Unsafe condition มีอะไรบ้าง

?>

Unsafe condition มีอะไรบ้าง

อัพเดทวันที่ : 21 พ.ค. 2560

สภาพการณ์ไม่ปลอดภัย คือ สถานการณ์ที่อาจทำให้เกิดอันตราย หรือส่งเสริมให้เกิดอันตรายโดยไม่รู้ตัว ซึ่งบางครั้งอาจเป็นสิ่งที่เรามองข้ามคิดว่าไม่น่าจะเกิดอันตรายได้ เช่น พื้นที่ปฏิบัติงานไม่เป็นระเบียบ ซึ่งอาจทำให้พนักงานยกสิ่งของสะดุดหกล้มได้ทุกเมื่อ ในบทความนี้ทางพีดีเอสจะพาทุกท่านไปเรียนรู้เพื่อวางแผนรับมือกันครับ

สภาพการณ์ไม่ปลอดภัยได้แก่

1.การที่ระบบไฟฟ้าชำรุดหรือบกพร่อง อันเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ การไม่บำรุงรักษาสายไฟ การพบเจอจุดชำรุดแล้วไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการแก้ไขโดยด่วน เป็นต้น
2.การที่พื้นที่ปฏิบัติงานสกปรก
3.การวางผังโรงงานที่ผิดพลาด
4.การมีแสงสว่างที่ไม่เพียงพอในการทำงาน ซึ่งเป็นผลให้อาจมองไม่เห็นเครื่องจักร
5.เครื่องจักรกล เครื่องมือ อุปกรณ์เซฟตี้ ชำรุดบกพร่อง ซึ่งอาจเกิดจากขาดการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม
6.สถานที่ทำงานมีความร้อนสูง มีผลให้พนักงานอาจมีความเครียดซึ่งไม่มีสมาธิในการทำงาน

วิธีการแก้ไข

1.การหมั่นบำรุงรักษาเครื่องจักรกล เครื่องมือต่างๆ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ให้พร้อมสำหรับการใช้งาน
2.การหมั่นทำความสะอาดพื้นที่ปฏิบัติงานให้พร้อมสำหรับการทำงานทุกเมื่อ
3.การหมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟฟ้า ปลั๊กไฟ ว่ามีจุดไหนชำรุดหรือไม่ แล้วดำเนินการซ่อมแซมแก้ไข
4.หากพื้นที่ทำงานจุดไหนแสงสว่างไม่เพียงพอ ให้ดำเนินการเพิ่มไฟในจุดนั้น


Unsafe act vs Unsafe condition … เชื่อว่าทุกบ.ในวงการฯเรามีโปรแกรมความปลอดภัยที่ต้อง “สังเกตุ – แก้ไข – รายงาน” สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยที่พบเห็นกันประจำวัน ไม่ว่าจะในรูปของ Stop Card, Safety Observation Card, Safety Behavior Card, etc. ต่างบ.ก็ต่างชื่อกันไปว่าจะใช้ชื่อว่าอะไร แต่พื้นฐานก็เหมือนกัน คือ สังเกตุ แก้ไข(ถ้าแก้ไขได้เลย) และ รายงาน (เพื่อการประบปรุงแก้ไขที่ถาวรต่อไป)

Unsafe act vs Unsafe condition

ในการ์ดพวกนี้จะมีส่วนหนึ่งที่ให้แยกแยะว่าที่สังเกตุนั้นเกี่ยวกับอะไร แยกประเภทกันยุบยับไปหมด มีช่องให้ติ๊กๆเยอะจนเวียนหัว ในบรรดาช่องพวกนั้น มักจะมีอยู่ช่องหนึ่งที่ให้ติ๊กเลือกระหว่าง unsafe act กับ unsafe condition

จริงๆมันก็น่าจะเคลีย์เนอะ แต่หลายครั้งมันก็ไม่เคลียร์

ถ้าจะว่ากันตามนิยามแล้วล่ะ มันก็มีนิยามของมันอยู่ ก็มีหลายสถาบันทางอาชีวอนามัย นิยามเอาไว้ กูเกิลเอาก็เจอ เช่น อาชีวอนามัยและความปลอดภัยพื้นฐาน (Basic Occupational Health and Safety) สาขาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

แต่ตามสไตล์ผม ผมขอนิยามมาคุยกันแบบบ้านๆล่ะกัน

ซึ่งครั้งหนึ่งนานมาแล้วนู้น ผมก็เคยได้รับงานเสริมจากงานประจำ (พูดง่ายๆคือได้งานเพิ่มนั่นแหละ) ให้ดูแลในส่วนนี้ ผมมักสังเกตุว่า ติ๊กกันผิดกันมาประจำระหว่าง unsafe act กับ unsafe condition

ถือโอกาสนี้เคลีย์กันหน่อยเลยนะครับว่ามันต่างกันอย่างไร

unsafe condition คือ “สภาพทางกายภาพ” ที่ไม่ปลอดภัย “โดยตัวมันเอง” เป็นคำ “นาม” (รูป แสง รส กลิ่น สี สัมผัส เสียง ฯลฯ) ไม่มีคนไปทำให้มันไม่ปลอดภัย เช่น ความสูง-ห่าง ลูกตั้งลูกนอน ของบันได ที่ไม่เหมาะกับสรีระของคนปกติ หรือ เอาอุปกรณ์ดับเพลิงไปติดตั้งโดยเจตนาจากการก่อสร้างแรกเริ่มอยู่ในมุมอับ เข้าถึงยาก (ไม่ใช่เอาไปว่างระเกะระกะภายหลัง) เสียงดังจากเครื่องจักร ฯลฯ

unsafe act คือ “การกระทำ” เห็นได้ชั้นว่าเกี่ยวกับ “กริยา” คือ การกระทำ และ ต้องทำโดย “คน” เช่น เขย่ง เอื้อม ขึ้นไปหยิบของที่สูงเกินระดับหัว หรือ ก้มโค้งหลังลงไปหยิบของหนักโดยไม่ย่อเข่า ไม่ว่าจะทำโดย รู้ตัว ตั้งใจ หรือ ไม่รู้ ไม่ตั้งใจ ก็ตาม

ทีนี้มันก็มีกรณีแปลกๆให้ได้คิดให้ได้ตีความ

เช่น unsafe act ทำให้เกิด unsafe condition (หรือ กลับกัน) แล้วจะให้ติ๊กช่องไหนในการ์ดความปลอดภัย เช่น ใส่น้ำปริ่มถัง หิ้วเดินมา กระฉอก หกลงพื้นดาดฟ้าแท่นเจาะ (main deck) ที่เป็นแอ่ง

พื้นดาดฟ้าแท่นจาะฯ (หรือพื้นห้องน่้าในบ้าน พื้นถนน ฯลฯ) ที่ไม่ควรจะเป็นแอ่งให้ของเหลวไปขังโดยง่าย หรือควรระบายได้ทันทีเมื่อมีของเหลวหกใส่ ที่พื้นที่ว่าในกรณีนี้มันเป็นแอ่ง แบบนี้เป็น unsafe condition (by design บกพร่องดั้งเดิม หรือ เก่าแก่ตามสภาพการใช้งานและเวลา ไม่เกี่ยวกับคน)

แต่ก็มีคนเถียงว่า unsafe condition โดยตัวมันเอง ถ้าไม่มีของเหลวไปหกใส่ มันก็ ไม่ unsafe นี่นา เพราะมีคนไปทำ unsafe act คือ หิ้วน้ำปริ่มถังมาหกใส่ต่างหาก จึงกลายเป็น unsafe condition (เสี่ยงต่อการลื่นล้ม)

กรณีแบบนี้ ผมจะแยกเขียนเป็นการ์ด 2 ใบครับ ใบหนึ่งติ๊กว่า unsafe condition อีก ใบติ๊กว่า unsafe act คือโดนทั้งคู่ แต่ต้องไม่ลืมว่า ไม่ใช่เขียนรายงานติ๊กๆแล้วจบ ก่อนเขียนรายงาน ก็ต้องเข้าไปเตือนคนที่ทำหก และ ไปเอาผ้ามาเช็ด เอาป้าย wet floor มาวาง หรือ เอาเชือกมากั้น ถ้ายังเช็ดไม่ได้ ก็ต้อง แจ้งผู้ที่ดูแลพื้นที่ตรงนั้นให้จัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง

ยังมีอีกหลายๆกรณีครับที่เข้าข่ายเกี่ยวพันกันแบบนี้ ยกตัวอย่างกันได้ไม่จบสิ้น อยากให้ใช้วิจารณญานง่ายๆแยกเป็นส่วนๆว่า เป็น “สภาพ” ของ “ของสิ่งนั้นแต่ดั้งแต่เดิม หรือ ชำรุดตามกาลสภาพของมันจากเวลาและการใช้งาน” หรือ เกิดจาก “การกระทำของคนทีหลัง

สรุป … ถ้าเป็น “สภาพ” ของมันเอง เป็นนาม ก็เป็น unsafe condition ถ้าเป็น “การกระทำของคน” ก็เป็น unsafe act ถ้าทั้งคู่ เขียนแยกการ์ด 2 ใบเลยครับ

ปล. ถ้าเพื่อนพี่น้องผู้รู้จริงในวงการความปลอดภัยจะช่วยเสริมจุดที่ผมเข้าใจผิดพลาดไปก็จะเป็นพระคุณครับ ผมออกตัวก่อนว่าเขียนแนะนำตามประสบการณ์ ครูพักลักจำ มา ไม่ได้จบด้านนี้มาโดยตรง อาจจะไม่แน่นในทางทฤษฎีเท่าไร

ตราบาป โรคทางจิตเวช เราเผลอทำบาปโดยไม่ตั้งใจหรือไม่

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Unsafe condition มีอะไรบ้าง

ข้อใดคือสภาพที่ไม่ปลอดภัย

สภาพการณ์ไม่ปลอดภัย คือ สถานการณ์ที่อาจทำให้เกิดอันตราย หรือส่งเสริมให้เกิดอันตรายโดยไม่รู้ตัว ซึ่งบางครั้งอาจเป็นสิ่งที่เรามองข้ามคิดว่าไม่น่าจะเกิดอันตรายได้ เช่น พื้นที่ปฏิบัติงานไม่เป็นระเบียบ ซึ่งอาจทำให้พนักงานยกสิ่งของสะดุดหกล้มได้ทุกเมื่อ ในบทความนี้ทางพีดีเอสจะพาทุกท่านไปเรียนรู้เพื่อวางแผนรับมือกันครับ

ความไม่ปลอดภัยในการทำงานมีอะไรบ้าง

สภาพการทํางานไม่ปลอดภัย เช่น เสียงดัง อากาศร้อน ฝุ่นละออง เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ชํารุด ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าชํารุด การป้องกันก่อนการเกิดอุบัติเหตุ คือ การป้องกันหรือมีการเตรียมการล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ โดยมีหลักการต่างๆ เช่น

สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมมีอะไรบ้าง

มลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง และมลพิษที่เกิดจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล มลพิษทางน้ำ

อันตรายที่เกิดจากการทำงานมีอะไรบ้าง

อุบัติเหตุในการทำงานที่ออฟฟิศ เรื่องน่ากลัวที่ควรระวัง.
1.หกล้ม.
2.ถูกเกี่ยวหรือหนีบ.
3.ของตกใส่.
4.การยกของหรือเคลื่อนย้ายวัสดุ.
5.อันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสาร.
6.อันตรายจากเครื่องคอมพิวเตอร์.
7.อุบัติเหตุไฟไหม้.
8.เชื้อไวรัส.