ข้อสอบ การจัดตกแต่งบ้าน ม. 2

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

              ง 1.1        ม.2/1                                ใช้ทักษะการแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาการทำงาน

                               ม.2/2                               ใช้ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน

ม.2/3                                มีจิตสำนึกในการทำงานและการใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงาน อย่างประหยัดและคุ้มค่า

‚    สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

การเรียนรู้หลักการจัดตกแต่งบ้านและบริเวณบ้าน จะช่วยให้สามารถนำความรู้มาสร้างกระบวนการจัดการภายในบ้านได้อย่างมีขั้นตอน มีกระบวนการแก้ปัญหาและแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาการทำงาน ส่งผลให้เกิดทักษะในการทำงานที่ดีและสร้างจิตสำนึกที่ดีในการทำงาน และใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า

 ƒ    สาระการเรียนรู้

          3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                   1)   ทักษะการแสวงหาความรู้  ประกอบด้วย การศึกษา ค้นคว้า  รวบรวม สังเกต สำรวจ  และบันทึกเพื่อใช้ในการพัฒนาการทำงาน

–   การจัดและตกแต่งบ้าน

–   การดูแลรักษาและตกแต่งสวน

2)  ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงานมีขั้นตอน คือ การสังเกต วิเคราะห์ สร้างทางเลือก และประเมินทางเลือก

3)  การมีจิตสำนึกและใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่าเป็นคุณธรรมในการทำงาน

3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                       –

„    สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

          4.1 ความสามารถในการคิด

                1)  ทักษะการคิดวิเคราะห์
–     ทักษะการสรุปลงความคิดเห็น

2)  ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

–     ทักษะการให้เหตุผล

3)  ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา

4.2 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

                 1)  กระบวนการปฏิบัติ

2) กระบวนการทำงานกลุ่ม

…    คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1.   มีวินัย                                                              2.  ใฝ่เรียนรู้

3.   ประหยัด                                                        4.  มุ่งมั่นในการทำงาน

†    ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

         การจัดสวนในบริเวณบ้าน

แบบทดสอบก่อน – หลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

คำชี้แจง   ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1.    บริเวณใดของบ้านที่ไม่ควรลงแว็กซ์หรือขัดมัน

ก.   บันได                                                                   ข.     ประตู

ค.   ห้องเก็บของ                                                        ง.      ห้องครัว

2.    อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทใดจะต้องมีการต่อสายดินเพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด

ก.   ตู้เย็น                                                                   ข.     โทรทัศน์

ค.  เครื่องทำน้ำอุ่น                                                    ง.     ไมโครเวฟ

3.    การซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้านประเภทใด จำเป็นจะต้องใช้ช่างที่มีความรู้ความชำนาญในการซ่อม

ก.    การซ่อมแซมท่อประปา                                   ข.     การซ่อมแซมประตูหน้าต่าง

ค.  การซ่อมเครื่องใช้ประเภทเหล็ก                        ง.     การซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า

4.    การจัดห้องต่างๆ ภายในบ้าน  ควรจัดห้องรับแขกอยู่ในส่วนใดของบ้าน

ก.   ควรอยู่ส่วนหน้าสุดของบ้าน                             ข.     ควรอยู่ส่วนกลางของบ้าน

ค.  ควรอยู่ส่วนหลังสุดของบ้าน                              ง.     ควรอยู่ติดกับห้องครัวและห้องน้ำ

5.    ห้องใดควรจัดให้มีเครื่องเรือนน้อยที่สุด

ก.  ห้องรับแขก                                                         ข.     ห้องนอน

ค.   ห้องน้ำ                                                                 ง.     ห้องครัว

6.    หากต้องการห้องนอนที่ให้ความรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย ควรเลือกทาสีใด

ก.   สีส้ม                                                                      ข.     สีฟ้า

ค.  สีชมพู                                                                    ง.      สีครีม

7.    ของตกแต่งบ้านในข้อใดช่วยให้เกิดความสวยงามมากกว่าประโยชน์ใช้สอย

ก.   โคมไฟ                                                                 ข.   โซฟารับแขก

ค.   ชุดโฮมเธียร์เตอร์                                                ง.   รูปภาพ

8.    หากต้องการตกแต่งห้องที่แคบ  ให้มีความรู้สึกโปร่ง กว้างขวาง  ควรเลือกเฟอร์นิเจอร์ลักษณะใด

ก.   เลือกเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่แกะสลักลวดลาย

ข.   เลือกเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ทำจากขนสัตว์

ค.  เลือกเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ทำจากผ้ากำมะหยี่

ง.   เลือกเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่เป็นสเตนเลส หรือไม้เคลือบเงา

9.    ข้อใดเป็นพันธุ์ไม้มงคลที่คนไทยนิยมนำมาจัดสวนทุกชนิด

ก.  วาสนา กวนอิม  โป๊ยเซียน                              ข.     ราชพฤกษ์  โสน  เต่าร้าง

ค.  แก้ว  มะยม  พิกุล                                             ง.     โมก  มะพร้าว  ลำไย

10.     การตัดแต่งกิ่งต้นไม้แบบเฮดดิงแบก (Heading Back) มีข้อเสียอย่างไร

ก.   ทำให้ความสูงของต้นไม้แตกต่างกัน

ข.   ทำให้พุ่มใบมีความหนาเกินไป

ค.  ทำให้ทรงพุ่มไม่สมดุลกัน

ง.   ทำให้รูปทรงต้นไม้ยืดยาวไม่สวยงาม