การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เข้มแข็ง

การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เข้มแข็ง

การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เข้มแข็ง

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี (Good Organizational Culture) เป็นเรื่องสำคัญของทุกองค์กรในปัจจุบัน เพราะวัฒนธรรมจะบอกเอกลักษณ์ขององค์กรนั้นๆ วัฒนธรรมองค์กร คือ สิ่งที่บุคคลในองค์กรปฏิบัติ แล้วแสดงออกถึงพฤติกรรมและทัศนคติของผู้ปฏิบัติ แล้วเกิดผลกระทบต่องานทำงาน การสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ในเรื่องต่างๆ

วงจรพฤติกรรม กล่าวไว้ว่า
“ความเชื่อ ความคิด ความรู้สึก การกระทำ พฤติกรรม”

ดังนั้นพฤติกรรมและทัศนคติเริ่มมาจาก 
“ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรม Mindset นั่นเอง”

การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เข้มแข็ง


Mindset = Belief + Trust + Value เกิดขึ้นภายในจิตใต้สำนึก (Unconscious) แล้วแสดงออกมาที่ พฤติกรรม คำพูด การแสดงออกต่างๆ

การสร้าง Mindset ที่ดีให้กับบุคลากรในองค์กรจึงเป็นเรื่องสำคัญและเป็นพื้นฐานที่เข้มแข็งในการก่อตัว เพื่อให้กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรในอนาคต จึงต้องทำให้บุคลากร มีความเชื่อในเรื่องนั้นๆ ด้วยตัวเอง ไม่ใช่การบังคับ ทำให้เชื่อ และสร้างความไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน โดยพนักงานเต็มใจจะปฏิบัติด้วยตัวพนักงานเอง โดยค่อยๆให้เขาปรับตัวและยอมรับค่านิยม ที่อาจไม่ใช่ค่านิยมเดิมของเขา การสร้าง Mindset ที่ดีในองค์กรก็จะราบรื่นมากขึ้นครับ

ผู้บริหารระดับสูงสามารถกำหนดสิ่งที่อยากให้กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมา แล้วให้ทีมงานแปลเป็น Mindset ที่อยากให้บุคลากรเกิดการตระหนักรู้ในเรื่องนี้ด้วยตัวเองตลอดเวลา โดยการเชี่อมโยงไปที่ความเชื่อ และค่านิยมของบุคลากรแต่ละคนแล้วค่อยๆ ให้เขาปรับเปลี่ยน ทีละเล็ก ละน้อย จนกลายเป็นธรรมชาติของเขา สุดท้ายก็จะเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรครับ

การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เข้มแข็ง

การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เข้มแข็ง

We use cookies to improve user experience. Choose what cookie categories you allow us to use. You can read more about our Cookie Policy by clicking on Cookie Policy below.

Essential (required)

These cookies enable strictly necessary cookies for security, language support and verification of identity. These cookies can’t be disabled.

Functionality

These cookies collect data to remember choices users make to improve and give a better user experience. Disabling can cause some parts of the site to not work properly.

Performance & Analytics

These cookies help us to understand how visitors interact with our website, help us measure and analyze traffic to improve our service.

Targeting & Advertising

These cookies help us to better deliver marketing content and customized ads.

Main Article Content

ชวลิต เกิดทิพย์

ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเข้มแข็งของวัฒนธรรมองค์การ ตามการรับรู้ของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส จำแนกตาม ตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และเขตพื้นที่ และศึกษาแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การที่เข้มแข็ง ของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การดำเนินการ วิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส ปีการศึกษา 2554 จำนวน 146 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความเข้มแข็งของวัฒนธรรมองค์การตามการรับรู้ของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ .976 สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F –test) และทดสอบ ค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการ LSD ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การที่เข้มแข็งของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส ผลการวิจัยพบว่า

1. บุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาสมีการรับรู้ความเข้มแข็งของ วัฒนธรรมองค์การ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. บุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส ที่มีตำแหน่งต่างกัน มีการรับรู้ ความเข้มแข็งของวัฒนธรรมองค์การในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาสโดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่บุคลากรที่มีประสบการณ์ในการทำงาน และปฏิบัติ งานในเขตพื้นที่แตกต่างกัน มีการรับรู้ความเข้มแข็งของวัฒนธรรมองค์การโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

3. แนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การที่เข้มแข็งของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานราธิวาส ควรส่งเสริมใน 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ควรนำกิจกรรม Quality Control Cycle ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพด้วยกิจกรรมกลุ่มมาใช้ในกระบวรการ ปฏิบัติงาน 2) ด้านการสื่อสารที่ดีในองค์การ ควรจัดโครงสร้างและสนับสนุนให้บุคลากรเห็นถึงความสำคัญ ของเทคโนโลยี 3) ด้านการยึดถือระบบคุณธรรม ควรใช้หลักแนวคิดธรรมาภิบาลในกระบวนการบริหารจัดการ

Strength of Organizational Culture as Perceived by Personnel in Naratiwat Primary Educational Service Area Office

The purposes of the research were to study and compare the strength of organizational culture as perceived by the personnel in Narathiwat Primary Educational Service Area Office classified by position, work experience and area. Moreover, it was to study the ways to develop the strength of organizational culture of personnel in the Narathiwat Primary Educational Service Area Office. The type of this research was Mixed Method Research which consisted of quantitative research and qualitative research. The research methodology was divided into 2 stages; stage 1) quantitative research; the sample group was 146 personnel in the Narathiwat Primary Educational Service Area Office of academic year 2011. The instrument used was the questionnaire about the strength of organizational culture as perceived by personnel in the Narathiwat Primary Educational Service Area Office. The reliability of the questionnaire as overall inventory was .976. The statistics used for data analysis included percentage, mean, standard deviation, t-test, F –test, and Pair Sample t-test by LSD method; stage 2) qualitative research; this was the Interview Guide of the key informants about ways to develop the strength of organizational culture of personnel in the Narathiwat Primary Educational Service Area Office. The research results revealed as follows:

1. The personnel in the Narathiwat Primary Educational Service Area Office perceived the strength of the organizational culture as overall image and each aspect at the high level.

2. The personnel in the Narathiwat Primary Educational Service Area Office who had different position perceived the strength of the organizational culture in the Narathiwat Primary Educational Service Area Office as overall image differently by statistical significance at .01 level. However, the personnel who had different work experience and operation in the area perceived the strength of the organizational culture as overall image not differently.

3. Ways to develop the strength of organizational culture of personnel in the Narathiwat Primary Educational Service Area Office should be enhanced in 3 aspects as follows: 1) enhancement of creative ideas; this should apply the activity of ‘Quality Control Cycle’, the activity about quality control by applying the group activity to the operational process, 2) good communication in the organization, this should organize the structures and support the personnel to realize the importance of technology, and 3) moral system adherence which should apply the principle of good governance in the management process.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite

แก้วพิบูลย์ ฉ., & เกิดทิพย์ ช. (2012). ความเข้มแข็งของวัฒนธรรมองค์การตามการรับรู้ของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส. Journal of Humanities and Social Sciences, 8(2), 83–102. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/85738

บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี