คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ค่าเทอม

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร (ไทย) : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
ชื่อหลักสูตร (อังกฤษ) : Bachelor of Business Administration Program in Human Resource Management

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรมนุษย์)
ชื่อย่อ (ไทย) : บธ.บ. (การจัดการทรัพยากรมนุษย์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Business Administration
(Human Resource Management)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.B.A. (Human Resource Management)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต

ปรัชญาของหลักสูตร

บัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ ต้องเป็นผู้นำที่มีสมรรถนะในการจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

สาระสำคัญของหลักสูตร

     หลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์แนวใหม่ และมุ่งเสริมสร้างให้นักศึกษาได้เรียนรู้บทบาทของสมรรถนะนักจัดการ และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน โดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญ สามารถยกระดับเพื่อเข้าสู่มาตรฐานอาชีพ และคุณวุฒิวิชาชีพทรัพยากรมนุษย์ได้

จุดเด่นของหลักสูตร

1. วิสัยทัศน์ “ พัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ
อุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Register : TQR) ”
2. เรียน 121 หน่วยกิต อย่างมีคุณภาพ
3. เรียนจบ มีโอกาสทำงานในฐานะผู้บริหารนิติบุคคล ตามนโยบายจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นเขตที่พักอาศัย ตามโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC

วัตถุประสงค์หลักสูตร

1. เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (Worldwide Perspective) มีสมรรถนะ มีความสามารถในการบูรณาการองค์ความรู้ในระดับสากลกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำไปแก้ปัญหาในระดับองค์การและระดับสังคม
2. เป็นผู้เปิดใจรับ (Receptive Mind) มีความสามารถออกแบบแนวทางการปฏิบัติบนพื้นฐานความรู้ในมิติที่ซับซ้อนและบริบทที่มีความหลากหลาย
3. เป็นผู้นำอย่างยั่งยืน (Sustainable Leadership) มีความสามารถนำความรู้และทักษะระดับมืออาชีพ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรหรือสังคมด้วยการยึดหลักความถูกต้องทางวิชาชีพ
4. เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม (Ethics and Morality) มีความสามารถแสดงให้เห็นถึงการใช้ประเด็นหลักและหลักการทางจริยธรรมที่สำคัญในการดำเนินงานในวิชาชีพทรัพยากรมนุษย์
5. เป็นผู้มีความเข้าใจในมนุษย์ (Human Intelligence) มีความสามารถใช้ทักษะสังคมและการสื่อสารในการปฏิบัติงานแบบมืออาชีพด้านทรัพยากรมนุษย์
6. เป็นผู้มีทักษะการคิดแบบบูรณาการ (Ability to Think Integratively) มีความสามารถบูรณาการแนวปฏิบัติ แนวความคิด และทฤษฎีต่างๆ ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การอย่างเป็นระบบ ให้สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การเพื่อสร้างประสิทธิภาพขององค์กร
7. เป็นผู้นำแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การประยุกต์ใช้ให้เป็นจริง (Enable HROD Concept) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างโอกาสในการเข้าสู่มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพทรัพยากรมนุษย์

แนวทางประกอบอาชีพ

1. นักวิชาการด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์
2. นักพัฒนาและฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์
3. พนักงานฝ่ายบุคคล
4. พนักงานบริหารทรัพยากรมนุษย์
5. พนักงานแรงงานสัมพันธ์
6. พนักงานสรรหาว่าจ้างและบริหารอัตรากำลัง
7. ผู้จัดการนิติบุคคล
8. ผู้ประกอบการ

อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์  (ฉบับปรับปรุง 2564)

1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ค่าเทอม
          2 มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาลัยนานาชาติ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์           3 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์           4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์           5 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           6 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           7 มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ คณะรัฐศาสตร์ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           8 มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           10 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           11 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์           12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์           14 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           15 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           16 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           17 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาบริหารธุรกิจ (การจัดการทรัพยากรมนุษย์)           18 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์           19 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยการฝึกหัดครู สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์             20 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์           21 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์           22 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           23 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           24 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์           25 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           26 มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           27 มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           28 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           29 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           30 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารธุรกิจ(แขนงวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์)           31 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           32 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะวิทยาการจัดการ สาขาบริหารทรัพยากรมนุษย์           33 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           34 มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์           35 มหาวิทยาลัยบูรพา คณะการจัดการและการท่องเที่ยว สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์         36 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           37 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศสระแก้ว คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์           38 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์           39 มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะบริหารธุรกิจ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           40 มหาวิทยาลัยเกริก คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์           41 มหาวิทยาลัยพายัพ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           42 มหาวิทยาลัยรังสิต คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์           43 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์           44 มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์           45 วิทยาลัยทองสุข คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์