พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตย ม.3 ข้อสอบ

พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ

สภาพทางเศรษฐกิจของไทยสมัยประชาธิปไตย (พ.ศ. 2475 - 2554) อาจแบ่งเป็น 2 ระยะ ดั้งนี้

1) สภาพทางเศรษฐกิจไทยแบบทุนนิยมโดยรัฐ

ในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2481 - 2487) ได้ดำเนินนโยบายระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม โดยรัฐให้การสนับสนุนบรรดานายทุนขนาดย่อม ข้าราชการ พ่อค้า แม่ค้ารายย่อ และชาวนาผู้ร่ำรวยอันดับแรก และมิได้ขัดขวางการขยายตัวของยายทุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ รัฐต้องซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมเป็นครั้งคราว และ ขายที่ดินเหล่านั้นให้ชาวนา รัฐบาลได้เน้นให้ประชาชนสนับสนุนงานของคนไทยใช้ของที่ผลิตในประเทศไทยดังคำขวัญที่ว่า “ของไทย ไทยทำ ไทยใช้ “ หรือ “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ” เป็นต้น

ภายหลังเกิดการรัฐประหาร พ.ศ./2490 รัฐบาลขณะนั้นมีนโยบายเข้าไปควบคุมกิจการอุตสาหกรรมมากขึ้น รัฐบาลมีโรงงานน้ำตาลทรายแดงในความควบคุมการจำหน่ายหลายโรงงานนอกจากนั้น รัฐวิสาหกิจยังเข้าไปมีหุ้นส่วนในโรงสีข้าว โรงเลื่อย โรงงานทอผ้า กิจการค้าขายระดับเล็ก ระดับกลาง และกิจการระหว่างประเทศตกอยู่ในมือพ่อค้าชาวจีน มีการขยายตัวของนายทุนทั้งในด้านการผลิต การค้า การธนาคาร การอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของชาวจีนแล้อเมริกัน

2) สภาพทางเศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ใน พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับแรก (พ.ศ.2501 - 2509) โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ การยกมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้ดีขึ้น หลังจากนั้นก็มีการประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2510 – 2514 และทุกๆ 4 ปี ก็จะมีการประกาศแผน ฯ ฉบับ ต่อๆไป มาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และสิ้นสุดใน พ.ศ 2559

ตั้งแต่มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1รัฐบาลได้เน้นการให้สิทธิพิเศษกับนักลงทุนต่างประเทศ เช่น ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ภาษีส่งออก รวมทั้งมีการสร้าง ถนน เขื่อน ไฟฟ้า ประปา เพื่อใช่อุตสาหกรรมและเกษตรกรรมมากขึ้น ทำให้มีชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และไต้หวันตามลำดับ ในช่วง พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา รายได้ประชาชาติเริ่มลดลงเพราะความล้มเหลวทางเกษตรกรรม โดยรัฐบาลมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมมากกว่าเกษตรกรรม และจากการที่ไทยสั่งสินค้าฟุ่มเฟือยเข้ามาในประเทศมากเกินไปทำให้ช่วงพ.ศ.2513 ไทยขาดดุลการค้าจำนวนมากในช่วง พ.ศ.2517 รัฐบาลพยามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจขณะนั้น ที่สำคัญ ได้แก่ การขึ้นราคาน้ำมัน การขายสินค้าเกษตรในราคาต่ำ การลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศ และกรรมกรเรียกร้องค่าแรงเพิ่ม

ระหว่าง พ.ศ. 2518-2519 ไทยต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น การเกิดภาวะเงินเฟ้อ การขึ้นราคาน้ำมัน สินค้ามีราคาแพง การชะลอการลงทุนของนักธุรกิจ รัฐบาลจึงแก้ไขปัญหาโดยใช้การผันเงินออกสู่ชนบทไปตามสภาตำบลต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ พ.ศ. 2520 – 2523 แม้ว่ารับบาลจะออกกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ แต่เศรษฐกิจของไทยยังประสบกับปัญหาการขาดดุลค้าอย่างหนัก การว่างงาน ปัญหาการขึ้นราคาน้ำมันรัฐบาลได้ออกกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้า และขึ้นภาษีสินค้านำเข้าหลายชนิด เพื่อชะลอการนำเข้า การเร่งการส่งออกและสนับสนุนการลงทุนภายในประเทศ ควบคุมธนาคารพาณิชย์ให้เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงการประกาศขึ้นราคาน้ำมัน

ในช่วง พ.ศ. 2523 – 25231 ไทยประสบวิฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงรัฐบาลจึงกำหนด โครงการ 4 เมษายน 2527 เพื่อให้มีการรวมศูนย์กลางในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ รัฐลาบได้ตัดสินใจลงค่าเงินบาทเพื่อแก้ไขปัญหาการเงินระหว่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจไทรเริ่มฟื้นตัว ใน พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา รัฐบาลขณะนั้นได้เปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับประเทศเพื่อได้ในคาบสมุทรอินโดจีน เพราะหลังสิ้นสุดส่งครามเย็นในช่วงแรกๆ ยังมีการสู้รบระหว่างฝ่ายต่างๆ ในกัมพูชาอยู่ รัฐบาลไทยได้เข้าใจสถานการณ์ดีว่า ปัญหาของกัมพูชาอันเกิดจากการรุกรานของกองกำลังเวียดนามนั้นเป็นภัยคุกคามชายแดนด้านทิศตะวันออกเป็นอย่างยิ่งหากปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อต่อไป ย่อมไม่เกิดผลดีต่ออธิปไตยของไทย ดังนั้น รัฐบาลไทยขณะนั้นจึงได้เปลี่ยนนโยบายต่อปัญหากัมพูชา จากเดิมใช่มาตรการแข็งกร้าวเพื่อกดดันเวียดนามทั้งทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ มาเป็นนโยบาย เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ที่ใช้ประเด็นทางเศรษฐกิจเป็นหลักในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศในคาบสมุทรอินโดจีนโดยมุ่งหมายให้กลุ่มประเทศอินโดจีนเป็นตลาดการค้าของไทย และไทยจะเป็นด่านหน้าสำคัญทางการค้าขายระหว่างอินโดจีนกับประเทศต่างๆ ในเอเชียและประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีนักลงทุนจาก ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ และเกาหลีใต้เข้ามาลงทุน ทำธุรกิจการซื้อขายที่ดินเพื่อเก็งกำไรกลายเป็นธุรกิจที่รุ่งเรื่อง

ต่อมาเกิดการรัฐประหารใน พ.ศ. 2534 ทำให้มีการชะลอการลงทุนในประเทศไทยรัฐบาลจึงต้องเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมมีการแข่งขันโดยเสรีกว่า 30 ประเภท อีกทั้งมีการควบคุมราคาน้ำมันแต่ปล่อยให้ราคาน้ำมันลอยตัวตามนโยบายเสรี อีกด้วย ภายหลังมีการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ.2535 โดยรัฐบาลได้เสนอโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ 3 ประเภท ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ความร่วมมิในการนำทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนยายสินค้า บริการ แ รงงาน และเงินระหว่างพื้นที่ร่วมโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่ระหว่างชายแดนที่อยู่ห่างไกลด้วยการสร้างงานเพิ่มรายได้ของประชาชน

ระหว่าง พ.ศ. 2536 – 2538 มีการกู้เงินเพื่อนำมาขยายการลงทุนจำนวนมากทำให้จำนวนหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าตัว ดังนั้น สถาบันการเงินจึงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ทำให้เกิดภาวะเงินฝืด ด้วยเหตุนี้ ในช่วง พ.ศ. 2439 – 2340 รัฐบาลจึงต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจและแก้ปัญหาด้วยการประกาศปิดบริษัทเงินทุนถึง 58 แห่ง และประกาศปรับประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทลอยตัว รวมทั้งขอความช่วยเหลือทางการเงินและทางวิชาการจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

ระหว่าง พ.ศ. 2540 – 2544 รัฐบาลได้เร่งออกมาตรการเพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศและพยายามรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท รัฐบาลต่อมาได้ให้นโยบายเศรษฐกิจแบบประชานิยมโดยสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลาง(SMEs) เป็นฐานรายได้หลังของประเทศ มีการพักชำระหนี้ของเกษตรกรรายย่อย ให้เงินก่องทุนหมู่บ้าน เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในช่วง พ.ศ. 2549 – 2550 รัฐบาลขณะนั้นได้ใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงเป็นระบบเศรษฐกิจหลัก หลังจากนั้นก็หันมาใช้เศรษฐกิจแบบประชานิยมในลักษณะของการแจกเงินหรือให้บริการฟรีในเรื่องต่างๆ จนกระทั้งถึง พ.ศ. 2554 นโยบายเศรษฐกิจก็ยังมีลักษณะแบบประชานิยมอยู่ เช่น ให้เงินอุดหนุนแก่ข้าราชการชั้นผู้น้อย ให้เงินอุดหนุนกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นต้น