย เรียกว่า เกย์ หรือ ตุ๊ด หญิง ชอบ หญิง เรียกว่า เลสเบี้ยน หรือ ทอม ดี้

- รักร่วมเพศทั้งสองเพศ จะมีความแตกต่างกันในรูปแบบปลีกย่อย เกย์ที่ชอบแสดงบทบาททางเพศเป็นชาย เรียกว่า เกย์คิง เกย์ที่ชอบแสดงบทบาทเป็นหญิง เรียกว่า เกย์ควีน เลสเบี้ยนที่ชอบแสดงบทบาทเป็นชายเรียกว่า ทอม เลสเบี้ยนที่ชอบแสดงบทบาทเป็นหญิง เรียกว่า ดี้

รักร่วมเพศไม่ใช่ความผิดปกติร้ายแรง พบได้บ่อยๆ ในเพศชายประมาณร้อยละ 10 ของผู้ชายทั้งหมด ในเพศหญิงประมาณร้อยละ 3-4 ของผู้หญิงทั้งหมด บางคนแสดงออกและเปิดเผยต่อสังคม บางคนไม่เปิดเผยและดูจากภายนอกก็ไม่มีทางทราบได้ (โดยเฉพาะเกย์คิง และดี้)

คนที่เป็นรักร่วมเพศ สามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตและสังคมได้ แต่ต้องมีการเตรียมตัว และสิ่งแวดล้อมต้องเข้าใจและให้ความช่วยเหลือบ้าง เนื่องจากในบาง

สังคมยังไม่ยอมรับรักร่วมเพศ มีการรังเกียจ หรือต่อต้าน ในโรงเรียนที่มีเด็กที่เป็นรักร่วมเพศ มักจะมีการล้อเลียน

รังเกียจ ไม่ยอมรับให้เข้ากลุ่มเพื่อนปกติบางกลุ่ม ในสังคมยังมีการต่อต้านทำให้ไม่ได้รับการส่งเสริมในการทำงาน โดยเฉพาะรักร่วมเพศที่เปิดเผย และแสดงออก

มาก จนบางครั้งเป็นความก้าวร้าวไม่เหมาะสม ทำให้ถูกต่อต้านรังเกียจมากขึ้น รักร่วมเพศจึงจะต้องเผชิญกับ

ความเครียดในชีวิตค่อนข้างมาก

คนที่เป็นรักร่วมเพศแท้จริงนั้น พบว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากเขาไม่รู้สึกว่าตัวเองต้องการจะเปลี่ยน เป็นแบบนี้ก็มีความสุขดี ส่วนมากพ่อแม่มักจะ

พยายามบังคับโดยคิดว่าถ้าใช้ความรุนแรงกันเขาจะเปลี่ยนได้ ความจริงแล้วพบว่ากว่าเขาจะเป็นรักร่วมเพศนั้น มี

การเปลี่ยนแปลงพัฒนามานานก่อนหน้านั้น บางตำราเชื่อว่าเป็นปัจจัยอยู่ในพันธุกรรม บางตำราเชื่อว่าเป็นผลจากการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง เด็กไม่เลียนแบบ

เอกลักษณ์ทางเพศจากเพศเดียวกัน คือจากพ่อหรือแม่ บางตำราเชื่อว่าเป็นผลจากการเรียนรู้ บางคนถูกหลอกหรือ

ล่อลวงไปมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน แล้วเกิดติดใจกลายเป็นรักร่วมเพศไป

วิธีการปรับตัวที่ดีสำหรับคนที่เป็นรักร่วมเพศ

1. เปิดเผยเฉพาะคนที่เข้าใจ เช่น พ่อแม่ ครู หรือเพื่อน ที่ไม่รังเกียจให้ทุกคนเข้าใจตัวเอง และยอมรับในเอกลักษณ์ทางเพศแบบนี้ ให้เข้าใจว่าตนเองเปลี่ยนความชอบทางเพศไม่ได้

2. ปรับพฤติกรรมและการแสดงออกให้เหมาะสมเป็นที่ยอมรับได้ในครอบครัวและสังคม การแสดงออกมากเกินไป มักจะเป็นผลเสีย ทำให้คนอื่นรังเกียจและต่อต้าน พ่อแม่บางคนหงุดหงิดกับกิริยาท่าทางของลูกที่เป็นแบบนี้ ถึงจะเปลี่ยนให้ใจมาชอบเพศตรงข้ามไม่ได้ แต่ถ้ามีพฤติกรรมเรียบร้อย ไม่เปิดเผยมากพ่อแม่ยังรับได้

3. มีที่ปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาในการปรับตัว เนื่องจากสภาพการเป็นรักร่วมเพศ จะต้องเจอกับอุปสรรคในสังคมมากมาย มีที่ปรึกษาที่ดี เช่น พ่อแม่ ครู หรือจิตแพทย์ ก็สามารถจะฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตได้

4. หลีกเลี่ยงการสำส่อนทางเพศ ปัจจุบันพบว่าการมีเพศสัมพันธ์แบบสำส่อน จะเกิดอันตรายจากโรคติดเชื้อได้มาก โดยเฉพาะเชื้อโรคเอดส์ ซึ่งระบาดอยู่ในกลุ่มรักร่วมเพศ นอกจากนี้การไม่ควบคุมเรื่องเพศสัมพันธ์เลย จะเกิดปัญหาจากความหึงหวง ทะเลาะเบาะแว้งและทำร้ายร่างกายกันได้รุนแรง เนื่องจากสภาพอารมณ์ของคนที่เป็นรักร่วมเพศ มักจะก้าวร้าวรุนแรงได้มากเมื่อผิดหวังเรื่องเพศ