ดีเซล b20 กับ b7 ต่างกันยังไง

ดีเซล b20 กับ b7 ต่างกันยังไง

ก่อนจะดูว่าต่างกันอย่างไรเรามารูจัก B10 และ B20 กันก่อนดีกว่า

น้ำมันดีเซล B10 คืออะไร

ดีเซล B10 คือการผสมไบโอดีเซลลงไปในน้ำมัน 10% โดยไบโอดีเซลนี้ได้จากปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นพืชปลูกได้ในประเทศ ข้อดีคือมีปริมาณออกซิเจนในตัวมากกว่าดีเซลธรรมดาอยู่ร้อยละ 10 ทำให้เกิดการเผาไหม้ดี หมดจรดมากขึ้น เหลือเขม่าในไอเสียน้อยลง เกิดก๊าซ CO2 น้อยลงตามไปด้วย

ถ้ามันดีจริง ทำไมไม่ใช้ไบโอดีเซลเพียว ๆ

แม้จะมีข้อดีเรื่องมลพิษ กับราคาถูก แต่ข้อเสียของไบโอดีเซลก็ต้องแลกมาด้วย การปลดปล่อยแก๊สไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) สูงกว่าน้ำมันดีเซลมาตรฐาน เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคทางเดินหายใจหากรับเข้าไปในระยะยาว และข้อเสียอีกอย่างคือ วัสดุยางในระบบเชื้อเพลิงรถยนต์ เช่น ปั๊มติ๊กน้ำมัน ที่จะเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้นอีกด้วย

น้ำมัน B20 คืออะไร

น้ำมันดีเซล B20 คือ เชื้อเพลิงทางเลือกที่สร้างขึ้นโดยการผสมน้ำมันดีเซลปกติ กับ ไบโอดีเซล ที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ถั่วเหลืองคาโนลา, คาเมลีนาดรีม (เป็นพืชโบราณชนิดหนึ่ง), เมล็ดมัสตาร์ด, น้ำมันปรุงอาหารและผลิตภัณฑ์อินทรีย์อื่น ๆ

ซึ่งน้ำมันไบโอดีเซลที่นำมาผสมเป็น B20 เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำ B100 (น้ำมันประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน) มาผสมในอัตราส่วน 20% โดยตัวอักษร B แสดงถึงเปอร์เซ็นต์ของไบโอดีเซล นั่นหมายถึง B20 คือเชื้อเพลิงที่ผสมระหว่างไบโอดีเซล 20% กับน้ำมันดีเซลปกติ 80% นั่นเอง

ทำไมไม่ใช้ ไบโอดีเซล 100%

ถึงแม้ว่าไบโอดีเซลจะสามารถใช้งานได้กับทุกเครื่องยนต์ รวมถึงน้ำมันไบโอดีเซล 100% ก็สามารถใช้งานได้ แต่ส่วนผสม B20 (20%) นั้นถือเป็นส่วนผสมที่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานปกติในเครื่องยนต์ดีเซลในท้องตลาดขณะนี้

เรามาดูความต่างกัน

ตามที่กระทรวงพลังงานได้ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมนโยบายพลังงานเพื่อประชาชนทุกระดับตามนโยบาย Energy For All และได้มีการส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลผสมในน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของน้ำมนดีเซล B20 และน้ำมันดีเซล B10 และได้มีกิจกรรมรณรงค์เชิญชวนให้ผู้ใช้รถหันมาใช้น้ำมัน B20 และ B20 กันมากขึ้น

โดยล่าสุดได้ประกาศให้น้ำมัน B10 เป็นดีเซลพื้นฐานของประเทศแทน B7 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563 เป็นต้นไป โดยที่น้ำมันดีเซล B7 เป็นทางเลือกสำหรับรถเก่าและรถยุโรปที่ยังรองรับไม่ได้ และมี B20 เป็นทางเลือกสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งการผลักดันให้มีการใช้น้ำมันไบโอดีเซลสำหรับทั้ง B10 และ B20 นั้นจะทำให้การใช้ไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นราว 2.1 ล้านลิตรต่อวัน หรือเพิ่มประมาณ 40% จากปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พ.ย.62) ที่มีปริมาณการใช้ไบโอดีเซล 5.15 ล้านลิตรต่อวัน จะเพิ่มเป็นประมาณ 7 ล้านลิตรต่อวันในปี 2563

นอกจากนี้ เพื่อลดข้อกังวลของการใช้น้ำมัน B10 และ B20 ที่มีผลต่อเครื่องยนต์ของค่ายรถยนต์ต่างๆ และเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้รถ กระทรวงพลังงานได้จับมือกับค่ายรถยนต์ต่างๆ จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความเชื่อมั่นในการใช้น้ำมัน B20 และ B10 พร้อมทั้งได้จัดทำเอกสารเผยข้อมูลรุ่นรถ ที่ผู้ผลิตรถยนต์ให้การรับรองว่าสามารถใช้กับน้ำมันดีเซล B10 และ B20 ได้อย่างปลอดภัยกับรถยนต์ดีเซลหลายรุ่น ไม่ว่าเป็นค่ายรถยนต์จาก โตโยต้า อีซูซุ นิสสัน มิตซูบิชิ สแกนเนีย ฮีโน่ เป็นต้น

สำหรับผู้ใช้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและไม่ทราบว่ารถของท่านสามารถใช้น้ำมันดีเซล B10 และ B20 ได้หรือไม่ สามารถตรวจสอบว่ารถรุ่นไหน ที่ใช้น้ำมันดีเซล B10 และ B20 ได้ ที่เว็บไซต์ของกรมธุรกิจพลังงาน www.doeb.go.th หรือดาวน์โหลดเอกสาร รายชื่อรุ่นรถยนต์ ที่ผู้ผลิตรถยนต์รับรองให้สามารถใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B10 / B20 ได้ที่นี่

เติมดีเซล B10 หรือ B20 แตกต่างกันอย่างไร By jobusedcar

ประกันรถยนต์ : น้ำมันดีเซล มีกี่ชนิด? แล้วควรเลือกแบบไหนดี?

ดีเซล b20 กับ b7 ต่างกันยังไง

เริ่มมาตั้งแต่ 1 มกราคม 2563แล้ว สำหรับ " น้ำมันดีเซล B10 "  ที่เป็นดีเซลเกรดมาตรฐานใหม่ของประเทศไทย ที่มีจำหน่ายทุกปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ ทำให้ปัจจุบันมีน้ำมันดีเซลถึง 3 ชนิดด้วยกัน การขับรถเข้าไปเติมน้ำมันในปั๊ม เมื่อมองดูชื่อชนิดต่างๆของน้ำมันที่ตู้จ่ายน้ำมันอาจทำให้เราเลือกไม่ถูก เพราะไม่แน่ใจว่าน้ำมันชนิดไหนเหมาะกันรถยนต์ของเรา สินมั่นคง ประกันรถยนต์ จึงมีคำแนะนำมาบอกกันดังนี้

ดีเซล b20 กับ b7 ต่างกันยังไง

ดีเซล b20 กับ b7 ต่างกันยังไง

ปัจจุบันน้ำมันดีเซลในประเทศ มีถึง 3 ประเภทด้วยกัน คือ น้ำมันดีเซล B7  น้ำมันดีเซล B20 และ น้ำมันดีเซล B10 ซึ่ง
น้ำมันดีเซลทั้ง 3 ประเภท มีคุณภาพเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันที่สัดส่วนผสมไบโอดีเซลดังนี้ 

1. น้ำมันดีเซล B7 (น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา )

ดีเซล B7 จะเป็นน้ำมันดีเซลทั่วไป มีสัดส่วนน้ำมันไบโอดีเซลประมาณ 6.6 – 7%  ส่วนที่เหลือเป็นน้ำมันดีเซล น้ำมันดีเซล B7 ยังคงมีจำหน่าย เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับรถเก่า หรือรถยุโรปที่ไม่รองรับ B10

2. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B10

ดีเซล B10 จะมีการผสมน้ำมันไบโอดีเซลสัดส่วนที่ 9-10% ซึ่งปัจจุบันได้ถูกกำหนดให้เป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐานของประเทศไทย ช่วยสร้างเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมัน เนื่องจากมีการใช้ไบโอดีเซลเพิ่มขึ้น ทั้งยังช่วยลดมลพิษอีกด้วย

3. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20

ดีเซล B20 มีสัดส่วนของไบโอดีเซลถึง 19 – 20% ซึ่งในปัจจุบันเป็นน้ำมันทางเลือกสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ และมีรถกระบะบางรุ่นที่สามารถรองรับน้ำมันประเภทนี้ได้

ดีเซล b20 กับ b7 ต่างกันยังไง

ประโยชน์จากการใช้น้ำมันดีเซล B10 

1. ลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ ตามสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของเชื้อเพลิงชีวภาพ 

2. ช่วยเกษตรกร ให้ราคาปาล์มน้ำมันราคาสูงขึ้น แก้ปัญหาราคาปาล์มตกต่ำ

3. ช่วยลดมลพิษ (ปริมาณฝุ่น PM 2.5)  จากการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในสัดส่วนที่สูงขึ้น

ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า ยานพาหนะและการขนส่งถือเป็นแหล่งกำเนิดหลักของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือคิดเป็นร้อยละ 72.5 จากการศึกษาพบว่าปริมาณการระบาย PM 2.5 สูงสุดมาจากยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ได้แก่ รถบรรทุก 28% รถกระบะ 21% รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (ดีเซล) 10% รถบัส 7% รถตู้ 1.5% (มอเตอร์ไซค์ 5% ที่ใช้เบนซิน)  หากร่วมกันหันมาใช้น้ำมัน B10 ทั้งหมด ก็จะช่วยลดมลพิษได้กว่า 40 - 50% ปัญหาฝุ่นพิษก็จะทุเลาเบาบางลง


4. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

เนื่องจากคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(กบน.) จูงใจให้คนหันมาเติมน้ำมันดีเซล B10 มากขึ้น ด้วยการทำให้ราคาดีเซลB10 ถูกลงกว่าดีเซล B7 ที่ 2 บาทต่อลิตร

การใช้น้ำมันดีเซล B10เหมาะ ยี่ห้อและรถรุ่นไหนบ้าง 

การใช้น้ำมันดีเซล B 10 กับเครื่องยนต์ที่สามารถรองรับการใช้งานจะไม่มีผลกระทบกับเครื่องยนต์ ตามที่ผู้ผลิตรถยนต์ให้การรับรองการใช้งาน โดยสามารถตรวจสอบรุ่นรถ ได้จากประกาศกรมธุรกิจพลังงานเรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562 หรือที่เว็บไซต์กรมธุรกิจพลังงาน ได้ที่ elaw.doeb.go.th

ณ เดือนกรกฎาคม 2562 มีรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงดีเซล ประมาณ 10.5 ล้านคัน เป็นรถที่ใช้น้ำมันดีเซล B 10 ได้ ประมาณ 5.3 ล้านคัน หรือ 50%  ได้แก่รถยี่ห้อ TOYOTA,  ISUZU, NISSAN, FORD, FUSO, Chevrolet,  MITSUBISHI,  Volvo Trucks, Hino, MAN, SCANIA, UD Trucks, Mercedes-Benz  ที่เหลือจะเป็นรถยนต์ดีเซลราคาแพง และรถเก่ามากๆ

รถที่เติม B10 ไม่ได้จะทำอย่างไร

รถยนต์ที่ไม่สามารถเติม น้ำมันดีเซล B 10 ได้ เช่น รถที่มีอายุการใช้งานมานานแล้ว รถยุโรป ได้แก่ Benz, Hyundai, Tata ,BMW, Honda, Mazda, Audi, Peugeot , Volvo  ยังสามารถเติมน้ำมันดีเซล B7 ได้ 

จะเติมน้ำมันทั้งทีก็ต้องเลือกน้ำมันที่เหมาะสม คุ้มค่า และดีต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดมลพิษ ลดฝุ่นPM 2.5 
เพิ่มความมั่นใจทุกเส้นทางให้คุณและรถยนต์คู่ใจ ด้วยประกันรถยนต์ที่วางใจ สินมั่นคงพร้อมคุ้มครอง ดูแลคุณด้วยบริการที่สะดวกรวดเร็ว  สอบถามและเช็คเบี้ยประกันภัยง่ายๆ ที่  www.smk.co.th/premotor.aspx หรือ โทร.1596  
สินมั่นคงประกันภัย..ประกันรถ ประกันเวลา..

ที่มา : กระทรวงพลังงาน

Photo source: freepik.com

น้ำมันดีเซล B7 และ B20 ต่างกันอย่างไร

น้ำมันดีเซล B20 มีความแตกต่างจาก น้ำมัน B7 และน้ำมัน B10 ตรงที่มีสัดส่วนไบโอดีเซลที่มากกว่า หรืออยู่ที่ 20% ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ในรถบรรทุกขนาดใหญ่ รถที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในปริมาณที่มากกว่าการใช้งานทั่วไป เช่น รถบรรทุก ขสมก. ISUZU, SCANIA เป็นต้น

B10กับB7 ต่างกันยังไง

น้ำมันดีเซล B10 มีสัดส่วนไบโอดีเซลผสมอยู่ในน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 9 – 10% เท่ากับมีน้ำมันดีเซลสัดส่วนลดลงไปจากเดิม โดยเป็นเกรดมาตรฐานทั่วไป และมีราคาถูกกว่า B7 เหมาะสำหรับรถกระบะรุ่นที่ไม่เก่ามากที่สามารถรองรับการใช้งานน้ำมันรูปแบบใหม่ได้ เป็นทางเลือกการใช้น้ำมันดีเซลที่มีราคาประหยัดกว่าเดิม

ดีเซล B20 กับดีเซลต่างกันยังไง

ซึ่งน้ำมันไบโอดีเซลที่นำมาผสมเป็น B20 เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำ B100 (น้ำมันประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน) มาผสมในอัตราส่วน 20% โดยตัวอักษร B แสดงถึงเปอร์เซ็นต์ของไบโอดีเซล นั่นหมายถึง B20 คือเชื้อเพลิงที่ผสมระหว่างไบโอดีเซล 20% กับน้ำมันดีเซลปกติ 80% นั่นเอง

ดีเซลบี7คืออะไร

1. น้ำมันดีเซล B7 (น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ) ดีเซล B7 จะเป็นน้ำมันดีเซลทั่วไป มีสัดส่วนน้ำมันไบโอดีเซลประมาณ 6.6 – 7% ส่วนที่เหลือเป็นน้ำมันดีเซล น้ำมันดีเซล B7 ยังคงมีจำหน่าย เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับรถเก่า หรือรถยุโรปที่ไม่รองรับ B10.