การไออย่างมีประสิทธิภาพ ขับเสมหะ

เป็นของเสียที่ร่างกายของเราต้องการขับออก เสมหะเกิดจากกลไกการป้องกันตนเองของมนุษย์ในการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรค การขับเสมหะให้ได้มีประสิทธิภาพมีหลายปัจจัยเป็นตัวช่วย ได้แก่ การปรับแรงดันในปอด เซลล์มีขนที่ถุงลมที่คอยโบกเพื่อเคลื่อนเสมหะให้มาอยู่ในตำแหน่งที่พร้อมจะขับออก และสารลดแรงตึงผิวในถุงลมที่ช่วยทำให้ถุงลมไม่ยุบตัว 

การไออย่างมีประสิทธิภาพ ขับเสมหะ

เรียบเรียงโดย นิดา วงศ์สวัสดิ์
นักกายภาพบำบัด ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

          สำหรับในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดทำให้ปัจจัยดังที่ได้กล่าวมาทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ การขับเสมหะในผู้ป่วยจึงทำได้ยาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้

  1. เสมหะไปอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้ไม่สามารถหายใจได้อาจทำให้เสียชีวิตได้
  2. มีเสมหะคั่งค้างในปอดเกิดการติดเชื้อในปอดและเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้
  3. ร่างกายแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้น้อยลงเกิดผลเสียต่อทุกระบบการทำงานของร่างกาย
  4. เหนื่อยง่าย ทำกิจวัตรประจำวันได้น้อย กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนแรงลง และเข้าสู่ภาวะติดเตียงในที่สุด

          ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมักจะมีประสิทธิภาพของการไอ และการขยายตัวของปอดและทรวงอกลดลง และในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด อาการปวดแผลผ่าตัดและผลของยาสลบมีส่วนทำให้การระบายเสมหะเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ร่วมกับผู้ป่วยต้องนอนบนเตียงเป็นเวลานาน ทำให้เกิดเสมหะคั่งค้างได้ และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

การไอ (cough)

          การไอเป็นการระบายเสมหะที่ทุก ๆ คนคุ้นเคย การเจ็บปวดและปัจจัยอื่น ๆ หลังจากผ่าตัดทำให้ผู้ป่วยไอได้ไม่ถูกวิธี ส่งผลให้การขับเสมหะนั้นไม่มีประสิทธิภาพ การไอจึงเป็นอีกเทคนิคที่ต้องได้รับการฝึกฝนตั้งแต่ก่อนผ่าตัด การไอมีขั้นตอน ดังนี้

  1. หายใจเข้าลึก ๆ  
  2. กลั้นลมหายใจออกนับ 1-3 สร้างแรงดันบวกในปอด
  3. อ้าปากแล้วไอออกมา เป็นการเปิดสายเสียงทันทีในขณะกลั้นลมหายใจออกอยู่ และในขณะที่ไอผู้ป่วยสามารถนำหมอนมากอดประคองบริเวณแผลผ่าตัด เพื่อลดอาการเจ็บปวดได้

การไออย่างมีประสิทธิภาพ ขับเสมหะ
รูปที่ 1 การใช้หมอนประคองแผลขณะไอลดอาการปวด

          หากมีอาการหน้ามืดหรือเวียนศีรษะให้หยุดการฝึก เนื่องจากการไอมีแรงดันในช่องอกและช่องท้อง จึงห้ามใช้วิธีนี้ในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดโป่งพองในช่องอกหรือช่องท้อง ไอเป็นเลือด และผู้ที่มีความดันในสมองสูง

ไอแบบที่ 1  ไอออกมาให้แรงที่สุดในครั้งเดียวให้หมดลมในปอด วิธีนี้มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ทำให้แผลผ่าตัด  กระเทือนมาก ซึ่งทำให้เจ็บแผลมาก

ไอแบบที่ 2  แบ่งลมหายใจออกทั้งหมดเป็น 3-4 คำย่อย ทำให้กระเทือนแผลน้อยกว่าและเจ็บน้อยกว่า แม้ประสิทธิภาพ  ด้อยกว่า แต่เพียงพอสำหรับเสมหะที่ไม่แห้งเหนียวมาก

ไอแบบที่ 3  แบ่งเป็นคำเล็ก ๆ สั้นๆ หลาย ๆ ครั้งต่อเนื่องกัน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยมีแรงมาก

การฝึกการไอด้วยวิธี Huff Cough

         การ Huff เป็นเทคนิคการหายใจออกอย่างแรงโดยที่ไม่มีการปิดของฝาปิดกล่องเสียง การ Huff มีขั้นตอน ดังนี้

  1. หายใจเข้าลึก ๆ
  2. กลั้นลมหายใจออกนับ 1-3 สร้างแรงดันบวกในปอด
  3. พ่นลมออกทางปาก ทำเสียงฮ่าแบบไม่มีเสียงออกมา การหายใจเข้าลึก ๆก่อนทำ Huff มีผลต่อการขับเสมหะบริเวณหลอดลมแขนงใหญ่ ในขณะหายใจออก มีผลต่อการขับเสมหะบริเวณหลอดลมแขนงเล็กลงมา

ที่มา

ทนันชัย บุญบูร/(2561)/รู้ไหม ก่อนผ่าตัดควรฝึกหายใจก่อนนะ/สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563/จากเว็บไซต์ https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/

กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์, จิตานันท์ เหล่าศิริไพศาล, นพวรรณ จารุสุสินธ์ (2551). ตำรากายภาพบำบัดในระบบหัวใจและระบบหายใจ Cardiopulmonary Physical Therapy. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

        ก่อนไอควรเริ่มด้วยการหายใจออกแบบพ่นลม ซึ่งเป็นการขับเสมหะที่อยู่ลึกๆ ให้ขึ้นมาอยู่ในคอ โดยเริ่มต้นจากท่านั่งโน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อยหายใจเข้าทางจมูกแล้วอ้าปาก พ่นลมหายใจทางปากอย่างรวดเร็ว 2 ครั้ง คล้ายการพูด ฮ่ะ ฮ่ะ! ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง จากนั้นหายใจเข้าลึกและเร็ว แล้วไอออกทางปาก 2 ครั้งแนะนำให้หายใจออกแบบพ่นลม หลายๆครั้ง ก่อนที่จะไอขับเสมหะออกมา เพื่อลดอาการเหนื่อยเนื่องจากไอติดต่อกัน

           ช่วยเด็กเพื่อไอเอาเสมหะออกเองได้อย่างไร โดย ผศ.พญ.อาภัสสร วัฒนาศรมศิริ กุมารแพทย์โรคระบบหายใจ รพ.วิภาวดี การไอเกิดจากอะไร ไอเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในทางเดินหายใจ อาจจะเป็นฝุ่นละอองหรือเสมหะที่เกิดจากไข้หวัด หลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ ร่างกายจะกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ โดยการไอออกมา สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่่ทำให้ไอเรื้อรังคือ การมีเสมหะคั่งค้างในหลอดลม


การไอเกิดจากอะไร
ไอเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในทางเดินหายใจ อาจจะเป็นฝุ่นละอองหรือเสมหะที่เกิดจากไข้หวัด หลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ ร่างกายจะกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ โดยการไอออกมา สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่่ทำให้ไอเรื้อรังคือ การมีเสมหะคั่งค้างในหลอดลม


ควรทำอย่างไรเมื่อลูกไอ
บางครั้งจะพบว่าลูกไอมาก แต่ไอไม่ออก ไอจนเหนื่อย หรือไอจนปวดท้องก็ยังไม่หยุดไอ ทั้งนี้เนื่องจากเสมหะที่เหนียวมาก และจากการไอที่ไม่ถูกวิธีอาจเปรียบเทียบเสมหะที่ค้างในหลอดลมกับซอสมะเขือเทศที่เหลือติดก้นขวด การที่จะนำซอสออกมานั้นเราต้องคว่ำขวดลงใช้มือเคาะก้นขวด แล้วเขย่าขวดแรง ๆ เช่นเดียวกันกับเสมหะที่อยู่ในหลอดลม เราต้องจัดท่านอนหรือนั่งในแนวที่ทำให้เสมหะไหลออกมาสะดวก จากนั้นต้องมี การเคาะ เพื่อให้เสมหะหลุดออกจากหลอดลม การสั่นสะเทือน เพื่อกระตุ้นไอ ตลอดจนฝึก การไอ อย่างมีประสิทธิภาพเสมหะจึงหลุดออกมาได้ ในกรณีเด็กเล็กที่อาจไม่สามารถบ้วนเสมหะออกมาได้ แค่เพียงการเคาะและการไอที่ถูกต้องเสมหะจะหลุดออกมาจากหลอดลมได้ ถ้ามีเสมหะมาก ๆ ในเด็กเล็กอาจต้องใช้ลูกยางเบอร์ 1 ช่วยดูดเสมหะในปาก หากมีบางส่วนกลืนลงไปบ้างร่างกายก็จะขับออกมาเองได้


การช่วยลูกให้ไอเอาเสมหะออกจะต้องทำอย่างไรบ้าง
ทำให้เสมหะไม่เหนียว โดยการดื่มน้ำมาก ๆ
- การเตรียมตัว  สั่งน้ำมูกและบ้วนหรือดูดเสมหะในจมูกและปากที่มีออกมาก่อน และควรทำก่อนอาหารหรือหลังอาหาร  1 ชม.ครึ่ง – 2 ชม. เพื่อไม่ให้อาเจียนหรือสำลัก
การจัดท่าที่เหมาะสม  จะช่วยให้เสมหะจากปอดส่วนต่าง ๆ ถูกขับออกมาได้ง่ายขึ้น ให้ทำการเคาะแล้วจึงทำการสั่นสะเทือนในแต่ละท่า ท่าละ 3-6 นาที รวมทุกท่าไม่ควรนานเกิน 15-30 นาที แล้วจึงลุกนั่งหรือยืนเพื่อให้ไออย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าเด็กเหนื่อยหรือเบื่อทำเพียงบางท่า
- การเคาะระบายเสมหะ หลักการคือใช้แรงสั่นจากลมที่กระทบผนังทรวงอกขณะเคาะ ไปทำให้เสมหะหลุดจากหลอดลม โดยใช้ผ้าขนหนูบาง ๆ วางบนตำแหน่งที่จะเคาะ ขณะเคาะให้ทำมือเป็นกระเปาะปลายนิ้วชิดกันและมีการเคลื่อนไหว สบาย ๆ ตรงข้อมือ ข้อศอกและไหล่ ด้วยความถี่ 3 ครั้งต่อวินาที ให้ทั่ว ๆ บริเวณทรวงอกส่วนที่เคาะอยู่ โดยวนเป็นวงกลมหรือเลื่อนไปทางซ้ายและขวา ส่วนมากเด็กจะรู้สึกสบายเหมือนมีคนนวดให้ บางรายนอนหลับสบายขณะเคาะ
การสั่นสะเทือนเพื่อช่วยการไอ  การทำจะยากกว่าการเคาะ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ทำไม่ได้ก็ไม่ต้องเป็นกังวลกับขั้นตอนนี้ การสั่งสะเทือนทำโดยวางฝ่ามือลงบนทรวงอก ในเด็กเล็กวางมือประกบบริเวณด้านหน้าและหลังที่ตรงกัน หรือใช้มือเดียววางบริเวณด้านหน้าทั้ง 2 ด้าน เด็กโตอาจวางมือซ้อนทับกัน เกร็งทุกส่วนจากไหล่ ข้อศอกมือ แล้วทำให้เกิดการสั่นสะเทือน โดยเริ่มขณะที่หายใจเข้าจนสุดไปจนตลอดการหายใจออก จะช่วยให้ไอเอาเสมหะออกมาได้ดีขึ้น
การไอให้มีประสิทธิภาพ  ต้องหายใจเข้าเต็มที่ แล้วกลั้นหายใจ 1-2 วินาที เพื่อให้ลมกระจายไปทั่วทุกส่วนของปอดและมีแรงขับดันเอาเสมหะออกมาได้เต็มที่ จากนั้นไอติดต่อกัน 2-3 ครั้ง การให้เด็กเล็กสูดหายใจเข้าเต็มที่ อาจใช้ของเล่นที่ต้องสูดหายใจแรง ๆ มาช่วย เช่น เป่าลูกโป่ง, เป่าฟองสบู่ หรือเป่ากังหัน เป็นต้น


จะต้องช่วยลูกให้ไอเมื่อไรบ้าง
ทำบ่อยได้แค่ไหน ส่วนมากเสมหะจะคั่งค้างมากมายมาตลอดคืน เมื่อตื่นนอนตอนเช้าจึงไอมาก จึงควรทำเมื่อตื่นเช้าและก่อนเข้านอน เพื่อให้หลับสบายและอาจทำเพิ่มก่อนอาหารกลางวัน ช่วงบ่ย รวมทั้งกลางคืน ถ้านอนหลับไปสักพักแล้วไอมาก จะช่วยให้เด็กหลับต่อได้ดีขึ้น ทราบได้อย่างไรว่าลูกดีขึ้น ลูกจะไอลดลง เสียงครืดคราดลดลง ดื่มนมและหลับได้นานขึ้น มีข้อห้ามหรือไม่ ในรายที่เป็นหอบหืดควรให้อาการหอบดีขึ้นก่อน โดยการพ่นหรือสูดยาขยายหลอดลมให้หลอดลมเปิดโล่ง และขั้นตอนการไอต้องไม่นานจนทำให้เหนื่อยเกินไป มีข้อห้ามหรือไม่ ในรายที่เป็นหอบหืดควรให้อาการหอบดีขึ้นก่อน โดยการพ่นหรือสูดยาขยายหลอดลม ให้หลอดลมเปิดโล่ง และขั้นตอนการไอต้องไม่ทำนานจนเหนื่อยเกินไป
มีผลเสียอย่างไรบ้าง  เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ผลเสียจากการมีเสมหะคั่งค้างมีมากและเป็นอันตรายกว่ามาก เพราะเสมหะเป็นแหล่งเพราะเชื้อที่ดีพบว่าลูกจะไม่สบายมีไข้ และยิ่งไอไม่หายสักที หยใจเหนื่อยหอบ อาจเป็นปอดบวม ปอดแฟบจากเสมหะอุดตัน หรือถุงลมโป่งพองออก บางรายไอมากจนปวดท้อง เพราะการไอต้องใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องและกะบังลม ซึ่งอาจช่วยได้โดยการใช้สองมือวางประสานกันกดเล็กน้อยบริเวณหน้าท้องเพื่อช่วยลดอาการปวด ส่วนการเคาะระบายเสมหะ ถ้าทำได้ถูกเวลา ท่าทาง และวิธีแล้ว จะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด สามารถทำได้ในเด็กแรกเกิดจนถึงเด็กโต โดยปรับแรงเคาะให้เหมาะสมกับน้ำหนักและรูปร่าง ช่วงแรกเด็กอาจไม่คุ้นเคยจะร้องบ้าง ต่อมามักจะชอบเนื่องจากเรียนรู้ว่าทำให้เขาสบายขึ้น มีเด็กหลายคนติดใจต้องให้คุณพ่อคุณแม่กล่อมนอนด้วยการเคาะปอดทุกคืนจึงจะหลับสบาย


ควรให้ยาแก้ไอหรือไม่
ในรายที่ไอมีเสมหะ การให้ยาแก้ไอชนิดกดการไอ จะยิ่งมีผลเสียเพราะเสมหะคั่งค้าง แต่ยาแก้ไอที่มีฤทธิ์ขยายหลอดลม หรือละลายเสมหะจะได้ผลดี รวมทั้งยาลดน้ำมูกบางชนิดมีส่วนประกอบที่ทำให้น้ำมูกและเสมหะยิ่งเหนียวมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการใช้ยาที่เหมาะสม

การไออย่างมีประสิทธิภาพ ทำอย่างไร

การไอ (Cough) 1. ปรับหัวเตียงขึ้น หรือนั่งในท่าสบาย ๆ 2. หายใจเข้าลึก ๆ ทางจมูก กลั้นหายใจนับ 1 – 3. 3. พ่นลมหายใจออกทางปากอย่างเร็วและแรง

วิธีการกระตุ้นให้ผู้ป่วยขับเสมหะออกได้อย่างไรบ้าง

การขจัดเสมหะ ถ้าร่างกายได้รับน้ำน้อย เสมหะจะเหนียวข้น และจะไม่สามารถไหลระบายออกมาได้ จากการจัดท่าทางดังกล่าว จำเป็นต้องใช้เทคนิคอื่นร่วม เช่น การใช้อุ้งมือเคาะที่ทรวงอก หรือทำการสั่นทรวงอกหรือปอดด้วยมือหรือเครื่องที่ให้แรงสั่นสะเทือนที่พอเหมาะ เสมหะก็จะไหลลงมายังหลอดลมใหญ่ไปกระตุ้นให้เกิดการไอ

ลูกไอมีเสมหะกี่วันหาย

อาการไอในเด็กมักเกิดจากหวัดและหายได้ภายใน 2 – 3 สัปดาห์ แต่หากว่าอาการไอนั้นเป็น ๆ หาย ๆ หรือเป็นเรื้อรังจนรบกวนชีวิตประจำวัน รบกวนการนอน และอาจรบกวนคนรอบข้างหรือเพื่อนที่โรงเรียน แนะนำให้พบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุและรักษาอย่างถูกต้องโดยเร็วที่สุด

ทํายังไงให้หายไอ มีเสมหะ

ถ้าหากอาการไอมีไม่มาก อาจให้การรักษาเบื้องต้นโดยการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการไอ กรณีที่มีเสมหะร่วมด้วย ควรได้รับยาละลายเสมหะ เพื่อให้เสมหะที่เหนียวข้นมากขับออกจากหลอดลมได้ง่ายขึ้น แต่หากผู้ป่วยได้รับยาดังกล่าวแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ