ต่อพรบรถมอไซค์ใช้อะไรบ้าง 2565

หนึ่งในคำถามสุดฮิตเกี่ยวกับรถยนต์ไม่ว่าจะมาจากการสอบถามผ่านโทรศัพท์หรือการตั้งคำถามในโลกออนไลน์ ยังหนีไม่พ้นเกี่ยวกับเรื่องของพ.ร.บ.

สิ่งที่ได้จากพ.ร.บ.คืออะไร ? ทำไมต้องมีการจ่ายเงินอยู่เรื่อยๆ และที่สำคัญคือหากพ.ร.บ.ขาดจะต้องทำอย่างไร ถูกจับดำเนินคดีหรือเปล่า บทความนี้จะมาชี้แจงแถลงไขเกี่ยวกับเรื่องพ.ร.บ. รวมถึงการต่อพ.ร.บ.อย่างง่ายสำหรับทุกๆ คน

สิ่งควรรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.

สำหรับผู้ที่ขับรถอยู่แล้วคงทราบเกี่ยวกับพรบ.รถยนต์กันบ้างระดับหนึ่ง แต่คนที่ไม่ได้ขับรถเป็นประจำหรือขับมาเป็นเวลานานจนหลงลืม จึงต้องขอรื้อฟื้นเกี่ยวกับพ.ร.บ.นี้แบบสั้นๆ

พ.ร.บ. หรือชื่อเต็มๆ คือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่เปรียบเสมือนหลักประกันของรถทุกคันยามที่ประสบเหตุไม่คาดฝัน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้รถที่มีพ.ร.บ.ได้รับความคุ้มครอง รวมถึงเงินค่ารักษา แม้ว่าจะไม่ได้ทำประกันรูปแบบอื่นก็ตาม

ซึ่งรถทุกชนิดจำเป็นต้องทำพ.ร.บ.ก่อนจึงสามารถต่อทะเบียนรถได้

เห็นแบบนี้แล้ว ใช่ว่าการเสียเงินเพื่อต่อพ.ร.บ.จะไม่คุ้มค่า รถที่ทำพ.ร.บ.นั้นจะได้สิทธิประโยชน์ดังนี้หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน

ค่าเสียหายที่เบื้องต้น

  • จ่ายค่ารักษาสูงสุด 30,000 บาทต่อคน
  • พิการหรือเสียชีวิต 35,000 บาทต่อคน

ค่าเสียหายที่ได้หากพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูก

  • จ่ายค่ารักษาตามจริงสูงสุด 80,000 บาทต่อคน
  • พิการหรือเสียชีวิต 300,000 บาทค่อคน
  • จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล รับเงินชดเชย 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วัน

ต่อพรบรถมอไซค์ใช้อะไรบ้าง 2565

สรุปรวมแล้วค่าเสียหายทั้งหมดที่สามารถชดเชยให้ได้จะไม่เกิน 304,000 บาท

ความแตกต่างของพ.ร.บ.จักรยานยนต์และพ.ร.บ.รถยนต์

แน่นอนว่ารถบนถนนประเทศไทยมีหลากหลายประเภท ทั้งสองล้อ สี่ล้อ หรือมากกว่า นั่นก็ส่งผลให้พ.ร.บ.มีความแตกต่างกันด้วย ซึ่งประเด็นที่เห็นภาพที่ชัดที่สุดคือ ค่าใช้จ่ายในการทำพ.ร.บ.

ค่าใช้จ่ายสำหรับพ.ร.บ.รถยนต์

สำหรับค่าใช้จ่ายของพ.ร.บ รถยนต์ส่วนบุคคล ต่อปีมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 ที่นั่ง : 600 บาท
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง : 1,100 ถึง 3,740 บาท
  • รถบรรทุก : 900 ถึง 1,700 บาท
  • รถพ่วง : 600 บาท

ค่าใช้จ่ายสำหรับพ.ร.บ.จักรยานยนต์

สำหรับค่าใช้จ่ายของพ.ร.บ รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ต่อปี จะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องเป็นหลัก โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ไม่เกิน 75 ซี.ซี. : 150 บาท
  • เกินแต่ 75 ซี.ซี. แต่ไม่เกิน 125 ซี.ซี.​ : 300 บาท
  • เกินแต่ 125 ซี.ซี. แต่ไม่เกิน 150 ซี.ซี. : 400 บาท
  • เกิน 150 ซี.ซี. : 600 บาท

อนึ่ง รถยนต์ในหมวดอื่นๆสามารถตรวจสอบราคากลางได้ที่อัตราเบี้ยประกันภัยคปภ. เพื่อความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล โดยอาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติมขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการทำพ.ร.บ. หรือต่อ พ.ร.บ.

ผลเสียของการไม่มีพ.ร.บ. หรือพ.ร.บ.ขาด

ถ้าหากไม่ดำเนินการต่อพ.ร.บ.ล่ะ จะส่งผลเสียอย่างไรบ้าง ลองมาดูผลกระทบที่อาจจะเกิดกัน

เกิดอุบัติเหตุ (ไม่มีคู่กรณี)

หากเกิดเหตุแบบไม่มีคู่กรณี เช่น เฉี่ยวชนกำแพง ชนต้นไม้ หรือไถลขอบฟุตบาธ แม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามข้อกำหนดในพ.ร.บ. ทั้งสิ้น

ชนคนอื่น

ถ้าหากรถที่ไม่มีพ.ร.บ.กระทำความผิดโดยชนผู้อื่น ทางผู้เสียหายสามารถขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้จากกรมการประกันภัยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยจะได้ค่ารักษาตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท และทางหน่วยงานจะทำการเก็บเบี้ยส่วนนั้นคืนจากเจ้าของรถ พร้อมกับทำการปรับ และชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มเติมตามความเหมาะสม

ถูกคนอื่นชน

สำหรับกรณีที่ประสบเหตุถูกรถคันอื่นชน กรณีที่ฝ่ายผิดมีพ.ร.บ. ผู้ถูกชนก็ยังได้รับความคุ้มครองในฐานะผู้เสียหาย โดยสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นได้ ไม่เกิน 15,000 บาท และหากเสียชีวิตจะได้รับเงินชดเชย 35,000 บาท

โดนค่าปรับ

นอกเหนือจากความเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุแล้ว การที่พ.ร.บ. ขาดยังอาจส่งผลให้ถูกพี่ๆ ตำรวจจราจรเรียกจนต้องเสียค่าปรับได้ ซึ่งอัตราค่าปรับจะไม่เกิน 10,000 บาท ที่ดูแล้วไม่คุ้มเลย ทางที่ดีทำการต่อพ.ร.บ. ก่อนหน้าจะดีที่สุด

ต่อพรบรถมอไซค์ใช้อะไรบ้าง 2565

พ.ร.บ.ขาดนานเท่าใดจึงต้องต่อ

สำหรับพ.ร.บ.ในความเป็นจริงๆ ควรมีการต่ออย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าหากขาดล่ะก็ต้องดูเป็นรายกรณีไป ซึ่งจะมีความแตกต่างตามนี้

  • ขาดไม่เกิน 1 ปี : สามารถต่อภาษีได้โดยไม่เสียค่าปรับด้านพ.ร.บ.เพิ่มเติม แต่อาจโดนปรับในแง่ของภาษีรถ

  • ขาดเกิน 2 ปี : ต้องมีการนำรถไปตรวจสภาพและเดินเรื่องด้วยตนเองที่ขนส่ง โดยดำเนินการต่อทะเบียนรถและเสียค่าปรับ โดยเตรียมเอกสารไปให้พร้อม ซึ่งจะมีรายการดังนี้

    1. ​​ทะเบียนบ้านเจ้าของรถ
    2. สมุดทะเบียนรถ
    3. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ
      แล้วทำการแจ้งกับกรมขนส่งเพื่อดำเนินเรื่องในขั้นต่อไป ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าจดทะเบียน ต่อภาษี รวมไปถึงค่าเช็คสภาพ
  • ขาดเกิน 3 ปี : ในกรณีขาดเกิน 3 ปีรถน่าจะถูกระงับทะเบียนไปแล้ว ต้องทำการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ พร้อมกับเสียค่าปรับ ซึ่งอาจมีการเก็บภาษีรถยนต์ย้อนหลัง โดยต้องเตรียมเอกสารใกล้เคียงกับการต่อทะเบียน ซึ่งก็คือ

    1. ทะเบียนบ้านเจ้าของรถ
    2. สมุดทะเบียนรถ
    3. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ
      ซึ่งทางขนส่งอาจมีการขอเอกสารต่างๆเพิ่ม หากไม่มั่นใจสามารถติดต่อสอบถามทางขนส่งโดยตรงได้เลย

ต่อพ.ร.บ.กับเงินติดล้อได้ง่ายๆ

แน่นอนว่ามีทางง่ายๆสำหรับการต่อพ.ร.บ. เมื่อคุณสามารถดำเนินการได้ที่บริษัทเงินติดล้อ ซึ่งรับต่อพ.ร.บ.รถทุกประเภท ทั้งจักรยานยนต์ รถยนต์ รถบรรทุก รถพ่วง รถแทรกเตอร์ ในราคาย่อมเยาแบบไม่หมกเม็ดค่าใช้จ่าย แถมไม่คิดค่าบริการ หรือหากคุณไม่สะดวก เรายังมีบริการต่อ พรบ ออนไลน์ให้คุณได้ใช้บริการอีกด้วย

หากสนใจสามารถต่อพ.ร.บ.ได้ที่เงินติดล้อทุกสาขาทั่วประเทศ หรือเข้าดูรายละเอียดพ.ร.บ.ต่อได้ที่ พ.ร.บ.กับเงินติดล้อ พวกเรายินดีให้บริการครับ!

ต่อพรบรถจักรยานยนต์กี่บาท 2565

สรุปได้ว่าการเสียภาษีหรือต่อทะเบียนรถจักรยานยนต์ 2565 จะต้องจ่ายเงิน 100 บาท เท่ากันทุกคัน ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก 100 ซี.ซี. หรือจะขนาดใหญ่ 1,200 ซี.ซี. ก็เสียในอัตราเดียวกัน ยกเว้นถ้ามีรถพ่วงต้องเพิ่มอีก 50 บาท ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 2565 ได้ที่ไหนบ้าง

ต่อภาษี พรบ.รถจักรยานยนต์ ใช้อะไรบ้าง

1. สมุดทะเบียนรถ หรือสำเนาก็ได้ 2. หางของ พ.ร.. ตามกฎหมายรถทุกคันต้องทำพรบ. ไม่ทำถือว่ามีความผิด 3. ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. เฉพาะรถที่ถึงเกณฑ์ที่ต้องตรวจสภาพรถแล้ว ดูเกณฑ์รถที่ต้องตรวจสภาพได้ที่นี่ 4. ใบตรวจสภาพแก๊ส เฉพาะรถที่ติดตั้งแก๊สเท่านั้น

ต่อพรบรถจักรยานยนต์ใช้อะไรบ้าง 2564

ต่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ 2565 ใช้เอกสารอะไรบ้าง เล่มทะเบียน หรือสำเนาเล่มทะเบียน ใบตรวจสภาพรถ (*เฉพาะรถมอเตอร์ไซค์ที่มีอายุเกิน 5 ปี ขึ้นไป หากต่ำกว่านั้นไม่ต้องใช้) เอกสาร พ.ร.. (รถทุกคันที่จะต่อทะเบียน จำเป็นต้องทำ พ.ร.. โดยไม่มีข้อยกเว้น สามารถหาซื้อได้ที่ 7/11 ตลอดจนร้านตรวจสภาพเอกชน)

ต่อภาษีรถยนต์ใช้อะไรบ้าง 2565

ใบคู่มือจดทะเบียนรถ หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)