ค่ากําเหน็จทอง 2 สลึง 2565

ค่ากำเหน็จ คืออะไร ทำไมต้องรู้ก่อนซื้อทองด้วย สาว ๆ ทุกคนอาจเคยได้ยินกันมาบ้างแหละว่า ซื้อทองต้องดูค่ากำเหน็จด้วยนะ เดี๋ยวจะมาไขข้อสงสัยให้ได้ทราบกันค่ะ หลังจากอ่านจบก็จะร้องว่า อ๋ออออ! โอเค เข้าใจถึงแก่นแล้วว่าค่ากำเหน็จมีผลอย่างไรเมื่อซื้อทอง

ค่ากำเหน็จ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญพอ ๆ กับราคาซื้อ - ราคาขาย ทองคำ

ค่ากำเหน็จ คือ ค่าผลิตทองคำรูปพรรณ ค่าแรงช่างหรือค่าจ้างในการผลิตจากทองคำแท่งให้สามารถมีลวดลายสวยงาม โดยราคาจะขึ้นอยู่กับความยาก - ง่ายของทองรูปพรรณชิ้นนั้น ๆ รวมถึงค่าการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจร้านทองค้าปลีก (ร้านทองตู้แดง) ค่าการตลาดในที่นี้ คือ ค่าใช้จ่ายในการบริหารร้าน ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแรงพนักงาน ค่าประกันภัย ค่าเช่าสถานที่ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นภายในร้านทอง

ค่ากําเหน็จทอง 2 สลึง 2565

โดยตามมาตรฐานค่าแรงในประเทศไทยจะคิดเป็นราคาต่อบาทของน้ำหนักทอง (ส่วนใหญ่ค่าคำเหน็จต่อราคาทอง 1 บาท จะอยู่ที่ประมาณ 600 - 800 บาท ซึ่งราคาจะขึ้นอยู่ที่ร้านทองเป็นผู้กำหนด)

ยกตัวอย่างให้เห็นชัดขึ้น ราคาทองวันนี้ มีราคาขายออกที่บาทละ 26,550 บาท และมีค่ากำเหน็จ 700 บาท

  • เมื่อต้องการซื้อแหวนทอง 1 บาท ราคาที่ต้องจ่ายจะเท่ากับ 26,550 + 700 บาท = 27,250 บาท
  • แต่หากต้องการซื้อแหวนทอง 2 บาท ราคาที่ต้องจ่ายจะเท่ากับ 26,550 + 700 + 700 = 27,950 บาท

*ค่ากำเหน็จที่ต้องจ่ายจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของทองที่เราซื้อ หากซื้อทองมากกว่า 1 บาท ก็คูณค่ากำเหน็จตามน้ำหนักที่ซื้อเข้าไป

แล้วหากซื้อ แหวนทอง 1 สลึง ล่ะ? จะมีค่ากำเหน็จเท่าไหร่? 

เชื่อเลยว่าสาวสไตล์ตัวเล็ก ชอบทองเส้นเล็ก ๆ หรือชอบสะสมทองทีละเล็กทีละน้อย ต้องสงสัยแน่นอนว่า แล้วถ้าซื้อทองไม่ถึงบาทล่ะ จะคิดค่ากำเหน็จยังไง มาจ้ะ จะมาคำนวณให้ดู

หากเราซื้อ แหวนทอง 1 สลึง ราคาที่จะต้องจ่ายคือ 26,550/4 + 700 = 7,337.50 บาท  *หมายเหตุ ราคาทอง ณ ปัจจุบัน ราคาขายอยู่ที่บาทละ 26,550 และค่ากำเหน็จที่ร้านทองกำหนด 700 บาท

ค่ากําเหน็จทอง 2 สลึง 2565

ค่ากําเหน็จทอง 2 สลึง 2565

แล้ว ทองคำแท่ง มีค่ากำเหน็จไหม?

มีสิจ๊ะ แต่ส่วนใหญ่แล้วทองคำแท่งที่เคยได้ยินกันจะเรียกว่า “ค่าบล็อก” คือ การนำทองมาหลอมจนละลายและเทลงพิมพ์ที่เป็นบล็อกนั่นเอง และแต่ละร้านทองก็จะคิดค่าบล็อกที่แตกต่างกัน แต่จะมีค่าบล็อกหรือค่ากำเหน็จที่ถูกกว่าทองรูปพรรณ เนื่องจากมีกระบวนการผลิตที่ไม่มีความซับซ้อน และถ้าหากไม่อยากเสียค่าบล็อก จะต้องซื้อทองคำแท่งที่มีน้ำหนักขนาด 5 บาทขึ้นไปนั่นเอง

โดยตามมาตรฐานค่าแรง (ค่าบล็อก) ในประเทศไทยของทองคำแท่งจะอยู่ที่บาทละ 100 - 400 บาท แต่หากทองมีลวดลายสั่งทำเป็นพิเศษก็จะมีค่าบล็อกเพิ่มขึ้น อยู่ที่ความมาก - น้อยของลวดลายด้วยค่ะ

ทำไม ค่ากำเหน็จ จะมีผลต่อการซื้อ - ขายทองคำ

แน่นอนว่าส่วนใหญ่ก็จะรู้กันดีอยู่แล้วว่าการเลือกซื้อทองคำระหว่างทองคำแท่งกับทองคำรูปพรรณนั้นผู้ซื้อย่อมมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันอยู่แล้ว ทำความเข้าใจเพิ่มเติมหากกำลังตัดสินว่าจะ ซื้ออะไรดี ระหว่าง ทองแท่ง กับ ทองรูปพรรณ และเป็นความเข้าใจตรงกันว่าทำไมทองรูปพรรณถึงมีราคาแพงกว่าทองคำแท่ง ซึ่งหนึ่งในเหตุผลนี้ก็เกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บค่ากำเหน็จ และค่าบล็อกของทองแต่ละแบบ

ค่ากําเหน็จทอง 2 สลึง 2565

เพราะฉะนั้น ราคาขายระหว่างทองรูปพรรณและทองแท่ง ก็จะแตกต่างเช่นกัน แต่อย่างเพิ่งเข้าใจผิดว่าเราซื้อทองประเภทเครื่องประดับ เช่น สร้อย แหวน มาในราคาที่แพงกว่าทองคำแท่ง เวลาขายก็ต้องได้ราคาที่ไม่ขาดทุนเหมือนตอนซื้อสิ แต่ความจริงแล้วคือ หากเราต้องการขายทองรูปพรรณที่จุดประสงค์หลักคือใช้เป็นเครื่องประดับ แน่นอนว่าต้องผ่านการใช้งาน การสวมใส่ ในระยะเวลานานก็ส่งผลให้ทองสึกหรอ หรือเสื่อมสภาพไปบ้าง ก็ส่งผลให้ร้านทองที่รับซื้อคืนทองรูปพรรณโดยอิงตามหลักเกณฑ์ตามประกาศของ สคบ. จะมีการหัก 5% จากราคาทองคำประจำวันที่สมาคมประกาศ หรือที่เราเห็นที่ตามร้านทองเขียนไว้ที่หน้าร้านนั่นแหละค่ะว่าวันนี้ราคาซื้อ - ขายทอง ณ วันนั้นอยู่ที่เท่าไหร่

ค่ากําเหน็จทอง 2 สลึง 2565

แต่ในทางกลับกัน หากวันนึงเราต้องการขายทองคำแท่ง ราคาที่ร้านรับซื้อคืนจะถูกหักหรือไม่ถูกหักค่าสึกหรอของทองเลย อ้างอิงจากประกาศของกรมการค้าภายใน เรื่อง แนวทางปฏิบัติทางการค้าของผู้ประกอบธุรกิจร้านทองที่เป็นธรรม (มีผลบังคับใช้ 20 เมษายน 2552) มีข้อกำหนดให้ร้านทองค้าปลีกต้องแสดงราคารับซื้อคืนทองและรับซื้อไม่ต่ำกว่าที่กำหนด โดยทองคำแท่งมีสูตรคำนวณคือ ทองคำแท่ง 1 บาท ราคารับซื้อคืนเต็มจำนวน หัก 100 บาท เท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าราคาที่รับซื้อคืนของทองคำแท่งจะคุ้มค่ามากกว่าสำหรับผู้ที่นำทองมาขายค่ะ และจำนวนเงินที่จะได้คือ ราคาของทองคำ ณ ปัจจุบันในวันที่เราไปขายทองนะคะ

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดขึ้นอีก สมมติซื้อทองคำแท่งบวกค่ากำเหน็จมาแล้วในราคา 20,000 บาท ผ่านไปสักระยะต้องการขายทองชิ้นนี้ เลยบึ่งไปร้านทองที่ติดประกาศราคารับซื้อทองอยู่ที่ 23,000 บาท คุณก็จะได้เงินจากการขายทองตามราคาที่ร้านรับซื้อ ณ ปัจจุบันวันนั้นเลยค่ะ และนี่ก็เป็นเหตุผลที่ราคารับซื้อทองแท่งจะได้ราคามากกว่าเพราะส่วนใหญ่คนนิยมซื้อเก็บเป็นทรัพย์สิน หรือเก็งกำไร ทำให้โอกาสที่ทองจะเกิดความเสียหายมีน้อยมาก ทำให้น้ำหนักทองยังอยู่เต็มจำนวน ไม่มีน้ำประสานทอง มีแต่น้ำหนักของทองคำล้วน ๆ จึงทำให้เราขายได้ราคาไปแบบเต็ม ๆ นั่นเองจ้ะ

แต่ที่อยากแนะนำเลยค่ะ หากคุณอยากได้ทองที่ลดค่ากำเหน็จลดลงนิดนึง การซื้อทองออนไลน์ผ่าน ทองช่วย ก็ช่วยแบ่งเบาเรื่องค่ากำเหน็จได้เหมือนกันนะคะ แต่ต้องบอกก่อนนะคะว่าแค่เฉพาะค่ากำเหน็จนะ ไม่เกี่ยวกับราคาทองนะจ๊ะ ซึ่งอย่างที่บอกไว้ตอนต้นว่าค่ากำเหน็จนั้นรวมถึงค่าการตลาดของร้านทองค้าปลีกด้วย นั่นก็หมายถึงว่าการที่เราช้อปปิ้งทองออนไลน์ก็ส่งผลให้ค่าบริการอื่น ๆ ลดลงได้ เช่น ค่าแรงพนักงานที่ต้องคอยให้บริการ แต่ที่ประหยัดอย่างเห็นได้ชัดอีกทางนึงก็คือ ประหยัดค่าเดินทางไปได้เยอะเลยล่ะ ซึ่งเหมาะกับผู้ที่บ้านค่อนข้างไกลกับร้านทอง และไม่ต้องกังวลด้วยว่าพอไปถึงร้านแล้วจะเสียเที่ยวเพราะแบบและลายที่มีไม่ถูกใจ

โดยเราจะยกถนนเยาวราชมาให้อยู่ในช่องทางออนไลน์ให้คุณได้จับจ่ายได้สะดวก แถมได้แบบและลวดลายที่มีให้เลือกอย่างมากมาย หรืออยากลองเริ่มจากเลือกทองชิ้นเล็ก ๆ ก่อนเลยก็ได้ค่ะ คลิก ทองช่วย : มิติใหม่แห่งการซื้อทองกับร้านทองที่คุณคุ้นเคย ที่คุณสามารถมั่นใจได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องทองปลอม ตัวทองทุกชิ้นมีใบ Certificate การันตีโดยร้านทอง ซึ่งร้านทองที่อยู่ในระบบเครือข่ายของทองช่วย เป็นร้านทองที่มีตัวตนจริง จากสมาชิกสมาคมค้าทองคำแห่งประเทศไทยการันตีคุณภาพทองคำ ด้วยบริการส่งฟรี และมั่นใจได้ว่าทองจะส่งถึงมือคุณอย่างแน่นอนด้วยระบบ E parcel ของไปรษณีย์ไทยที่มีการรับประกันมูลค่าสินค้าเต็มจำนวน

ทำความรู้จัก ทองช่วย ให้มากขึ้น 

  • ทองช่วย คืออะไร ทำไมถึงต้องใช้บริการ
  • ซื้อทองกับ ทองช่วย ดีกว่ายังไง?
  • คุณจะได้อะไร เมื่อเลือกซื้อทองออนไลน์กับ ทองช่วย

Tags:

ทองรูปพรรณ

แหวนทอง 1 สลึง

ทอง 1 สลึง

ค่ากำเหน็จ

สร้อยทอง 1 สลึง

แชร์

ค่ากําเหน็จทอง 2 สลึง 2565
ค่ากําเหน็จทอง 2 สลึง 2565

ค่ากําเหน็จทอง กี่บาท

ค่ากำเหน็จ คือ ค่าแรงหรือค่าจ้างในการผลิตทองคำจากทองคำแท่งให้กลายมาเป็น ทองรูปพรรณในรูปแบบต่างๆ ซึ่งราคาค่ากำเหน็จจะแตกต่างกันตามความยากง่าย ของแบบทองรูปพรรณที่ทำขึ้น ตามมาตรฐานค่าแรงของไทยจะคิดเป็นราคาต่อบาท ทอง (ปัจจุบันค่ากำเหน็จจะอยู่ที่ประมาณบาทละ 600 - 800 บาทต่อน้ำหนักทอง

ซื้อทองคําแท่งมีค่ากําเหน็จไหม

ไม่เสียค่ากำเหน็จในการซื้อขาย แต่เป็นลักษณะของส่วนต่างราคาซื้อขาย กำไรจากการลงทุนทองคำไม่เสียภาษี ต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดีทำให้อาจมีต้นทุนค่าเก็บรักษา

ออมทองที่ไหนดี 2565

ออมทองที่ไหนดี ปี 2565.
ออมทองที่ YLG..
ออมทองที่ AUSIRIS..
ออมทองที่ Gcap..
ออมทองที่ แม่ทองสุก.
ออมทองที่ ฮั่วเซ่งเฮง.
ออมทองที่ Globlex..
ออมทองที่ Savvy Gold..
ออมทองที่ Zipmex กับเหรียญ GOLD (Xbullion).

ค่าบล็อกทองแท่ง คืออะไร

ค่าบล็อค คือ ค่าใช้จ่ายที่บวกเพิ่มเข้าในการซื้อขายทองคำแท่ง ซึ่งทางร้านทองมักจะคิดค่าบล็อคกับการซื้อขายทองคำแท่งที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 5 บาท ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการหลอมทองคำให้ออกมาเป็นแท่ง