การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม

ทุกคนล้วนกลัวการเปลี่ยนแปลงเมื่อต้องย้ายงานใหม่ หรือทำงานในที่ใหม่ เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่า เราจะต้องเจออะไรบ้างในที่ที่เราเพิ่งเริ่มงานวันแรก จนมันทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า Culture shock

Culture Shock คืออะไร ?

Culture Shock คือ อาการที่เรารู้สึกไม่คุ้นเคยและตื่นตระหนกเมื่ออยู่ในสถานที่ใหม่ ๆ ทั้งในหรือนอกประเทศ เพราะเราต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมทางสังคมหรือวัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากที่เคยเจอ

 

และแน่นอน การย้ายงานใหม่เราไม่สามารถเลี่ยงการเกิด Culture Shock และความกดดันในการทำงานได้ เราจึงต้องปรับตัวและรับมือกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เพื่อให้การเริ่มต้นงานใหม่ของเราไปได้สวย

1. อย่าเอาอะไรมาถาโถมตัวเองเกินไป

การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม

ไม่มีทางที่เราเข้ามาทำงานได้ไม่กี่วันจะรู้งานทุกอย่าง มันเป็นเรื่องปกติมาก ให้เราค่อย ๆ ปรับตัวและเรียนรู้ทีละนิด โดยปกติอาจจะใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน ที่จะผ่านช่วงความรู้สึกที่ยากลำบากในการทำงานไปได้ แต่ถ้าเป็นงานที่มีความซับซ้อนกว่า อาจจะใช้เวลานานขึ้น ดังนั้น อย่าแพนิคจนเกินเหตุว่าเราจะด้อยกว่าคนอื่นหรือเปล่า หรือจะตามทันคนอื่นหรือไม่ ให้มั่นใจและเชื่อมั่นในตัวเองเข้าไว้ว่าเราจะปรับตัวได้ดีขึ้นแน่นอน

2. Mentor ผู้คอยให้คำแนะนำ

การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม

หลายองค์กรมี ระบบพี่เลี้ยง (Mentorship Program) ไว้ให้พนักงานเก่าหรือ Mentor ผู้ที่มีความสามารถคอยให้คำปรึกษาและรับฟังเกี่ยวกับกระบวนการการทำงานหรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานให้แก่พนักงานใหม่ มันจึงเป็นระบบที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่ได้ทำงานตัวคนเดียวเพราะมีเมนเทอร์คอยอยู่ข้าง ๆ พร้อมถ่ายทอดความรู้และสอนงานจนเราสามารถปรับตัวเข้ากับที่ทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น

3. ไม่รู้ก็แค่ถาม

การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม

อย่ากลัวที่จะถามในสิ่งที่เราสงสัยหรือไม่รู้ในระหว่างการทำงาน อย่าลืมว่า เราคือพนักงานที่เพิ่งเข้ามาทำงานใหม่ เราไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่าง ทางที่ดีที่สุดคือควรเปิดใจและถามทุกอย่างเกี่ยวกับวิธีการทำงานในส่วนที่เราไม่รู้หรือไม่เข้าใจ ไม่ว่าจะถามเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านาย พวกเขาก็เข้าใจและพร้อมให้คำแนะนำกับเรา มันยังดีกว่าการทำงานไปเรื่อย ๆ ด้วยความเข้าใจผิด ๆ จนทำให้เกิดข้อผิดพลาดต่าง ๆ ตามมาแล้วต้องมาหาทางแก้ภายหลัง

4. ดูแลทั้งร่างกายและสมอง

การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม

คนส่วนใหญ่จะละเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ไป มันจริงที่การดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มคาเฟอีนอื่น ๆ ช่วยทำให้เรามีจิตใจสงบ มีสมาธิ และเพิ่มพลังในการทำงานมากขึ้น แต่การดื่มคาเฟอีนในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลเสียตามมา เช่น นอนไม่หลับ หัวใจกระสับกระส่าย ปวดหัว จนทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียได้ ดังนั้นมันจึงสำคัญมากที่จะรับสารอาหารที่มีประโยชน์ ประกอบกับการพักผ่อนให้เพียงพอและนอนเป็นเวลา ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะเป็นวิธีที่จะช่วยลดความวิตกกังวลต่าง ๆ และช่วย recharge พลังงานของเราพร้อมผ่านวันทำงานวุ่น ๆ ไปได้ในแต่ละวัน

5. สนิทกับเพื่อนร่วมงานเข้าไว้

การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม

การสร้างความสัมพันธ์ไมตรีที่ดีทางสังคมจะช่วยให้เราทำงานร่วมกับคนอื่นในองค์กรได้ง่ายขึ้น และทำให้สภาพแวดล้อมในที่ทำงานมีแต่พลังบวก ทำให้เรามีกำลังใจในการทำงานอีกด้วย

วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานใหม่

  • พยายามพบปะพูดคุยกันและจำชื่อเพื่อนในทีมให้ได้
  • มี eye contact ในขณะพูดคุยกัน
  • เป็นมิตร เอาใจใส่ และเคารพเพื่อนร่วมงาน
  • พยายามทำความเข้าใจบทบาทและความรับผิดชอบของเพื่อนร่วมงาน

6.เรียนรู้วัฒนธรรมในองค์กรใหม่

การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม

การปรับตัวในเรื่องนี้จะใช้เวลาพอสมควร เพราะทุกบริษัทมีวัฒนธรรมการทำงานที่ต่างกัน บางทีอาจจะไม่ตรงกับพฤติกรรมส่วนตัวของเรา เราจึงต้องพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของเราให้สอดคล้องและคุ้นชินกับบริบทของบริษัทนั้น ๆ เช่น เป็นคน introvert แต่ก็ต้องพยายาม interact กับคนในทีม ดังนั้นให้เราถ้าเราสามารถคุ้นชินกับมัน การทำงานก็จะราบรื่นยิ่งขึ้นและผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้

7. เลิกเปรียบเทียบระหว่างงานเก่ากับงานใหม่

การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม

ถ้าเรายังมัวแต่เปรียบเทียบว่างานเก่าดีกว่าอย่างนั้นดีกว่าอย่างนี้ นอกจากเราจะทำงานไม่มีความสุขในที่ทำงานใหม่แล้ว ยังจะทำให้เกิดทัศคติลบ ๆ กับเพื่อนร่วมงานใหม่อีกด้วย ให้เรามองว่าแต่ละงานทั้งเก่าและใหม่มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน และเราพร้อมที่จะนำสกิลที่ได้จากงานเก่ามาปรับใช้ในงานใหม่ให้ดียิ่งขึ้น เพียงแค่นี้เราก็จะสนุกไปกับมัน

8.อดทนและยิ้มสู้ !

การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม

จงรับบทเป็น ‘นักสู้ผู้อดทน เพราะการปรับตัวในสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ หรือที่ทำงานใหม่ต้องใช้เวลานานหลายเดือน เราเลยต้องอดทนและพยายามยิ้มให้ได้บ่อยที่สุดเพราะเป็นอีกวิธีที่จะทำให้เรารู้สึกดีขึ้นและสร้างพลังบวกให้กับตัวเองเพื่อพร้อมทำงานใหม่

เป็นธรรมดาที่ทุกคนจะรู้สึกกลัวการเริ่มต้นใหม่ ไม่ว่าจะทั้งเรื่องงาน เรื่องเรียน หรือเรื่องอะไรก็ตาม แต่ก่อนจะเริ่มทำตามวิธีต่าง ๆ ที่นำมาแชร์ในวันนี้ อย่างแรกเลยคือเราต้องเปิดใจ แล้วค่อยปรับตัวไปทีละนิด เราเชื่อว่าทุกคนจะเอาชนะความกลัวและความตื่นตระหนกเหล่านั้นไปได้แน่นอน

การปรับตัวทางวัฒนธรรม คืออะไร

วัฒนธรรม (เมตตา วิวัฒนานุกูล, 2548) แก่นหลักของการ ปรับตัวทางวัฒนธรรม คือ การเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรม ส่วนบุคคล และพฤติกรรมทางสังคม ซึ่งการเปลี่ยนแปลง นี้อาจเป็นการปรับตัวเองให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ใหม่ หรือเปลี่ยนบางส่วนของสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม กับความต้องการของตนเอง คนส่วนมากจะเปรียบเทียบ วัฒนธรรมของตัวเองกับวัฒนธรรม ...

Culture Shock แก้ยังไง

3 เทคนิคแก้อาการ “Culture Shock”.
ศึกษาวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆให้ละเอียด ... .
เราต้องเปลี่ยนทัศนคติ ละทิ้งความคิดที่ว่าเรา “ไม่สามารถทำได้” ... .
คุณต้องมีความ 'กล้า'.

การปรับตัวของมนุษย์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่มีความสําคัญอย่างไร

การปรับตัวของมนุษย์ให้เข้ากับบริบทแวดล้อมทางธรรมชาติทำให้มนุษย์สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย และมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น จนเกิดเป็นวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ในขณะเดียวกันก็เกิดการเรียนรู้ในการอนุรักษ์และดูแลรักษาพื้นที่เพื่อคงไว้ซึ่งนิเวศบริการและความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ย้อนกลับมา ...

ความตระหนกทางวัฒนธรรมคือข้อใด

การตืนตระหนกทางวัฒนธรรม หมายถึง ความรู้สึกสับสนต่อวัฒนธรรมทีไม่คุ้นเคย และ เกิดความยากลําบากในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมใหม่นัน ทําให้รู้สึกอึดอัด สับสนและรู้สึก กังวลใจต่อการคิดและการปฎิบัติตน เพราะไม่รู้ว่าจะปฏิบัติตนอย่างไรถึงจะถูกต้องเหมาะสมต่อ สภาพแวดล้อมนี Carmen Guanipa (1998)