ตรวจ สอบ สถานะการ พัก ชำระ หนี้ ไทย พาณิชย์

4 รูปแบบ ปรับโครงสร้างหนี้ เลี่ยงผิดนัดชำระ

ในสถานการณ์วิกฤตอย่างกรณีโควิด-19 หลายคนอาจมีปัญหาการเงินแบบชักหน้าไม่ถึงหลัง เพราะรายได้ลดลง บางคนอาจถึงขั้นขาดรายได้ไปเลย ทำให้ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด และประหยัดกันให้มากขึ้น สำหรับใครที่มีหนี้ต้องจ่าย ก็อย่าเพิ่งหมดหวัง เพราะสามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ การคิดว่า ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย อาจทำให้เรื่องบานปลายจนถึงขั้นถูกยึดทรัพย์สิน และเสียประวัติเครดิตไปเลยก็เป็นได้

การขอปรับโครงสร้างหนี้เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ไม่ผิดนัดชำระ และรักษาทรัพย์สินไว้ได้ โดยในเว็บไซต์ของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แนะนำการปรับโครงสร้างหนี้ไว้ 4 แบบ แต่ละแบบก็เหมาะกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป

ตรวจ สอบ สถานะการ พัก ชำระ หนี้ ไทย พาณิชย์

1. จ่ายไหว แต่อยากประหยัดรายจ่ายที่เป็นดอกเบี้ยลง

สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้

  • เปลี่ยนประเภทหนี้ จากสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง โดยการเปลี่ยนประเภทหนี้ในลักษณะนี้ ต้องมั่นใจว่าจะสามารถชำระคืนตามงวดที่กำหนดได้ ซึ่งบางกรณีอาจต้องจ่ายหนี้แต่ละงวดมากขึ้น หรือน้อยกว่าขั้นต่ำที่เคยจ่าย ขึ้นอยู่กับยอดค้างจ่าย และระยะเวลาการชำระคืนที่ได้รับอนุมัติมาใหม่

    สำหรับธนาคารไทยพาณิชย์สามารถเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตสถาบันการเงินใดก็ได้ เป็นหนี้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ด้วยสินเชื่อบุคคล Speedy Loan 
    https://www.scb.co.th/th/personal-banking/promotions/loans/speedy-loan-all.html
     
  • รีไฟแนนซ์ โดยการปิดสินเชื่อจากเจ้าหนี้รายเดิมแล้วย้ายไปขอกู้กับเจ้าหนี้รายใหม่ที่มีเงื่อนไขดีกว่า ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งหนี้บ้าน หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด แต่การรีไฟแนนซ์จะมีค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเจ้าหนี้ด้วย เช่น ค่าจดจำนองหลักประกัน ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน ค่าทำประกันใหม่ ค่าปรับให้แก่เจ้าหนี้รายเดิมตามสัญญา ซึ่งต้องคำนวณให้ดีว่าเปลี่ยนแล้วคุ้มกับอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ลดลงหรือไม่

2. จ่ายได้ไม่เต็มจำนวนที่ถูกเรียกเก็บ หรือจ่ายไม่ได้ตามสัญญา

สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้

  • ขอลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่จ่าย เหมาะกับคนที่รายรับลดลงชั่วคราว เช่น 3 - 6 เดือน  เพราะสถาบันการเงินมักลดอัตราดอกเบี้ยให้เป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือ 6 เดือน
  • ขอพักชำระเงินต้น เหมาะสำหรับคนที่รายรับลดลงชั่วคราวเช่นเดียวกัน ซึ่งสถาบันการเงินมักจะพักชำระเงินต้นให้ประมาณ 3 – 12 เดือน โดยลูกหนี้จ่ายเฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ย แต่การพักชำระเงินต้นอาจทำให้ภาระหนี้ช่วงหลังจากพักชำระเพิ่มขึ้น หรืออาจต้องขยายเวลาการชำระหนี้ เนื่องจากต้องนำเงินต้นที่พักชำระไปจ่ายในช่วงหลังการพักชำระเงินต้นด้วย ทำให้อาจจะมีภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากยอดเงินต้นไม่ได้ลดลงตามกำหนดเวลาเดิม ดังนั้นต้องตกลงกับสถาบันการเงินหรือดูเงื่อนไขด้วยว่า หลังสิ้นสุดการพักชำระเงินต้นแล้ว จะต้องจ่ายคืนอย่างไร โดยต้องดูความสามารถในการชำระคืนของตัวเราประกอบด้วย
  • ขอลดอัตราผ่อนและขยายเวลาชำระหนี้ เหมาะกับคนที่รายรับลดลงในระยะยาว เช่น เปลี่ยนงานใหม่ที่รายรับน้อยกว่าเดิม ทำให้ไม่สามารถจ่ายหนี้ในจำนวนเท่าเดิมได้ ยิ่งขยายเวลานาน ยิ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น แม้จำนวนผ่อนต่อเดือนจะลดลงก็ตาม ดังนั้นควรขอขยายเท่าที่จ่ายไหวและใช้เวลาน้อยจะดีกว่า

ตรวจ สอบ สถานะการ พัก ชำระ หนี้ ไทย พาณิชย์

3. มีเงินก้อนแต่ไม่พอปิดหนี้ทั้งหมด

สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้

  • เจรจาขอส่วนลด เพื่อจ่ายทั้งหมดแบบปิดบัญชีด้วยเงินก้อน เช่น มียอดหนี้คงค้าง 120,000 บาท ขอลดเหลือ 100,000 บาท  หากตกลงกันได้ด้วยวิธีนี้ ก็จะทำให้หมดหนี้ทันที แต่การปิดจบด้วยเงินก้อน มักมีเงื่อนไขว่าจะต้องจ่ายให้ครบภายในเวลาที่กำหนด เช่น 1 – 6 งวด หากไม่มั่นใจว่าจะจ่ายได้ทั้งหมดภายในเวลาที่กำหนด ให้พิจารณาทางเลือกอื่นแทน

4. จ่ายไม่ไหวเลย

สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการ

  • ขอพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน เมื่อครบกำหนดแล้ว ค่อยจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงที่พักไป (ดอกเบี้ยยังคงเดินอยู่ตลอดเวลาที่พักชำระ) ซึ่งอาจจะขอเจรจาเป็นการขยายเวลาการชำระหนี้ เฉลี่ยผ่อนชำระตามงวดที่เหลือ หรือชำระคืนเงินต้นที่พักชำระทั้งหมดคราวเดียวในงวดสุดท้ายก็ได้


การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อให้ยังสามารถจ่ายหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระ จึงต้องดูความสามารถในการชำระคืนประกอบด้วย หากเงื่อนไขใหม่ที่ได้มาก็ยังเกินความสามารถในการจ่ายคืน ให้เลือกเจรจากับสถาบันการเงินอีกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจ่ายหนี้ไม่ได้อีก และการปรับโครงสร้างหนี้อีกครั้งอาจทำได้ยากขึ้น ทั้งนี้การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบที่กล่าวมาข้างต้น ก็มีผลแตกต่างกันต่อประวัติในเครดิตบูโร จึงต้องสอบถามสถาบันการเงินในประเด็นนี้ด้วย ก่อนตัดสินใจ


ที่มา: ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

ตรวจ สอบ สถานะการ พัก ชำระ หนี้ ไทย พาณิชย์

ไทยพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าเอสเอ็มอีทั่วประเทศรับมือโควิด-19 ระลอกใหม่ ขยายเวลาพักชำระหนี้ 6 เดือน ปรับลดอัตราผ่อนและขยายระยะเวลาผ่อนชำระยาวขึ้น พร้อมอัดสินเชื่อเสริมสภาพคล่องช่วยธุรกิจโรงแรมบริหารค่าใช้จ่ายสูงสุด 30 เดือน

            ธนาคารไทยพาณิชย์พร้อมอยู่เคียงข้างช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยก้าวผ่านวิกฤต เร่งออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศ ดังนี้ 1.ขยายเวลาพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยนานสูงสุด 6 เดือน 2.ปรับลดอัตราผ่อนชำระต่องวดและขยายเวลาผ่อนชำระยาวขึ้น 3. เสริมสภาพคล่องทางการเงินสำหรับธุรกิจโรงแรมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในธุรกิจ ด้วยวงเงินสูงสุด 30 เดือนตามค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่เกิดขึ้นจริง พร้อมให้วงเงินพิเศษสำหรับการเตรียมพร้อมกิจการเพื่อต้อนรับการกลับมาของนักท่องเที่ยว โดยขยายเวลาผ่อนชำระตามความรุนแรงของผลกระทบในแต่ละพื้นที่ท่องเที่ยว พร้อมทำงานเชิงรุกเกาะติดสถานการณ์ใกล้ชิดหนุนลูกค้าให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างเต็มศักยภาพต่อไป 

             นางพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ ได้เข้ามาซ้ำเติมผลกระทบจากสถานการณ์ในรอบแรกที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่สามารถพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับสู่ภาวะปกติได้ และสร้างความยากลำบากในการการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น ธนาคารไทยพาณิชย์ ตระหนักถึงภาระที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ มองเห็นความพยายามช่วยเหลือตัวเองอย่างสุดกำลังของผู้ประกอบการมาโดยตลอด  จึงต้องการเป็นอีกพลังช่วยสนับสนุนให้เอสเอ็มอีสามารถก้าวผ่านวิกฤตไปได้อีกครั้ง โดยออกมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 3  ซึ่งเป็นมาตรการต่อเนื่องจากการให้ความช่วยเหลือก่อนหน้านี้ ประกอบด้วย มาตรการที่ 1) ขยายเวลาพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยนานสูงสุด 6 เดือน โดยจะมีผลต่อเนื่องเมื่อครบอายุสัญญาตามมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 2 มาตรการที่ 2) ปรับลดอัตราผ่อนชำระต่องวดและขยายเวลาผ่อนชำระหนี้  และมาตรการที่ 3) เสริมสภาพคล่องทางการเงินสำหรับธุรกิจโรงแรมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ วงเงินสูงสุด 30 เดือนตามค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่เกิดขึ้นจริง พร้อมวงเงินพิเศษสำหรับการเตรียมความพร้อมกิจการเพื่อต้อนรับการกลับมาของนักท่องเที่ยว โดยขยายเวลาผ่อนชำระตามความรุนแรงของผลกระทบในแต่ละพื้นที่ท่องเที่ยว และยังได้รับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้กับธุรกิจโรงแรม ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่เปราะบางและได้รับผลกระทบสาหัสที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวของต่างชาติ เช่น ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี ชลบุรี และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ธนาคารมุ่งหวังว่ามาตรการที่ออกมาครั้งนี้จะช่วยบรรเทาผลกระทบให้ลูกค้า  เอสเอ็มอีสามารถเดินหน้าธุรกิจได้อย่างมั่นคงต่อไป 

             ทั้งนี้ ธนาคารได้มีการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มที่มีศักยภาพเพื่อพยุงธุรกิจให้ไปต่อได้ ส่วนลูกค้าที่ยังได้รับผลกระทบอยู่นั้น ธนาคารจะติดตามประเมินสถานการณ์ในระยะถัดไปอย่างใกล้ชิด หากสถานการณ์มีความยืดเยื้อก็พร้อมที่จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกค้าด้วยมาตรการเพิ่มเติม

             ลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอีและลูกค้าธุรกิจโรงแรมของธนาคารไทยพาณิชย์ สามารถติดต่อขอรับมาตรการช่วยเหลือได้ที่ผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ที่ดูแลท่าน หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ 0 2722 2222 ลูกค้าสามารถติดต่อขอรับมาตรการช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป