พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แผนผัง

พัฒนาการทางการเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

รัชกาลที่ 1-3 (สมัยฟื้นฟูประเทศ พ.ศ.2325-2394)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2325 และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีใหม่จากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออก(ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้า พระยา)และสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานีขึ้น ณ ที่แห่งนี้

เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงย้ายราชธานี

* พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้งสองด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง)และวัดโมฬีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง

* ความไม่เหมาะสมด้านภูมิประเทศ เนื่องจากฝั่งตะวันตกหรือราชธานีเดิมเป็นท้องคุ้ง อาจถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย แต่ฝั่งตะวันออก(กรุงเทพ)เป็นแหลมพื้นดินจะงอกอยู่เรื่อยๆ

* ความไม่เหมาะสมในการขยายเมืองในอนาคต พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว้างขวาง สามารถขยายตัวเมืองไปทางเหนือและตะวันออกได้

* กรุงธนบุรีไม่เหมาะทางด้านทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์  กล่าวคือ มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลาง เปรียบเสมือนเมืองอกแตก เมื่อใดข้าศึกยกทัพมาตามลำน้ำก็สามารถตีถึงใจกลางเมืองได้ง่าย

เมืองหลวงใหม่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

บริเวณ เมืองหลวงใหม่  เดิมเรียกว่า บางกอก หรือปัจจุบันคือกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใหม่ของไทย สร้างขึ้นโดยเลียนแบบอยุธยา กำหนดพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนคือ

* บริเวณพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย วังหลวง วังหน้า วัดในพระบรมมหาราชวัง(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)และรวมทั้งทุ่งพระสุเมรุท้องสนามหลวง

* บริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง อาณาเขตกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการสร้างขึ้นตามแนวคลองรอบกรุง ได้แก่ คลองบางลำภู และคลองโอ่งอ่าง

* บริเวณที่อยู่อาศัยภายนอกกำแพงเมือง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีบ้านเรือนราษฏรตั้งอยู่ด้านนอกของคลองรอบกรุง มีคลองขุดในรัชกาลที่ 1คือ คลองมหานาค

การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การจัดระเบียบการปกครองยังคงยึดถือตามแบบอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้

* การปกครองส่วนกลาง มีเสนาบดีทำหน้าที่บริหารราชการ ได้แก่

o สมุหกลาโหม มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ทั้งทหารและพลเรือน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง

o สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการทหารและพลเรือนเทียบเท่ากระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยาจักรี หรือเจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง

o เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นตำแหน่งรองลงมา ประกอบด้วย

-กรมเวียง หรือกรมเมือง เสนาบดี คือ พระยายมราช มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร

-กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ

-กรมคลังหรือกรมท่า เสนาบดี คือ พระยาราชภักดี, พระยาศรีพิพัฒน์ หรือพระยาพระคลังมีหน้าที่ด้านการเงิน การคลัง และการต่างประเทศ

-กรมนา เสนาบดี คือ พระยาพลเทพ มีหน้าที่ดูแลไร่นาหลวง และเก็บภาษีข้าว

* การปกครองส่วนภูมิภาค หรือการปกครองหัวเมือง

o หัวเมืองฝ่ายเหนือ (รวมทั้งหัวเมืองอีสาน)อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายเหนือแบ่งฐานะตามระดับความสำคัญ ดังนี้

-หัวเมืองชั้นใน(หัวเมืองจัตวา) อยู่ไม่ห่างไกลจากราชธานี มีเจ้าเมือง หรือ ผู้รั้งเป็นผู้ปกครอง

-หัวเมืองชั้นนอก(เมืองชั้นตรี โท เอก) มีขุนนางชั้นสูงหรือพระบรมวงศานุวงศ์เป็นผู้ปกครอง ได้แก่ เมืองพิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร ฯลฯ

o หัวเมืองฝ่ายใต้ อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม นับตั้งแต่เมืองเพชรบุรีลงไปจนถึงนครศรีธรรมราช ไชยา พังงา ถลาง และสงขลา เป็นต้น มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกทั้งสิ้น

o หัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย

เป็นหัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฯลฯ อยู่ในความรับผิดชอบของพระคลังหรือกรมท่า

* การปกครองประเทศราช

o ฐานะของประเทศราช คือ เมืองของชนต่างชาติต่างภาษา มีกษัตริย์ของตนเองเป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนดและส่งทหารมาช่วยเมื่อเมืองหลวงมีศึกสงคราม

o ประเทศราชของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีทั้งดินแดนล้านนา ลาว เขมรและหัวเมืองมลายู ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงแสน หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ เขมร ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ฯลฯ

การปรับปรุงกฏหมายและการศาล

* กฏหมายตราสามดวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯให้รวบรวมและชำระกฏหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และคัดลอกไว้ 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และตราบัวแก้ว จึงเรียกว่ากฏหมายตราสามดวง

* กฏหมายตราสามดวง หรือประมวลกฏหมายรัชกาลที่ 1 ใช้เป็นหลักปกครองประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ 5 ก่อนที่จะมีการปฏิรูปกฏหมายไทยและการศาลให้เป็นระบบสากล

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

     พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครองยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น (ยุคฟื้นฟู) เป็นช่วงเวลาของการป้องกันประเทศ และฟื้นฟูบ้านเมืองให้เป็นระเบียบ การปกครองคล้ายกับอาณาจักรอยุธยาและธนบุรี พระมหากษัตริย์ ทรงมีพระราชอำนาจในฐานะสมมติเทพ และใช้หลักทศพิธราชธรรมในการปกครอง เศรษฐกิจยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น (ยุคฟื้นฟู) เริ่มจากเศรษฐกิจแบบยั่งยืนและพัฒนามาสู่ ระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา มีการติดต่อทำการค้ากับต่างชาติเป็นการค้าระบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด  

มฐ ส4.1 ป.6/2 อธิบายปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและการปกครองของไทยสมัยรัตนโกสินทร์

จุดประสงค์

1. อธิบายพัฒนาการด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น (ยุคฟื้นฟู) ได้

2. วิเคราะห์พัฒนาการด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น (ยุคฟื้นฟู) ได้

3. เห็นความสำคัญในการศึกษาพัฒนาการด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น

การวัดผลและประเมินผล

1. ใบงานที่ 5 เรื่อง พัฒนาการด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

2. การถาม-ตอบ

3. การเล่นเกม

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีพัฒนาการด้านการเมืองการปกครองอย่างไร

- การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุด - การปกครองส่วนกลาง มีลักษณะดังนี้ คือ มีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง และมีจตุสดมภ์ทั้ง 4 ฝ่าย ภายใต้การดูแลของสมุหนายก - การปกครองส่วนภูมิภาค ได้มีการแบ่งหัวเมืองเป็น 3 ประเภท คือหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช

รูปแบบการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นแบบใด

การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนถึง รัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยโดยมีมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิด การปกครอง คือ มูลเหตุที่ทำให้มีการปรับปรุงการปกครอง

พัฒนาการด้านต่างๆของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ มีอะไรบ้าง

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์อาจแบ่งได้เป็น 3 ยุคคือ - ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการป้องกันและฟื้นฟูบ้านเมือง.
พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครอง ... .
พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ ... .
พัฒนาการทางด้านสังคม.

วรรณกรรม สมัยรัตนโกสินทร์ มี พัฒนาการ อย่างไร

วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์จึงเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านคุณภาพและปริมาณวรรณคดีร้อยกรองที่ พัฒนามาก คือ กลอน ส่วนฉันท์ก็มีลักษณะเคร่งครัดในลหุ ครู และสัมผัส วรรณคดีร้องแก้วเริ่ม แพร่หลายในรัชกาลที่ ๑ และงอกงามขึ้นอย่างรวดเร็วและล้ำหน้าร้อยกรอง เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 5.