ทรัพยากรของครอบครัวแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

ปัจจัยสำหรับการวางแผนการใช้ทรัพยากร

ทรัพยากรของครอบครัวแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

                 การวางแผนการใช้ทรัพยากร มีทั้งทรัพยากรด้านบุคคล  ทรัพยากรประเภทวัสดุและอุปกรณ์ และทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้มีจำกัด ปัจจัยสำหรับการวางแผนการใช้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1.เวลา  ทุกคนมีเวลาเท่ากัน คือ มีเวลาเพียงวันละ 24 ชั่วโมง แต่ละคนจะใช้เวลาในการทำงานไม่เท่ากัน แม้จะเป็นงานชนิดเดียวกัน ผู้ที่จัดการกับเวลาได้ดีจึงจะใช้เวลาของแต่ละวันได้อย่างคุ้มค่า

2.แรงงาน เกี่ยวพันกับสุขภาพ ผู้มีสุขภาพดีย่อมได้เปรียบผู้ที่มีสุขภาพไม่ดีและการที่รู้จักจัดการเรื่องแรงงานจะช่วยให้เสียเวลาในการทำงานน้อยลง

3.ความรู้ สติปัญญา เป็นสิ่งที่ได้มาจากการศึกษา อาจจะได้มาจากโรงเรียน จากชุมชน ท้องถิ่น หรือแหล่งอื่นๆ ในการวางแผนการใช้ทรัพยากรที่เป็นตัวบุคคลจะต้องคำนึงถึงภูมิความรู้ ความถนัดของแต่ละบุคคล เพื่อจะได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.ความสามารถ เป็นทรัพยากรบุคคลที่แต่ละคนมรไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน ดังนั้น จะต้องพิจารณาความสามารคของแต่ละบุคคลด้วย เพราะการทำงานตรงตามความสามารถจะทำให้ทำงานนั้นได้ดี

5.ทักษะ ในการทำงานบ้านต้องใช้ทักษะกระบวนการทำงาน กระบวนการแก้ปัญหาเมื่อเกิดอุปสรรคหรือข้อผิดพลาดในการทำงาน มีการฝึกฝนทักษะจนเกิดความชำนาญ มีทักษะการจัดการที่ดี เพื่อที่จะทำให้งานบ้านประสบความสำเร็จและเป็นตามแผนที่วางไว้

6.เงินรายได้ มีความสำคัญมากกว่าทรัพยากรอื่นๆ เพื่อเป็นสิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ในครอบครัวจะต้องมีการหารายได้มาเลี้ยงดูครอบครัวและบริหารวางแผนการใช้เงินเพื่อความมั่นคงของสมาชิกในครัวเรือน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการหาเงินรายได้ ได้แก่ ความรู้ สติปัญญา ความสามารถ เวลา แรงงาน และโอกาส 

ทรัพยากรของครอบครัวแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

 (The management resources)

                   ในหลักการจัดการต้องอาศัยกระบวนการจัดการ  ซึ่งกระบวนการจัดการนั้นจะต้องนำไปจัดการกับทรัพยากร 4 ประเภท คือ

                   10.1  ทรัพยากรบุคคล (Man)  ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งถ้าไม่มีทรัพยากรบุคคลก็จะไม่มีองค์การเกิดขึ้น บุคคลหรือมนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงมีการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม  เป็นครอบครัว และเป็นองค์การ  ทำงานร่วมกัน  ผู้จัดการที่ดีนั้นจะต้องจัดการทรัพยากรบุคคลให้เกิดประสิทธิภาพ  โดยจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับงานตามที่ตนถนัด  (Put the right man in the right job)  และจำนวนบุคคลที่เหมาะสมกับขนาด ประเภทขององค์การ

                   10.2  ทรัพยากรด้านการเงิน (Money)  ในครอบครัว เงินได้มาจากรายได้ของสมาชิกในครอบครัว และนำเงินที่ได้ใช้จ่าย ในองค์การอื่น ๆ หากเป็นองค์การธุรกิจ ร้านค้า ห้างหุ้นส่วนหรือ บริษัท  เงินที่นำมาบริหารจัดการ ได้จากเงินส่วนตัว หรือ การระดมเงินทุน  ผลกำไร หรือการกู้ยืม  ส่วนองค์การของรัฐ  เงินที่ได้มาจากเงินงบประมาณแผ่นดิน  หรือเงินที่องค์การแต่ละแห่งหามาได้  หรือเงินที่ได้รับบริจาค  ส่วนองค์การเอกชน เช่น มูลนิธิต่าง ๆ  เงินที่ได้อาจจาก        การบริจาคหรือการหารายได้  ซึ่งทรัพยากรด้านการเงินขององค์การมีจำนวนจำกัด  ดังนั้นผู้บริหารต้องจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

               10.3  ทรัพยากรเครื่องจักรและอุปกรณ์ (Machines) เช่น ที่ดิน ตัวอาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์ ผู้บริหารจัดการต้องดูแลจัดการทรัพยากรให้คุ้มค่า และต้องบำรุง ดูแลรักษาให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ  ทรัพยากรประเภทนี้จะมีมากน้อยเพียงใด ก็จะขึ้นอยู่กับขนาดขององค์การว่าขนาดใหญ่  ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก  ผู้จัดการจะต้องดำเนินการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานและขนาดขององค์การของตน และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและปฏิบัติงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การนั้น ๆ

                 10.4  ทรัพยากรวัตถุดิบ  (Materials) หมายถึง ปัจจัยการผลิตขององค์การ หรือสินค้าสำเร็จรูป  องค์การต่าง ๆ  หากมีทรัพยากรบุคคล  ทรัพยากรด้านการเงิน ทรัพยากรเครื่องจักรและอุปกรณ์พร้อม แต่ขาดทรัพยากรด้านวัตถุดิบ องค์การไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ เช่น สถานศึกษามีครู อาจารย์  เงิน และเครื่องจักรอุปกรณ์  แต่ไม่มีนักศึกษา สถานศึกษาก็ไม่สามารถผลิตผู้สำเร็จการศึกษาได้  เช่นเดียวกับโรงงานผลิตน้ำตาล ไม่มีอ้อยก็ไม่สามารถผลิตน้ำตาลออกจำหน่ายได้ เป็นต้น

                        10.2.1.  สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อกระบวนการจัดการ (Environment that affects the management processes)

                   การจัดการองค์การต่าง ๆ ผู้บริหารจำเป็นต้องมีกระบวนการจัดการที่ดีแล้ว สิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก ยังมีผลต่อการบริหารงานขององค์การประสบความสำเร็จ  เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ  เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  และส่งผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อกระบวนการจัดการแบ่งเป็น 2 ประเภท  คือสภาพแวดล้อมภายใน ประกอบด้วย  ระบบงานในองค์การ  ผู้มีส่วนได้เสียในองค์การ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ  และสภาพแวดล้อมภายนอก  ประกอบด้วย  สิ่งแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมด้านเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมทางด้านสังคมและวัฒนธรรม  สิ่งแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย  

                             10.2.1.1.  สภาพแวดล้อมภายใน  เป็นตัวชี้วัดให้องค์การรู้ว่า  องค์การจะก้าวไปตามเป้าหมายหรือทิศทางที่กำหนดไว้หรือไม่  เพราะผู้บริหารต้องเข้าใจรายละเอียด กำหนด  ควบคุม  และคอยตรวจสอบอยู่เสมอ  เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดี  หากมีปัญหาจะได้ปรับปรุงแก้ไขต่อไป  สาคร  สุขศรีวงค์ (2551: 64 – 65)  ได้กล่าวว่า  สภาพแวดล้อมภายใน มีดังนี้

                         1. ระบบงาน หมายถึง กระบวนการหรือวิธีในการทำงานในส่วนต่าง ๆ  ขององค์การ เช่น ระบบการตลาด ระบบการผลิต ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ระบบงานบัญชี  ระบบการเงินและระบบข้อมูล เป็นต้น ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับลักษณะและขนาดขององค์การ

                           2.  ผู้มีส่วนได้เสียในองค์การ ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ภายในองค์การที่มีส่วนได้เสีย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การโดยตรงได้แก่ เจ้าของหรือผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน การบริหารงานให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องทราบบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่มีส่วนได้เสียเหล่านั้น

                            3.  สิ่งอำนวยความสะดวก  หมายถึง อุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้  ตลอดจนอาคารสถานที่ขององค์การ ผู้บริหารต้องจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ให้เหมาะสม  เพื่อให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้สะดวกและปลอดภัย  ผู้บริหารต้องดูแลให้ทุกฝ่ายใช้สิ่งอำนวยความสะดวก ด้วยความระมัดระวังและคอยตรวจเช็ค ซ่อมแซม ดูแลบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานตลอดเวลา

                     10.2.1.2 สภาพแวดล้อมภายนอก  ประกอบด้วย

                            1.  สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจและสภาวะเศรษฐกิจมีผลต่อการบริหารองค์การเป็นอย่างยิ่ง  อันประกอบไปด้วยเรื่องของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจปัญหาเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และปัญหาการว่างงาน หากสภาพเศรษฐกิจดี การจัดการ   ในองค์การก็ดี

                            2.  สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี มีผลต่อทรัพยากรต่าง ๆ ของการจัดการไม่ว่าเป็นด้านการผลิตสินค้า  และบริการ เช่น  การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการผลิต การออกแบบผลิต เป็นต้น

                            3.  สภาพแวดล้อมทางด้านสังคมและวัฒนธรรม  เช่น ขนบธรรมเนียม ประเพณี คุณค่าทางสังคม ที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์และบริการ เนื่องจากผลิตภัณฑ์และบริการจำเป็นต้องสอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรม กระบวนการจัดการก็ต้องนำมาใช้ให้เหมาะสม

                            4.  สภาพแวดล้อมทางด้านการเมืองและกฎหมายจัดเป็นข้อกำหนดของภาครัฐที่จะใช้ควบคุมหรือเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับองค์การที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการ การให้ข้อมูลและการกำกับดูแล

                            5. สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับงานขององค์การ ได้แก่ คู่แข่งขันที่เป็นบุคคลหรือองค์การที่นำเสนอสินค้า  หรือบริการให้ลูกค้ากลุ่มเดียวกับองค์การของตน ลูกค้าที่เป็นบุคคลหรือองค์การที่ซื้อสินค้าหรือบริการขององค์การ ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย คือ บุคคลหรือองค์การที่จัดหาหรือจัดส่งปัจจัยในการผลิตต่าง ๆ ให้องค์การ ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องรู้จัก ทำเลที่ตั้ง จำนวน และจุดเด่นของผู้จัดหาปัจจัยการผลิตให้องค์การ  

                จากสภาพแวดล้อมที่กล่าวมาข้างต้น มีผลต่อกระบวนการจัดการ ดังภาพที่ 1.30

ทรัพยากรของครอบครัวแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

ภาพที่ 1.30  สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อกระบวนการจัดการ

ที่มา: ดัดแปลงมาจาก ธงชัย  สันติวงษ์  (2539: 24)

ทรัพยากรของครอบครัวแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือข้อใด

ใช้ทรัพยากร แตกต่างกันได้ดังนี้ 1. มาตรฐานการดำรงชีวิต (STANDARD OF LIVING) 2. ขนาดและส่วนประกอบของครอบครัว (SIZE AND COMPOSITION OF THE. FAMILY) 3. วัฏจักรการดำรงชีวิตของครอบครัว (STAGES IN FAMILY LIFE CYCLE) 4. สถานที่ตั้งครอบครัว (LOCATION OF THE FAMILY)

ทรัพยากรในครอบครัวแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

งานบ้านเป็นงานที่ต้องลงทุน เช่นเดียวกับงานธุรกิจต่าง ๆ ทุนที่ใช้คือ ทรัพยากรครอบครัว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. ทรัพยากรส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่มีประจำตัวบุคคล สัมผัสจับต้องไม่ได้ 2. ทรัพยากรวัสดุและบริการ

ทรัพยากรครอบครัวหมายถึงอะไร

ทรัพยากรครอบครัวคือสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในครอบครัวอันได้แก่ ตัวบุคคล วัสดุสิ่งของหรือเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งได้จัดแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ 3 ประเภท ดังนี้ 2.1 ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources)

การวางแผนการใช้ทรัพยากร ในครอบครัว มี กี่ ประเภท

7. การตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรครอบครัว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 7.1 จากประสบการณ์หรือความเคยชิน เป็นการตัดสินใจจากพฤติกรรมที่เป็นนิสัยหรือการกระทำที่เป็นอยู่ประจำ หรือเคยแก้ปัญหามาก่อน 7.2 ตัดสินอย่างมีหลักการ มีหลักการตัดสินใจ 3 ขั้นตอน คือ 7.2.1 พิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้