จาก คำ กล่าวที่ว่า นาฏศิลป์ไทยเป็น ศิษย์มีครู แสดงให้เห็นถึง สิ่งใด

ที่มา: 

http://www.banramthai.com/

จาก คำ กล่าวที่ว่า นาฏศิลป์ไทยเป็น ศิษย์มีครู แสดงให้เห็นถึง สิ่งใด
ความมุ่งหมายพิธีไหว้ครู

๑.  เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวายเครื่องสักการะ พลีกรรมแก่ปรมาจารย์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มาประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่ศิษย์
๒.  เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความมั่นใจในการเรียนนาฎศิลป์เป็นอย่างดี เมื่อได้ผ่านพิธีกรรมมาแล้ว
๓.  เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษ หากศิษย์ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ตาม
๔.  เพื่อไว้สำหรับต่อท่ารำที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงที่มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า เพลงหน้าพาทย์บางเพลงจะต้องต่อท่ารำในพิธีไหว้ครู จึงจะเกิดเป็นสิริมงคลทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
๕.  เพื่อเป็นสิ่งเตือนสติให้ศิษย์ระลึกถึงครู อันเป็นเครื่องเตือนใจที่จะประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม อยู่ในศีลธรรมจรรยา ตั้งตนอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์

จาก คำ กล่าวที่ว่า นาฏศิลป์ไทยเป็น ศิษย์มีครู แสดงให้เห็นถึง สิ่งใด

ประโยชน์ที่ได้รับจากพิธีไหว้ครู

๑.  สามารถทำให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะที่เป็นศิษย์มีครูเหมือนกัน
๒.  สามารถนำวิชาความรู้ที่เรียนมา ไปถ่ายทอดได้ด้วยความมั่นใจ โดยไม่ต้องกลัวว่า "ผิดครู"
๓.   เป็นการสร้างศิษย์ให้มีความเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา กล้าแสดงออกไม่เก็บตัว
๔.  ทำให้มีความรู้กว้างขวางและเข้าใจในพิธีกรรมเช่นนี้อย่างชัดเจน
๕.  เกิดความสบายใจหากได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไป ก็จะได้เป็นการขอขมาครูไปด้วย


ข้อมูลจาก http://www.banramthai.com/

เรื่อง : จิตรสินี กิจปกครอง
ภาพ :  สุทิยา ตาปนานนท์

“พับเพียบ ประนมมือกลางอก กราบ”

ท่าที่คุ้นหูคุ้นตาเวลาเรียนวิชานาฏศิลป์ เหล่านักเรียนชายหญิงนุ่งโจงกระเบน แล้วคลานเข่ามาหยุดอยู่ต่อหน้าพระรัตนตรัย เพื่อเริ่มต้นพิธีสำคัญก่อนการเรียน ซึ่งเราเรียกกันว่า “การไหว้ครู”

“การไหว้ครูของชนชาติอื่นอาจไม่มีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ แต่สำหรับคนไทย พิธีนี้กลับมีเอกลักษณ์ที่แฝงนัยยะถึงความภาคภูมิใจว่า เราเป็นศิษย์มีครู” อาจารย์สวัสดิ์ จงกล ผู้เชี่ยวชาญด้านหอประวัติจุฬาฯ บอกเล่าถึงลักษณะสำคัญและความเป็นมาของพิธีไหว้ครู ในรายการจามจุรีมีเรื่องเล่า เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา

จาก คำ กล่าวที่ว่า นาฏศิลป์ไทยเป็น ศิษย์มีครู แสดงให้เห็นถึง สิ่งใด
นักเรียนนาฏศิลป์กำลังเตรียมท่ากราบครูในพิธีไหว้ครูก่อนเริ่มเรียน

“เราเคารพครูและครูก็เมตตาต่อเรา การไหว้ครูถือเป็นความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์ โดยเฉพาะกับครูดนตรี ศิลปะ และนาฏศิลป์ไทย” อาจารย์สวัสดิ์เล่าเสริม และอธิบายลำดับพิธีในการไหว้ครูว่า สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำคัญ โดยส่วนแรกคือ การไหว้พระศรีรัตนตรัย และเทพเจ้าเทวดาของศิลปะแขนงนั้นๆ และอีกส่วนหนึ่งคือ การไหว้ครูในฐานะผู้ให้ความรู้ที่เป็นปุถุชนธรรมดา ด้วยความเคารพรักที่เรามีต่อครู

ด้วยลักษณะเฉพาะของพิธีไหว้ครูของคนไทยซึ่งให้ความสำคัญกับการแสดงออกทางจิตใจ จึงเกิดคำถามน่าขบคิดตามมาว่าหากความเคารพนี้เป็นเพียงการแสดงออกที่ไม่ได้มาจากความรู้สึกภายในของผู้เรียนแล้ว พิธีกรรมดังกล่าวจะยังทรงคุณค่าอยู่หรือไม่

“ความนอบน้อมเป็นสิ่งที่ตามมาทีหลัง คนเรานอบน้อมเพราะอยากจะได้ และอยากเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม การไหว้ครูส่งผลต่อการแสดงออกของผู้เรียนว่า ถ้าคุณไม่เข้าพิธีไหว้ครู คุณจะไม่ได้ต่อท่ารำ ไม่สามารถเข้าถึงขบวนการชั้นต่อไป มันจึงเป็นกติกาในการจัดการกับคน” พิเชษฐ กลั่นชื่น นาฏศิลปินไทยร่วมสมัย ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี 2549 แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าว

“การไหว้ครูเป็นพิธีกรรมที่มีเส้นแบ่งระหว่างคำว่า ‘อำนาจนิยม’ กับ ‘วัฒนธรรม’ แต่ในเส้นแบ่งนี้มีอีกเส้นหนึ่งที่เรียกว่า เส้นของ ‘ความกตัญญูรู้คุณ’ เข้ามาคาบเกี่ยว ซึ่งเส้นแบ่งของความกตัญญูกับวัฒนธรรมได้กลบทับเส้นแบ่งของอำนาจนิยมอย่างมิดชิดจนคนไม่รู้สึก”

ในระบบการศึกษาทั่วไป ความสนใจของเด็กเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณา เพื่อมองหาว่าสิ่งใดคือความสนใจที่เด็กอยากได้ อยากเป็น หรืออยากเรียนรู้ แต่สำหรับวิชานาฏศิลป์อาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะขั้นแรกของการเรียนต้องอาศัยดุลพินิจจากการตัดสินใจของครู

จาก คำ กล่าวที่ว่า นาฏศิลป์ไทยเป็น ศิษย์มีครู แสดงให้เห็นถึง สิ่งใด
นักเรียนนาฏศิลป์ผู้รับบทพระ-นางกำลังซ้อมรำในวิชาเรียน

“เริ่มตั้งแต่วินาทีแรก ครูก็จะเป็นคนเลือกว่า เธอเล่นเป็นยักษ์นะ เธอเล่นเป็นลิง เธอเล่นเป็นพระ ทุกบทบาทถูกตัดสินโดยครู แต่ไม่ได้ถูกเลือกโดยเรา หากครูมองว่า คนนี้ตัวเล็กเหมาะไปเป็นลิง คนนี้หน้าตาสวยเหมาะไปเป็นพระเป็นนาง ก็ไม่ต่างอะไรจากการใช้อำนาจนิยมในการคัดสรรเราให้ไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือกว่า เราอยากจะเล่นเป็นตัวอะไร” พิเชษฐบอกเล่าถึงที่มาที่ไปของอำนาจนิยมที่แอบแฝงอย่างกลมกลืน ขณะที่คนทั่วไปกลับมองว่า สิ่งนี้คือแบบแผนในการคัดเลือกผู้เรียน “ผมไม่ได้หมายความว่า การกระทำนี้ดีหรือไม่ดี แต่มันเป็นเพียงเส้นแบ่งที่ทับกันอยู่ โดยที่ไม่มีใครสนใจว่ามันเป็นระบบอำนาจนิยม”

พิเชษฐชี้ว่า ในแง่หนึ่งชุดความคิดนี้เป็นตัวกำหนดไม่ให้คนในวงการนาฏศิลป์หรือศิลปะไทยแขนงต่างๆ หลุดออกจากกรอบกติกา “ในสมัยก่อนไม่มีใครตรวจสอบความถูกต้องของการรำ กฎกติกาที่จะทำให้เด็กคงอนุรักษ์และดูแลท่ารำไว้อย่างถูกต้อง คือการเกรงกลัวต่ออำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเทวดา แต่มันก็ทำให้ตามมาด้วยเรื่อง ผีสางนางไม้ที่กลับกลายเป็นว่า ไม่ว่าเราจะไปที่ไหน มันก็ติดสอยห้อยตามเราไปทุกที่”

ความผูกพัน แลประสานความร่วมใจ

ขณะเดียวกัน อำนาจนิยมที่มาจากการไหว้ครูอาจไม่ใช่แค่เพียงการนำเอาความกลัวมาสร้างอำนาจ หรือการบีบบังคับ แต่ในอีกมิติหนึ่งมันอาจเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ และความเป็นหนึ่งเดียวของคนที่อยู่ในวงการ

“พิธีนี้สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ได้ ซึ่งแตกต่างจากศาสตร์อื่นที่ผู้เรียนมีหน้าที่เรียน ผู้สอนก็มีหน้าที่สอน ความหมายที่ซ่อนอยู่ในการไหว้ครู คือ การสะท้อนถึงความศรัทธาในตัวครู ครูกับเด็กนาฏศิลป์จึงมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากกว่าการเรียนที่จบคาบก็จบกันไป” ผศ.ดร.ภาวิณี บุญเสริม หรือ ครูป๊อป อาจารย์ประจำสาขาวิชาการละคร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกเล่ามุมมองของตนในฐานะคนที่อยู่ในวงการนาฏศิลป์ไทยมากว่า 20 ปี

จาก คำ กล่าวที่ว่า นาฏศิลป์ไทยเป็น ศิษย์มีครู แสดงให้เห็นถึง สิ่งใด
ครูนาฏศิลป์กำลังจัดท่ารำให้นักเรียนเป็นรายบุคคล

“ในวิชานาฏศิลป์ ท่าทางในการแสดงความเคารพ คือ ท่ากราบ เด็กที่เรียนรำก้มลงกราบครูจริง แต่พวกเขาไม่ได้กราบครูที่อยู่ตรงหน้าในฐานะที่เขาเป็นครู มันคือการไหว้ในสิ่งที่เขากำลังจะเรียน”

ครูป๊อปยังเผยเพิ่มเติมว่า พิธีไหว้ครูประจำปีอาจเปรียบได้กับการมารวมตัวกัน (Reunion) ในรูปแบบของพิธีกรรม พิธีนี้เป็นจุดสร้างความเชื่อมโยงที่เปิดให้ทุกคนในวงการกลับมาพบกันผ่านพิธีไหว้ครู

“แต่ก่อนศิลปะการแสดงนิยมจัดขึ้นในวัง และตัวแทนที่จะออกไปแสดงเบื้องหน้าพระที่นั่ง ไม่ได้ไปแสดงในนามตัวเองคนเดียว แต่เขากำลังแบกชื่อของครู และคณะไปแสดงด้วย ซึ่งหากการแสดงนั้นเป็นที่ถูกตาต้องใจ เขาย่อมได้รับรางวัลปูนบำเหน็จ แต่ในขณะเดียวกัน หากการแสดงไม่เป็นที่โปรดปรานก็ไม่เพียงแต่เขาจะถูกลงโทษ แต่มันส่งผลกระทบถึงครูและคณะแสดง รวมไปถึงการตัดช่องทางทำมาหากิน” ประดิษฐ ประสาททอง ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี 2547 อภิปรายในการฝึกปฏิบัติการสื่อสารการแสดงลิเกสร้างสรรค์ผ่านหัวข้อ ‘ร้อง รำ อย่างไรจึงสร้างสรรค์ในวันนี้’ ณ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา

มิติของมุมมองที่แตกต่างจากคนในวงการพึงสะท้อนความหมายที่แอบแฝงอยู่ภายในพิธีไหว้ครูได้อย่างหลากรส แต่ในส่วนของคนนอกวงการ การรับรู้ถึงพิธีกรรมนี้ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน โรสนี แกสมาน หรือ ด๊ะฮ์ กวีหญิงชาวมุสลิม ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าชิงรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์) ประจำปี 2559 แบ่งปันประสบการณ์ของเธอว่า ในศาสนาอิสลามไม่มีสิ่งที่เรียกว่า การไหว้ครู เพราะตามหลักศาสนา ชาวมุสลิมเคารพเพียงแต่พระเจ้าหนึ่งเดียว แต่ในแง่ขององค์ความรู้ เราต่างมีความเคารพกันอยู่ภายใน

“ชีวิตเราคุ้นเคยกับการมีมโนราห์และหนังตะลุงเป็นศิลปะพื้นบ้าน มีคำหนึ่งที่เขาเรียกกันว่า ครูหมอโนราห์ ซึ่งคนในคณะแสดงต่างก็กราบไหว้บูชาด้วยความเชื่อที่ว่าการไหว้ครูที่เป็นต้นสายจะสามารถสืบทอดฝีไม้ลายมือผ่านทางสายเลือดได้ ทำให้แต่ก่อนเรามองว่า ความเชื่อนี้เป็นอำนาจนิยมที่ไม่เปิดโอกาสให้คนได้เรียนรู้จากความสนใจ เพราะองค์ความรู้นี้ไม่สามารถหาอ่านได้จากตำราหรือการขวนขวาย แต่ต้องผ่านการใช้ขนบธรรมเนียมและความสนิทสนมส่วนตัวเป็นตัวถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้เรียน” โรสนีเปิดใจคุย

กวีหญิงชาวมุสลิมเล่าว่า มุมมองของเธอเปลี่ยนไปภายหลังจากที่ได้เข้าร่วมการฝึกปฏิบัติการสื่อสารการแสดงลิเกสร้างสรรค์ ซึ่งมีประดิษฐ ประสาททองเป็นวิทยากร สำหรับเธอหากจะกล่าวว่า อำนาจนิยมคือตัวชูโรงในพิธีกรรมและกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ในวิชานาฏศิลป์ก็อาจพูดได้ไม่เต็มปาก เพราะมันอาจหมายถึงการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะด้วยเช่นกัน

จาก คำ กล่าวที่ว่า นาฏศิลป์ไทยเป็น ศิษย์มีครู แสดงให้เห็นถึง สิ่งใด
นักเรียนนาฏศิลป์กำลังซ้อมรำตามผู้นำอย่างพร้อมเพรียง

“เหตุผลสำคัญที่คนเรียนนาฏศิลป์จำเป็นต้องยึดถือและศรัทธาในตัวครู เพราะสิ่งที่ครูสอนคือสิ่งที่ได้รับความดีความชอบมาแล้ว ผู้รำให้เกียรติเพื่อนที่อยู่ข้างหน้า ซึ่งเป็นผู้นำในการรำ แม้เขาจะรำผิดท่า แต่คนข้างหลังก็พร้อมที่จะรำตาม เพราะนี่คือการแสดงของคณะเรา และเราต่างร่วมใจกันแสดงอย่างพร้อมเพรียง” นี่เป็นสิ่งที่โรสนีได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมการฝึกปฏิบัติการสื่อสารการแสดงลิเกสร้างสรรค์ในครั้งนั้น

ศักดิ์สิทธิ์ไซร้ คือ ความเชื่อส่วนบุคคล

“พิธีกรรมนี้จะแสดงออกซึ่งความศักดิ์สิทธิ์หรือไม่ ถือเป็นความเชื่อส่วนบุคคลที่เราไม่อาจดูถูกความเชื่อของคนแต่ละคนได้” ครูป๊อปอธิบายเพิ่มเติมอย่างเข้าอกเข้าใจ และยอมรับในความแตกต่าง

ด้านอาจารย์สวัสดิ์บอกว่า การกราบไหว้บูชาครูเป็นเรื่องที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งมีความเชื่อกันว่า ความขลังภายในพิธีนี้ทำให้คนที่เรียนศิลปะแต่ละแขนงมี ‘ครูลง’ ได้ “เขาจะรำสวยผิดปกติ เล่นเครื่องดนตรีได้อย่างไพเราะจับใจ จนคนจะสังเกตเห็นได้ว่า เขาสามารถแสดงศักยภาพ ฝีไม้ลายมือได้มากกว่าความสามารถจริงๆ ที่เขามี”

ขณะที่พิเชษฐกล่าวว่า ความเชื่อในเรื่องการมีเทพปกป้องเป็นเรื่องส่วนบุคคล ‘เชื่อได้แต่อย่าทำให้คนอื่นกลัว’

“การไหว้ครูสำหรับผมมันเป็นการเพิ่มอัตตา (การถือมั่นในตัวตน) ให้กับผู้เรียนในสาขานาฏศิลป์ไทย มันทำให้รู้สึกว่าพวกเราอยู่เหนือคนอื่น เพราะเราเป็นบุคคลที่มีเทพปกป้อง มันสร้างความรู้สึกที่ว่า คนเรียนนาฏศิลป์เป็นคนพิเศษ เราจงรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองที่เราต่างจากคนทั่วไปที่ไม่ได้เรียนนาฏศิลป์ เพราะพวกเขาก็เป็นแค่คนธรรมดา แต่เราเป็นถึงลูกศิษย์ของครูท่านนั้นนะ เราสวมหัวยักษ์ เราใส่เศียรพระ เราครอบหัวพ่อแก่ มีเพียงเราที่ได้สัมผัส ได้จับต้อง มันคือการสร้างอัตตาที่หนักกว่าเดิม”

พิเชษฐเน้นย้ำถึงความสำคัญของการมองคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เขาเชื่อมั่นอยู่เสมอว่า ไม่มีใครอยู่เหนือใคร และไม่มีใครพิเศษไปกว่าใคร ศาสตร์ใดๆ บนโลกใบนี้จึงไม่ได้มีอะไรดีไปกว่ากัน เพราะทุกสาขาวิชามีความประเสริฐและความยิ่งใหญ่ในตัวมันเอง เพียงแต่ขึ้นอยู่กับมุมมองที่แต่ละคนพึงมี

“เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงชุดความคิดนี้ แต่เราต้องพยายามทำความเข้าใจชุดความคิดเรื่องอำนาจนิยมในพิธีไหว้ครูว่ามันถูกสร้างขึ้นมาทำไม และมีไว้เพื่อสิ่งใด แล้วการนำมันมาใช้มีส่วนส่งผลร้ายต่อคนอื่นหรือเปล่า ถ้าไม่ เราก็เก็บมันไว้เป็นเพียงพิธีกรรม หรือเป็นกิจกรรมทางวัฒนธรรม หากใครอยากเข้าร่วมก็ร่วมได้ แต่ถ้าไม่เราต้องไม่บีบบังคับจิตใจใครให้กระทำ” พิเชษฐกล่าว

การไหว้ครูในวิชานาฏศิลป์จึงเป็นหนึ่งในรูปแบบทางวัฒนธรรมในสังคมไทยที่ควรตั้งคำถาม เพื่อมองหาแง่มุมที่หลากหลายมากกว่าการปฏิบัติตามกันไป ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ยังมีความหมายอื่นที่แอบแฝงในพิธีไหว้ครูในแง่มุมอื่นๆ อีก ที่เปิดให้ผู้เรียนเจริญงอกงาม และประสบความสำเร็จในสายอาชีพได้อย่างไร้โซ่ตรวน